‘ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม’ ขยายความ ‘อภิสิทธัตถะ’

‘ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม’ ขยายความ ‘อภิสิทธัตถะ’


(ข้อความข่าว  ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน  ฉบับวันที่  4  สิงหาคม  2553  หน้า 11)

 

หมายเหตุ:- นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ชี้แจงผ่าน  ‘มติชน’  อธิบายความหมายของคำว่า ‘อภิสิทธัตถะ’

 

“อภิสิทธัตถะ”  กลายเป็นคำใหม่ที่ถูกเอ่ยถึงกันอย่างหนาหู  ในแวดวงการเมืองในช่วงนี้

ที่มาของคำนี้มาจาก  ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  อดีตรองนายกรัฐมนตรี  ได้ไปกล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ  “อนาคตประเทศไทยบนพื้นฐานความปรองดอง”  ในเวทีสัมมนากรรมการบริหารและ  ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์  เมื่อวันที่  31  กรกฎาคมที่ผ่านมา  ที่ว่า

“…การแก้ปัญหาแตกแยกจะต้องเริ่มที่ตัวเรา  ไม่ใช่เสนอให้คนอื่นทำอะไร  แต่ตัวเองไม่ทำอะไร  เหมือนพ่อบอกให้แม่กับลูกทำอย่างนั้น  แต่ตัวเองไม่บอกว่าจะทำอะไร  ปัญหาที่ซับซ้อนจะต้องใช้พลังสังคมเป็นตัวนำ  เหมือนในทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา  ของ  นพ.ประเวศ  วะสี  ผมขอพูดต่อหน้านายกฯ  และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นคนหนึ่งที่ชื่นชมนายกฯอภิสิทธิ์ เพราะเห็นว่าเป็นคนดี  ฉลาดและซื่อตรง  ภาษาบาลีเรียกว่าเป็น  สัตบุรุษ  จึงอาจเรียกคุณอภิสิทธิ์ว่านายอภิสิทธิ์สัตตะ  สิ่งที่ท่านพยายามทำ  ทั้งสร้างความปรองดองและปฏิรูปประเทศให้ดีกว่าเดิม  อาจมีคนไม่ชอบบ้างเป็นธรรมดา  แต่คนส่วนใหญ่พอใจ  อยากให้ท่านทำ  ถ้าท่านทำได้สำเร็จ  ท่านจะไม่เป็นแต่เพียงนายอภิสิทธิ์สัตตะแต่จะเป็นอภิสิทธัตถะ…”

ทั้งนี้  “อาจารย์ไพบูลย์”  อธิบายคำว่า  “อภิสิทธัตถะ”  ความว่า  เป็นคำสมาส  อภิ+สิทธัตถะ  ซึ่งคำว่า  “สิทธัตถะ”  เป็นภาษาบาลี  แปลว่า  “ผู้สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว”  หากนายอภิสิทธิ์สามารถสร้างความปรองดองของคนในชาติขึ้นได้  และช่วยให้การปฏิรูปประเทศไทยประสบความสำเร็จ  ก็จะเรียกได้ว่าเป็นนาย  “อภิสิทธัตถะ”  ซึ่งเป็นการเล่นคำที่ต้องการบ่งบอก  ว่านายอภิสิทธิ์ทำภารกิจสำคัญสำเร็จแล้ว  ไม่ได้หมายถึงการไปเทียบชั้นหรือเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด  ซึ่งในการบรรยายของผู้บรรยาย  ได้อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำว่า  “สิทธัตถะ”  ไว้อย่างชัดเจน

                ไม่ต้องไปตีความหมายให้ไกลไปกว่านี้…

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/382253

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *