ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรี

ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรี


หนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งได้โทรศัพท์มาถามความคิดเห็นของผม เกี่ยวกับเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรีที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2549 ผมได้ให้ความเห็นไป ซึ่งปรากฏรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 16 – 18 มกราคม 2549 ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม “ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรี”

สิ่งที่ควรทำต่อจาก “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี

สิ่งที่ควรทำต่อจาก “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี


เกี่ยวกับ “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี ที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่าง 16 – 20 ม.ค. 49 นั้น ผมได้รับการสัมภาษณ์และรับเชิญให้แสดงความคิดเห็นหลายครั้ง ได้แก่ (1) นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ซึ่งลงเป็นข่าวในฉบับ 16 – 18 ม.ค. 49 (2) สัมภาษณ์สดทางวิทยุคลื่น FM 94.0 เมื่อ 15 ม.ค. 49 (3) สำนักข่าว Thai News สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อ 17 ม.ค. 49 (4) นสพ.ผู้จัดการ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อ 18 ม.ค. 49 (5) ออกรายการสดทางโทรทัศน์ ทีแอลซี (TLC) เมื่อ 20 ม.ค. 49 (ร่วมกับ นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ) และ(6) สัมภาษณ์สดทางวิทยุ FM 94.0 เมื่อ 21 ม.ค. 49 อ่านเพิ่มเติม “สิ่งที่ควรทำต่อจาก “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี”

คนญี่ปุ่นมีดีที่ความขยัน มุ่งมั่น ประหยัด สะอาด มีระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้

คนญี่ปุ่นมีดีที่ความขยัน มุ่งมั่น ประหยัด สะอาด มีระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้


(7-12 ก.พ. 49) ร่วมไปกับคณะทัศนาจร 36 คน สู่เมืองโตเกียวและซับโปโร (Sapporo) ประเทศญี่ปุ่น จุดเด่นที่ไปชมคือ “เทศกาลหิมะ” (Snow Festival) ที่ซับโปโร ซึ่งเขาจัดติดต่อกันมานานแล้วโดยใช้ช่วงเวลา 2 สัปดาห์ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี อ่านเพิ่มเติม “คนญี่ปุ่นมีดีที่ความขยัน มุ่งมั่น ประหยัด สะอาด มีระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้”

โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย

โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย


(26 มี.ค. 49) ไปร่วมอภิปรายหัวข้อ “โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย” ในโอกาศวันสถาปนา “วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” จ.อุบลราชธานี (ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ เป็นอธิการบดี ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ และดร.พจน์ ยงสกุลโรจน์ เป็นผู้ติดต่อให้ไปร่วมอภิปราย)
ได้เสนอความเห็นที่มีสาระสำคัญดังนี้
· “โลกทัศน์” คือ “มุมมอง” หรือ “ระบบคิด” หรือ “วิธีคิด” หรือ “วิถีคิด” หรือ “กระบวนทัศน์”
· ควรมองเรื่อง “เศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย” จากฐานประชาชน คือมี “ประชาชน” เป็นตัวตั้ง หรือมองว่าเป็น เศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย ของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน อ่านเพิ่มเติม “โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย”

แกะรอยเส้นทางความสุข “ภูฏาน” : สัมผัสคมคิดวิถีสร้างสุขมนุษยชาติ

แกะรอยเส้นทางความสุข “ภูฏาน” : สัมผัสคมคิดวิถีสร้างสุขมนุษยชาติ


เยาวชนกับการเรียนการสอนในสถานศึกษา

                ช่วงเวลาไม่กี่วันที่ได้มีโอกาสซึมซับความสุขที่ภูฏาน “ประธานศูนย์คุณธรรม” บอกว่า จากศาสนสถาน สถานที่บริหารราชการ ไปถึงบ้านชาวบ้านในชนบท พบว่า นโยบายของรัฐบาลที่ยึดถือ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” เป็นเป้าหมายสูงสุดหรือเป็นธงชัยในการบริหารประเทศนั้น มีผลเชื่อมโยงถึงวิถีปฏิบัติของส่วนต่างๆในสังคมตลอดจนการดำเนินชีวิตของชาวภูฏานอย่างชัดเจน 

                เด็กเล็กๆ ตั้งแต่ระดับประถมจะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดและแนวนโยบายว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ แม้จะไม่ได้เป็นบทเรียนโดยตรง ส่วนนักเรียนระดับมัธยมจะมีเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติอยู่ในบทเรียนมากกว่า 1 วิชา

                “ผมได้ถามครูใหญ่ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ว่าทางโรงเรียนนำเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติมาประยุกต์เป็นภาคปฏิบัติอย่างไรบ้าง เขาตอบว่า เป็นการผสมกลมกลืนอยู่ในเรื่องการเรียนการสอนทั้งหมด ไม่ได้นำมาเป็นบทเรียนในวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างชัดเจน

                หนุ่มคนหนึ่งจากโรงเรียนมัธยมเล่าให้ฟังว่า เรื่องความสุขมวลรวมประชาชาตินั้น อยู่ในวิชาเรียนรวม 3 วิชา ดูเหมือนจะเป็นวิชาหน้าที่พลเมือง (Bhutan Civics) ภูมิศาสตร์ และภาษาอังกฤษ”

                “ไพบูลย์” บอกว่า สิ่งที่ประทับใจอีกอย่างหนึ่งและต้องหมายเหตุไว้เลย คือ ภูฏานจัดให้นักเรียนเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับอนุบาล ดังนั้นคนภูฏานที่อายุต่ำกว่า 40 ปีลงมาจึงสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างดีหรือค่อนข้างดี เด็กตัวเล็กๆก็สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับพวกเราได้ และเด็กเหล่านั้น มีความเป็นธรรมชาติ สดใส กล้าหาญ ไม่เอียงอาย ไม่หวาดกลัว ทักทายและสนทนาโต้ตอบกับผู้มาเยือนอย่างเป็นกันเอง 

                และนี่คือสิ่งที่ดี ในขณะที่ภูฏานจำกัดการทะลักของโลกาภิวัตน์แต่ก็เปิดประตู่สู่โลกภายนอกทางภาษา คนภูฏานจึงไปเรียนต่อต่างประเทศกันเยอะ เพราะฐานภาษาอังกฤษดี 

                โดยรวมแล้ว สังคมภูฏานอยู่กันอย่างพออยู่พอกิน นิยมความเรียบง่าย ไม่มุ่งที่จะก้าวให้ทันความเจริญทางวัตถุเหมือนกับนานาชาติ แต่มุ่งที่การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข แบบพอประมาณ มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว มีวัฒนธรรมเป็นฐาน มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย มีระบบการปกครองที่ดี

พัฒนาการสู่อนาคต

                จะเห็นว่า เรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ เริ่มต้นจากพระราชปณิธาน เป็นปรัชญา เป็นหลักคิด แล้วแปลเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งอยู่บน 4 เสาหลัก ตามด้วยการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวผ่านหน่วยงานต่างๆของรัฐ ส่วนเรื่องการสร้างตัวชี้วัดความสุขและความสำเร็จของ 4 เสาหลักนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาที่ยังไม่มีความชัดเจนแน่นอนทีเดียว

                วันนี้ภูฏานกำลังเตรียมการที่จะก้าวจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในปี 2008 รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจึงมีภารกิจหลักเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การนำรัฐธรรมนูญไปชี้แจง ไปพูดคุยกับประชาชน และการเตรียมความพร้อมต่างๆสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ 

                “ประธานศูนย์คุณธรรม”บอกต่อไปว่า ระหว่างเดินทางเยี่ยมศึกษาประเทศภูฏาน คณะทำงานทั้ง 16 ชีวิต 11 องค์กรได้มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง ตอนเช้าบ้าง ค่ำบ้าง ในรถบ้าง และสุดท้ายสรุปตรงกันว่า การพิจารณาทำอะไรสำหรับประเทศไทย จะต้องคิดจากฐานของประเทศไทย คิดจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของไทย คิดจากระบบและสภาพของสังคมไทย เป็นหลัก ส่วนเรื่องของประเทศอื่นที่ดีมีคุณค่าในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ หรือเป็นข้อคิด เป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ เราก็สามารถนำมาเป็นเครื่องช่วยหรือนำมาประกอบการพิจารณาด้วยได้

                สำหรับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือศูนย์คุณธรรมได้พยายามส่งเสริมในเรื่องของคุณธรรมความดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่พึงปรารถนา คุณธรรมความดีจะช่วยให้เกิดความสุข ซึ่งเป็นความสุขที่ดีและยั่งยืน ความดีกับความสุขจะเป็นร่มและเป็นเชื้อให้กับการสร้างความสามารถซึ่งมักจะเป็นความสามารถในทางที่ดี คือไม่ใช่ความสามารถชนิดที่ไปทำความเดือดร้อนหรือความทุกข์ให้กับคนอื่น หรือไปทำความเสียหายให้กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม 

                “ความดี ความสุข ความสามารถ จึงเป็น 3 องค์ประกอบที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันในทางที่ดี จะเรียกว่าเป็น ‘รัตนตรัยแห่งสังคมที่พึงปรารถนา’ ก็น่าจะได้ และนี่อาจจะเป็นฐานคิดหรือแนวความคิดในการสร้าง ‘ความสุข’ หรือ ‘สังคมอยู่เย็นเป็นสุข’ ในประเทศไทย” คือคำกล่าวทิ้งท้ายของ คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานศูนย์คุณธรรม ที่ให้คำสัมภาษณ์ภายหลังการพาคณะไปเยี่ยมศึกษาประเทศภูฏาน.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

28 ก.ย. 49

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/52364

<<< กลับ

บทบาทของผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เพื่อสร้างสังคมไทยเข้มแข็ง

บทบาทของผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เพื่อสร้างสังคมไทยเข้มแข็ง


(บทปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บทบาทของผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เพื่อสร้างสังคมไทยเข้มแข็ง” ในการสัมมนาวิชาการผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (CGEO) จัดโดย สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 ณ ห้องแกรนต์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์)

            การประเมินในการสร้างความเสมอภาคและบทบาทของสตรีในหน่วยงาน ระดับกรมมีทางพอที่จะทำได้อีกจากมากพอสมควรจนถึงมาก การดำเนินงานในเรื่องการส่งเสริมบทบาทและความเสมอภาคของสตรี ได้ทำมา 5 ปี ภายใต้การมีตำแหน่ง CGEO และได้ใช้ความพยายามพอสมควร โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  เป็นหน่วยงานกลางสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ ระดับกรมทั้งหลายซึ่งมีประมาณ 125 กรม บางกรมทำได้ดี  และทำได้ดีจนกระทั่งมีผู้บริหารที่เป็นสตรีพอ ๆ กับที่ไม่ใช่สตรีและมีบางกรมทำได้ดีถึงงานข้างนอก คือ ไปส่งเสริมประชาชนให้มีความตระหนักในบทบาทของสตรีทำให้สัดส่วนของสตรีที่มีบทบาทในกิจกรรมทางสังคม กิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีสัดส่วนของสตรีเพิ่มมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดีคือทั้งกรณีภายในหน่วยงานทำให้สตรีมีความเสมอภาคและมีบทบาทมากขึ้นกับงานที่ไปถึงประชาชนทำให้ภาคประชาชนมีความตระหนัก และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมบทบาทของสตรีมากขึ้น แต่ที่ยังไม่ชัดเจน คือที่ทำไปกว้างขวางพอหรือยัง เพราะมีทั้งหมด 125 กรม มีเท่าใดไม่เป็นไรเพราะสิ่งที่มีก็มีแล้ว แต่จะมีประโยชน์ถ้าเรามาพินิจพิเคราะห์ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไรให้ชัดเจนที่สุด นั้นคือเราต้องศึกษาความเป็นจริง การที่จะทำอะไรให้สำเร็จโดยเฉพาะการแก้ปัญหายากๆ หรือการที่จะสร้างสภาพที่ดีกว่า เช่น เรื่องของสตรีในแง่ของความเสมอภาค ในแง่การส่งเสริมบทบาท นอกเหนือไปจากการที่จะละเว้น กำจัด ขจัดการกระทำร้ายต่อสตรี เรื่องสตรีที่แย่ที่สุด คือการทำร้ายสตรี ไปสร้างความรุนแรงกับสตรี แต่การที่มีกฎหมายข้อบังคับ กติกา ที่ปิดกั้นไม่ให้ความเท่าเทียม ตรงนี้คือสิ่งที่ไม่ดี แต่ดีที่สุดที่เราสามารถส่งเสริมบทบาทสถานภาพของสตรีได้อย่างเต็มที่ การที่จะทำอะไรให้สำเร็จ ความเป็นจริงสำคัญที่สุด คือต้องรู้ความเป็นจริง ว่ามีสถิติ ข้อมูล แค่ไหนอย่างไรเกี่ยวกับการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติในแต่ละกรม ว่ามีอยู่ในลักษณะที่ละเอียด ถูกต้อง ต่อเนื่อง ในการมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้เป็นเครื่องมือเพื่อมากระตุ้นความสนใจ  เพื่อการทำให้เห็นลู่ทางที่จะพัฒนาการใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่ การใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่ยังมีทางทำได้อีกมาก 

            ถัดจากความเป็นจริงก็คือ การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดการความรู้ผู้เอื้ออำนวยต่อการจัดการความรู้ ถึงขึ้นเป็นวิทยากรได้ถือว่าเข้าใจพอสมควร และเข้าใจแล้วได้นำมาปฏิบัติ อย่างเข็มข้นจริงจังภายในกระทรวงหรือไม่ ถ้าได้นำมาปฏิบัติอย่างเข็มข้นจริงจังตามกระบวนการ  จัดการความรู้ถือว่าดี แต่แม้ทำในกระทรวงแล้วก็ยังไม่ดีพอ ดียิ่งขึ้นควรจะมีการจัดการความรู้ระหว่างกระทรวง ฉะนั้น เห็นว่าที่ท่านทั้งหลายที่เป็น CGEO หรือมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานของ CGEO ถ้าท่านได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับ

            1. เรื่องของความเป็นจริง คือความรู้ มีการศึกษา เก็บสถิติข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์

ให้เห็นความเป็นจริง

  1. ถ้าท่านได้ให้มีการจัดการความรู้ภายในกระทรวงและระหว่างกระทรวง

            ถ้าท่านได้ทำสองอย่าง ผมเชื่อว่าจะช่วยให้การพยามเจตนารมย์ของการมี CGEO บรรลุผลได้ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ดีขึ้นแน่นอน ถ้าเริ่มตั้งแต่วันนี้ มหกรรมการจัดการความรู้ที่ไบเทคบางนา เป็นสุดยอดของงานเรื่องการจัดการความรู้ รูปแบบการจัดงาน และสาระตลอดจนกระบวนการที่อยู่ในงาน และมีหน่วยราชการไปแสดงหลายหน่วยงาน ชาวบ้านจัดการความรู้อย่างเข็มข้นสามารถมาเป็นวิทยากรได้ 

            ฉะนั้นจึงถือโอกาสนี้ ที่มาพบกับท่านทั้งหลาย ที่มาร่วมงานกับกระทรวงพัฒนาสังคม ที่ส่งเสริม เรื่องการพัฒนาสังคมและเราก็มียุทธศาสตร์สังคมสามด้าน คือ 

  1. สังคมไม่ทอดทิ้งกัน การดูแลซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรต่อกัน
  2. สังคมเข้มแข็ง ความเข็มแข้งทุกระดับทุกส่วนของสังคม ชุมชนท้องถิ่น ประชาสังคม กลุ่มคนมีความเข็มแข้งมากขึ้น รวมถึงกลุ่มสตรี สถาบันครอบครัวเข็มแข็งบทบาทสตรีเข็มแข็ง จะรวมอยู่ในคำว่าสังคมเข็มแข็ง
  3. สังคมคุณธรรม ส่งเสริมคุณธรรมความดี

            ซึ่งทั้ง 3 ยุทธศาสตร์จะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ความเข้มแข็ง ความมีคุณธรรม ผสมกลมกลืนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในเรื่องของสตรีการไม่ทอดทิ้งกันในเรื่องสตรี เช่น ถูกทำร้าย กดขี่ ได้รับความไม่เท่าเทียม การเสริมสร้างความเข็มแข็งของบทบาทสตรีและการส่งเสริมคุณธรรมเกี่ยวพันกันหมด ในสตรี ทั้งหมดรวมอยู่ในสิ่งที่เป็นการพัฒนาสังคมและรวมถึงการพัฒนาบทบาท ศักดิ์ศรี สถานภาพ คุณค่า ความเท่าเทียมของสตรี เป็นภารกิจซึ่งทุกคนเกี่ยวข้องไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ไม่มากก็น้อย คือเป็นเหตุที่ท่านต้องมาในวันนี้ 

            จึงอยากจะเสนอแนะว่าท่านจะสามารถช่วยกันทำให้กระบวนการส่งเสริมความเท่าเทียมและบทบาทของสตรีเข้มข้นจริงจังได้อย่างไร ถ้าท่านทำได้ดีแล้วก็ทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีกแล้วสองอย่างที่       เสนอแนะ คือ 

  1. มีข้อมูล สถิติ มีความจริงให้ปรากฏ ซึ่งจะต้องไปเก็บค้นหา ไปเก็บ รวบรวมอย่างต่อเนื่อง 

            2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการความรู้ ขอให้ทำอย่างครบกระบวนการ ให้มีความครอบคลุม เข้มข้น จริงจัง เทียบเท่า ที่เขาจัดการความรู้กันตามที่ปรากฏในมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ที่สถาบันส่งเสริมจัดการความรู้เพื่อสังคมที่จัดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว และถ้าสนใจติดต่อขอเอกสาร เครื่องช่วยทั้งหลาย และพยายามทำกันในกระทรวงก่อน ถ้ามีหลายกรมก็ทำระหว่างกรมในกระทรวง และใช้การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือ และทำในเรื่องสตรี Gender ก็จะอาศัยการจัดการความรู้มาช่วยด้วย แต่เมื่อมีการจัดทำภายในกระทรวงแล้วก็ควรจะมีการจัดทำระหว่างกระทรวง และลองนำดาวเด่นของกระทรวงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกระทรวงบ้าง จะทำให้การเรียนรู้การพัฒนามากขึ้น การแพร่ขยายกว้างมากขึ้น 

            ฉะนั้นหน่วยงานที่ทำได้ไม่ดีนักก็จะดีขึ้น หน่วยงานที่ทำได้พอประมาณก็จะถึงขั้นดีมาก หน่วยงานที่ทำได้ดีมากก็จะรักษาความดีมากนั้นไว้ และยังมีโอกาสได้เผื่อแผ่ความดีมากไปให้คนอื่นและขอให้การสัมมนาในวันนี้ประสบความสำเร็จ เป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง คือความสำเร็จในภาระกิจในเรื่องเกี่ยวกับสตรี

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

5 ม.ค. 50

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/71069

<<< กลับ

คิดถึงอาจารย์ป๋วย : คิดถึงเพื่อทำดีให้มากขึ้น

คิดถึงอาจารย์ป๋วย : คิดถึงเพื่อทำดีให้มากขึ้น


โดย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

                อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นแหล่งพลังแห่งความดี ถ้าจะคิดถึงอาจารย์ป๋วย จึงควรคิดถึงเพื่อจะมีแรงบันดาลใจและสามารถทำความดีได้มากขึ้น

วิธีคิดถึงอาจารย์ป๋วยให้เป็นแรงบันดาลใจและเป็นการชี้แนวทางเพื่อการทำความดี คือคิดถึงข้อคิด หลักการ ธรรมะ หรือการกระทำที่ดีๆของอาจารย์ป๋วย ซึ่งมีมากมาย ล้วนมีคุณค่า ทรงความหมาย หลายกรณีมีความลึกซึ้ง คมคาย หรือเป็นศิลปะ ควรแก่การจดจำมาเป็นแนวทางหรือประกอบการพิจารณาในการดำเนินชีวิตของเรา

เช่น อุดมคติ หรือหลักธรรม หรือคุณธรรมประจำใจ ในการดำเนินชีวิตของอาจารย์ป๋วย คือ “ความจริง ความงาม และความดี” สามคำนี้มีความลึก หนักแน่น ทรงพลัง ช่วยให้เราจินตนาการสร้างสรรค์ประยุกต์มาเป็นการคิด การพูด และการกระทำ ที่ดี ของเราได้นานัปการ

อาจารย์ป๋วยได้อธิบายต่อไปว่า เมื่อกำหนด “ความจริง ความงาม และความดี” เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา หรือเป็นเป้าหมายแล้ว อาจารย์ป๋วยได้เลือก “หนทางสู่เป้าหมาย” ดังกล่าว โดยอาศัยธรรมะของพระพุทธเจ้าข้อที่ว่าด้วย “จตุพละ” หรือ “กำลัง 4 ประการ” อันได้แก่

ปัญญาพละ           กำลังจากปัญญา รวมถึงความรอบรู้ ความรู้จริง

วิริยพละ                กำลังจากความพากเพียร อุตสาหวิริยะ ไม่ย่อท้อ

อนวัชชพละ         กำลังจากการทำสิ่งที่ไม่เป็นโทษ รวมถึงความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น

สังคหพละ            กำลังจากการเกื้อกูลสงเคราะห์ การมุ่งทำประโยชน์ให้

ในภาพใหญ่ของสังคมโดยรวม อาจารย์ป๋วยให้หลักการว่า “สังคมที่พึงปรารถนา” จะต้องประกอบด้วยคุณธรรม 4 ประการ คือ

  1. มีสมรรถภาพ
  2. มีเสรีภาพ
  3. มีความชอบธรรม (หรือยุติธรรม)
  4. มีความเมตตากรุณา

อาจารย์ป๋วยยังได้เสนอ “อุดมการณ์” ของสังคมในอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้ายคลึงกับ “สังคมที่พึงปรารถนา” ดังกล่าวข้างต้น โดยใช้คำพูดซึ่งกระชับกินความและเป็นที่จดจำกันจนทุกวันนี้ คำนั้น คือ “สันติประชาธรรม” อันมีความหมายรวมถึง สันติภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม

น่าคิดว่า ถ้านำหลักการซึ่งดูง่ายๆแต่ลึกซึ้งของอาจารย์ป๋วย ว่าด้วย “สังคมที่พึงปรารถนา” และ “อุดมการณ์ของสังคม” ที่กล่าวมาแล้ว มาเป็นเกณฑ์วัดการพัฒนาของสังคมไทยในปัจจุบัน จะเห็นว่า เรายังไปได้ไม่ไกลเท่าไรเลย !

ในส่วนที่เป็นตัวตนของอาจารย์ป๋วยในฐานะ “ข้าราชการ” หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” คนหนึ่ง ผมคิดว่าอาจารย์ป๋วยมีลักษณะโดดเด่น เป็นแบบอย่างในการทำหน้าที่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายประการ ที่ทำให้อาจารย์ป๋วยเป็นที่เคารพนับถือ ยกย่อง สรรเสริญ ของคนจำนวนมาก รวมทั้งสามารถนำลักษณะที่โดดเด่นและวิธีทำงานที่ดีของอาจารย์ป๋วยมาเป็นแบบอย่างในการทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี

ผมขอนำลักษณะโดดเด่นของอาจารย์ป๋วยบางประการมากล่าวไว้ดังต่อไปนี้

  1. ความเมตตาปรารถนาดี อาจารย์ป๋วยมีความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดี อย่างแท้จริง ต่อทุกคนที่อยู่รอบข้าง รวมถึงพนักงานผู้น้อย (เช่น นักการ พนักงานขับรถ) ลูกน้อง ลูกศิษย์ นักศึกษา เพื่อนร่วมงานใกล้ไกล ฯลฯ และความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดี นี้อาจารย์ยังแผ่ขยายอย่างเข้มข้น จริงจังและต่อเนื่อง ไปยังหมู่ประชาชน รวมถึงชาวบ้าน เยาวชน ฯลฯ ทั้งหลายอีกด้วย ซึ่งลักษณะประการหลังนี้นี่เอง ที่ทำให้อาจารย์ป๋วยมองหน้าที่การงานที่ไม่จำกัดวงแคบ แต่ขยายไปถึงแนวทางและวิธีการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับหมู่ประชาชนโดยเฉพาะผู้มีโอกาสน้อยในสังคม
  2. ความซื่อสัตย์สุจริต ในส่วนตัวของอาจารย์ป๋วยเอง ท่านเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวด และพร้อมกันนั้น ท่านได้พยายามสนับสนุนและดูแลให้บุคลากรของหน่วยงานที่ท่านบริหารอยู่ มีความซื่อสัตย์สุจริตอย่างจริงจังด้วย เช่นให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์สุจริต ว่าเป็นอันดับแรกของลักษณะที่พึงปรารถนาของบุคลากร ดูแลให้บุคลากรมีระดับรายได้ที่พอสมควรและเพียงพอ เพื่อจะไม่เป็นแรงบีบคั้นให้คิดทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นต้น นอกจากนั้นอาจารย์ป๋วยก็เป็นผู้ที่ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างแข็งขัน ด้วยความกล้าหาญพร้อมกับความฉลาดเฉลียวใช้ปัญญา
  3. 3. ความกล้าหาญชาญชัย อาจารย์ป๋วยเชื่อมั่นในความดี ความสุจริต และความสามารถที่บริสุทธิ์ พร้อมทั้งกล้าที่จะต่อต้านความไม่ดี ความไม่สุจริต ความไม่ถูกต้องชอบธรรมทั้งหลายในสังคม บ่อยครั้งอาจารย์ป๋วยกระทำการที่ท้าทายผู้มีอำนาจซึ่งไม่สุจริต ที่โดดเด่นที่สุดคงจะเป็น “จดหมายจากนายเข้ม เย็นยิ่ง” ที่มีส่วนสำคัญนำไปสู่การปฏิรูปการปกครองให้เป็นแบบประชาธิปไตย ในขณะที่ประเทศยังอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการ
  4. ความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว อาจารย์ป๋วยไม่เคยอ่อนไหวท้อแท้ แต่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในภารกิจทุกอย่างที่อาจารย์ป๋วยทำ พร้อมด้วยความพากเพียรพยายาม ขยัน อดทน ตั้งแต่เรื่องเล็กสุด จนเรื่องใหญ่สุด อาจารย์ป๋วยเป็นผู้มีพลังมหาศาล พร้อมเดินหน้าอย่างมุ่งมั่นและสร้างสรรค์เสมอ
  5. ความฉลาดเฉลียวรอบรู้ อาจารย์ป๋วยเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศพร้อมด้วยความฉลาดเฉลียวรอบรู้อย่างยากหาคนเปรียบเทียบได้ อาจารย์ป๋วยอ่านมาก ศึกษามาก ค้นคว้าหาความรู้ ความเข้าใจอยู่เสมอ จึงสามารถทำหน้าที่ทุกด้านได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยอาศัย สติ ปัญญา ความสามารถ ความฉลาด ความเฉลียว ปฏิภาณไหวพริบ รวมทั้งการมีกุศโลบาย มีศิลปะ มีอารมณ์ขัน อย่างยอดเยี่ยม เป็นที่ชื่นชมและเลื่องลือกันอย่างกว้างขวางในช่วงที่อาจารย์ป๋วยทำหน้าที่อยู่และต่อๆมา

สรุปแล้ว ถ้าเราจะคิดถึงหรือรำลึกถึง อาจารย์ป๋วย อึ๊มงภากรณ์ ปูชนียบุคคลคนสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย ก็ควรคิดถึงหรือรำลึกถึงในลักษณะที่จะช่วยให้เราได้เห็นคุณความดีของอาจารย์ป๋วยได้อย่างชัดเจน แล้วนำมาเป็นแรงบันดาลใจตลอดจนเป็นแนวทางในการช่วยให้เราสามารถ คิด พูด และทำ ในทางที่สร้างสรรค์ดีงาม เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวม ได้ดียิ่งขึ้นและมากยิ่งขึ้น ก็จะเป็นคุณูปการอันเนื่องมาจากการคิดถึงหรือรำลึกถึงอาจารย์ป๋วยได้อย่างคุ้มค่าและคู่ควร

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/199608

<<< กลับ

สารจากประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ

สารจากประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ


องค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) คือ สื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะที่เป็นของประชาชน ดำเนินงานโดยประชาชนมีส่วนร่วม และมุ่งให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์สูงสุดต่อประชาชน และต่อสังคมการดำเนินงานที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางนี้ จำเป็นต้องทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสูงสุดทั้งทางตรงและทางอ้อม เข้ามามีบทบาทในทีวีไทย และสื่ออื่นๆ เพื่อให้เป็นสถานีของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และยืนอยู่บนพื้นฐานของการสร้างประโยชน์ที่แท้จริงอย่างลึกซึ้งและยั่งยืน ในการกำหนดทิศทางการให้บริการของ ส.ส.ท.

“สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ” เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นกลไกหลักที่ทำงานควบคู่กับ ส.ส.ท. ในการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้ชมและผู้ฟังแล้วสะท้อนความคิดเห็นเหล่านั้นกลับมายัง ส.ส.ท. เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการ และการผลิตรายการขององค์การให้มีคุณภาพสอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะและสังคมตลอดจนสะท้อนความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย สมาชิกสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการทั้งสิ้น ๕๐ คน มาจาก ๙ ภูมิภาค ทั่วประเทศไทย และ ๑๖ กลุ่มเฉพาะทางสังคม ที่มีความหลากหลาย

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการจะคอยติดตาม ตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาที่นำเสนอ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง ซึ่งถือเป็นเครื่องประกันว่าจะไม่หลุดจากความนิยมของประชาชน โดยการนำข้อเสนอแนะจากสภาผู้ชมฯ ไปพัฒนาให้ตอบสนองตามความต้องการในบริบทของสังคมไทย และการแทรกแซงก็จะเป็นไปได้ยาก เพราะประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมกับการมีกระบวนการจัดการที่ดี   โดยมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียน ผู้ที่เข้ามาเป็นตัวแทน เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดบทบาทหรืออำนาจในสภาผู้ชม และจะต้องขยายผลการสร้างเครือข่ายผู้ชมและผู้ฟังให้กว้างขวางออกไปด้วย

การจะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งคุณภาพได้นั้น ส.ส.ท. จะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ และมีจิตสำนึกสาธารณะ   ด้วยการบริการข้อมูลข่าวสารที่เที่ยงตรง   รอบด้าน   สมดุล   ไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง   ทำให้ประชาชนได้คิด   วิเคราะห์   และควรให้ความสำคัญกับข่าวชุมชนท้องถิ่นบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรม   สะท้อนถึงปัญหาของแต่ละพื้นที่   ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในสังคม  เกิดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน   และยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งในสังคมโดยยึดถือประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ  ทั้งนี้สามารถนำประเด็นเนื้อหาในพื้นที่ของตนมาเผยแพร่สู่สาธารณะ จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

ในช่วงปีแรกของการดำเนินงาน อาจพบความยากลำบากบ้างในการเริ่มบุกเบิกความเป็นสื่อสาธารณะที่แตกต่างจากองค์การสื่ออื่นๆ เพราะเน้นการรับใช้สังคมเป็นหลัก  การที่ต้องนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพไม่ผูกติดกับเรตติ้ง แต่ยังคำนึงถึงความเป็นปุถุชนของผู้ชมผู้เป็นเจ้าของ โดยมีความบันเทิงที่มีสาระ และมีสัดส่วนสาระประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพสูง เน้นความหลากหลาย โดยปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ การดำเนินงานจึงมุ่งหวังเพื่อยกระดับสังคมแห่งภูมิปัญญา ผ่านการให้ข่าวสารและข้อมูลความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน  ให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งในประเทศและในโลก เพื่อประโยชน์ที่สร้างสรรค์ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น  ให้ได้อย่างดีที่สุด

          นอกจากนี้พันธกิจหลักอีกด้านหนึ่งคือ การส่งเสริมสังคมประชาธิปไตย ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกฝังให้สังคมเกิดการเรียนรู้ความเป็น  “พลเมือง” เพราะประชาชนจะไม่ถูกมองว่าเป็นเพียง “ผู้บริโภค” หรือถูกเอารัดเอาเปรียบในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลเพียงด้านเดียวและฉาบฉวย แต่ต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นการสื่อสารสองทางเพื่อร่วมกันพัฒนา ร่วมกันเสนอประเด็นในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของสังคมสืบไป

 

 

                                                             (นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม)

                                                          ประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/260765

<<< กลับ

ส.ค.ส. ปี 53

ส.ค.ส. ปี 53


 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/321259

<<< กลับ