‘ไพบูลย์’ จี้เร่ง 3 ภารกิจเฉพาะหน้า

‘ไพบูลย์’ จี้เร่ง 3 ภารกิจเฉพาะหน้า


(จากข่าว “ไม่ต้าน ‘เขยแม้ว’ ‘ก๊กเนวิน’ พร้อมรับมติ พปช.” ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 15 กันยายน 2551  หน้า 1 ต่อ หน้า 15)

                นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่หลายฝ่ายเห็นว่านายสมชายเหมาะสมเป็นเรื่องที่ดี เพราะนายสมชายเป็นคนที่รับฟังคนอื่น เพราะเคยเป็นข้าราชการประจำ แม้แต่นายสุเทพ และนายเสนาะต่างก็เห็นด้วย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ หากจะมีการหารือกันในการจัดตั้งรัฐบาลพิเศษเฉพาะกาล โดยอาจมีพรรคการเมืองใหญ่ 2-3 พรรคเข้าร่วม ทั้งนี้การจัดตั้งรัฐบาลพิเศษ ควรมีบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาร่วมในคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้ คลายความเป็นการเมือง เพราะประชาธิปไตยที่ดีคือการปกครองโดยประชาชน ดังนั้น จึงควรเกิดการผสมผสานกัน แต่อย่าพึ่งตัดสินใจ ต้องค่อยๆ ตั้งโจทย์และหารือจนเห็นพ้องกัน ซึ่งจะเป็นการสมานฉันท์ ทั้งนี้ รัฐบาลพิเศษควรมี เวลาทำงาน 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง 

                “แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับภารกิจที่ต้องทำอย่างน้อย 3 ประการคือ  1. ยุติความขัดแย้ง โดยการสร้างความสมานฉันท์ซึ่งในส่วนของกลุ่มพันธมิตรเองก็น่าจะเจรจากันได้  2. ปฏิรูปการเมือง โดยควรระดมความเห็นเพื่อให้ทุกฝ่าย ช่วยกันคิดในสิ่งที่เรียกว่าการเมืองใหม่  3. เรื่องอื่นๆ เช่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า”  นายไพบูลย์  กล่าว

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/208790

<<< กลับ

สรุปผลการดำเนินงานของรองนายกรัฐมนตรี (ด้านสังคม) ตอนที่ 2

สรุปผลการดำเนินงานของรองนายกรัฐมนตรี (ด้านสังคม) ตอนที่ 2


ในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗๙ /๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ ได้เร่งแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างเร่งด่วน ด้วยการทำปฏิบัติการฝนหลวง และตั้งศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ เพื่อติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด

                อย่างไรก็ตามจากข้อมูลไฟป่าของหน่วยควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบว่า การเกิดไฟป่าในปี ๒๕๕๐ สูงถึง ๗ ,๕๔๗ ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ ๑๑๔,๙๔๐ ไร่ ซึ่งการเกิดไฟป่าสูงขึ้นถึง ๒ เท่า เมื่อเทียบกับปี ๒๕๔๙ ที่พบ ๔,๖๒๖ ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ ๕๒,๙๓๕.๕ ไร่  คณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๔ ภายใต้กรอบงบประมาณ ๔,๔๒๒.๘ ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว ใน ๓ ยุทธศาสตร์ คือ ๑.แผนควบคุมการเผาในพื้นที่ชุมชนและเกษตรกรรม ๒. แผนควบคุมไฟป่า และ ๓. แผนรณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าระดับจังหวัดและระดับอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมีภาคประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการ

                ๓.๓  การพัฒนาระบบการบริหารงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้  (หน้า ๘๖) สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากปัญหาที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงในหลายมิติ และปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งคือ การบริหารจัดการของรัฐบาลในหลายรูปแบบ ไม่สามารถดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารจัดการเพื่อการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. …  เพื่อให้เกิดการบูรณาการประสานความร่วมมือของทุกหน่วยงาน โดยมีสาระสำคัญคือ ให้มีคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เป็นฝ่ายเลขานุการ และให้มีการจัดทำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม ตรงตามความต้องการ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน โดยบูรณาการการดำเนินงานของกระทรวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการ และถือเป็นกรอบแนวทางให้ทุกหน่วยงานยึดถือปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้อมทั้งแปลงนโยบายยุทธศาสตร์ของส่วนราชการไปปฏิบัติในพื้นที่

                ๓.๔ การแก้ไขปัญหาผู้ประสบความเดือดร้อนในจังหวัดชายฝั่งอันดามัน ปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้ประสบภัยพิบัติจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ เนื่องจากไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทำให้หลายชุมชนไม่สามารถกลับไปสร้างบ้านในที่เดิมที่เคยอยู่อาศัยได้ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดิน จึงได้เข้าไปแก้ไขปัญหาจนได้ข้อยุติใน ๑๓ พื้นที่ รวม ๑,๑๕๖ ครัวเรือน และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก ๕๘ พื้นที่ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านพักถาวรโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างบ้านพักของตนเอง ๙ ชุมชน ๓๕๐ ครัวเรือน

                ๓.๕ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค จากการปฏิบัติราชการในภูมิภาคที่ได้รับมอบหมาย ได้จัดโครงการสัมมนา “แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค” เมื่อวันที่ ๑๓-๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่  เพื่อให้การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสนองตอบนโยบายรัฐบาล ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในการประสานความร่วมมือเพื่อนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ โดยผลของการจัดสัมมนาครั้งนี้นำไปสู่ระบบ/กลไกภาคประชาชนร่วมกันติดตามผลการปฏิบัติงานภาครัฐ ผ่านการนำเสนอและสะท้อนข้อเท็จจริงในพื้นที่เพื่อให้การกำหนดนโยบายสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และเกิดการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมอย่างสมดุลระหว่างภาครัฐและประชาชน

                ๔. การจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐(หน้า ๓๐)

                เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการพัฒนาและบูรณาการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จัดทำ “โครงการทำดีเพื่อพ่อ” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยร่วมกันทำความดี สนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐ จนถึงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ รวมระยะเวลา ๘๐ วัน มีประชาชนเข้าร่วมเขียนใบบันทึกความดี จำนวน ๑ ล้านใบ  จากไปรษณีย์ไทย ห้างสรรพสินค้า และหน่วยงานพันธมิตร พร้อมกับเสนอบทความทำดีเพื่อพ่อ โดยใบบันทึกความดีและบทความทำดี จะถูกรวบรวมเป็นจดหมายเหตุ  นอกจากนี้ยังได้ คัดเลือก “๑๐๐ตัวแทนคนดี ” จากทั่วประเทศ เพื่อเป็นต้นแบบของการทำความดี และเข้าร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

                ในส่วนของคณะกรรมการอำนวยการโครงการเจ้าพระยาสดใสเทิดไท้องค์ราชัน ประกอบด้วยหน่วยงานจากทุกภาคส่วน ยังได้จัดทำ “โครงการเจ้าพระยาสดใสเทิดไท้องค์ราชัน” โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ฟื้นฟูคุณภาพแม่น้ำเจ้าพระยา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และเป็นการสนองต่อพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

                เนื่องจากจากผลสำรวจคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ของสถานีตรวจคุณภาพน้ำ พบว่า คุณภาพน้ำเฉลี่ยอยู่ในระดับเสื่อมโทรมอย่างมาก มีเพียงสถานีเขื่อนเจ้าพระยา เพียง ๑ แห่ง ที่ยังมีสภาพน้ำที่ดี จึงประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านการพัฒนาด้านกายภาพ พื้นที่ และชุมชน ตามแนวคิด “สวย สะอาด สะดวก ปลอดภัย และน่าสนใจ” โดยกำหนดเป็น ๗ มาตรการ ๔๙ โครงการ พร้อมกับส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา

                ๕. กฎหมาย

– พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐

– พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๐

– พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ฉบับที่ ๒

– พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ฉบับที่ ๒

– พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๐

– พระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐

– พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

– พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๐

– ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน

– ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

– ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมในการพัฒนา

– ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต

– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม

– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน

– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนากิจการสตรี

– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาครอบครัว

– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระบบการบริหารจัดการเพื่อการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ

– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกรและผู้ยากจน

ฉายแนวคิดรองนายกรัฐมนตรี(ด้านสังคม) ผ่านบทเรียนแห่งการทำงาน

                ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ต้องดูแลงานของกระทรวงทางสังคม รวมทั้งประเด็นทางสังคมต่างๆ จึงต้องประสานเชื่อมโยงงานของกระทรวงทางสังคม และประสานเชื่อมโยงภายใต้ประเด็นที่สำคัญ จึงได้มีการประชุมหารือผ่านวงประชุมที่มีอยู่แล้ว เช่น คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี หรือ จัดให้มีคณะกรรมการตามประเด็น เช่น คณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อทำให้การดำเนินงานในเรื่องทางสังคมเกิดประสิทธิภาพและการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ระหว่างประเด็น และระหว่างองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน

และเนื่องจากรองนายกรัฐมนตรี ต้องทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเป็นประธานคณะกรรมการชุดต่างๆ ผมได้ใช้ความพยายามทำให้คณะกรรมการทุกคณะ โดยเฉพาะคณะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สำคัญ หรือประเด็นวิกฤต เช่น ปัญหาหนี้สินเกษตรกร สามารถเดินหน้าไปได้อย่างเข้มแข้ง เกิดประสิทธิภาพ คุณภาพ และต่อเนื่อง จึงเห็นว่าจากเดิมที่บางคณะกรรมการไม่ได้ประชุม หรือประชุมน้อยมาก ก็ได้มีการประชุม และได้จัดการแก้ไขภาวะวิกฤติ พร้อมกับสร้างสรรค์งานพัฒนาใหม่ๆ ค่อนข้างมาก เช่น คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ คณะกรรมการเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน และคนพิการ คณะกรรมการเกี่ยวกับปัญหาแรงงานต่างด้าว คณะกรรมการเกี่ยวกับการวิจัย การส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ

สำหรับงานเกี่ยวกับการดูแลพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายในภาคเหนือตอนบน จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดชายฝั่งอันดามัน ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา และพัฒนาระบบการบริหารงาน เช่น การแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ   การแก้ไขปัญหาระบบการบริหารงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้  และการแก้ไขปัญหาผู้ประสบความเดือดร้อนในจังหวัดชายฝั่งอันดามัน

ในส่วนของการดูแลองค์การมหาชน ได้แก้ปัญหาให้เกิดการเดินหน้าไปได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ติดขัด โดยเฉพาะองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จากเดิมที่ประสบปัญหาการถูกต่อต้านการทำงาน จึงได้ดึงกลุ่มคนเหล่านั้นเข้ามาร่วมในการบริหารจัดการ ทำงานร่วมกับคนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับ ทำให้งานสามารถเดินหน้าไปได้ รวมถึงสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ที่ได้จัดตั้ง “ไทยทีม” เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมศักยภาพทางธุรกิจด้านตลาดการประชุมแสดงสินค้าและการท่องเที่ยว

ส่วนงานของกระทรวงทางสังคม ได้สนับสนุนให้แต่ละกระทรวงสามารถขับเคลื่อนงานสำคัญให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเกิดการเชื่อมโยงบูรณาการมากขึ้น เช่น การช่วยให้เรื่องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองและคณะรัฐมนตรีได้รวดเร็วขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้คลี่คลายจนเกิดข้อสรุปด้วยดี

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาสังคมในภาพรวม ควรมองที่จุดแข็งและข้อดีของสังคมที่มีอยู่ และนำจุดแข็งมาเป็นพลังส่งเสริมให้เกิดจุดแข็งที่พอกพูน วิธีมองแบบสร้างสรรค์เช่นนี้ จะช่วยแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาในระยะยาว ขณะเดียวกันต้องจุดอ่อนของสังคมเพื่อหาทางลดปัญหา ควบคู่ไปกับการค้นหาข้อดี และสร้างเสริมข้อดีไปพร้อมๆกัน นั่นคือ ไม่ควรเน้นการมองปัญหาสังคม และมัวแต่แก้ปัญหาแบบปลายเหตุ เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว อาจจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้มากขึ้น แต่ถ้าเน้นจุดแข็งและข้อดีของคน ของชุมชน และสังคม จะช่วยให้ทั้งคน ชุมชน และสังคม มีจุดแข็งและข้อดี ขยายตัวมากขึ้น จึงเป็นการลดจุดอ่อน ข้อเสีย และป้องกันปัญหาของสังคมไปโดยปริยาย

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/162650

<<< กลับ

สรุปผลการดำเนินงานของรองนายกรัฐมนตรี (ด้านสังคม) ตอนที่ 1

สรุปผลการดำเนินงานของรองนายกรัฐมนตรี (ด้านสังคม) ตอนที่ 1


สรุปผลการดำเนินงาน

                                              ของรองนายกรัฐมนตรี (ด้านสังคม)

                                                                                  โดย ทีมงานของรองนายกรัฐมนตรี (ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)

ภารกิจสำคัญของรัฐบาลอีกด้านหนึ่ง คือ การประคับประคองสังคมให้เกิดความสมานฉันท์ อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ในสภาวการณ์ของความขัดแย้งทางสังคม

นับจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี โดยได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้รับผิดชอบงานด้านสังคม ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงทางสังคม คือ กระทรวงกระท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข

ตลอดจนหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๗๑ /๒๕๕๐ ให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย คือ คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สภาวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

ประธานกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คือ คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนโครงการหลวง คณะกรรมการนโยบายและฟื้นฟูทะเลไทย คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ และคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย

นอกจากนี้ยังรับมอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ประกอบด้วย เขตตรวจราชการที่ ๑ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน เขตตรวจราชการที่ ๒ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เขตตรวจราชการที่ ๑๗ กระบี่ พังงา และภูเก็ต เขตตรวจราชการที่ ๑๘ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

รวมถึงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กกช.) ประธานคณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประธานคณะกรรมการรวมพลังขับเคลื่อนสังคม และประธานคณะกรรมการประสานงานขับเคลื่อนวาระเพื่อเด็กและเยาวชน  เป็นต้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

การขับเคลื่อนงานทางสังคมที่ได้รับมอบหมาย ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

                ๑. งานนโยบายและยุทธศาสตร์

                ๑.๑ ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย การสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ไม่ควรมุ่งเพียงการสร้างที่อยู่อาศัยทางวัตถุและราคาที่ผู้อยู่อาศัยสามารถรับได้เท่านั้น แต่ต้องมุ่งสร้างคน สร้างสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ภายใต้เป้าหมาย “ปริมาณเพียงพอ มั่นคง ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ ๗ ด้าน คือ ๑. ขับเคลื่อนที่อยู่อาศัยให้เป็นวาระแห่งชาติผ่านการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยในการบริหารแผนยุทธศาสตร์ ๒.พัฒนาที่ดินและลงทุนด้านสาธารณูปโภคที่สอดคล้องเกื้อกูลต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย ๓. สร้างระบบการเงินและระบบสินเชื่อที่เอื้อต่อการมีที่อยู่อาศัยของประชาชนในทุกระดับ ๔. สร้างขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาและบริหารจัดการที่อยู่อาศัย ๕. สร้างองค์ความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยสู่ทุกภาคส่วนของสังคม ๖. ยกระดับคุณภาพของที่อยู่อาศัย และ ๗.สร้างมาตรฐานสู่คุณภาพของที่อยู่อาศัย

                ๑.๒ ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ  ได้กระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในระยะเร่งด่วน ๗ แห่ง ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร สแกนดิเนเวีย และออสเตรเลีย ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ผ่านการประชุมสัมมนาในประเทศไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนามาตรฐานโฮมสเตย์ไทย การจัดอบรมโครงการค่ายเยาวชนรักษ์การท่องเที่ยว โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โครงการอบรมผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น ส่งผลให้มีผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และเยาวชน พร้อมเป็นบุคลลากรอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

                ๑.๓ ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๓) เพื่อให้การวิจัยสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใน ๕ ด้าน คือ ๑) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ๒) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม ๓) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล ๔) การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ๕) การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัย ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศ สู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม โดยอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย

                ๑.๔ นโยบายการขับเคลื่อนวาระเพื่อเด็กและเยาวชน ปี ๒๕๕๐ รัฐบาลเล็งเห็นคุณค่าในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศขับเคลื่อนวาระเพื่อเด็กและเยาวชน ปี ๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๐ ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงทางสังคม ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน คือ

                                ๑) สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว ผ่านการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์

                                ๒) กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดยกระทรวงศึกษาจัดค่ายคุณธรรมนำความรู้สู่สังคม กิจกรรมนักเรียน นักศึกษา เยาวชนภาคฤดูร้อน ๑๗๙ โครงการ มีเยาวชนผ่านการอบรม ๑๐ ,๐๐๐ คน โครงการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อบต./เทศบาล ๗๓๐ แห่ง ๗๕ จังหวัด

                                ๓) สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กและโรงเรียนอนุบาลที่มีคุณภาพ โดยกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งศูนย์เด็กเล็กต้นแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณ ศูนย์ละ ๘๒๐ ,๐๐๐ บาท สนับสนุนอัตราผู้ดูแลเด็กเล็ก ๑ ต่อ ๑๘ คน

                                ๔) จังหวัดน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชน ผ่านแผนยุทธศาสตร์จังหวัดน่าอยู่สำหรับเด็ก ๗ ด้าน คือ เมืองปลอดภัย เมืองสุขภาพ เมืองครอบครัว เมืองแห่งการเรียนรู้ เมืองที่คุ้มครองสิทธิเด็ก เมืองปลอดปัจจัยเสี่ยง และเมืองที่เด็กมีส่วนร่วม โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมฯจัดทำพื้นที่นำร่อง ๑๐ จังหวัด ๆ ละ ๑ ตำบล

                                ๕) กฎหมายครอบครัว เพื่อเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานให้กับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันสำคัญในการอบรม เลี้ยงดู และพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นคนดี และมีความสุข

                ๑.๕ นโยบายการขับเคลื่อนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  คณะกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงและหน่วยงานทางสังคม ได้มุ่งพัฒนาให้สื่อที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนเป็นไปในทิศทางสร้างสรรค์ ผ่านยุทธศาสตร์ “ขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี สร้างภูมิคุ้มกัน และพัฒนาระบบ” ผลของการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปราบปรามสื่อผิดกฎหมาย โดยสันติบาลสามารถยึดของกลางรวมมูลค่ากว่า ๙,๙๒๔,๒๘๐ บาท ผลิตสื่อสร้างสรรค์ โดยกระทรวงศึกษาธิการจัดทำหลักสูตรอินเทอร์เน็ตปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับโรงเรียน ซึ่งได้ทดลองในโรงเรียนต้นแบบ ๕ แห่ง พร้อมกับประกาศทดลองใช้ทั่วประเทศในภาคการศึกษาหน้า และผลักดันนโยบายรักการอ่าน ผ่านการประกวดสื่อสร้างสรรค์ในรูปแบบเว็บเพจและสารคดีสั้น การออกนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของเด็กในโลกออนไลน์  และโครงการร้านเกมคาเฟ่และร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์  พร้อมกับจัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ พ.ศ. เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยปรากฏสัญลักษณ์บนรายโทรทัศน์ เพื่อแบ่งประเภทตามความเหมะสมของผู้ชมตามช่วงอายุ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือปกป้องเด็กในการบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัยของตน และยังก่อให้เกิดรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์การโฆษณาที่มีผลต่อเด็กและเยาวชนทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พร้อมกับขอความร่วมมือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจพิจารณาให้ความสำคัญในการสนับสนุนรายการสำหรับเด็ก ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐

๑.๖ นโยบายการส่งเสริมสวัสดิการสังคม ระบบสวัสดิการสังคมนับเป็นการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน  เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการอย่างทั่วถึงและมีส่วนร่วม จึงได้พัฒนาระบบสวัสดิการสังคม ด้วยการแก้ไขพ.ร.บ.สวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมสวัสดิการชุมชน ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการสังคมให้มีประสิทธิภาพและกระจายไปสู่จังหวัด จัดสรรงบประมาณการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมให้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ได้เพียงปีละ ๖๐ ล้านบาท เป็น ๔๗๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๐ และยังคงได้รับในจำนวนใกล้เคียงกัน คือ ๔๕๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๑  พร้อมกับส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่นอกระบบการประกันสังคม ให้ครอบคลุมดูแลทุกกลุ่มคน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ยากลำบาก ให้ได้รับสวัสดิการพื้นฐาน

๑.๗ การบูรณาการแก้ไขปัญหาเกษตรกร (หน้า ๘๐) ปัญหาหนี้สินเกษตรกร นับเป็นปัญหาที่พอกพูนมาช้านาน โดยไม่มีรัฐบาลชุดใดสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จถาวร เนื่องจากมุ่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ขณะที่ต้นเหตุของปัญหาเกิดจากหลายปัจจัย อันได้แก่ ปัญหาการบริหารจัดการของเกษตรกร ระบบบริหารจัดการของภาครัฐที่ไม่เอื้ออำนวย รวมถึงระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร จึงต้องอาศัยการบูรณาการของแต่ละหน่วยงานร่วมกัน

ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จและถาวร ผ่านระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. … เพื่อเป็นคณะกรรมการที่ดูแลการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในภาพรวม โดยเชื่อมประสานและบูรณาการจากหลายหน่วยงาน พร้อมกับมีหน่วยงานที่ดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนนโยบายและแนวทางของคณะกรรมการ ตลอดจนเอื้อให้ฝ่ายต่างๆได้ประสานความร่วมมือได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

พร้อมกันนี้ในระยะเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหา คณะกรรมการกำกับและติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ได้ตั้งจุดรับเรื่องร้องทุกข์ โดยมีสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทำหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์จากเกษตรกร ควบคู่ไปกับมาตรการเชิงรุกผ่านโครงการ “คลินิกหนี้” ในทุกสาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จึงสามารถชะลอการฟ้องร้อง การบังคับคดี และการถูกขายทอดตลาดโดยเฉพาะที่ดินของเกษตรกร รวมทั้งสิ้น ๑๐,๒๒๓ ราย และคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกร ๒,๔๖๒ ราย รวมมูลหนี้ ๓๕๑ ล้านบาท

๒ พัฒนาองค์กร  

เพื่อให้องค์กรที่สำคัญสามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ดังนี้

คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จากเดิมที่ประสบภาวะสุญญากาศในการบริหารจัดการ เนื่องจากขาดองค์ประกอบของคณะทำงาน ในส่วนของผู้แทนภาคเกษตรกรและผู้ทรงคุณวุฒิ อีกทั้งยังประสบปัญหาความขัดแย้งภายใน จึงได้พัฒนาระบบผ่านการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา จนนำสู่การเลือกคณะทำงานจนครบองค์ประกอบ ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรสามารถทำงานได้ โดยดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกร ๑,๐๐๓ องค์กร ๓,๐๒๙ ราย ๓,๐๔๔ บัญชี รวมยอดชำระหนี้แทน ๔๒๖,๐๖๙,๖๖๐.๒๘ บาท

–  การเคหะแห่งชาติ เนื่องจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นเฉพาะการสร้างที่อยู่อาศัยในเชิงปริมาณ ผ่านโครงการบ้านเอื้ออาทร ส่งผลให้เกิดภาระหนี้ผูกพันของรัฐบาล โดยพบว่า หากการเคหะแห่งชาติ ดำเนินการครบตามแผนงานที่ตั้งไว้ จำนวน ๖๐๑,๗๒๗ หน่วย จะใช้วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น ๒๗๓,๒๐๙ ล้านบาท โดยรัฐต้องจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ ๓๐,๒๐๐ ล้านบาท และจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อลงทุนอีก ๑๖๗,๒๙๓ ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อสิ้นปี ๒๕๕๕ การเคหะแห่งชาติจะรับภาระหนี้ประมาณ ๙๕,๕๐๐ ล้านบาท จึงได้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ โดยระดมผู้ทรงวุฒิที่มีประสบการณ์ เป็นที่ปรึกษา และแก้ไขปัญหาองค์กร โดยลดจำนวนหน่วย และดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและความเหมาะสมในพื้นที่    

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาแผนงานองค์กร ในทิศทางการพัฒนาเชิงสังคมและชุมชน ผ่านนโยบาย “เคหะชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข” การพัฒนานโยบายการฟื้นฟูเมือง ในโครงการที่มีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรม ผลักดันนโยบายเคหะชุมชนเพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคม โดยร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น และภาคีพัฒนา จนเกิดกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อเป็นฐานทางการเงินที่นำไปสู่ความสามารถในการรับภาระเรื่องที่อยู่อาศัย เกิดระบบสวัสดิการชุมชน และมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการชุมชน  โดยได้จัดทำโครงการนำร่อง ๑๒ โครงการ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ๓ โครงการ ปริมณฑล ๓ โครงการ และในภูมิภาค ๖ โครงการ

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จากรายงานผลการตรวจสอบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ประมาณการยอดหนี้ค้างชำระและเงินขาดบัญชีของกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า ๘,๕๑๐ ล้านบาท ส่งผลให้เกิดการปรับการบริหารจัดการ ภายใต้แนวคิด “กองทุนต้องเป็นมากกว่าเงิน แต่เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องสถาบันการเงินชุมชน และดำเนินชีวิตให้สอดคล้องตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยพัฒนาระบบการบริหารจัดการในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพผ่านการปรับระบบการลงบัญชี โดยกรมบัญชีกลางเข้ามาพัฒนาระบบเพื่อให้เห็นตัวเลขผลประกอบการที่แท้จริง การตั้งคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองเรื่องสำคัญอย่างรอบคอบ ก่อนเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อกระจายอำนาจสู่สำนักงานสาขาในภูมิภาค พร้อมกับปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ เพื่อลดความซ้ำซ้อน

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๓ เพื่อวางแนวทางการวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ จัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ โดยเน้นผู้ใช้ประโยชน์เป็นศูนย์กลาง การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จากปัญหาร้องเรียนของเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อให้ยกเลิกการทำหน้าที่ของอพท. จึงนำสู่วิธีแก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภาคสังคม สิ่งแวดล้อม และที่ปรึกษาจากภาคประชาสังคม เข้าร่วมเป็นกรรมการ และได้ลงพื้นที่รับฟังข้อมูลเพื่อแนะนำการแก้ไขปัญหา โดยส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมในพื้นที่ที่อพท.เข้าไปดำเนินการ เพื่อเปลี่ยนมิติจากการร้องเรียนเป็นให้การสนับสนุน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับโครงสร้างในอพท. เพื่อเพิ่มหน่วยงานการมีส่วนร่วมในพื้นที่

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ได้ตั้งคณะกรรมการที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่หลากหลาย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ ภาคราชการ และภาควิชาการ ร่วมเป็น “ไทยทีม” เพื่อร่วมผลักดันธุรกิจด้านตลาดการประชุมแสดงสินค้าและการท่องเที่ยว ให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

                ๓. งานพัฒนาเชิงพื้นที่ 

                ๓.๑ ขับเคลื่อนการบูรณาการงบประมาณรายจังหวัด จากการตรวจราชการในพื้นที่ จ.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก ได้พบปัญหาการจัดการงบประมาณในพื้นที่ โดยแต่ละจังหวัดไม่มีงบประมาณสำหรับการป้องกันปัญหา เนื่องจากต้องถูกประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ จึงสามารถได้รับการอนุมัติงบ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และการประกาศเขตภัยพิบัติยังกระทบต่อการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาระบบบูรณาการแผนงานและงบประมาณของจังหวัด เพื่อให้จังหวัดสามารถตั้งงบประมาณให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และตรงความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม โดยกระจายอำนาจให้จังหวัดและท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งการบริหารงาน คน และงบประมาณ

                การบูรณาการแผนงานและงบประมาณของจังหวัด จึงเกิดจากการประสานแผนงาน/งบประมาณ ที่เชื่อมโยงใน ๓ มิติ ได้แก่ มิติทางดิ่ง คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน มิติทางราบ คือ ระหว่างหน่วยงานที่เป็นผู้แทนของกระทรวงต่างๆในจังหวัด และมิติเวลาที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ เห็นชอบให้กระทรวงจัดทำข้อมูลแผนงาน/โครงการและงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๕๑ ทุกประเภทที่ดำเนินการในจังหวัด จำนวน ๗๔ จังหวัด (ยกเว้นจังหวัดพิษณุโลก) ไม่ว่าจะเป็นงบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการแผนงานและงบประมาณของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง

                ๓.๒ แก้ไขปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ (หน้า ๒๗) จากสถานการณ์ในช่วงต้นปี ๒๕๕๐ พื้นที่ภาคเหนือตอนบนได้ประสบปัญหาหมอกควันอย่างรุนแรง โดยตรวจพบการเพิ่มขึ้นของปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จนกระทั่งสูงขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ประกอบกับมวลอากาศเย็นเริ่มปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้ฝุ่นละอองสามารถแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน ไม่สามารถแพร่กระจายออกไปได้ ก่อให้เกิดสภาพฟ้าสลัว มีหมอกควันปกคลุม ทัศนวิสัยต่ำกว่า ๑ กิโลเมตร

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/162645

<<< กลับ

สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 3)

สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 3)


นอกจากนั้น  ยังมีร่างกฎหมายอีกหลายฉบับที่ค้างอยู่ในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ  มีทั้งส่วนที่น่าจะเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและฟื้นฟูจังหวัดชายแดนภาคใต้  เช่น  (ร่าง) พระราชบัญญัติฟื้นฟู ชุมชนและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชายแดนภาคใต้  และ  (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต   และส่วนที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เช่น  (ร่าง) พระราชบัญญัติคนขอทาน,  (ร่าง) พระราชบัญญัติหอพัก,  (ร่าง) พระราชบัญญัติปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย   จึงหวังว่ารัฐบาลและรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบงานด้านสังคมในช่วงต่อไปจะได้พิจารณาด้วยความรอบคอบ

๒. การปรับโครงสร้างองค์กรและการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

                เพื่อให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีโครงสร้าง  การแบ่งกลุ่มงาน   และการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบสำหรับรองรับกฎหมายใหม่  สอดคล้องกับสภาพปัญหาสังคมทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต  ทั้งในระดับโลก  ระดับประเทศ  และระดับท้องถิ่น  ตลอดจนสอดคล้องกับข้อตกลง  อนุสัญญา  กติกา  และความร่วมมือระหว่างประเทศที่นับวันจะมีบทบาทมากขึ้น

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีความจำเป็นต้องเอาใจใส่ต่อการปรับ โครงสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างจริงจัง   ซึ่งจะสามารถสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลสงเคราะห์  จัดสวัสดิการ  และพัฒนากลุ่มเป้าหมายเฉพาะ  เช่น  เด็ก  เยาวชน  สตรี  คนพิการ  ผู้ด้อยโอกาส  ผู้สูงอายุ  และกลุ่มชาติพันธุ์  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนั้น   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนากลไกการศึกษา  เฝ้าระวังปัญหาและแจ้งเตือนภัยทางสังคม  รวมทั้งการพัฒนาหน่วยงานเพื่อรองรับบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเพื่อสังคม  ภาคประชาสังคม  ระบบอาสาสมัคร  งานวิชาการ  และการรวบรวมข้อมูลอย่างเท่าทันเหตุการณ์อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม    ในช่วงระยะเวลาที่จำกัด   เราได้ดำเนินการไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว

จึงหวังว่าฝ่ายนโยบายและคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงจะได้พิจารณาสานต่อตามสมควรเช่นกัน

๓. การปฏิบัติงานตามภารกิจประจำของกระทรวง

เพื่อให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีผลงานเชิงคุณภาพ  สร้างคุณค่าให้สังคมอย่างต่อเนื่อง  ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ช่วยแบ่งเบาภารกิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  โดยกำกับดูแลงานประจำของข้าราชการทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  โดยให้ความสำคัญกับการเสนอแนะแนวความคิดใหม่  หรือนวัตกรรมการทำงานพัฒนาสังคม  การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร  การดำเนินการกระบวนการเพื่อให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สามารถธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานการทำงานบนหลักจริยธรรม  จรรยาบรรณ  และธรรมาภิบาล  เพื่อศักดิ์ศรีของข้าราชการและเกียรติภูมิของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

การแก้ปัญหาเร่งด่วนที่เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  อาทิ  กรณีโครงการบ้านเอื้ออาทร  กรณีแฟลตดินแดง  การไล่รื้อชุมชนสลัม  หวย  โควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลสำหรับผู้พิการ  แก็งค์ลักเด็ก  การกระทำรุนแรงในครอบครัวและในสังคม  การล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ  สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก-เยาวชน  ปัญหาหอพัก  สื่อและอินเทอร์เน็ตลามก  ฯลฯ

ทุกปัญหามีภาวะความขัดแย้ง  ความกดดัน  การเผชิญหน้า  แต่ด้วยวิธีการที่เราให้เกียรติ  รับฟัง  วิจัย  ค้นคว้า  วิเคราะห์  และค้นหาทางออกทางเลือกที่ดีที่สุดเป็นไปได้มากที่สุด  โดยมีหลักการ  และมีกระบวนการมีส่วนร่วมจริงจัง  ทำให้หลายปัญหาสามารถคลี่คลายและบรรเทาลงได้

๔. การขยายเครือข่ายองค์กรพันธมิตร

ด้วยตระหนักว่าภาระงานด้านพัฒนาสังคมจะลุล่วงสมบูรณ์ทั่วถึง  มิใช่เพียงลำพังข้าราชการ  และทรัพยากรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เท่านั้น  แต่ต้องด้วยการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนในสังคมเป็นสำคัญ  ทั้งจากสถาบันทางสังคม  สถาบันวิชาชีพ  หน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน  ภาคชุมชน  ภาคประชาสังคม  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมจังหวัด  คณะกรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัด  และคณะทำงานเครือข่ายยุทธศาสตร์ตามประเด็นปัญหาต่างๆ  คือรูปธรรมที่เป็นองค์การเชิงเครือข่าย ( Networking   Organization)   ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาสนับสนุนงานและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง  วิธีการ  ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนั้น  ยังได้ผลักดันมาตรการสนับสนุนทางนโยบายและทางกฎหมาย  เช่น  มาตรการด้านภาษีที่เอื้อต่อการให้และอาสาช่วยเหลือสังคม  การออกระเบียบที่เอื้อต่อการให้ผู้ทำงานภาครัฐและเอกชนได้มีโอกาสทำงานเพื่อสังคม  การจัดกิจกรรมรณรงค์ระดับประเทศ  การพัฒนาระบบสวัสดิการท้องถิ่นโดยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  การจัดตั้งเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม  เครือข่ายประชาสังคมเพื่อการพัฒนา

ทุนเชิงเครือข่ายและทุนทางสังคมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เหล่านี้  ล้วนมีความหมายอย่างยิ่งต่อบทบาทของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระยะยาว

๕. การหนุนเสริมภารกิจที่เป็นระเบียบวาระของประเทศ \

                ด้วยระลึกเสมอว่า  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีภาระหน้าที่ในการปกป้อง  คุ้มครอง  ดูแลสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งมนุษย์  รวมทั้งสวัสดิภาพ  สวัสดิการ  ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมด้านต่างๆ ของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในสังคม   ดังนั้น  เราจึงได้ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เป็นวาระของประเทศ  อันได้แก่  สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  การพัฒนาบรรยากาศและจิตสำนึกประชาธิปไตย  การลดปัญหาความรุนแรงและแตกแยกทางสังคม  การสร้างสังคมสันติยุติธรรม

ในแต่ละเรื่องที่เป็นระเบียบวาระของประเทศดังกล่าว  เราได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมที่สร้างผลสะเทือนและผลกระทบที่แตกต่างจากการดำเนินงานของราชการทั่วไปอยู่ไม่น้อย  อาทิ  โครงการเยียวยาและฟื้นฟูผู้รับผลกระทบจากความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้,  โครงการเครือข่ายอาสาสมัครดูแลผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้,  โครงการส่งเสริมบทบาท ปอเนาะเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง,  โครงการพัฒนาระบบกองทุนซะกาตดูแลเด็กกำพร้าในชุมชนมุสลิม,   โครงการผลิตละครโทรทัศน์เรื่องยาว “รายากุนิง” ,   โครงการเวทีประชาธิปไตยชุมชนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ๙๒๖ เวที,  โครงการคลินิกสันติยุติธรรม,  ศูนย์สนับสนุนการป้องกันและลดความรุนแรง  ฯลฯ

๕. การสื่อสารสาธารณะ

การรายงานต่อสังคมผ่านสื่อสารสาธารณะและสื่อมวลชนถือเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  โดยมุ่งหวังให้สังคมรับรู้  เข้าใจ  สนับสนุน  และมีส่วนร่วมกับการทำงานเพื่อสังคมกับภาครัฐและรัฐบาล

นอกจากการทำงานร่วมกับสื่อมวลชนเพื่อระดมและรับฟังความคิดเห็น  ความต้องการของสมาชิกสังคมกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวาง  และการสื่อสารกับสังคมผ่านสื่อมวลชน  ทั้งวิทยุกระจายเสียง  โทรทัศน์  และสื่อสิ่งพิมพ์เป็นระยะ  อย่างสม่ำเสมอและสอดรับกับสถานการณ์ในวาระงานแล้ว  เรายังได้นำนโยบาย  แผนงาน  รวมทั้งประเด็นทางสังคมเข้าสู่เวทีสาธารณะผ่านสื่อมวลชน  เพื่อสร้างวัฒนธรรม  “ประชาเสวนาร่วมค้นหาทางออกเพื่อสังคม”   อีกด้วย

อาทิ  จัดวาระพิเศษ “สภาชาวบ้าน”   ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์  อสมท.   ในประเด็น เด็ก  เยาวชน  สตรี  ผู้พิการ  และสวัสดิการสังคม  รวมทั้งรายการ “ประชาเสวนาเพื่อประชาธิปไตยชุมชน” ด้วย

ร่วมมือกับเนชั่นแชนแนลผลิตชุดรายการโทรทัศน์  “๘ โจทย์สำคัญของแผ่นดิน”  ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันตั้งโจทย์  แตกโจทย์  ตอบโจทย์  ซึ่งสามารถกระตุ้นพรรคการเมือง  นักการเมือง  และสังคมได้อย่างมากทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐

ผลิตรายการโทรทัศน์ “พบรัฐมนตรี”   โดยเชิญรัฐมนตรีกระทรวงด้านสังคมทุกกระทรวงมาร่วมสื่อสารสู่สาธารณะผ่านไททีวีช่อง ๑  และ เคเบิลทีวีช่อง ๒๘ ทั่วประเทศ

และด้วยตระหนักว่างานด้านสังคมมีความเป็นพลวัตรไม่หยุดนิ่ง  การทำงานที่ต่อเนื่องทั้งงานประจำ  งานนโยบาย  และงานนวัตกรรม  ในช่วง  ๑ ปีล้วนมีองค์ความรู้  และประสบการณ์ที่มีคุณค่าสะสมอยู่  เราจึงได้ผลิตเอกสารเพื่อบันทึกและเผยแพร่งานสำคัญเอาไว้เป็นข้อมูล  ความรู้  เพื่อประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงาน  เพื่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และเพื่อสังคมต่อไป

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/162481

<<< กลับ

สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 2)

สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 2)


๓.๒ โครงการส่งเสริมการทำความดี

( ๑ ) โครงการแผนที่คนดีเรื่องดี – แกะรอยแผนที่ตามหาคนดี ๑๐๐ ตัวอย่าง  เผยแพร่ทางโทรทัศน์  หนังสือและ วีซีดี

( ๒ )  สานฝัน ๘๐ ความดีถวายในหลวง – ๘๐ คน ๘๐ เรื่องราวของตัวอย่างผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

( ๓ )  ประกาศเชิดชูเกียรติเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน  ประจำปี ๒๕๕๐ ๑๑ สาขากิจกรรม  จำนวน ๑๕๖ ราย

( ๔ )  ประกาศเกียรติคุณบุคคล  องค์กร  และสถานประกอบการดีเด่นด้านสนับสนุนผู้พิการ  ประจำปี ๒๕๕๐ จำนวน ๓๓ ราย

( ๕ )  ประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่นของชาติประจำปี ๒๕๕๐ จำนวน ๑๗๙ ราย  และองค์กรที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ๑๕ องค์กร

๓.๓   สนับสนุนแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข    ร่วมมือกับศูนย์คุณธรรม  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. )   ดำเนินโครงการใน ๕ จังหวัดนำร่อง (น่าน,ตราด,พัทลุง,นครราชสีมา และ กรุงเทพมหานคร)  เพื่อสร้างความรู้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๒

๔. ขับเคลื่อนทางด้านกฎหมาย

                 เพื่อให้ยุทธศาสตร์สังคม สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในระยะยาว จึงได้ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

๔.๑ พระราชบัญญัติที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติแห่งชาติ   จำนวน ๘ ฉบับ

( ๑ )   พระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒ )  พ.ศ. ๒๕๕๐

( ๒ ) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่   ) พ.ศ. ๒๕๕๐

(๓)    พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๔) พระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๕) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ ๒ )  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๖)  พระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๗)  พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๘)  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  พ.ศ. ๒๕๕๐

๔.๒ พระราชกฤษฎีกาที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา   จำนวน  ๑ ฉบับ

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๐

๔.๓ ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๕ ฉบับ

(๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๒) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสถาบันครอบครัว  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมกิจการสตรี  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๕) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

๔.๔ (ร่าง) พระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างขั้นตอน/กระบวนการ   จำนวน ๘ ฉบับ

( ๑ ) ร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. …(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

( ๒ ) ร่าง พ ระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ  พ.ศ. … (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

 

( ๓ ) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา พ.ศ. … (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

( ๔ ) ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูชุมชนและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชายแดนภาคใต้  พ.ศ. …  (สำนักงานเลขาธิการ   คณะรัฐมนตรี)

(๕) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต  พ.ศ. …  (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

( ๖ ) ร่า งพระราชบัญญัติปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย  พ.ศ. … (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

(๗) ร่างพระราชบัญญัติคนขอทาน พ.ศ…(สำนักงานคณะกรรมกา รก ฤษฎีกา)

(๘) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสถาบันครอบครัว  พ.ศ. ….  (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

ฉายแนวคิด “ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม”

                                              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                                                                               ผ่านบทเรียนแห่งการทำงาน

นับจากการเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สิ่งแรกที่คิดคือ งานพัฒนาสังคมควรมียุทธศาสตร์อย่างไร เพราะการทำงานของรัฐบาลควรเน้นนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยรัฐมนตรีควรบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ จึงได้หารือกับผู้ทรงคุณวุฒิ จนสรุปเป็นยุทธศาสตร์ ๓ ด้าน คือ ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง และยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม โดยทั้ง ๓ ด้าน ต้องเกี่ยวข้อง สนับสนุน และปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

จากยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ จึงสามารถแปรเป็นนโยบาย แนวทาง รวมถึงมาตรการได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผลให้ผมและทีมงานร่วมกันพัฒนาแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์สังคม ๓ ด้านในเวลาต่อๆมา

ตลอดระยะเวลา ๑ ปีเศษของการทำงาน ผลงานที่ประทับใจมากที่สุดคือ การที่เราได้คิดและทำเชิงยุทธศาสตร์ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบคิดและระบบทำของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงการจัดให้มีกลไกในระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาสังคมเป็นรายจังหวัด ซึ่งกระจายกลไกนี้ไปถึงระดับท้องถิ่น และเน้นการทำงานที่ท้องถิ่นและชุมชน เป็นตัวตั้ง โดยทุกฝ่ายได้ประสานความร่วมมือกัน

การทำงานของกระทรวงตามแนวยุทธศาสตร์ และมีกลไกการกระจายพลังออกไปถึงจังหวัดและท้องถิ่น และมีการรวมพลังในแต่ละจังหวัดและท้องถิ่น จนเกิดการขับเคลื่อนร่วมกันนั้น  ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคม รวมถึงสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมและบูรณาการในทุกๆเรื่อง รวมถึงสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนต่างๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ อันได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบคลุมการพัฒนาครอบครัว การพัฒนาสตรี ตลอดจนการพัฒนาชุมชน และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฯลฯ

ถือว่าการทำให้การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงระบบสวัสดิการต่างๆเกิดพัฒนาการแบบ “กระจายกว้างลงสู่ฐานราก” และบูรณาการทั้งเชิงกลุ่มคนและเชิงประเด็น ซึ่งถือเป็นผลงานที่น่าพึงพอใจ แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะดีไปหมดหรือเสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยจะเป็นการปูพื้นฐานเรื่องการวางโครงการ จัดกลไก ดำเนินมาตรการต่างๆไปในทิศทางที่มีพลังมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น สร้างสรรค์มากขึ้น และควรจะมีความมั่นคงยั่งยืนมากขึ้น ทั้งหมดนี้รวมถึงการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต โดยเฉพาะการเพิ่มงบประมาณการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม จากเดิมที่ได้เพียงปีละ ๖๐ ล้านบาท มาเป็น ๔๗๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๐ และยังคงได้รับในจำนวนใกล้เคียงกัน คือ ๔๕๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๑

นอกจากการจัดสวัสดิการสังคมแล้ว การพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมขบวนการชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง โดยทำให้ฐานที่มีอยู่แล้ว เกิดการขยายฐานและเสริมสร้างสิ่งใหม่ เช่น การส่งเสริมและขยายผลเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน การมีระบบสวัสดิการชุมชนให้เดินหน้าไปได้ดียิ่งขึ้น ขณะที่การพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้คลี่คลายปัญหาวิกฤตที่สะสมมาจากอดีต โดยการสร้างสรรค์ทิศทางใหม่ รวมถึงการมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย

และสิ่งที่ได้ปูพื้นฐาน วางแนวทาง ตลอดจนงบประมาณต่างๆ ถือเป็นแนวทางที่ควรจะสานต่อ โดยเฉพาะการกระจายพลังไปที่จังหวัดและท้องถิ่น ตลอดจนการสนับสนุนให้รวมพลัง ณ จังหวัดและท้องถิ่น เป็นการรวมพลังหลายฝ่ายและหลายด้าน น่าจะเป็นหนทางที่นำสู่การสร้างความเข้มแข็ง รวมถึงการสร้างความสามารถในการจัดการร่วมกันของชุมชน ประชาชน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ให้เป็นไปในทางของการรวมพลังสร้างสรรค์ให้ดียิ่งขึ้น เพราะจะเป็นการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่ง และความสามารถที่ฐานราก โดยเฉพาะความสามารถในการจัดการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างสังคมที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง

“ชุมชน” จึงถือเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม ฉะนั้นการมีชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองในเรื่องต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สุขภาพ สวัสดิการ คุณธรรมและจริยธรรม จะถือเป็นฐานรากที่แข็งแรง และกระจายอยู่ทั่วทั้งสังคม เป็นฐานรากเล็กๆ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะสามารถค้ำยันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง จึงถือว่างานพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน เป็นงานที่สำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง และเกี่ยวข้องกับชีวิตคน ชุมชนจึงเป็นที่บูรณาการของทุกอย่างในสังคมได้อย่างดี

 

ฉายแนวคิด “พลเดช ปิ่นประทีป”

                                       รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                                                                                   ผ่านบทเรียนแห่งการทำงาน

ในฐานะเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วง ๕ เดือนแรก  และฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วง ๑๐ เดือนหลัง  ผมมีโอกาสได้ช่วยในการบริหารนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เพื่อรองรับยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างเต็มตัว  แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาการทำงานที่มีเพียงแค่ 15 เดือน  จึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษใน ๖ ภารกิจหลัก  ซึ่งขอสะท้อนมุมมองส่วนตัวดังต่อไปนี้

๑. การพัฒนากฎหมายสำคัญให้เป็นเครื่องมือการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เนื่องจากการแก้ปัญหาสังคมและการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงของมนุษย์นั้นมีมิติที่ซับซ้อน  มีความเป็นพลวัตรสูง  ต้องอาศัยระยะเวลาและการประสานร่วมมือระหว่างกระทรวงและหน่วยงานที่หลากหลายมาก  การมีกฎหมายเชิงส่งเสริมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

แต่ด้วยเหตุที่กฎหมายไทยที่มีอยู่ส่วนใหญ่ยังคงให้น้ำหนักกับบทลงโทษ  สำนักคิดและสถาบันทางกฎหมายในปัจจุบันจึงคุ้นชินต่อกฎหมายที่ออกมาเพื่อบังคับลงโทษมากกว่ากฎหมายในเชิงส่งเสริมสนับสนุนสังคมให้มีกระบวนการเรียนรู้และจัดการปัญหาด้วยตนเอง  อันเป็นกระบวนทัศน์ใหม่

อย่างไรก็ตามในภาพรวมการทำงาน ๑๕ เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีผลงานการพัฒนากฎหมายอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ  กล่าวคือ สามารถผ่านพระราชบัญญัติรวม ๘ ฉบับ,  พระราชกฤษฎีกา ๑ ฉบับ  และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๕ ฉบับ

โดยแม้ว่า (ร่าง) พระราชบัญญัติที่ถือเป็นกฎหมายเชิงยุทธศาสตร์ ๔ ฉบับ  อันได้แก่  (ร่าง) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน,  (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ,  (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา  และ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมครอบครัว  จะไม่สามารถออกเป็นกฎหมายได้  แต่คณะรัฐมนตรีก็ยังคงเห็นความสำคัญให้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  สำหรับเป็นเครื่องมือในการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นการทดแทน  ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ดี   แนวคิดและความพยายามในการยกร่างและผลักดันเสนอกฎหมายทุกฉบับ  โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคม  โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและภาคีที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้น  ได้สร้างความตื่นตัว  ความสนใจจากสาธารณะและสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง  ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างโจทย์ต่อหน่วยงานด้านกฎหมาย  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนว่า  ถึงเวลาหรือยังในการปรับกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมการออกกฎหมาย  โดยให้ความสำคัญต่อกฎหมายเชิงส่งเสริมให้มากขึ้น  อย่างเท่าเทียมกับกฎหมายเชิงควบคุม  บังคับและลงโทษที่มีอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/162480

<<< กลับ

สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 1)

สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 1)


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  

โดย ทีมงานของ รมว. และ รมช.พม.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการ และพัฒนามาตรฐานชีวิตที่ดีแก่ประชากรกลุ่มต่างๆในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี กลุ่มชาติพันธุ์ และสถาบันครอบครัว ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง

รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อ  ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙  กำหนดให้การบริหารราชการแผ่นดินมุ่งสร้างสังคมเข้มแข็ง  คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรม

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงได้นำนโยบายของรัฐบาลมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์สังคม (หน้า ๑๓) ใน ๓ ด้าน คือ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข้ง และสังคมคุณธรรม โดยจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเพื่อให้เป็นสังคมที่พึงปรารถนา คือ สังคมแห่งความดีงามและอยู่เย็นเป็นสุข

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

จากยุทธศาสตร์ทางสังคม ทั้ง ๓ ด้าน ได้แปรเป็นนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

๑. ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน เพื่อระดมพลังทางสังคมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากลำบาก

๑.๑ ส่งเสริมการจัดระบบ สวัสดิการท้องถิ่น จัดสำรวจผู้ถูกทอดทิ้งในทุกตำบลและให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น สนับสนุนให้

คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมในแต่ละจังหวัดจัดทำแผนการช่วยเหลือผู้ยากลำบาก เพื่อช่วยเหลือผู้ยากลำบากและผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ คน สนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมการจัดระบบสวัสดิการชุมชน จากงบกลาง ปี ๒๕๕๐ ให้การช่วยเหลือผู้ถูกทอดทิ้งในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล เฉลี่ยแห่งละ ๑๐ ,๐๐๐ บาท และสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม โดยนำร่องใน ๕ จังหวัด คือ ขอนแก่น ลำปาง พัทลุง และกรุงเทพมหานคร จังหวัดละ ๑ ล้านบาท

๑.๒ สร้างความสมานฉันท์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเป้าหมายในการปกป้อง และรักษาทุนทางสังคมในพื้นที่ไว้ให้ได้มากที่สุดท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรง  และความพยายามแก้ไขปัญหาของฝ่ายความมั่นคง  ดังนี้

( ๑ ) โครงการส่งเสริม “อาสาสมัครเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ” จากเหตุการณ์ความไม่สงบ  โดยผ่านศูนย์เยียวยาชุมชนปอเนาะ ๗๐ แห่ง  อาสาสมัคร ๒๕๐ คน  ดูแลประชาชนประมาณ ๒,๐๐๐ ราย

(๒) โครงการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนเพื่อ “เยียวยาผู้บาดเจ็บ และช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมีมัสยิด ๖๐๐ แห่ง ร่วมเป็นศูนย์แจ้งเหตุและศูนย์ปฏิบัติการ  ครอบคลุม ๓๓ อำเภอ ๒๕๐ ตำบล  ช่วยเหลือผู้อยู่ในภาวะลำบากประมาณ ๓ , ๐๐๐ ราย

( ๓ ) โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ “ชุมชนพหุศาสนิก” ในการเยียวยาฟื้นฟูความสมานฉันท์ในชุมชนท้องถิ่น  นำร่องใน ๑๓ ชุมชน

( ๔ ) โครงการส่งเสริมบทบาทปอเนาะเป็น “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง”    จำนวน ๑๕ แห่ง

( ๕ )  โครงการพัฒนา “ระบบกองทุนซะกาต” เพื่อดูแลเด็กกำพร้าในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้  จำนวน ๒๐ ปอเนาะ

( ๖ )  โครงการ “บ้านมั่นคง” ๖๒ ชุมชน ๕,๕๐๐ ครัวเรือน

( ๗ )  โครงการแก้ปัญหา “ชุมชนประมงพื้นบ้าน” เดือดร้อนจากเรืออวนรุนอวนลาก ๘๑ หมู่บ้าน ๒๕ ตำบล ๒๓ , ๓๒๔ ครอบครัว

( ๘ )  โครงการแก้ปัญหา “ที่ดินทำกิน”  ๓๐ ตำบล  ผู้เดือดร้อนจากอุทยานทับที่ทำกิน ๒ , ๘๐๐ ครอบครัว

( ๙ )  โครงการระดมความคิดต่อ “ร่างกฎหมาย” ที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้   ๓ ฉบับ  ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน  ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูชุมชนและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชายแดนภาคใต้  และ ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต

( ๑๐ )  โครงการผลิตละครโทรทัศน์ เรื่อง “รายากุนิง” เพื่อสร้างเสริมทัศนคติต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศ  ความยาว ๖๐ ชั่วโมง  เผยแพร่ในปี ๒๕๕๑

๑.๓ ส่งเสริมอาสาสมัครเพื่อสังคม คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เรื่อง “การให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม”  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินโครงการหลากหลาย   อาทิ   การรณรงค์จิตสำนึกการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมในโอกาสปีเฉลิมฉลอง ๘๐ พรรษา โดยประกาศให้ปี ๒๕๕๐ ซึ่งตรงกับโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม รณรงค์ วันสังคมสงเคราะห์และวันอาสาสมัครไทย ๒๑ ตุลาคม  วันอาสาสมัครสากล ๕ ธันวาคม และวันจิตอาสา ๒๗ ธันวาคม การจัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม  การเพิ่มหลักสูตรการเรียนว่าด้วยการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม ม าตรการเอื้อให้บุคลากรของรัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัคร โดยไม่ถือเป็นวันลา  ได้ไม่เกิน ๕ วัน และ จัดทำเว็บไซต์คนใจดีเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้และผู้รับ  เป็นต้น

๑.๔ ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในภาคธุรกิจและรัฐกิจ โดยการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม ( CSR Promotion Center)  ขึ้นในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีเครือข่ายนักธุรกิจเข้าร่วมกิจกรรม ๒๕๐ คน

๑.๕ ป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ ดำเนินการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิ ภาพ หญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ๖๙๕ คน อบรมทำแผนปฏิบัติการต่อต้าน การค้ามนุษย์ระดับจังหวัด ๖๑๐ คน อบรมทีมสหวิชาชีพเพื่อต้านการค้ามนุษย์ ๒๙๙ คน ทำบันทึกข้อตกลงในพื้นที่ ๓ กลุ่มจังหวัด (ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคเหนือ) บันทึกความเข้าใจองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่น ( IOM) และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยร่วมมือกันในกลุ่ม ๖ ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ( COMMIT)

                ๒. ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเป้าหมายและสถาบันครอบครัว (สตรี เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ) ผ่านการรวมตัวกัน เพื่อทำให้เกิดการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

.๑ ขยายระบบสวัสดิการชุมชน เพื่อเป็นฐานของชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง โดยสนับสนุนงบประมาณประจำปี ๒๕๕๐ จำนวน ๒๐๐ ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น ครอบคลุมพื้นที่ ๒,๐๐๐ ตำบล

๒.๒ วิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอ ใน ๑๒ จังหวัด

๒.๓ สนับสนุน การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย โดย สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัด   ๖๙ จังหวัด ๔๙๖ โครงการ ๕๓ ,๑๙๐ ครัวเรือน และโครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งได้ดำเนินโครงการทั้งสิ้น ๓๐๐,๕๐๔ หน่วย ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ๘๙,๖๐๗ หน่วย (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน๒๕๕๐)

๒.๔ ส่งเสริมเครือข่ายสตรีเข้มแข็ง   ผ่านกิจกรรมรณรงค์ความเสมอภาคเท่าเทียมของหญิงชาย รณรงค์ส่งเสริมสตรีมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง  โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนสตรี อาสาสมัคร ใน อบต. ๑ , ๗๕๐ คน  เพื่อเพิ่มสัดส่วนได้รับเลือกตั้งอย่างน้อยร้อยละ ๑๐

๒.๕ สร้างเสริมความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว   ผ่านกิจกรรมศูนย์พัฒนาครอบครัว ในชุมชน ๓ ,๑๖๖ แห่ง,   รณรงค์วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว ( We love Sunday),   โครงการครอบครัวสมานฉันท์    และสื่อรณรงค์ครอบครัวอบอุ่น

๒.๖ พัฒนาเด็กและเยาวชน ผ่านการขับเคลื่อนวาระเพื่อเด็กและเยาวชน ปี ๒๕๕๐ ใน ๕ ด้าน  ได้แก่  ๑ ) สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน   ผ่านการ ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเด็กบนโลกออนไลน์  ๒ ) ด้านกิจกรรม สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน   ๓ ) ด้านสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล  ๔ ) ด้านจังหวัดน่าอยู่สำหรับเด็ก และ ๕ ) ด้านกฎหมายส่งเสริมครอบครัว รวมถึงการจัดทำโครงการบูรณาการสร้างบทบาทและพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมแก่เด็กและเยาวชน โดยอบรมผู้นำเยาวชนคนสร้างชาติ ๕๔๓ ,๑๖๕ คน ทั่วประเทศ โครงการหอพักสีขาว และโครงการเครือข่ายเยาวชนประชาธิปไตย  เป็นต้น

๒.๗ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้จัดบริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร โดยอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมเพื่อช่วยเหลือคนพิการ จำนวน ๑,๒๘๕ คน ใน ๒๕ จังหวัด ส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนพิการและรณรงค์การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานภาครัฐ ๑๐ จังหวัด การให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับคนพิการ ผ่านกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จำนวน ๕ ,๐๕๘ ราย เป็นเงิน ๑๔๖.๒๒ ล้านบาท และสนับสนุนโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชน จำนวน ๑๖๖ โครงการ เป็นเงิน ๒๐.๙๗ ล้านบาท

๒.๘ ส่งเสริมศักยภาพและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ผ่านโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ( อผส.) ใน ๗๕ จังหวัด ๙๕ เขตพื้นที่  มี อผส. ๓ , ๖๓๘ คน  ดำเนินการดูแลผู้สูงอายุ ๒๗ , ๐๘๘ คน โครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุ (ธนาคารสมอง หน้า ๓๓) ได้ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง ๔ ภาค ๑๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม สกลนคร เพชรบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี พัทลุง สงขลา และตรัง โดยมีผู้สูงอายุขึ้นทะเบียนคลังปัญญาผู้สูงอายุ จำนวน ๔ ,๑๔๕ คน และเกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุสู่ชุมชน ๑๒๕ กิจกรรม มีเด็ก เยาวชน และประชาชน ได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอด ๑๔,๐๐๐ คน

๒.๙ ส่งเสริมการสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยองค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันจัดกระบวนการประเมินและรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน จำนวน ๓๕,๐๐๐ องค์กร

. ยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม มีภารกิจสำคัญคือ  การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม  และการสร้างสังคมที่สงบและสันติยุติธรรม

๓.๑ การถอดสลักความรุนแรงในสังคมไทย

( ๑ )  โครงการสนับสนุนการป้องกันและลดความรุนแรง  จัดตั้งศูนย์สนับสนุนการป้องกันและลดความรุนแรง (ศปลร.) ขึ้นในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   และเชื่อมโยงเครือข่ายสายด่วน ๑๑๘ เครือข่าย  เข้ามาร่วมปฏิบัติงานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

( ๒ )  โครงการศูนย์สันติยุติธรรม  จัดตั้งศูนย์สันติยุติธรรมใน ๔๖ จังหวัด จำนวน ๖๐ แห่ง

( ๓ )  ดำเนินโครงการเวทีประชาธิปไตยชุมชนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ในระดับอำเภอจำนวน ๙๒๖ เวที  เพื่อสร้างการเมืองเชิงสมานฉันท์ในระดับชุมชนท้องถิ่น

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/162476

<<< กลับ

นักการธนาคาร ผู้นำขบวนการชุมชนไทย (คำนิยมและคำนำ)

นักการธนาคาร ผู้นำขบวนการชุมชนไทย (คำนิยมและคำนำ)


(คำนิยมและคำนำสำหรับบทความชุด “ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม : นักการธนาคาร ผู้นำขบวนการชุมชนไทย” ลงใน นสพ.สยามรัฐ ระหว่างวันที่ 20 พ.ย. 50 – 25 ธ.ค. 50 รวม 10 ตอน ซึ่งต่อมาได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือโดย “สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.))

คำนิยม

มนุษย์ต่างจากสัตว์ที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบชั่วดีได้

ในชีวิตของแต่ละคนล้วนต้องพึ่งคนอื่นและสิ่งอื่น ต้องพึ่งอากาศที่หายใจ แสงแดดที่ให้พลังงาน ต้นไม้ที่ให้ออกซิเจน ความร่มรื่น และอาหาร น้ำที่ให้ความชุ่มชื้นและเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ต้องพึ่งชาวนา ต้องพึ่งคนทอผ้า ต้องพึ่งคนทำอาหาร ต้องพึ่งพ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ และคนอื่นๆ อีกมากมายในสังคม

มนุษย์ควรมีปัญญาเห็นความเชื่อมโยงพึ่งพาอาศัยของตัวเรากับสรรพสิ่งและมีกตัญญูในหัวใจ ว่าเกิดมาแล้วต้องตอบแทนต่อธรรมชาติและสังคม ถ้าทุกคนมีแต่เอา ธรรมชาติและสังคมก็อยู่ไม่ได้ ฉะนั้นในความเป็นมนุษย์เราจึงมีหน้าที่ ที่จะให้หรือตอบแทนต่อธรรมชาติและสังคม ยิ่งเป็นบุคคลสาธารณะที่มีคนรู้จักมาก เช่น พระราชวงศ์ นักการเมือง ดารา นักกีฬา ฯลฯ ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบสูง ในสมัยแห่งการสื่อสารใครทำอะไรหรือพูดอะไรก็รู้เห็นกันไปได้ทั่วบ้านทั่วเมือง ใครทำดีไม่ดีในที่สุดสาธารณะจะรู้ คนที่หวังดีต่อส่วนรวมด้วยความสุจริตใจจะได้รับความเชื่อถือไว้วางไจ ( Trust) จากสังคม ความเชื่อถือไว้วางใจเป็นทุนที่ยิ่งใหญ่มากที่เงินก็ชื้อไม่ได้ บุคคลสาธารณะจึงมีหน้าที่ในการทำให้ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้อยู่ในฐานะที่จะทำประโยชน์ให้สังคมได้มาก

ผมรู้จักคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมและนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป มาช้านานจนเชื่อได้สนิทใจว่าทั้งสองคนเป็นคนสุจริตที่หวังดีต่อบ้านเมือง ประกอบด้วยวิริยะอุตสาหะ ขันติธรรม และอหิงสธรรม

ในการทำงานเพื่อสังคมจะต้องฝ่าความเสียดทานมาก ต้องใช้ธรรมะพร้อมทั้งสุทธิ ปัญญา เมตตา และขันติ จึงจะสำเร็จประโยชน์ได้

คุณไพบูลย์ และคุณหมอพลเดช เป็นคนที่เข้าใจว่าการที่ประเทศของเรา เศรษฐกิจจะดี การเมืองจะดี และศีลธรรมจะดีนั้นอยู่ที่ “สังคมเข้มแข็ง” สังคมเข้มแข็งอยู่ที่ ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง และความเป็นประชาสังคม ถ้าปราศจากความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น และความเป็นประชาสังคมแล้ว ต่อให้เทศนาสั่งสอนหรือทำอย่างไรๆ เศรษฐกิจก็จะไม่มีวันดี การเมืองจะไม่มีวันดี และศีลธรรมจะไม่มีวันดี

เพราะตระหนักในข้อนี้ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งเคยเป็นนักการธนาคารจึงหันมาทุ่มเททำงานเพื่อส่งเสริมสังคมเข้มแข็ง หนังสือเรื่อง “ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  : นักการธนาคารผู้นำขบวนการชุมชนไทย” ที่คุณหมอพลเดชเรียบเรียงขึ้นมาจากความบันดาลใจ ที่เห็นชีวิตและการทำงานของไพบูลย์ จะช่วยให้เห็นการทำงานบนเส้นทางสังคมเข้มแข็งของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

พี่น้องคนไทยครับ ประเทศไทยของเรานี้สร้างให้เป็นสวรรค์บนดินได้โดยไม่ยากเลยถ้าคนไทยเข้าใจเรื่องสังคมเข้มแข็ง ถ้าภายใน ๕ ปี จากนี้ไปเราช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนให้ทั้ง ๗๐,๐๐๐ กว่าหมู่บ้าน และทั้ง ๗,๐๐๐ กว่าตำบลมีความเข้มแข็ง  อันหมายถึงฐานของสังคมเข้มแข็งเราจะสร้างชุมชนแห่งความพอเพียงและศานติสุขขึ้นเต็มประเทศ

คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป คือเพื่อนร่วมทางของพี่น้องคนไทยบนเส้นทางสังคมเข้มแข็ง ขอให้คนไทยประสบความสำเร็จในการสร้างสวรรค์บนดิน บนดินแดนอันบรรพบุรุษส่งมอบให้แก่เราผืนนี้ เพื่อลูกหลานของเราจะได้อยู่ร่วมกันด้วยความพอเพียงและศานติ  สืบไปชั่วกาลนาน

ประเวศ วะสี

๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐

คำนิยม

เมื่อ 30 ปีก่อน ขณะนั้นประเทศไทยเรามีปัญหาของการขาดโปรตีนและแคลลอรี่ในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล  ใครที่ไปเยี่ยมชนบท ก็มักจะพบเด็กขาดสารอาหารเป็นจำนวนมาก  เวลาพูดคุยให้ความรู้ชาวบ้านก็ทำได้ยาก  เนื่องจากพ่อแม่ของเด็ก  เห็นว่าลูกของตนเองผอมเท่ากับเด็กคนอื่นๆ ชาวบ้านไม่เข้าใจปัญหา คิดว่าเด็กผอมโดยธรรมชาติ  ประกอบกับในสมัยนั้นการสื่อสาร การเผยแพร่ความรู้เป็นไปอย่างจำกัด  หากต้องการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ในเด็กต้องดำเนินการอย่างบูรณาการ ทั้งทางด้านการศึกษา การสาธารณสุขการเกษตร  การส่งเสริมอาชีพ ซึ่งในแนวคิดนี้หมายถึงการมุ่งเน้นไปสู่การ “พัฒนามนุษย์” (Human Development) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการที่จะทำให้เด็กของเราเติบโต ไปเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพของชาติต่อไป

ผมรู้จักคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เมื่อตอนที่ผมและคุณหมอสาคร ธนมิตต์ (ปัจจุบันคือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงคุณสาคร ธนมิตต์)  ได้ร่วมกันดำเนินโครงการ แก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็ก ที่ดำเนินการในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเราเห็นตรงกันว่าการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็ก คือ จุดเริ่มของงาน Human Development เราทั้งสองจึงปรึกษากันว่าเราควรจะต้องให้องค์กรภาคีอื่นๆ เขามามีส่วนร่วม ขณะนั้นคุณไพบูลย์ เป็นผู้จัดการใหญ่ธนาคารออมสินเราได้ไปพบคุณไพบูลย์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และร่วมมือในการที่จะช่วยกันแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็ก

คุณไพบูลย์ ถึงแม้จะเป็นนักการธนาคารโดยพื้นฐาน แต่ก็เป็นผู้ที่มีความสนใจ ในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สนใจในการที่จะส่งเสริมความเข้มแข็งของประชาชน ที่ต้องการให้ประชาชนได้พึ่งตนเอง ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนจากการทำงานในด้านต่างๆ  เมื่อคุณไพบูลย์พ้นจากตำแหน่งที่ธนาคารออมสิน และมาทำงานในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนในทุกๆ ด้าน

โครงการ “เด็กกินอิ่ม เรายิ้มได้” เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีเป้าหมายเพื่อต้องการให้มีการระดมทรัพยากรต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอก จังหวัดศรีสะเกษให้มาลงทุนเด็กศรีสะเกษให้สามารถพึ่งตนเอง ในด้านอาหารและโภชนาการได้ คุณไพบูลย์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส. ก็ได้มีส่วนในการสนับสนุนให้โครงการประสบความสำเร็จและถือเป็นโครงการ ที่เป็นแบบอย่างให้พื้นที่อื่นๆ ได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป

ผมมีความเชื่อมั่นว่า คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม นักการธนาคารที่ใช้ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาคน  ในการที่จะสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนต้องการเห็นการบูรณาการความร่วมมือต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาให้แก่ท้องถิ่น  โดยอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณไพบูลย์ ได้ดำเนินงานตามความมุ่งมั่น เพื่อร่วมกัน พัฒนามนุษย์ ( Human Development) ซึ่งเป้าหมายร่วมกันของเราทุกคนต่อไป

ศ.นพ.อารี  วัลยะเสวี

18 ธค.2550

คำนิยมและขอบคุณ

“หมอพลเดช” (นพ.พลเดช  ปิ่นประทีป) เขียนเรื่อง “ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม นักการธนาคาร ผู้นำขบวนการชุมชนไทย” โดยไม่ได้บอกหรือระแคะระคายให้ผมได้ทราบเลย  จนกระทั่งผมมาเห็นในรูปบทความที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ  ซึ่งแยกลงเป็นตอนๆ ต่อเนื่องกันประมาณสัปดาห์ละ 2 ตอน ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550

เมื่อมีโอกาสผมจึงถามหมอพลเดชเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้รับคำอธิบายว่า เหตุการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจของผม ทำให้หมอพลเดชรำลึกถึงความเกี่ยวพันที่มีกับผมมาประมาณครบ 9 ปีพอดี และเป็นความเกี่ยวพันอันเนื่องด้วยความพยามยามที่จะก่อให้เกิด “ชุมชนเข้มแข็ง” พร้อมกับการแก้ปัญหาความยากจนและอื่นๆ ในสังคมไทย

จากความรำลึกดังกล่าว หมอพลเดชจึงลงมือเขียนเรื่อง “ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม นักการธนาคาร  ผู้นำขบวนการชุมชนไทย” โดยตั้งใจให้ “…เป็นการสดุดีในความเสียสละอุทิศตนเพื่อสังคม…” ของผม ซึ่งในส่วนนี้ ผมต้องขอขอบคุณหมอพลเดชที่มีน้ำใจและให้ความเป็นกัลยาณมิตรต่อผมอย่างมากนอกเหนือไปจากการที่ได้ช่วยงานและร่วมงานกับผมมาเป็นเวลาเนิ่นนาน โดยเฉพาะในช่วงที่เราทั้งสองคนเข้ามาทำงานภายใต้รัฐบาลที่มีพลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

อันที่จริง สาระหลักของเรื่อง “ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม นักการธนาคาร ผู้นำขบวนการชุมชนไทย” คือ การประมวล สรุป และวิเคราะห์ “พัฒนาการของขบวนการชุมชนไทย”อย่างเป็นขั้นเป็นตอน  โดยหมอพลเดชได้เชื่อมโยงบทบาทของผมเข้าไปในช่วงจังหวะและสถานการณ์ต่างๆ  ซึ่งผมต้องขอขอบคุณคุณหมอพลเดชที่วิเคราะห์ในเชิงให้ “เครดิต”หรือให้เกียรติกับผม โดยที่ในบางกรณีผมเองก็รู้สึกว่าอาจให้ “เครดิต” กับผมมากเกินไป  เพราะแท้ที่จริงแล้ว “พัฒนาการของขบวนการชุมชนไทย” ที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากความพยายามและบทบาทของบุคคล กลุ่ม องค์กร หน่วยงาน ฯลฯ จำนวนมากด้วยกัน ในขณะที่ผมเองเป็นเพียงหนึ่งในจำนวนบุคคลเหล่านั้น

“หมอพลเดช” เป็นแพทย์ที่อุทิศตนทำงานเพื่อมวลชนมาเป็นเวลานาน  ทั้งในฐานะข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และในฐานะที่ได้รับการยืมตัวมาช่วยงานใน “ภาคประชาชน” (เป็นเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา หรือ LDI ฯลฯ) หมอพลเดชเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม พร้อมกับเป็นนักปฏิบัติ นักบริหารจัดการ นักคิด นักวิชาการ และนักเขียน  ที่มีความสามารถและมีคุณภาพมากคนหนึ่ง เขียนหนังสือได้กระชับ คม ลึก สละสลวย และรวดเร็ว ซึ่งความสามารถและคุณภาพดังกล่าว  เป็นเหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมชักชวนให้หมอพลเดชมาช่วยงานรัฐบาลร่วมกับผม  ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เป็นต้นมา

ผมเห็นว่าเรื่อง “ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม นักการธนาคาร ผู้นำขบวนการชุมชนไทย” ซึ่งที่จริงคือการสรุปวิเคราะห์ “พัฒนาการของขบวนการชุมชนไทย” นั้น น่าจะมีคุณค่าในฐานะเป็นเอกสารวิชาการชิ้นหนึ่งที่สั้น กระชับ น่าอ่าน น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญมากในสังคมเรื่องหนึ่ง ได้แก่ เรื่อง “ขบวนการชุมชน” นั่นเอง ส่วนข้อที่ว่าผมมีบทบาทมากน้อยหรือสำคัญแค่ไหนอย่างไรในการสร้างเสริมขบวนการชุมชนไทย คงถือเป็นเรื่องของความคิดเห็นที่ย่อมมีได้ต่างๆ นานา และท่านผู้อ่านอาจมีความคิดเห็นที่ต่างไปจากหมอพลเดช  นั่นคือ อาจไม่เห็นด้วยเลยหรือเห็นด้วยเพียงบางส่วนก็ย่อมได้

อย่างไรก็ตาม  ผมเองต้องขอขอบคุณหมอพลเดชอีกครั้งหนึ่งในความปรารถนาดีและความเป็นกัลยาณมิตร  พร้อมกับขอชื่นชมความพยายามและความสามารถที่ได้ผลิตเอกสารเล่มกระชับซึ่งมีคุณค่าทางวิชาการ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานพัฒนาขบวนการชุมชนและสังคมที่หลายกลุ่มหลายฝ่ายมุ่งดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน  และคงจะพยายามดำเนินการต่อไปอีกนานในอนาคต

ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

ธันวาคม  2550

คำนำผู้เขียน

ผมรู้จักกับอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นครั้งแรกเมื่อตอนที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์หมอประเวศ วะสี ให้ไปนำเสนอยุทธศาสตร์การทำ 80,000 หมู่บ้านให้เข้มแข็ง ต่อที่ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มหนึ่ง จำได้ว่าวันนั้นคือวันที่ 22 ตุลาคม 2541 เขาประชุมกันที่บริษัทบางจากปิโตรเลียม และที่ประชุมดังกล่าวมีอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่าน อาทิ :- ประเวศ วะสี, สุเมธ ตันติเวชกุล, ธรรมรักษ์  การพิศิษฏ์, ไพโรจน์  สุจินดา, ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, วิจารณ์ พานิช, ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์, โสภณ สุภาพงษ์, สงวน นิตยารัมภ์พงศ์, เอนก นาคะบุตร, ฯลฯ

เราทำงานผูกพันใกล้ชิดเสมือนพี่น้องและเพื่อนร่วมแนวคิด ท่านบุกเบิกงานชุมชนเข้มแข็ง ส่วนผมสนใจในงานประชาสังคม. จนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ท่านได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผมจึงได้ขันอาสาร่วมทีมงานรัฐมนตรี การทำงานช่วยท่านในฐานะเลขานุการรัฐมนตรีในช่วงแรก และฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ในเวลาต่อมานั้น ทำให้ผมยิ่งเห็นความเอาจริงเอาจังที่เสมอต้นเสมอปลาย และความทรหดอดทนของท่านได้อย่างเด่นชัดที่สุด

การป่วยกะทันหันด้วยภาวะฉุกเฉินทางหัวใจของท่านในขณะประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 อันเป็นวันครบรอบ 1 ปี ของการร่วมรัฐบาลพอดีนั้น ได้รับการแพร่ภาพและรายงานข่าวเป็นการใหญ่ตลอดสัปดาห์โดยผ่านโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ คอลัมนิสต์ต่างพากันกล่าวขานถึงและยกย่องท่านว่าเป็นรัฐมนตรีที่ขยัน ทำงานหนัก และมีผลงานมากในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งผมถือว่านี่เป็นประกาศนียบัตรที่รับรองว่าท่านประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมรัฐบาลครั้งนี้แล้วโดยพื้นฐาน ทั้งๆที่ท่านทำงานได้เพียง 12 เดือน เพราะงานพัฒนาสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ท่านรับผิดชอบในฐานะรองนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นงานที่ไม่อาจเห็นผลสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น.

ท่านสามารถผ่านวิกฤตสุขภาพคราวนี้แบบเส้นยาแดงผ่าแปด และพักรักษาตัวเพียงแค่ 2 สัปดาห์ก็กลับเข้ามาเริ่มประชุม ครม. อีกครั้งเมื่อวันที่ 22  ตุลาคม 2550 สิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนบทความชิ้นนี้เพื่อเป็นการสดุดีในความเสียสละอุทิศตนเพื่อสังคมอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยของท่าน โดยพยายามประมวลภาพบทบาทและผลงานอันโดดเด่นให้สาธารณชนได้รับรู้ และให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเป็นแบบอย่าง.

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต ความคิด และผลงานโดยละเอียดของท่านได้มีผู้เขียนถึง และบันทึกไว้ในโอกาสต่างๆอยู่แล้ว บทความชิ้นนี้จึงมุ่งเสนอเฉพาะบางด้านที่เกี่ยวกับงานชุมชนท้องถิ่นที่ท่านมีบทบาทอย่างสำคัญเท่านั้น

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านและผู้สนใจทุกท่านจะได้รับข้อมูล แง่คิด และแรงบันดาลใจบ้างตามสมควร

พลเดช  ปิ่นประทีป

22  ตุลาคม  2550

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/157964

<<< กลับ

ธรรมาภิบาลของราชการไทย (ต่อ)

ธรรมาภิบาลของราชการไทย (ต่อ)


  • แนวทางการขับเคลื่อน
  1. สร้างกลุ่มผู้นำและผลักดันให้เกิดองค์กรแห่งสุจริตธรรมที่มีประสิทธิภาพ และมีศักดิ์ศรีในทุกระดับ เพื่อเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้และขยายผล
  2. การพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลที่เป็นระบบย่อยให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงสอดคล้องกัน
  3. วางระบบสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาล เช่น การออกกฎหมาย การพัฒนาระบบ และการจัดกลไกรับผิดชอบ
  • กระบวนการทำงานในระดับกระทรวง/กรม มี 7 ยุทธศาสตร์
  1. การสร้างกลุ่มผู้นำ และผลักดันให้เกิดองค์กรแห่งสุจริตธรรม
  2. การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และการพัฒนาข้าราชการ
  3. การให้คำปรึกษาแนะนำ และการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
  4. การปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลให้เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
  5. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
  6. การวัดผลและตรวจสอบด้านจริยธรรม
  7. การวางระบบสนับสนุนและปัจจัยพื้นฐานด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล
  8. เงื่อนไขความสำเร็จของการสร้างธรรมาภิบาล
  • คุณภาพของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในสังคม
  • ต้องใช้ เวลาและอาศัยความร่วมมือจากทุกสถาบันในสังคม ไม่ใช่มีกฎหมายอย่างเดียว
  • ต้องมีการบริหารจัดการและการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดทำตัวชี้วัด  และการติดตามผลด้วย
  1. กองทัพกับธรรมาภิบาล
  • กองทัพเป็นสถาบันสำคัญในการรักษาความมั่นคง และการพัฒนาประเทศทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต
  • กองทัพจำเป็นต้องมีธรรมาภิบาลเพราะมีกำลังพล กำลังอาวุธ  และมีวินัยที่เข้มแข็ง

·     การน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการรู้รักสามัคคีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาเป็นธงนำในการสร้างธรรมาภิบาลของกองทัพ  

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/154178

<<< กลับ

ธรรมาภิบาลของราชการไทย

ธรรมาภิบาลของราชการไทย


ประเด็นประกอบการบรรยาย

โดย

นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

รองนายกรัฐมนตรี

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ในวันพุธที่ 12 ธันวาคม 2550 เวลา 13.00 – 14.30 น.

ณ หอประชุมนวนครินทร์  โรงเรียนเตรียมทหาร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

* * * * * * * * * * * *

  1. ความหมายและองค์ประกอบ ของ “ธรรมาภิบาล” (Good Governance)

ความหมายทางทฤษฎี

  • การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสถาบันและกระบวนการทางการเมืองที่สามารถสร้างสรรค์นโยบายที่ดีและมีเครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับความหลากหลายของการประสานงานของหน่วยงานทางเศรษฐกิจของรัฐและเอกชน
  • การปกครอง การบริหารการจัดการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองคลองธรรม และหมายถึงการบริหารกิจการที่ดีซึ่งนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมะที่ใช้ในการบริหาร มีความหมายกว้างกว่าหลักธรรมทางศาสนาแต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงปฏิบัติ เช่น ความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  • UNESCAP กำหนดว่าหลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย 8 หลักการ คือ
  1. การมีส่วนร่วม ( participation )
  2. นิติธรรม ( rule of law )
  3. ความโปร่งใส ( transparency )
  4. ความรับผิดชอบ ( responsiveness )
  5. ความเห็นพ้องร่วมกัน ( consensus )
  6. ความเสมอภาคและครอบคลุม ( equity and inclusiveness )
  7. การมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ( effectiveness and efficiency )
  8. ความรับผิดชอบต่อผลของการกระทำ/การมีเหตุผลอธิบายได้ ( accountability )
  • ธนาคารโลก ให้ความหมายว่า
  1. การบริหารของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
  2. ระบบศาลที่เป็นอิสระ
  3. ระบบกฎหมายที่บังคับสัญญาต่างๆ
  4. การบริหารกองทุนสาธารณะที่มีลักษณะรับผิดชอบต่อประชาสังคม
  5. การมีระบบการตรวจสอบทางบัญชีที่เป็นอิสระ รับผิดชอบต่อตัวแทนในรัฐสภา
  6. การเคารพกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในทุกระดับของรัฐบาล
  7. โครงสร้างสถาบันที่มีลักษณะพหุนิยม
  8. การมีสื่อสารมวลชนที่เป็นอิสระ

ความหมายแฝงของธรรมาภิบาล

  1. ในแง่ระบบซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และมีนัยที่กว้างกว่าและดีกว่าคำว่า รัฐบาล (Government)
  2. ในด้านการเมือง มีลักษณะจำกัดและระบุอำนาจทางการเมืองอย่างชัดเจนได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และหมายถึงรัฐที่มีความชอบธรรมและมีอำนาจอย่างถูกต้อง
  3. ในแง่การบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึงการมีระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้มแข็ง เปิดเผย และพร้อมรับผิด ตลอดจนการมีระบบศาลที่เป็นอิสระในการแก้ไขข้อพิพาทต่างๆ

สำนักงาน กพ. กำหนดหลักธรรมาภิบาลว่าประกอบด้วยหลักการ คือ

  1. หลักคุณธรรม
  2. หลักนิติธรรม
  3. หลักความโปร่งใส
  4. หลักการมีส่วนร่วม
  5. หลักความรับผิดชอบ
  6. หลักความคุ้มค่า

ดร.อรพินท์  สพโชคชัย ระบุองค์ประกอบของธรรมาภิบาล ดังนี้

  1. การมีส่วนร่วมของสาธารณะ
  2. ความสุจริตและความโปร่งใส
  3. พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม
  4. กลไกการเมืองที่ชอบธรรม
  5. กฏเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน
  6. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

คำใกล้เคียง / ใช้แทนธรรมาภิบาล

ได้แก่ ธรรมรัฐ  รัฐาภิบาล  การกำกับดูแลที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

  1. ธรรมาภิบาลของระบบราชการไทย

ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องใหม่ของสังคมและระบบราชการไทย

2.1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542

“โดยที่สมควรกำหนดนโยบายและวางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การจัดระเบียบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักกฎหมายและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ให้สังคมสามารถมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการดังกล่าวด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและให้โอกาสตรวจสอบได้ ตลอดจนขยายการให้บริการภาครัฐไปสู่ประชาชนอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเป็นธรรม”

หลักการสำคัญของระเบียบฯ

  1. หลักนิติธรรม
  2. หลักคุณธรรม
  3. หลักความโปร่งใส
  4. หลักการมีส่วนร่วม
  5. หลักความรับผิดชอบ
  6. หลักความคุ้มค่า

2.2 แนวทางของรัฐบาล (ชวน  หลีกภัย)  ได้กระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปในภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน 5 ประการ

  1. สร้างกฏเกณฑ์และกลไกที่ดีในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม เพื่อให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องสามารถปรับเปลี่ยนกลไกและฟันเฟืองการทำงานและการประสานงานในภาครัฐและภาคเอกชนรองรับได้อย่างทันท่วงทีในยามที่มีปัญหา
  2. พัฒนาศักยภาพของนักวิชาการ ให้สามารถศึกษา ค้นคว้าและเสนอแนะแนวทางแก้ไขจุดบกพร่องๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมอย่างถูกต้อง กล้าหาญ และมีจริยธรรม
  3. ปรับปรุงระบบการตัดสินใจและการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนให้รวดเร็ว ชัดเจน และเป็นธรรม
  4. ขยายโอกาสของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองเพื่อร่วมกับภาครัฐในการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาส่วนรวม
  5. ขจัดการทุจริต ประพฤติมิชอบ และการหลีกเลี่ยงกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ใส่ตนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกัน

2.3 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) บัญญัติให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

2.4 พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2546

เหตุผล : โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการเพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

เป้าหมาย 7 ประการของพระราชกฤษฎีกา

  1. เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน
  2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติเกินความจำเป็น
  5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการได้ทันต่อสถานการณ์
  6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความต้องการ
  7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

หลักของธรรมาภิบาลในภาครัฐ

  1. ยึดมั่นในหลักของวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ประชาชน
  2. ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าที่และบทบาทของตน
  3. ส่งเสริมค่านิยมขององค์กร และแสดงให้เห็นคุณค่าของธรรมาภิบาลโดยการปฏิบัติหรือพฤติกรรม
  4. มีการสื่อสารที่ดี การตัดสินใจอย่างโปร่งใส และมีการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม
  5. พัฒนาศักยภาพและความสามารถของส่วนราชการอย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  6. เข้าถึงประชาชนและต้องรับผิดชอบต่อการทำงานและผลงานอย่างจริงจัง
  7. รัฐบาลปัจจุบันและการสร้างธรรมาภิบาล

3.1 การกำหนดนโยบายของรัฐบาล

3.2 วาระแห่งชาติ ด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ

  • เป้าหมาย

เพื่อปรับให้ภาคราชการทำงานด้วยความตระหนักในหลักคุณธรรม มีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานด้วยความสุจริต โปร่งใส ประหยัด ใช้หลักความรู้ หลักเหตุผล เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีจิตสำนึกในการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

  • คำประกาศของนายกรัฐมนตรี (8 ธันวาคม 2549)

“ข้าพเจ้า พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีขอประกาศเจตนารมณ์ในอันที่จะมุ่งมั่นสร้างระบบบริหารราชการแผ่นดินที่สุจริต เป็นธรรม และเป็นที่เชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน รวมทั้งการขจัดปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมุ่งพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายให้เหมาะสม สร้างระบบราชการให้มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาการทุจริตทั้งปวง จะมุ่งฟื้นฟูระบบคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเร่งด่วน โดยจะใช้กลไกภาครัฐผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งระบบ เพื่อก่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดีที่ขึ้นอย่างยั่งยืน”

  • เป้าประสงค์
  1. การลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบในทางราชการ เพื่อสร้างความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ลดความสูญเสีย และขจัดรูรั่วไหลในการปฏิบัติราชการ
  2. สร้างจิตสำนึกในการประพฤติชอบ ให้ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ความสุจริต ซื่อตรง เที่ยงธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด เกิดความคุ้มค่า มีคุณภาพ มีมาตรฐาน ถูกต้อง ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/154177

<<< กลับ

เปิดใจมันสมอง ‘ขิงแก่’ รับโดนกระทุ้งท้องเรือ เหตุ 1 ปี งานอืด

เปิดใจมันสมอง ‘ขิงแก่’ รับโดนกระทุ้งท้องเรือ เหตุ 1 ปี งานอืด


(สัมภาษณ์พิเศษลงใน นสพ.โพสต์ ทูเดย์ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม 50 หน้า A-4)

8 ต.ค. 2550 ครบรอบการทำงาน 1 ปีของรัฐบาลสุรยุทธ์ที่มาโดยการรัฐประหาร

จากความหวังที่อยากเห็นรัฐบาลแก้ปัญหาด้านต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะความแตกแยกในสังคม และนำพาประเทศให้เกิดความสามัคคี พ้นภัยจากพิษประชานิยม

ทว่า 1 ปีที่ผ่านมา ปรากฏคำวิจารณ์ หนักหน่วงว่า รัฐบาลสอบตก ไร้ผลงาน ไม่ฉวยโอกาสผลักดันวาระปฏิรูป ยกเครื่อง แก้ปัญหาสำคัญของชาติให้เป็นผลสำเร็จ

เป็นเหตุให้กลุ่มการเมืองที่ร่วมโค่นระบอบทักษิณอ้างความล้มเหลวจากการ “ปล่อยเกียร์ว่าง” ครั้งนี้ เพื่อเปลี่ยนตัวนายกฯ เพราะเกรง “อำนาจเก่า” จะกลับมาเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งในอีกไม่กี่เดือนนี้

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้ซึ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ไว้วางใจมาก และถือเป็น “มันสมอง” คนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังยุทธศาสตร์ด้านการเมือง ชี้แจงมุมมองลึกๆ อีกด้าน ถึงการฝ่าฟันมรสุมวิกฤตในช่วง 1 ปีที่ผ่านมากับอุปสรรคและผลงานที่ไม่ค่อยเป็นข่าว…

รัฐบาลไม่มีผลงานจริงหรือ

เบื้องต้นอยากให้ความเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ที่สังคมไทยคุ้นชินกันอยู่คือ การเอาตัวเองเป็นหลักและมุ่งหาความผิดพลาด มากกว่าการที่จะวิเคราะห์เพื่อเสริมสร้างพลังในสังคม เช่นองค์กรหนึ่งมีทั้งส่วนที่ประสบความสำเร็จและส่วนที่มีปัญหา และก็บอกว่าองค์กรนี้ไม่เอาไหนเลย มีแต่ปัญหา ซึ่งก็ไม่ผิด แต่อาจจะพูดเกินความจริงตามอคติของ ผู้วิจารณ์และก็จบอยู่แค่นั้น ผลที่ตามมาคือคนในองค์กรที่ทำดีก็จะรู้สึกท้อถอย วิธีวิจารณ์แบบนี้แทนที่จะทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้ากลับอ่อนแอ

ส่วนการวิจารณ์แบบเพิ่มพลังจะค้นหา สิ่งที่ดี ทำให้คนที่ได้รับการค้นหาสิ่งที่ดีมีความภูมิใจจึงเหมือนถูกกระตุ้นให้อยากทำความดี ก็จะต่อพลังไปเรื่อยๆ ในที่สุดคนนั้นก็จะดีมากขึ้น ฉะนั้นการวิจารณ์ทางการเมืองไทยจึงไม่ก้าวหน้า และไม่สร้างสรรค์ เต็มไปด้วยการกล่าวหา กระแทก ปฏิปักษ์

ฉะนั้น ประเภทที่มาบอกว่าคนนั้นสอบตก ก็เป็นการคิดแบบง่ายๆ เพราะถามจริงๆ คุณเอามาตรฐานอะไรมาประเมิน เช่นบอกว่ารัฐมนตรีคนนี้สอบตก คุณไปดูหรือไม่ว่าใน 1 ปีเขาทำอะไรบ้าง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้ความรู้สึกที่ฟังจากข่าว เช่นรัฐมนตรีนี้ไม่ค่อยเป็นข่าว ก็แสดงว่า คงไม่มีผลงานอะไร ทั้งที่งานทุกอย่างอาจไม่เป็นข่าวหมดก็ได้ ที่เป็นข่าวก็แค่นิดเดียวของงานที่ทำ

การวิจารณ์แบบผิวเผินจึงไม่ได้ช่วยอย่างสร้างสรรค์ เพราะถ้าบอกว่ารัฐบาลสอบตก แล้วยังไง จะให้เขาลาออกหรือ แล้วได้อะไรในสถานการณ์อย่างนี้

สิ่งดีๆ ของรัฐบาลมีอะไรบ้าง

ถ้ามองภาพรวมรัฐบาล เปรียบเทียบรัฐบาลนี้กับรัฐบาลก่อนเป็นเรื่องๆ โดยมีเกณฑ์ต่างๆ ผมก็มั่นใจว่ามีหลายอย่างที่ดีกว่าเก่า เช่นความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ได้มีเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมุ่งหวังอำนาจ ถ้ารัฐบาลเป็นอย่างนี้ต่อเนื่อง ประเทศจะพัฒนาไปได้มาก รัฐบาลนี้ยังมีวิสัยทัศน์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเป็นอย่างนี้กลไกต่างๆ ก็เดินตามไป ซึ่งก็ต้องใช้เวลา เหมือนกับสังคมต้องปรับจากสภาพหนึ่งที่เต็มไปด้วยยาฉีด ยาโป๊เพิ่มพลังทั้งหลาย พอหยุดแล้วมาใช้ยาธรรมชาติ ก็ต้องใช้เวลาพักฟื้น ผู้คนจึงยังไม่เห็นผล แต่ถ้าผ่านไปอีก 1-3 ปี สภาพร่างกายจะค่อยๆ ฟื้นขึ้น

ดังนั้น วิสัยทัศน์ ซื่อสัตย์สุจริต-เศรษฐกิจพอเพียง สังคมต้องใช้เวลาในการปรับสภาพ เป็นวิสัยทัศน์แบบลึกที่ถ้าคิดลึกๆ ก็จะเข้าใจและเห็นผลดีที่จะทยอยตามมา แต่ต้องใช้เวลา

อีกอย่างที่รัฐบาลนี้โดยเฉพาะ ผมอยากทำ แต่สุดท้ายตัดสินใจไม่ทำ คือการปฏิรูประบบ จะเห็นได้ว่าระบบการบริหารงานราชการแผ่นดินมีปัญหาเยอะ ซึ่งหลายรัฐบาลตระหนักถึงได้มีคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการแทบทุกยุคสมัย แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งรัฐบาลนี้ทำลำบาก เพราะเป็นรัฐบาลระยะสั้น การปฏิรูปต้องใช้เวลายาว แต่รัฐบาลก็ได้ปฏิรูปบางเรื่องที่พอจะทำได้ เช่นวิธีบริหารงบประมาณ โดยให้จังหวัดเป็นหน่วยตั้งงบประมาณได้ นอกจากนี้ ยังมีการปฏิรูประบบข้าราชการที่ปรับเรื่องการจำแนกตำแหน่ง โดยมีกฎหมายออกมาแล้ว การปฏิรูปสื่อที่มี พ.ร.บ.กิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และเริ่มพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ หรือทีวีเรตติ้ง ดูแลเรื่องโฆษณาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน การรักษาพยาบาล โดยเฉพาะโครงการสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทุกรัฐบาลพยายามทำ รัฐบาลนี้ก็สานต่อ แต่มาเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ หรือการป้องกัน เหล่านี้เป็นต้น

รัฐบาลยังเดินหน้าระบบสวัสดิการ และคุ้มครองเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส เน้นการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว โดยมีพระราชบัญญัติออกมา กำลังมีผลเร็วๆ นี้ เรื่องสวัสดิการชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชน หน่วยงานรัฐและท้องถิ่น จัดสวัสดิการกันเอง โดยเอาท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง มีคณะกรรมการที่หลายฝ่ายร่วมกันส่งเสริมให้ประชาชนทำงานกันเองมากกว่าให้รัฐไปชี้นำ

ความเข้มแข็งของชุมชนที่รัฐบาลนี้เน้นคือการแก้ปัญหาความยากจนที่แท้จริงและยั่งยืน ไม่ใช่ไปปลดหนี้ หรือพักหนี้ ซึ่งช่วยได้ชั่วคราว ถ้าชุมชนเข้มแข็งและเป็นชุมชนประชาธิปไตยก็จะแก้ปัญหาการเมืองการปกครองได้ด้วย ซึ่งวันนี้ประชาธิปไตยภาคประชาชนได้เกิดแล้วในท้องถิ่นหลายแห่ง แต่ยังไม่มากพอ

เหล่านี้คือการสร้างความเข้มแข็งของประชาชน เป็นวิสัยทัศน์ที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่วิสัยทัศน์ที่เอาประโยชน์เฉพาะหน้าไปให้ แต่เรื่องเหล่านี้ใช้เวลา และก็มักไม่เป็นข่าวมาก หรือไม่ก็เป็นข่าวลำบากไม่เหมือนการแจกของ

เป็นเพราะรัฐบาลอยู่ในภาวะลำบากและประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ขณะที่รัฐบาลมีภาพที่ไม่สามารถแก้ปัญหาทันกับความต้องการของประชาชน

อาจมีส่วนคือ เมื่อเกิดวิกฤตทางการเมืองและเราก็แก้ด้วยการรัฐประหาร ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วย แต่ว่าสถานการณ์ขณะนั้นเหมือนเป็นทางสองแพร่งที่ต่างกันนิดเดียว กล่าวคือทางหนึ่งปล่อยให้เป็นเรื่องที่สังคมจัดการตัวเอง ซึ่งอาจหมายถึงการต้องปะทะ เสียชีวิต บางคนก็เห็นว่า ถ้าจะเกิดก็ต้องเกิด จะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ นี่คือแนวคิดของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่บอกว่า บางทีของมีค่าต้องได้มาด้วยเลือดเนื้อและชีวิต

อีกแพร่งหนึ่งบอกว่า ถ้าปล่อยไปตามนั้นรับไม่ได้แน่ จึงเลือกการรัฐประหารเพื่อหยุดยั้งการเผชิญหน้า ไม่ให้เสียเลือดเนื้อ ซึ่งจะเกิดหรือไม่ เราก็ไม่รู้ ก็เลยกันไว้ก่อน แต่ของอย่างนี้พิสูจน์ไม่ได้ ช่วงนั้นก็ดูว่า รัฐประหารแล้วน่าจะคลายวิกฤต แต่รากโคนของความเป็นปฏิปักษ์ไม่ได้ถูกถอนไป ความขัดแย้งเชิงแนวคิด ปรัชญา หรือขั้วการเมืองก็ยังอยู่และบังเอิญขั้วการเมืองเดิมถูกยึดอำนาจไปก็ยังไม่หยุดที่จะใช้ความพยายามต่อสู้ ทั้งหมดจึงกลับมาเผชิญหน้ากันอีก นี่คือปรากฏการณ์ของสังคม

สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างเสียอย่าง สมมติว่าไม่มีรัฐประหาร ก็คงจะเกิดปรากฏการณ์ที่ได้อย่างเสียอย่างอีกแบบเหมือนกันคือ ถ้าคิดเชิงทฤษฎีก็ได้ว่า ถ้าทำอย่างนั้นจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เช่นถ้าไม่มีรัฐประหาร ก็คงจะเกิดการเผชิญหน้าและการเสียเลือดเนื้อ แต่สังคมก็จะได้เรียนรู้ และรากโคนของความขัดแย้งก็อาจเบากว่าในสภาพปัจจุบัน

รัฐบาลมาด้วยความคาดหวังสูง จึงแก้ปัญหาลำบากและถูกจับตามากเป็นพิเศษ

ครั้งนี้แปลกกว่าครั้งอื่นๆ ที่เมื่อรัฐประหารเสร็จ เขาก็มอบอำนาจการบริหารให้กับรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นความใจกว้างของเขา โดยหวังว่าจะให้เข้าสู่กระบวนการที่คล้ายประชาธิปไตยให้มากที่สุดโดยเร็ว

ฉะนั้น ภารกิจระหว่างคณะรัฐประหารกับรัฐบาล จึงไม่เหมือนกันทีเดียว คนที่มาเป็นรัฐบาลก็ไม่ได้มา เพราะว่าจะมารัฐประหารกับเขา แต่มาเพื่อบริหารประเทศชั่วคราวและจัดการเรื่องต่างๆ เช่น การทำรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เลือกตั้งใหม่ ขณะเดียวกันสถานการณ์ช่วงนั้นบังเอิญมีความคับขันหลายอย่าง ผู้ที่ถูกยึดอำนาจก็ยังพยายามฟื้นคืนอำนาจ ภาวะรัฐบาลจึงเหมือนกับพายเรือไปก็มีคนคอยส่งคลื่นมากระทุ้งท้องเรือ (หัวเราะ) ทำให้ทำงานยากขึ้น

สำหรับประชาชนก็อยากได้อะไรดีๆ เช่น การแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ใครทุจริตต้องถูกจับ อยากได้ความอยู่ดีกินดีโดยเร็ว แต่ทั้งสามเรื่องมันยาก เช่นความสงบภาคใต้ก็เกิดยากเพราะความขัดแย้งปั่นป่วนสะสมมานานและอยู่ในช่วงขาขึ้น

ส่วนการทุจริตระดับต่างๆ ก็ต้องให้เวลากับ คตส. เรื่องการอยู่ดีกินดี รัฐบาลที่แล้วใช้เวลาถึง 5 ปี ประชาชนก็ยังไม่อยู่ดีกินดี แถมยังเกิดปัญหาหนี้สินจนมาร้องเรียนรัฐบาลนี้ เช่นปัญหากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ 5 ปี ก็ยังไม่ได้จัดระบบให้เรียบร้อย มีการรับประกันราคาข้าวให้ราคาสูง พอขายขาดทุน รัฐบาลนี้ก็ต้องมาใช้หนี้แทน 2-3 หมื่นล้านบาท ก็มากินแรงรัฐบาลนี้ ทั้งที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุ และยังมีความไม่สุจริตในการรับจำนำข้าวอยู่ด้วย ครั้นไปจัดการเรื่องลำไยก็มีทุจริตอีก ปัญหาพวกนี้จึงสั่งสมมาถึงรัฐบาลนี้ทำให้เสียเวลาต้องมาแก้

เสียงวิจารณ์ว่า เพราะรัฐมนตรีหลายคนเป็นเทคโนแครต ข้าราชการเก่า ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า

ระบบราชการก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นกลไกสลับซับซ้อนมาก เมื่อจะปรับปรุงให้ดีก็ยาก ขนาดรัฐบาลที่แล้วใช้เวลาตั้ง 5 ปี เพื่อปฏิรูประบบราชการ สุดท้ายก็ทำได้นิดเดียว เมื่อรัฐบาลมาทำงานต้องอาศัยกลไกของภาครัฐทั้งหมด มันมีความล่าช้า มีความหนืดซับซ้อนอยู่ในนั้น รัฐบาลนี้จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะปฏิรูปหรือปรับเปลี่ยนแบบรุนแรงได้ อย่างผมเองเห็นช่องทางที่จะปฏิรูปเยอะแยะไปหมด แต่คงไม่เหมาะสมที่จะทำ เพราะถ้าทำต้องใช้เวลาและต้องยกเครื่องกันเยอะ จึงทำแค่บางจุดเท่านั้น

กลับมาที่ตัวรัฐมนตรี ผมคิดว่า ทุกคนบริหารจัดการในกระทรวงได้ดี อย่างกระทรวงที่ผมใกล้ชิด เช่นศึกษาธิการ หรือสาธารณสุข ก็มีความก้าวหน้าชัดเจน แต่ถ้าใครอยากดูอย่างละเอียด ก็ลองไปเปรียบเทียบว่า 1 ปีก่อนหน้า กับ 1 ปีที่ผ่านมาแต่ละกระทรวงที่ว่าเป็นอย่างไร ผมคิดว่าหลายอย่างดีขึ้น

ข้อวิจารณ์เรื่องความเป็น “ขิงแก่” เกินไป ถ้าได้คนหนุ่มสาวอาจกล้าตัดสินใจมากกว่านี้

คงไม่เกี่ยว เพราะสิ่งทั้งหลายที่ได้ปฏิรูปก็มาจากขิงแก่ทั้งนั้น ผมกับ นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข ก็อายุ 66 ปี อาจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษา ก็ 70 กว่าปี ก็ปฏิรูปทั้งนั้น แต่เวลาเราทำเรื่องห้ามโฆษณาเหล้าก็คัดค้าน จะห้ามสูบบุหรี่ในผับก็ค้าน จะปฏิรูปสื่อเรื่องเรตติ้งก็ค้าน นี่ขนาดปฏิรูปไม่มากนะ ซึ่งคนที่คิดปฏิรูปก็คนอายุมากๆ ทั้งนั้น เพราะผ่านประสบการณ์เยอะ เราตกผลึกทางความคิด แต่สังคมยังไม่ตกผลึก

ดูรัฐบาลจะแก้ปัญหารายวันมากเกินไป

บางอย่างถ้าปฏิรูปเยอะๆ มันทำยาก เพราะจะกระทบกระทั่งกันมาก และต้องใช้เวลา และรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแต่งตั้ง ถ้าปฏิรูปมากมาย ก็จะมีเสียงวิจารณ์ว่า คุณไม่ควรไปเปลี่ยนอะไรมาก อย่างผมอยากให้มีกฎหมายภาษีทรัพย์สิน กฎหมายภาษีมรดก แต่คนในรัฐบาลด้วยกันบอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องให้รัฐบาลชุดเลือกตั้งทำ ผมเองคิดว่าแม้เราเป็นรัฐบาลแต่งตั้ง แต่ถ้าเราคิดว่าเรื่องไหนดีก็ควรทำ หากรัฐบาลใหม่เห็นว่าไม่ดีก็เปลี่ยนกลับได้ แต่บางทีปฏิรูปเล็กๆ ผมก็ยังทำไม่ได้เลย เช่นสภาองค์กรชุมชนเป็นเรื่องดี ยังมีคนบอกว่าคุณต้องรอรัฐบาลใหม่ทำ รัฐบาลนี้ไม่ควร

หมายความว่า หากรัฐบาลนี้อยู่อีกปี 2 ปี ก็จะมีผลงาน

ถ้าเราอยู่ระยะยาวซัก 2-3 ปี ก็จะทำได้สะดวกขึ้น แต่นั่นเป็นทฤษฎี ซึ่งเราไม่ควรอยู่ยาวอยู่แล้ว เราควรอยู่ให้สั้นที่สุด เพราะเราไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากกระบวนการประชาธิปไตย แต่ก็ต้องพยายามทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ และหลายอย่างเราต้องมาแก้ปัญหาจากรัฐบาลเดิม พร้อมกับพยายามปูพื้นฐาน สร้างกลไก ซึ่งจะเกิดผลดีกับรัฐบาลหน้า เพราะ 1. เราเคลียร์ปัญหาบางอย่างไปแล้ว 2. เราสร้างกลไกสำหรับอนาคต แต่ว่าเครดิตคนจะไม่ค่อยเห็น เพราะเราต้องไปจ่ายขาดทุนแทนรัฐบาลเก่า แก้ปัญหาทุจริต ความบกพร่องต่างๆ และเมื่อสร้างกลไกที่ดีกับรัฐบาลต่อไปคนก็ไม่เห็นอีก

มองว่าวิกฤตทักษิณ และความแตกแยกในสังคม ยังดำรงอยู่ต่อไปหลังรัฐบาลใหม่แค่ไหน

ยังอยู่ ปัญหาเรื่องความขัดแย้งรุนแรง ความคิด ความเชื่อ และความพยายามของแต่ละฝ่าย ก็เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องจัดการตัวเอง แต่ผมเชื่อว่าที่สุดแล้วเป็นเรื่องของประชาชน ไม่ใช่เป็นเรื่องของผู้นำฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าประชาชนยังจัดการตัวเองได้ไม่ดี ไม่เข้มแข็ง ก็จะกลายเป็นเบี้ยให้กับผู้นำที่อาจมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและก็ต่อสู้กัน แต่ในระยะสั้นนี้ขอบอกเลยว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้แน่

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/138664

<<< กลับ