4 ทิศทางสู่สังคมคุณธรรม สอดรับ 5 หลักการปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง

4 ทิศทางสู่สังคมคุณธรรม สอดรับ 5 หลักการปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง


    (สรุปจากปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในกระบวนการภาคประชาชน” ในงาน “สัมมนาเวทีนโยบายสาธารณะเศรษฐกิจพอเพียง กับกระบวนการภาคประชาชน กรณีศึกษานโยบายการจัดการกองทุนชุมชน”  ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2549 และลงในนสพ. มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 ต.ค. 2549)

              ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่ายิ่ง และยังมีความลึกซึ้ง ก้าวหน้า และเหมาะสมสำหรับสังคมมากที่สุด

             ครั้งแรกที่รัฐบาลประกาศว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือยุทธศาสตร์หลักของประเทศ เริ่มต้นหลายคนก็มีปฏิกิริยาในทางลบ คิดว่าจะกลับไปสู่ยุคโบราณอีกครั้ง ไม่สอดคล้องกับยุคโลกาภิวัตน์แม้แต่น้อย แต่หลังจากได้อธิบาย ก็มีคนเห็นด้วยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ซึ่งมีแนวโน้มจะเข้าใจและยอมรับมากขึ้น

        แต่น่าแปลกใจและน่าชื่นใจที่ภาคธุรกิจสนใจเข้ามาศึกษาและยอมรับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น

           นั่นหมายความว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาพื้นฐานสำหรับทุกวงการ ทุกมิติ ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะบุคคล เมื่อใช้ในภาคธุรกิจได้ ก็สามารถใช้ในภาคอื่นได้อย่างไม่ต้องสงสัย

        หลายคนบอกว่าภาคการเมืองน่าจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นปรัชญาการเมืองด้วย เพราะจะทำให้การเมืองมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น แม้จะเป็นภาคส่วนที่มีแนวโน้มจะเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้อยที่สุดก็ตาม

          สิ่งสำคัญที่สุดหากต้องการให้สังคมไทยยึดถือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบเท่าเทียมกัน ต้องร่วมมือกันผลักดันในหลายๆ ภาคส่วน และช่วยกันอธิบายว่าปรัชญานี้ไม่ได้เข้าใจยาก เพียงแต่มันมีความลึกซึ้งและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง

                หลักการสำคัญ 5 ประการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ

                         1.ความพอประมาณ คือ ความพอดีๆ ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ไม่เติบโตเร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไปและไม่สุดโต่ง

                         2.ความมีเหตุผล คือ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไป อธิบายได้ การส่งเสริมกันในทางที่ดี สอดคล้องกับหลักการพุทธธรรม คือหลักปฏิจจสมุปบาท และอิทัปปัจจยตา ที่กล่าวถึงความเป็นเหตุเป็นผล เพราะมีสิ่งนี้ทำให้เกิดสิ่งนี้ ทุกสิ่งเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

                            3.ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี จะต้องปกป้องคุ้มครองไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่ควรจะเป็น เช่น เกิดความเสี่ยงเพราะมีความโลภมากเกินไป หรือเสี่ยงเพราะปล่อยกู้มากเกินไป หรือกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไรมากเกินไป จนก่อให้เกิดความเสี่ยง

                          4.ความรอบรู้ ต้องมีความรอบคอบ มีการใช้ความรู้ใช้วิชาการด้วยความระมัดระวัง ไม่บุ่มบ่าม มีการจัดการองค์ความรู้ที่ดี ดำเนินการอย่างรอบคอบถ้วนทั่ว รอบด้านครบทุกมิติ

                          5.คุณธรรมความดี เป็นพื้นฐานของความมั่นคง หากเปรียบเป็นต้นไม้ใหญ่ถือเป็นรากแก้วและรากแขนงที่มีขนาดและคุณภาพเพียงพอ โดยมีเศรษฐกิจเป็นรากฝอยคอยหล่อเลี้ยง ที่ประกอบด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มานะอดทนและพากเพียร

               เราจะเห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการง่ายๆ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก แม้จะไม่สามารถนำไปใช้ได้สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อใช้ได้ส่วนหนึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว

                นอกจากนี้ เราต้องสืบค้น ค้นหาภูมิปัญญาที่ดีที่มีอยู่และสามารถสืบค้นสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นปัญหาด้วย ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน สังคม หรือระดับจังหวัดต่อไป ไม่ว่าเรื่องกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสวัสดิการ รวมทั้งการจัดการภายในครัวเรือน ในเรื่องของสิ่งที่ดีและสิ่งที่เป็นปัญหา ซึ่งจะเกิดการขยายตัวขยายความร่วมมือต่อไป รวมทั้งสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องด้วย

                และยังมี 4 ทิศทางสำคัญเพื่อสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันและเป็นการสร้างสังคมที่พึงปรารถนา รวมทั้งสอดรับกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย คือ

                  1.สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน เราควรทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มองเห็นความทุกข์และความสุขของคนอื่นร่วมกัน มีความเอื้ออาทรไม่นิ่งดูดายเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ซึ่งจะเห็นการเกิดขึ้นของ กองทุนสวัสดิการ, แนวทางอาสาสมัคร จัดว่าอยู่ในกลุ่มนี้

                      2.สังคมที่เข้มแข็ง เป็นสังคมที่มีชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง ตามลักษณะภูมินิเวศ กลุ่มคนและประเด็น ซึ่งจะพบงานที่เกี่ยวข้องคือการทำงานเรื่องเด็กและชุมชน

                       3.สังคมคุณธรรม เป็นสังคมที่เป็นปึกแผ่น ร่มเย็นเป็นสุข โดยการใช้ศาสนธรรม มาร่วมกันคิดมาร่วมกันทำในชุมชน แม้จะมีความแตกต่างกันของการนับถือศาสนา แต่ก็เคารพคุณค่าระหว่างกัน มีความเข้าใจกันระหว่างศาสนา และหลีกหนีออกจากวัตถุนิยม

                    4.สังคมประชาธิปไตย เป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนในการกำหนดกลไกต่างๆ ทางสังคม มีเคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เป็นสังคมประชาธิปไตยที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่ตามรูปแบบหรือกฎหมาย แต่ประชาชนเป็นผู้มีบทบาทในเนื้อหาสาระอย่างแท้จริงไม่ใช่บอกว่ามีการเลือกตั้งแล้วบอกว่านี่แหละประชาธิปไตย ทั้งที่การเลือกตั้งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่การให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมคือสิ่งสำคัญที่สุด

              เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าเราปฏิบัติได้อย่างแท้จริงและต่อเนื่อง ผมเชื่อว่าทำให้สังคมกลายเป็นสังคมที่ดีอยู่เย็นเป็นสุขได้

             ทั้งหมดนี้จะเป็นปฏิบัติบูชาที่มีคุณค่ายิ่งต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีหน้าจะเป็นวโรกาสที่พระองค์จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ไม่มีสิ่งอื่นใดจะยิ่งใหญ่กว่านี้อีกแล้ว หากเราช่วยกันขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้สังคมทุกภาคส่วนได้นำไปใช้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

31 ต.ค. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/56593

<<< กลับ

ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์ ชู “คุณธรรม” พื้นฐานสังคม

ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์ ชู “คุณธรรม” พื้นฐานสังคม


  (ข่าวการจัดเวทีเสวนา “ยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ” ลงใน นสพ. มติชน ฉบับวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 หน้าที่ 1)

                “ไพบูลย์”ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์”สังคมเข้มแข็ง มีคุณธรรมไม่ทอดทิ้งกัน” ลุ้นอบต.-กำนันผู้ใหญ่บ้านดูแลผู้ถูกทอดทิ้งในท้องถิ่น ผลักดันชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และชู”คุณธรรม”ให้เป็นพื้นฐานของสังคม

                กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม 3 ด้าน เพื่อให้สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน เกิดความเข้มแข็งและมีคุณธรรม ทั้งนี้ กระทรวงมีนโยบายเร่งด่วน 4 ข้อเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ฟื้นฟู และพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฟื้นฟูพัฒนาชุมชนที่ประสบภัยน้ำท่วม 46 จังหวัด และสร้างสังคมคุณธรรม โดยตั้งเป้าให้เกิดผลภายในหนึ่งปี 

                เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่กรมประชาสงเคราะห์ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดเวทีเสวนา “ยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ” โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมกับตัวแทนเครือข่ายต่างๆ ที่มีประสบการณ์กรณีทำความดีไม่ทอดทิ้งกันเข้าร่วมเสวนา 

                นโยบายและยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ รัฐบาลมีเจตจำนงและนโยบายในการบริหารประเทศที่ชัดเจน ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัด เพื่อที่จะนำพาประเทศไปสู่ “สังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” เป็นสังคมที่เข้มแข็ง คนในชาติมีความสมานฉันท์อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันบนพื้นฐานคุณธรรม โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กำหนดเป็น

                ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม 3 ประการ คือ 

                1.ยุทธศาสตร์ “สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน” ภาครัฐจะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในทุกตำบลร่วมกับภาคประชาชนดูแลผู้ถูกทอดทิ้งในตำบลของตนเองโดยในระยะสั้นช่วงเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2550 เพื่อถวายความดีเป็นปฏิบัติบูชาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครองราชย์ครบ 60 ปี และเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีต่อการร่วมกันสร้างสังคมเอื้ออาทร คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน 

                2.ยุทธศาสตร์ “สังคมเข้มแข็ง” จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกันขององค์กรชุมชน ประชาสังคมและองค์กรท้องถิ่น เพื่อร่วมกันจัดทำแผนเพื่อพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็ง เพื่อให้คนในชุมชน พึ่งตนเองและจัดการปัญหาได้ในทุกเรื่อง ทุกระดับ เช่น การช่วยเหลือผู้ถูกทอดทิ้ง การสร้างระบบเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม สุขภาพของคนในชุมชน ยุทธศาสตร์ “สังคมจะเข้มแข็ง” จะบรรลุผลได้ภาครัฐต้องสนับสนุนให้เกิด พ.ร.บ. ที่จำเป็นต่อการพัฒนาของภาคประชาชน เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น 

                3.ยุทธศาสตร์ “สังคมคุณธรรม” ต้องทำให้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของผู้คนในสังคม ทำให้ความดีงามอยู่ทั้งในความรู้สึกนึกคิด และการปฏิบัติเป็นปกติของคนในสังคม 

                ในระยะแรก เริ่มจากการสร้างความสมานฉันท์ในพรรคการเมือง สร้างความสมานฉันท์ในชุมชนท้องถิ่น และสร้างความสมานฉันท์ 3 จังหวัดภาคใต้ โดยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั้ง 3 จังหวัด ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดทำแผนแม่บทชุมชนฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ รวมทั้งจะจัดตั้ง “คลินิคยุติธรรมจังหวัด” ขึ้น โดยศูนย์คุณธรรมร่วมกับกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และสถาบันพระปกเกล้า เพื่อเป็นหน่วยงานที่ช่วยจัดการคดีความต่างๆ เรื่องราวที่ไม่เป็นธรรมของคนในชุมชน ให้คนในชุมชนร่วมกันจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เพื่อสร้างเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ส่วนในระยะยาวจะมีการจัดทำแผนแม่บทสังคมคุณธรรมเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

                เรื่องการส่งเสริมสังคมคุณธรรม จะมีการรณรงค์จัดโครงการหน่วยงานซื่อสัตย์ ใสสะอาด และโครงการจิตอาสาทำความดีของบุคลากรของกระทรวง โดยเริ่มต้นจากกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ อาจจะกำหนดให้ข้าราชการสามารถไปปฏิบัติภารกิจเป็นอาสาสมัครได้ โดยไม่นับเป็นวันลาของราชการ จะกำหนดสัก 5 วันต่อปี รูปแบบการทำงานอาสาสมัครนั้น ต้องให้แต่ละหน่วยงานไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสนกันเอง โดยกระทรวง จะทำหน้าที่เพียงการสนับสนุนให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ 

                การทำงานด้านสังคม จะจัดตั้งให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคม ประมาณ 40 คน โดยคัดเลือกมาจากนักวิชาการ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน และตัวแทนภาคประชาชนจากทั่วทุกภาคของประเทศ ในการทำหน้าที่รายงานความคืบหน้าของการทำงาน ต่อคณะทำงานด้านนโยบาย ว่าการทำงานมีข้อติดขัดเรื่องใด เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงทิศทางการทำงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                วันเดียวกัน นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงถึงการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยว่า สศช.จะใช้องค์ประกอบ 5 ประการ ในการศึกษา ประกอบด้วย 1.การที่คนไทยมีสุขภาวะที่ดี โดยวัดจากภาวะที่จิตใจ อารมณ์ ร่างกาย และสติปัญญาที่สมดุล เข้าถึงหลักศาสนา มีคุณธรรมนำความรอบรู้ มีจิตสำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวม สามารถคิดและทำอย่างถูกต้องและมีเหตุผล 2.พิจารณาจากความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ มีรายได้และหลักประกันความมั่นคงในชีวิต 

                3.ครอบครัวอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความอบอุ่นและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 4.อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 5.มีสิทธิเสรีภาพ เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยจะใช้การปรับปรุงเป็นรายปีต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมากที่สุด อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถระบุรายละเอียดของดัชนีที่นำมาใช้วัดอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุดได้ภายในเดือนมกราคม 2550 

                “สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเร่งเข้าไปดูคือ เรื่องการลดช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างผู้ที่มีรายได้มาก และผู้ที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะชาวบ้านในชนบทที่ประสบปัญหามาก เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการกระจายรายได้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10” นายอำพนกล่าว

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

10 พ.ย. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/58512

<<< กลับ

ฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติด้วยพลังชุมชน

ฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติด้วยพลังชุมชน


        (คำกล่าวเปิด “งานฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติด้วยพลังชุมชน” “People’s Leadership in Disaster Recovery : Rights, Resilience, and Empowerment” ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ จังหวัดภูเก็ต วันที่ 30 ตุลาคม 2549)

                                                        Opening Address by

                                                   H.E. Paiboon Wattanasiritham

                                 Minister of Social Development and Human Security

                   At the International Seminar on People’s Leadership in Disaster

                                   Recovery : Rights, Resilience, and Empowerment

                                            30 October 2006 , Phuket , Thailand

Regional representatives of UNDP, representatives of Disaster Affected Communities from oversea countries and Thailand , Excellencies, Distinguished Guests, Ladies and Gentlemen,

It is a great privilege and a great pleasure to be invited here today to open this international workshop on People’s Leadership in Disaster Recovery : Rights, Resilience,and Empowerment. I believe that this is very important issue that has great relevance, not just for how we can better cope with disasters but also for how we can reshape our normal world into one in which all people can have access to human security and can play meaningful social roles. There are a number of interrelated reasons for me to be extremely optimistic about the value and potential impact of this workshop.

The first reason is that we live in the same increasingly crowded and environmentally fragile world. We know that it is inevitable that we will encounter more and more natural and manmade disasters. Moreover, because of increasing population densities in disaster prone regions, and because of new factors like global warming, we can expect many future disasters on extremely large scales. We cannot prevent natural disasters like earthquakes, tsunamis, typhoons and hurricanes from occurring but we can look for new and more creative ways of anticipating and mitigating the onset of such disasters and for coping more effectively and equitably with the impacts of such disasters on people, especially poor communities which usually suffer the most.

The second reason is that each of our national and regional experiences of natural disasters and the emergency relief and recovery efforts that are made in response to each of them, can provide us with lessons that can help us to identify new and better approaches to disaster prevention, mitigation, relief and recovery. The new information and communications technologies have greatly enhanced our capacity to record and document these experiences, to analyze them and share them with others anywhere in the world. In this way many valuable insights, experiences and innovations can be shared right now with others from other countries and regions. These lessons and new approaches can also be adapted and institutionalized for the benefit of others in the future. This will help to move us away from the often token and ad hoc responses to disaster relief and recovery that we have seen in the past, responses that have tended to repeat mistakes rather than rectifying them.

The third and perhaps the most important reason for having high hopes about the impact of this meeting is the fact that a great deal of new learning and tested experience has been attained in the recent spate of natural disasters including the 2001 earthquake in Gujarat in India, the December 2004 tsunami that affected several countries in the Indian Ocean. This learning has significantly changed our perceptions of how to better assist survivors in the short and long term and how to prevent or minimize the negative impacts of disasters on the lives and property of vulnerable populations in the future. Disasters and their aftermaths bring into sharp focus the extremely difficult and precarious circumstances under which the many poor and marginalized people in the world are living all the time. But in normal times we tend to only look at their situation in a very superficial way. Disasters highlight the fragility and vulnerability of poverty and powerlessness that stalk the daily lives of the poor. Some dimensions of poverty are structural like landlessness , lack of access to education, health services and economic opportunities. In the aftermath of a disaster, it becomes clear that by neglecting these issues in times of normality, we have left people at a great disadvantage not only when disaster strikes but also in a post disaster context.

Because of the tragic loss of life and property, because of the isolation and despair they cause, disasters jolt us out of our apathy and indifference and provoke strong waves of solidarity with and compassion for both those who have been lost and those broken hearted survivors who must begin their lives and rebuild their communities from scratch. In this respect disasters provide each and every one of us with an opportunity to exercise our humanity and give generously, without expecting any return for ourselves, to those who are so clearly devastated and left destitute by disasters. The outpouring of emergency relief and recovery aid funding in the wake the 2004 tsunami demonstrated this very powerfully when we saw unprecedented scales of private donations from all sides. But all the money and materials in the world does not guarantee that all those survivors that need various types of assistance and support will get what they really need. The first thing we have learned from these recent experiences is that we have to listen to the disasters survivors themselves if we really want to help them, if we really want to reach those most in need and help them in lasting way.

In the emergency relief phase the responses of donors, relief agencies and volunteers are scattered. They have to be so because these outsiders do not know which individuals and which communities have been most affected by the disaster, where those people are temporarily located and what their most pressing specific needs are (apart from the very general categories of medical aid, food, water and temporary shelter). What we have learned from the community based approaches adopted in Gujarat, India, Aceh, Indonesia and several provinces in Southern Thailand is that when we bring the affected community members together they can help to make the flows of emergency aid effectively reach all those in need, not just the ones in the most accessible areas.

Because the survivors know their neighbours and village localities, they can ensure the elderly and the disabled and the orphaned and traumatized are not overlooked or neglected. Because the survivors know where more remote villages were located before the disaster, they can alert emergency agencies and volunteers to seek them out and provide vital emergency relief to them.  Involving the survivors from ‘day one’ in the emergency relief and reconstruction effort enables a range of new learning on all sides; on the part of the surviving villagers who would normally be treated as passive victims capable of merely receiving things, and on the part of relief and assistance agencies, professionals and volunteers who would normally assume that they had to do everything for the daunting number of disaster ‘victims.’  The survivors and their communities can contribute greatly to the relief phase through providing their knowledge, their energy and their surprising range of skills and creativity to the process.

So a major breakthrough takes place when the survivors are able to organize and work out their priorities and participate in taking decisions on what is provided to whom. This is important in the relief phase not just to improve the relief distribution itself, but also because it provides survivors with the collective strength to cope with other threats and challenges that await them in the reconstruction and recovery phase. Sometimes government policies that are imposed in the post disaster context without consultations with the disaster affected communities result in communities being forced to relocate to areas far away form their livelihoods and social networks. It can also mean that they are forced to live in houses that are of unsuitable designs for their lifestyles and livelihoods.   But when the survivors in disaster affected communities begin to organize and network with each other they can overcome these challenges. They can also draw on their vivid awareness of the recent disaster to build collective commitment to preparing for and minimizing the impact of future disasters, regardless of what form they take.

Ladies and Gentlemen, this month Thailand has been experiencing the most serious flooding in more than 60 years covering the areas in 47 out of 76 provinces. In this context the experiences and self reliant approaches developed by the communities in tsunami affected provinces in the South of Thailand, such as Ban Nam Khem, Tung Wah and Tab Tawan villages, have proven to be of enormous use to flood affected communities. The work of the community networks has been an important contribution to helping communities to better protect their lives and property rather than waiting passively for the others to rescue them and redress their losses.

But perhaps the most important learning takes place within the lives of the survivors themselves, especially the poor, Prompted by their recent close encounters with death and the tragic loss of their loved ones, they learn that working together with their neighbours on solving their individual and collective problems, brings new levels of solidarity and mutual trust, of energy, courage and hope to each and to all. In this way they begin to see that they can not only regain the level of control they had over their lives prior to the disaster, they can also begin to tackle the longer term problems like poverty and insecurity, barely subsistent livelihoods, lack of access to credit and increasing environmental degradation. In so many disaster afflicted communities men and women, youths and elders, regardless of how poor they are, no matter how marginalized and disadvantaged, have found that they have valuable contributions to make to the well being of those around them, to the future well being of their families, their communities and to their countries, especially when development agencies and the government are actively involved and in support to communities.

In this light we can see that community-based and community-driven disaster relief and recovery approaches offer us new possibilities, not just to better cope with post disaster needs but to contribute directly to disaster prevention by enabling poor vulnerable communities to break out of their poverty and to create their own collective security. This is indeed important development direction for the government and development agencies in our global society to learn and work together.

Thank you for your kind attention.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

14 พ.ย. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/59678

<<< กลับ

สร้างแผนที่คนดี คุณธรรมนำฯ

สร้างแผนที่คนดี คุณธรรมนำฯ


(รายงานพิเศษ โดย บูรพา โชติช่วง ลงใน นสพ.สยามรัฐ ฉบับวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 หน้าที่ 26)

                รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เตรียมจัดทำนโยบายยุทธศาสตร์ตั้งทิศทางใหม่ของสังคมไทย โดยใช้พื้นฐานความสมานฉันท์ของคนไทยทุกกลุ่มเป็นตัวตั้ง ทั้งยึดแนวทางเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสังคมไทยที่ดีงาม นายแพทย์ ประเวศ วะสี กล่าวถึงแนวทางดังกล่าว ได้ให้ทรรศนะดังนี้  

                เมื่อครั้งที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คิดว่าทุกอย่างมาจากฉันคนเดียว เคยเตือนท่านแล้วเมื่อปี 2544 ระวังท่านจะตกโครงสร้างมรณะ เขียนรูปให้ดูด้วย ถ้านายกฯ ใช้อำนาจ 1 ไม่ได้ผล 2 อำนาจอื่นมันตีกลับ แล้วท่านนายกฯ จะต้องตกโครงสร้างมรณะ วิธีการที่ดีควรเปิดพื้นที่ทางสังคมและพุทธิปัญญาให้กว้างขวาง แต่ท่านก็ไม่สนใจ แต่ขณะนี้มันเปิดแล้ว หมายถึงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ เปิดท้องฟ้าให้สว่าง 

                เป็นแนวทางเสริมสร้างสุขภาพบ้านเมืองของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งแต่เดิมจะเห็นว่าทิศทางเดิมตั้งคำถามไปว่า “ทำอย่างไรถึงจะรวย” ก็จะเห็นว่าคนทำสารพัดอย่าง ค้าเด็ก ค้าผู้หญิง ค้ากำไร สิ่งแวดล้อม นับวันเอากำไรเกินควร จนเกิดคอร์รัปชัน กลายเป็นปัญหาแก้ความยากจนไม่ได้ เพราะมีการเอาเปรียบคนอ่อนแอตลอดเวลา 

                แต่ตอนนี้เราต้องมาตั้งคำถามใหม่ “ความดีคืออะไร?” ช่วยกันคิด ถ้าตอบได้ช่วยกันตอบ ไม่ใช่ทุกคนไม่รู้ ทุกคนรู้ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีน้ำใจ เหล่านี้เป็นต้น 

                รัฐบาลนี้กำลังตั้งทิศทางประเทศใหม่ โดยใช้ความดีคืออะไร เท่าที่ทราบนายกมีความมุ่งมั่นให้หลายกระทรวง ทั้งกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมฯ กระทรวงกีฬาฯ สำนักนายกฯ และอีกหลายกระทรวง รวมไปถึงสถาบันการศึกษา สื่อมวลชน เชิญมาระดมความคิดกับทิศทางสังคมที่ดีงาม อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของคนไทย 

                นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ได้พูดถึง 3 ยุทธศาสตร์ที่ผ่านมา ผมขอเพิ่มเติมรายละเอียดย่อๆ ลงไป เพื่อให้เห็นรูปธรรมมากขึ้น 

                ยุทธศาสตร์ที่ 1 สังคมไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อประกาศเป็นนโยบายแล้วสามารถทำได้ทั้งประเทศภายใน 3 เดือน เพราะเครื่องมือเรามีอยู่แล้ว เงินทองมีอยู่แล้ว ยกตัวอย่างให้ฟัง ในสังคมจะมีคนที่ถูกทอดทิ้ง คนจน คนแก่ คนบ้าบอ ลูกกำพร้า เห็นได้ทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์มีอยู่ตลอด แต่ที่จริงแล้วในประเทศเรามีอาหารอย่างเพียงพอ และส่งออกด้วย 

                เมื่อมองท้องถิ่น เรามีตำบลประมาณ 7,000 ตำบล หมู่บ้านกว่า 70,000 หมู่บ้าน และในตำบลมี อบต. มีประชาคม มีวัด มีโรงเรียนประจำในแต่ละตำบล สมมติว่าตำบลมีจำนวนประชาคม 10,000 คน เราสำรวจภายใน 2 อาทิตย์จะรู้ว่าในตำบลนั้นมีใครถูกทอดทิ้ง 

                ตรงนี้เรามีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขายินดีจะจ่าย 37.5 บาทต่อหัว เมื่อรวมคน 10,000 คนก็เท่ากับ 375,000 บาท อบต.เองยินดีสมทบ 100,000 บาท ตรงนี้ได้มีการพูดคุยกับ อบต.แล้ว เขายินดี ทั้งหมดเป็นเงินเกือบ 500,000 บาท โรงพยาบาลชุมชนยังสมทบอีก และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ที่จะช่วยเบื้องต้นสำหรับคนที่ถูกทอดทิ้งในตำบล 

                นอกจากนี้ ถ้าคนในสังคมมีสปิริตพอ สามารถเป็นอาสาสมัคร หรือรัฐบาลประกาศเป็นนโยบาย ให้นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจช่วยกัน คนหนึ่งใช้เวลา 2 อาทิตย์ต่อปีเป็นอาสาสมัคร โดยไม่คิดวันลา เพื่อมาช่วยดูแลคนจน คนพิการ และอีกร้อยแปดคนที่ถูกทอดทิ้ง อย่างนักเรียนอาชีวะ พวกเขาทำประโยชน์ในสังคมได้ เมื่อเขาทำก็เกิดความภาคภูมิใจตัวเอง แต่เสียอย่างเดียวคนไทยชอบดูถูกมองเขาไม่มีเกียรติ 

                ยุทธศาสตร์ที่ 2 ความเข้มแข็งของชุมชน ท้องถิ่น และประชาสังคม ไม่มีประชาธิปไตยประเทศไหนที่ปราศจากความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น แต่ประชาธิปไตยของเรายึดเอาส่วนกลาง ลองไปดูประเทศอื่นๆ ท้องถิ่นต้องแข็งแรง อย่างอเมริกาเมื่อแรกตั้งประเทศ ต้องให้ท้องถิ่นเข้มแข็งก่อน จะเห็นว่ามีคำว่า ยูไนเต็ดสเตท คำว่า “สเตท” คือท้องถิ่น ถ้าเราไม่กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ศีลธรรมก็ไม่มีวันเกิด 

                เรามีพระบาทพระเจ้าอยู่หัว เรามีพระพุทธศาสนามานาน ถามว่า ทำไมศีลธรรมเสื่อม เพราะว่าสัมพันธ์เราเป็นทางดิ่ง ระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้ไม่มีอำนาจ สังคมใดที่เป็นทางดิ่ง เศรษฐกิจจะไม่ดี การงานจะไม่ดี และศีลธรรมจะไม่ดี ฉะนั้นทุกคนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความเสมอภาค 

                ที่จะลงมือทำได้เลย คือ แต่ละจังหวัดเรามีผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯ ต้องทำงานร่วมกับประชาสังคม แล้วพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งจังหวัด แต่การพัฒนาที่ผ่านมาเอากรมเอาสำนักเป็นตัวตั้ง ซึ่งกรมบูรณาการไม่ได้ เพราะกรมเล่นเป็นเรื่องๆ เช่น กรมข้าว กรมน้ำ กรมดิน ฉะนั้นตอนนี้ต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ช่วยให้บูรณาการได้ และแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กันได้ ทั้งความยากจน รักษาสิ่งแวดล้อม เรื่องวัฒนธรรม ศีลธรรม ฉะนั้นผู้ว่าฯ และกระทรวงต้องทำงานเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ 

                ยุทธศาสตร์ที่ 3 สังคม คุณธรรม เช่น การศึกษา ควรนำเอาคุณธรรมนำความรู้ แต่เดิมการศึกษาเอาความรู้นำคุณธรรม ขณะนี้ทราบว่าคุณ วิจิตร ศรีสะอ้าน รมว.ศึกษาธิการ จะมีการปรับใหญ่หันมาใช้คุณธรรมนำความรู้อีกเช่นกัน เรามีองค์กรศาสนา มีวัดกว่า 30,000 แห่ง ถ้าไปส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรศาสนาก็จะทำให้สังคมมีคุณธรรมมากขึ้น ซึ่งต้องมีการจัดการ 

                พระบางรูป ท่านอาจจัดการไม่เป็น ก็ต้องเอาคนอื่นมาช่วย อาจมาจากคนในชุมชนที่เข้มแข็ง หรือคนนอก ทำวัดให้สะอาด ให้ร่มรื่น มีหลวงปู่สอนกรรมฐาน เพราะเดี๋ยวนี้คนเครียดมากขึ้นจากการทำงาน เมื่อเขาจะกลับบ้าน ก็จะได้แวะไปวัด ไปไหว้พระ นั่งกรรมฐาน จิตใจได้สงบ และวัดควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ เพราะจะเหงาเมื่อเวลาอยู่บ้านคนเดียว ลูกหลานมัวแต่ยุ่งธุรกิจ เมื่อวัดจัดกิจกรรมผู้สูงอายุ พอเช้ามาลูกหลานพาพ่อแม่มาฝากไว้ที่วัด เย็นมารับกลับ 

                ทั้งหมดขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการ ถ้าจัดการเป็นจะเกิดประโยชน์มากมาย บางเรื่องรัฐบาลจัดการไม่เป็น บางเรื่องเอ็นจีโอจัดการไม่เป็น คนที่จัดการเป็นคือนักธุรกิจ ลองนึกภาพดูถ้ามีนักธุรกิจเพื่อกิจการส่งเสริมศาสนาจริง จะช่วยให้วัดและชุมชนมีการจัดการที่ดี ซึ่งขณะนี้มีอยู่แล้วที่เขาพร้อมให้ความร่วมมือ 

                อาสาสมัครและสื่อสาร ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะขยายความดี ถ้าเราไปสอนให้คนทำดี อันนี้ถือว่ายากมาก แต่เมื่อคิดให้ดีความดีมีอยู่แล้ว พ่อก็ใช่ แม่ก็ใช่ คนรอบตัวเราก็ใช่ แต่ก็ไม่มีคนรู้ ฉะนั้นความดีมีอยู่ในพื้นที่ทุกตารางเมตร แล้วเราจะทำอย่างไร เราต้องไปหา และในที่นี้เรามีโรงเรียนกว่า 30,000 โรง ทำโครงการแผนที่คนดีขึ้นมาสิ วัดทุกวัด ชุมชนทุกแห่งทำแผนที่คนดี ที่สุดเราก็จะไปเจอ บางท่านเป็นครู เป็นพระ เป็นชาว บ้าน ข้าราชการ นักธุรกิจแล้วแต่ ก็จะรู้ว่ามีคนดีอยู่ในชุมชน 

                คือเดิม เราไม่มองของดีที่เรามีอยู่ ถ้ามีการทำแผนที่คนดีทั้งแผ่นดิน แล้วเอามาศึกษากันจะรู้ว่าเกิดพลังมหาศาล เดี๋ยวนี้เราศึกษาแต่คนทำชั่ว ใครไปข่มขืนใคร ใครไปฆ่าใคร แต่ความดีมีอยู่เยอะกลับไปค่อยปรากฏทางหน้าสื่อ อย่างที่ไต้หวันมีมูลนิธิคุนจื่อจี๋ มีสถานีโทรทัศน์ของเขาเอง แพร่ภาพ 24 ชั่วโมง ใครทำอะไรดี ใครช่วยใคร นำมาออกอากาศให้เห็น นี่เรียกว่ายุทธศาสตร์การศึกษาของเขา เพื่อขยายความดี ซึ่งบ้านเรามีสถานีโทรทัศน์ แต่ไม่ค่อยนำเสนอ 

                เมื่อมองแนวทางเสริมสร้างสุขภาพบ้านเมืองของรัฐบาลนี้ ดูมีเวลาน้อย ฉะนั้นเราทุกคนในสังคมไทยต้องช่วยกัน เรื่องนี้จะมีการระดมความคิดเห็นกัน มีสื่อประมาณ 100 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 100 คน และทุกสาขาอาชีพเข้าร่วม ที่ตึกสันติไมตรีในวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2549 นี้ เรามาช่วยกันเพื่อความสงบสุขสังคมไทยที่ยั่งยืน 

                หมายเหตุ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ให้ทรรศนะแนวทางเสริมสร้างสุขภาพบ้านเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2549 ภายหลังการประชุมคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

17 พ.ย. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/60708

<<< กลับ

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม (ฉบับที่ 1 วันที่ 20 พ.ย. 2549)

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม (ฉบับที่ 1 วันที่ 20 พ.ย. 2549)


 นึกถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม

                 เวลา 6 สัปดาห์ผ่านไปเหมือนมีปีกบิน !

ผมเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 โดยไม่คาดคิด คาดฝัน หรือประสงค์อยากมาเป็น แต่ด้วยสถานการณ์พิเศษและด้วยเงื่อนไขที่มีเหตุผล จึงรับมาทำหน้าที่นี้

การรับทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการะทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำให้ผมนึกถึง “ญาติมิตรพัฒนาสังคม” คือ ผู้คนทั้งหลายที่มีบทบาทและมีความเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและพัฒนา พัฒนาสังคมสังคมพร้อมกับการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์หรือความมั่นคงทางชีวิต อันถือเป็นภารกิจของกระทรวงนี้

“ญาติมิตรพัฒนาสังคม” ในความคิดของผมประกอบด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงหรือในสังกัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ นั่นคือข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่สังกัดสำนักงานรัฐมนตรี (สร.) สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

แต่พร้อมกันนั้น ผมยังถือว่า “ญาติมิตรพัฒนาสังคม” ย่อมรวมถึงบุคคล กลุ่มคน องค์กร หน่วยงาน เครือข่าย อีกมากมาย ที่มีบทบาทหรือมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม
นั่นคือ รวมถึง ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค ภาคประชาสังคมในระดับต่างๆ ภาคธุรกิจในระดับต่างๆ ภาครัฐและส่วนกลาง ฝ่ายการเมือง ฝายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และประชาชนทั่วไป

ดังนั้น ถ้าจะถือว่า “ญาติมิตรพัฒนาสังคม” นั้น รวมถึงทุกคนทุกฝ่ายทุกภาคส่วน ทุกระดับ ทุกพื้นที่ ในสังคมไทยก็น่าจะได้ 

                ความ “นึกถึง” ของผม หมายความว่า “อยากสื่อสารด้วย” ผมจึงเขียนจดหมายฉบับนี้ เริ่มฉบับที่ 1 และจะเขียนต่อๆ ไปเป็นระยะๆ ลงใน Weblog : paiboon.gotoknow.org และจะเปิดดูได้จาก www.m-society.go.thอีกด้วย

หาก “ญาติมิตร” ผู้ใดประสงค์จะสื่อสารกับผม ก็ทำได้ผ่าน Weblog ดังกล่าว หรือผ่านช่องทางอื่นๆ ที่สะดวก ผมจะพยายามรับรู้การสื่อสารของ “ญาติมิตร” ให้ได้ในระดับที่เหมาะควรและเป็นไปได้ แต่คงไม่สามารถสื่อสารตอบกลับเป็นรายบุคคลได้ ที่พอทำได้คือการสื่อสารตอบกลับโดยรวมๆ เป็นระยะๆ

รัฐมนตรีควรเน้นการคิดค้นและขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์เป็นสำคัญ

ทันทีที่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ก็ได้มีผู้อาวุโสและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำแนะนำว่า รัฐมนตรีต้องทำงานเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์เป็นหลัก ไม่ควรใช้เวลาไปกับการทำพิธีต่างๆ การรับแขกส่งแขก และแม้แต่การแก้ปัญหาปลีกย่อยทั้งหลายให้มากเกินไป หรือควรทำให้เรื่องเหล่านั้นให้น้อยที่สุดนั่นเอง เพื่อจะได้มีเวลามากพอสำหรับทำเรื่องสำคัญ ซึ่งมีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากและอย่างแท้จริงต่อประชาชนและต่อประเทศชาติโดยรวม (คำแนะนำนี้ตรงกันกับความคิดของผมเองโดยผมได้เคยให้ความเห็นทำนองเดียวกันหลายครั้งในช่วงเวลาที่ผมเป็นนักพัฒนาสังคมอิสระ)

เรื่องสำคัญ ที่กล่าวถึงนั้น สำหรับกระทรวงที่ผมรับผิดชอบ คือการคิดค้นและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาสังคมและเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ นั่นเอง

                ดังนั้น นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีผมจึงได้ใช้ความพยายามร่วมกับทีมงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกกระทรวงฯ อีกจำนวนมาก ในการคิดค้นและขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์

ซึ่งได้สรุปเป็น “ภารกิจสำคัญ” ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะมุ่งดำเนินการ ดังนี้

1.   “ภารกิจเร่งด่วน” มี 4 ด้าน

1.1 การร่วมบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูพัฒนาอันสืบเนื่องจากอุทกภัยครั้งใหญ่

1.2 การร่วมคลี่คลายปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                                1.3 การร่วมแก้ปัญหาความแตกแยกพร้อมกับการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย

1.4 การร่วมแก้ปัญหาความทุจริตพร้อมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ

2.   “ภารกิจหลัก” ประกอบด้วย “3 ยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ” ดังนี้  

2.1 ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน (ช่วยเหลือเกื้อกูลและดูแลกัน)

2.2 ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง (ชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมเข้มแข็ง)

2.3 ยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม (มีความถูกต้องเป็นธรรมและดีงาม)

3.   “ภารกิจสนับสนุน” ได้แก่

3.1 การพัฒนาองค์กรและระบบสนับสนุนที่อยู่ในสังกัดกระทรวงและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ

3.2 การร่วมพัฒนาองค์กรและระบบสนับสนุนที่อยู่นอกสังกัดกระทรวงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ

แผนภารกิจและมาตรการสำคัญ (Roadmap) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ

ภารกิจทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นจะปรากฏอยู่ใน“แผนภารกิจและมาตรการสำคัญ” (Roadmap)ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยจะมีรายละเอียดของภารกิจแต่ละหมวดในรูปของมาตรการสำคัญต่างๆ ที่ระบุลักษณะของ มาตรการ เป้าหมาย กำหนดเวลา และผู้รับผิดชอบหลัก

“แผนภารกิจและมาตรการสำคัญ ” (Roadmap) นี้จะเปิดเผยต่อผู้เกี่ยวข้องและต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณะได้รับทราบและมีโอกาสได้ร่วมคิดร่วมดำเนินการด้วยในลักษณะ “พหุปฏิสัมพันธ์” 

                ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป “แผนภารกิจและมาตรการสำคัญ” (Roadmap) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “แผนปฏิรูปสังคม” ที่ระบุในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 จะมีการปรับปรุงเปลี่ยน แปลงเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในรายละเอียดตามเหตุตามผลอันเนื่องจากสถานการณ์ที่เคลื่อนตัวไปพร้อมๆกับ “พหุปฏิสัมพันธ์” ของผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย

สอดคล้องกับหลักคิดของผมที่ว่า “จะปฏิรูปสังคมต้องให้สังคมร่วมปฏิรูป จะพัฒนาสังคมต้องให้สังคมร่วมพัฒนา”

                                                                                                                สวัสดีครับ

ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม
อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/61310

<<< กลับ

หนังสือ “คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์” เล่มโปรด ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมว.พม.

หนังสือ “คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์” เล่มโปรด ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมว.พม.


  (ข่าวลงใน นสพ.คม ชัด ลึก ฉบับวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 02:06 น. หน้า 8)

                ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) นับเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบอ่าน หนังสือธรรมะ 

                ตั้งแต่อายุ 20 ปี เริ่มจาก คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์ ของ พุทธทาสภิกขุ และอ่านต่อมาอีกหลายรอบ ให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น จนกลายเป็น หนังสือเล่มโปรด ในที่สุด 

                รมต.ไพบูลย์ ชอบหนังสือเล่มนี้มาก เพราะอ่านแล้วทำให้เข้าใจและรู้ถึงหลักของพุทธศาสนา ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงเรื่องของนิพพาน และนำมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง นำหลักธรรมะมาใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต เมื่อมาเป็น รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำหลักธรรมะมาใช้ในการบริหาร เพื่อให้การทำงานมีความเป็นธรรมและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งข้าราชการและชาวบ้าน หากใครมาเข้าเยี่ยมคารวะหรือสื่อมวลชนขอสัมภาษณ์ในโอกาสรับตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็แจกหนังสือ มนต์พิธีแปล รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี วัดอรุณราชวราราม ให้ด้วย 

                อยากให้เด็กๆ อ่านหนังสือกันมากๆ เพราะหนังสือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก แต่ต้องเลือกรู้จักหนังสือที่ดีมาอ่าน เมื่ออ่านแล้วก็จะได้ความรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ รมต.ไพบูลย์ กล่าวไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) นับเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบอ่าน หนังสือธรรมะ 

                ตั้งแต่อายุ 20 ปี เริ่มจาก คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์ ของ พุทธทาสภิกขุ และอ่านต่อมาอีกหลายรอบ ให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น จนกลายเป็น หนังสือเล่มโปรด ในที่สุด 

                รมต.ไพบูลย์ ชอบหนังสือเล่มนี้มาก เพราะอ่านแล้วทำให้เข้าใจและรู้ถึงหลักของพุทธศาสนา ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงเรื่องของนิพพาน และนำมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง นำหลักธรรมะมาใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต เมื่อมาเป็น รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำหลักธรรมะมาใช้ในการบริหาร เพื่อให้การทำงานมีความเป็นธรรมและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งข้าราชการและชาวบ้าน หากใครมาเข้าเยี่ยมคารวะหรือสื่อมวลชนขอสัมภาษณ์ในโอกาสรับตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็แจกหนังสือ มนต์พิธีแปล รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี วัดอรุณราชวราราม ให้ด้วย 

                อยากให้เด็กๆ อ่านหนังสือกันมากๆ เพราะหนังสือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก แต่ต้องเลือกรู้จักหนังสือที่ดีมาอ่าน เมื่ออ่านแล้วก็จะได้ความรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ รมต.ไพบูลย์ กล่าว

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

24 พ.ย. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/62863

 <<< กลับ

“อยู่เย็นเป็นสุข” ภารกิจพลิกฟื้นสังคม “สามพี่น้อง” ตระกูล NGO

“อยู่เย็นเป็นสุข” ภารกิจพลิกฟื้นสังคม “สามพี่น้อง” ตระกูล NGO


(รายงานพิเศษ โดย นิติราษฎร์ บุญโย ลงในนสพ.เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 24-30 พฤศจิกายน 2549 หน้า 86)

ปลายสัปดาห์ที่แล้ว น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เปิดประเด็น ‘พัฒนายุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ จุดประกายความคิด กำหนดทิศสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน’ ที่ทำเนียบรัฐบาล ให้ได้ขบคิดเกี่ยวกับ ‘สังคมสมานฉันท์’ เพื่อความสงบสุขและปรองดองของคนในชาติ ภายหลังคนไทยแตกแยก-แบ่งฝักฝ่าย จากวิกฤติการเมืองครั้งที่ผ่านมา

ความกระจ่างชัดของนโยบายจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดังกล่าวนั้น ดูเหมือนยังขาดคำอธิบายในแง่รูปธรรมและการลงมือปฏิบัติอยู่ไม่น้อย ว่าแผนระยะสั้นและระยะยาวจะดำเนินการไปอย่างไร ในช่วงเวลา 1 ปีของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

ดังนั้น “เนชั่นสุดสัปดาห์” จึงหาโอกาสไปจับเข่าคุยกับ น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขานุการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อถามไถ่เป้าหมายและความเป็นไปได้ของนโยบายดังกล่าว ว่ามีความเป็นรูปธรรมได้มากน้อยขนาดไหน!

พูดถึงกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ที่มีเจ้ากระทรวงชื่อ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งอาจจะคุ้นชื่อในฐานะเป็น “พี่ใหญ่” ของเหล่า NGO ทั้งหลาย เพราะทำงานคร่ำหวอดด้านชุมชนชาวบ้านร้านตลาดมานานปีดีดัก อีกทั้งยังมีมิตรรู้ใจ “ฝ่ายรุก” อย่าง เอนก นาคะบุตร ที่ปรึกษา “รมต.ไพบูลย์” และยังเป็นผู้จัดการมูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ซึ่งทำงานด้านชุมชนมานานเช่นกัน

ส่วนมิตรคู่ใจ “ฝ่ายบุ๋น” อีกคนหนึ่ง คือ “น.พ.พลเดช” ที่คลุกกคลีกับชาวบ้านเรื่อง “การมีส่วนร่วมภาคประชาชน” มานานพอสมควรแล้ว ดังนั้น จึงไม่แปลกใจว่า หมอพลเดช จะกล่าวถึงบุคคลทั้งสองเสมือนว่าเป็น “สามพี่น้อง”

“เราสามคนพี่น้อง เราก็ตกลงปลงใจว่า เอาล่ะ 1 ปีนี้ เราคงต้องมาช่วยกัน..เราไม่เคยบริหารแบบนี้มาก่อนในฐานะเข้าไปบริหารกระทรวง เราอยู่ในฐานะฝ่ายการเมือง เรากระโดดจาก NGO โดยที่ไม่ได้คิดอะไรมาก่อน ฉะนั้น เราต้องเรียนรู้ระบบการบริหารราชการ ว่าเขามีการบริหารอย่างไร ต้องดูแลตรงนี้ด้วย ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ท้าทาย และกว่าที่จะมีการตกผลึก 3 ยุทธศาสตร์ มันต้องมีการคิด การพูดคุย ปรึกษาหารือ ในที่สุดเขียนออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารให้เป็นที่ยอมรับ ใช้เวลาเพียง 3 อาทิตย์…”

น.พ.พลเดช อธิบายถึงหลักการกว้างๆ ของนโยบาย “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” อย่างเป็นกันเองว่า การปฏิรูปสังคมเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมาตั้งแต่ปี 2543 ขณะนั้น ทำงานด้านชุมชนกับสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จึงเห็นโครงสร้างชุมชนเชิงรายละเอียดได้อย่างชัดเจน ซึ่งยังขาดเพียงการเชื่อมต่อโครงสร้างใหญ่ระดับประเทศให้มีความเกี่ยวพันกัน เพื่อให้สังคมที่เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

“พวกผมมีเวลาแค่ปีเดียว ถ้าผมแบ่งเวลาปีเดียวไปด้านอื่น ก็จะมีเวลาทำในสิ่งที่ควรทำได้น้อย เปรียบเสมือนว่า พวกผมสามคนเป็นช่างเชื่อมเหล็ก ที่จะต้องถูกหย่อนลงไปในอุโมงค์ลึก เพื่อทำหน้าที่ไปอ๊อก ไปเชื่อมโครงสร้าง คือเรื่องกฎหมาย ในเวลาที่จำกัด เพราะถ้าอ๊อกไม่เสร็จ อ๊อกไม่ได้ ถึงเวลาออกซิเจนมันหมด เขาต้องดึงเราขึ้นแล้ว หมดเวลาแล้ว ก็หมดโอกาสทำ ถูกไหม…”

“เราตั้งใจว่า การปฏิรูปสังคมต้องเคลื่อนอย่างน้อย 10 ปี เราจะเคลื่อนอย่างนี้ 10 ปี แต่ 1 ปีของเราที่อยู่ในกระทรวงนี้ จะเป็นหนึ่งปีของการจัดทัพ เพื่อการเดินทางไกล พอจัดทัพเสร็จ หรือไม่เสร็จก็ตาม เราก็ต้องออกจากกระทรวงนี้ เราต้องเดินทางไกล เพราะฉะนั้น 1 ปี จะต้องจัดทัพให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราทำได้ เหมือนเราจะเดินทัพทางไกล ขบวนของเรา มันเยอะเหลือเกินนะ เราก็ต้องดู จัดทัพ จัดขบวนกัน…”

แววตาแห่งความมุ่งมั่นของคุณหมอจากแพทยศาสตร์ศิริราช ช่างเปล่งประกายอย่างเชื่อมั่น ว่าแนวทางนี้ จะนำสังคมไทยสู่เข้มแข็งทั้งจิตวิญญาณและการพัฒนาประเทศ ซึ่งได้ชี้ให้เห็นทิศทางและกรอบการทำงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม 3 ประการ คือ ยุทธศาสตร์สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง และยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม ที่ได้วางเอาไว้

“พอกำหนดทิศทางชัดแล้ว การส่งสัญญาณที่แรงก็มีความสำคัญ เวทีเมื่อวานที่ทำเนียบฯ จึงเป็นเวทีส่งสัญญาณ จุดประกายว่า เราจะไปสู่สังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันถูกไหม พอเราส่งสัญญาณที่แรงและชัดเจนอย่างนี้ จะทำให้ขบวนของเราได้ยินทั่วถึง เข้าใจตรงกันว่าเราจะไปร่วมกัน ซึ่งในปีที่ 1 ต้องทำเป้าหมายให้ชัดเจน ส่งสัญญาณให้แรง จัดทัพจัดขบวนให้ดี ว่าเราจะเดินทางไกล ไม่ใช่ว่า 1 ปี จะถึงเป้าหมายแล้ว ไม่ใช่ ต้องบอกอย่างนี้ก่อน ถ้าไม่อย่างงั้นแล้ว ผ่านไป 1 ปี ไม่เห็นได้อะไร ไม่เห็นถึงสักที อะไรอย่างนี้ ฉะนั้น เราต้องบอกว่าสังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขนั้น มันคือเป้าหมายปลายทาง…”

ตัวเลขที่คุณหมอนักพัฒนา กล่าวอ้างอิงเกี่ยวกับกลุ่มคนที่จะต้องเข้าไปดูแลเป็นกลุ่มแรก คือ กลุ่มคนที่ด้อยโอกาส กลุ่มคนที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งคาดการณ์ว่ามีจำนวนนับ 10 ล้านใน 63 ล้านคน

แยกออกเป็น กลุ่มคนยากจนที่เคยไปจดทะเบียนกับคุณทักษิณจำนวน 8 ล้านคน กลุ่มคนพิการ 1.1 ล้านคน กลุ่มคนไทยเผ่าต่างๆ ที่ไม่มีบัตรประชาชน จำนาน 5 แสนคน กลุ่มคนที่ติดเชื้อเอดส์และลูก จำนวน 3 แสนคน ร่วมถึงคนไทยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้และคนไทย 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้านพม่าที่มีเส้นปักเขตแดนไม่ชัดเจนอีกประมาณ 3 หมื่นคน ซึ่งคนกลุ่มคนเหล่านี้ต้องการกำลังใจจากชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม

“ยุทธศาสตร์แรก คือ สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน เพื่อส่งสัญญาณให้คนไทยทั้งหมดว่า เราจะทำไปสู่สังคมที่เข้มแข็งและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ซึ่งการที่เราดูแลคนเหล่านี้อย่างพร้อมเพรียงทั่วถึง เราจะทำอย่างไร และถ้าเราทำได้ มันจะยกระดับจิตใจ จิตสำนึกของคนไทย…”

“ดังนั้น วิธีการ เราปรับใหม่ ตอนไปนี้ ชุมชนท้องถิ่นไปช่วย ทางหน่วยงานรัฐไปเสริม พอทำอย่างนี้ปั๊บ ชุมชนท้องถิ่นมีอยู่เต็มประเทศเลย ตำบลต่างๆ กว่า 6,000 ถึง 7,000 ตำบล และองค์กรชุมชนต่างๆ 5-6 หมื่นองค์กร ซึ่งอยู่ในท้องที่ใครท้องที่มัน สามารถดูแลกันได้ และการดูแลบุคคลเหล่านี้ อาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสมอไป เงินเป็นคำตอบสุดท้าย หัวใจสำคัญกว่า…”

เลขานุการ ‘รมต.ไพบูลย์’ ยืนยันว่า ภายใน 3 เดือนแรกนี้ จะสำรวจทั้งหมด ทุกตำบล ว่ามีคนถูกทอดทิ้งอยู่ที่ไหนบ้าง เราต้องรู้ และลงไปช่วยได้เลย เราจะไปดูแล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ เราจะไปเยี่ยมบ้าน ไปให้กำลังใจ มีอยู่ประมาณ 2,500 คน ในช่วงก่อนวันที่ 5 ธันวาคมที่จะถึงนี้ และรวมถึงกลุ่มผู้ประสบภัยธรรมชาติด้วย

“กลุ่ม 47 จังหวัด มี 355 อำเภอ ที่ถูกน้ำท่วม เราจะไปตั้งกองทุนในระดับอำเภอ เพื่อให้ท้องถิ่นในอำเภอเขาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการ ฟื้นฟูตนเอง ฟื้นฟูกันเอง โดยชุมชนเป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นคนจัดการ ไม่ใช่ให้รัฐจัดการ เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์สึนามิ เพราะปรากฏว่า สิ่งของที่บริจาคต่างๆ ไปกองๆ ไว้ จากคนทั่วประเทศ เพราะไม่มีคนจัดการ ซึ่งชาวบ้านได้สะท้อนออกมาว่า ไม่ต้องส่งอะไรมาหรอก เขาต้องการกองทุนที่บริหารจัดการกันเอง เขารู้ว่าบางคน มันต้องการเงิน แค่ 500 บาท บางคนก็ต้องแบบอื่น แต่ทางส่วนกลางมันไม่รู้ไง จึงมีสิ่งของจำนวนมากเลย แต่ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการของชาวบ้าน และถ้าเราให้เงินกองทุนไปจัดการกันเอง มีกรรมการ มีอะไรต่างๆ จะช่วยได้ตรงจุดมากกว่า และทันเวลามากกว่า”

ขณะที่ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็งนั้น หมอพลเดชอธิบายว่า จะตั้งศูนย์ประสานงานอาสาสมัครและการให้ ทุกจังหวัด ศูนย์ดังกล่าวจะเป็นฐานข้อมูลว่ามีคนเดือดร้อนภายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม ช่วงปลายปีนี้ จะประกาศรายชื่อวัดตัวอย่าง 300 แห่ง หรือศาสนสถาน อาจเป็นโบสถ์คริสต์ และมัสยิดก็ตาม มีสถานที่ ‘สะอาด สงบ สว่าง’ หมายความว่า สะอาด เจริญหูเจริญตา ส่วนสงบ คือร่มเย็น และสว่าง คือทำให้จิตใจตื่นรู้ในธรรมะ ซึ่งในสถานที่เหล่านั้นจะต้องมีผู้นำศาสนาที่ดีด้วย

ขณะเดียวกัน เมื่อถามว่าจะสร้างความสมานฉันท์คนในชาติได้อย่างไร ซึ่งหมอพลเดชจะใช้วิธีการ ‘เชิดชูสิ่งที่ดี’ โดยจะประกาศ 100 ตำบลตัวอย่างของการเมืองสมานฉันท์ หมายความว่า ในตำบลนั้น เป็นพื้นที่ที่มีการเมืองท้องถิ่นเป็นการเมืองสมานฉันท์ ไม่ต่อสู้ฟาดฟันเข่นฆ่ากัน เอาที่ดีมาชูก่อน ซึ่งมันมีอยู่แล้ว

“เราจะไปหา แล้วเราชูขึ้นมา ส่วนที่แตกแยกก็ไม่เอา ไม่เป็นไร ก็ปล่อยไป ซึ่งการที่ชูสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นความดีงามในสังคม เรามีการแข่งขันกันอย่างสุภาพบุรุษ แข่งตามกติกา และสามารถสะท้อนถึงการเมืองระดับชาติด้วย ว่าทำไมเขาดีกว่าพวกคุณล่ะ”

ทั้งนี้ “หมอเอ็นจีโอ” ยังย้ำถึงนโยบายรัฐบาลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วยว่า ทาง พม. จะทำให้นโยบายดังกล่าวสัมผัสและเรียนรู้ได้จริง พร้อมทั้งยกย่องคนดี-ขยันทำงานด้วย

“ช่วงปลายปี ผมจะประกาศ 25,000 ครอบครัว มากหรือน้อยล่ะ เป็นเศรษฐกิจพอเพียง คุณเดินไปดู เดินไปจับได้ แต่ก่อนเราจะคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนามธรรม เราจะให้เห็นเป็นรูปธรรม เพราะมีอยู่แล้ว สามารถสัมผัสได้…

“เราจะประกาศ 100 สามัญชนคนดี คือเวลาเราจะชูคนดี มักจะชูคนมีชื่อเสียง คนชั้นสูง แต่ตอนนี้ เรากลับเปลี่ยน เราจะไปหาสามัญชนคนดีแทน…”

อย่างไรก็ตาม การเดินทางไกลของหมอพลเดช เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น และยังไม่รู้ผลของอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ระยะสั้นนี้ จะสร้าง “ศรัทธา” ให้เกิดแนวร่วม เพื่อที่จะร่วมเดินทางไปด้วยกันให้ได้ ซึ่งผลงานภายใน 1 ปีของ “รัฐบาลสุรยุทธ์” จะเป็นคำตอบ

สำหรับอนาคต “สังคมดีงามและอยู่เย็นเป็นสุข” ได้เป็นอย่างดี!!!

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

29 พ.ย. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/64088

<<< กลับ

 

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 2 (4 ธ.ค.49)

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 2 (4 ธ.ค.49)


เยี่ยมเยียนเรียนรู้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน

จาก “3 ยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ” อันได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน (2) ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง และ (3) ยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม กระทรวงฯ (พม.-พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ได้ลงมือขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน” เป็นอันดับแรก

ได้แนะนำให้ “พมจ.” (พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด) เป็นผู้ประสานส่งเสริมสนับสนุนให้ “องค์กรชุมชน” “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” และผู้สามารถมีบทบาทสำคัญอื่นๆในท้องถิ่น ร่วมกันค้นหา “ผู้ถูกทอดทิ้ง” หรือ “ผู้ยากลำบากพิเศษ” ในท้องถิ่นของตน แล้วช่วยกัน “ดูแล” ตามที่เห็นว่าสมควร

การ “ดูแล” นี้คงจะมีทั้งการช่วยเหลือเฉพาะหน้าระยะสั้น และการสนับสนุนให้ “ผู้ถูกทอดทิ้ง” หรือ “ผู้ยากลำบากพิเศษ” นั้นๆมีความเข้มแข็งสามารถมากขึ้นในระยะยาว

ผมได้เดินทางไป “เยี่ยมเยียนเรียนรู้” (และ “พัฒนาร่วมกัน” หรือ “ร่วมคิดร่วมพัฒนา”) กับ พมจ. และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในภูมิภาคต่างๆ โดยอาศัยโอกาสที่ พมจ.จัดการประชุมสัมมนาหารือเรื่อง “การขับเคลื่อนสังคมไม่ทอดทิ้งกัน” ณ จังหวัดต่างๆดังนี้

  • จังหวัดลำปาง (16 พ.ย. 49)
  • จังหวัดขอนแก่น (20 พ.ย. 49)
  • จังหวัดสงขลา (25 พ.ย. 49)
  • จังหวัดจันทบุรี (26 พ.ย. 49)

และเตรียมจะไป “เยี่ยมเยียนเรียนรู้” อีก 2 ครั้ง ที่จังหวัดพิษณุโลก (29 พ.ย. 49) และจังหวัดสกลนคร (30 พ.ย. 49) แต่พอถึงเวลาจริงๆก็ไม่สามารถไปได้เพราะต้องเข้าประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อันเกี่ยวเนื่องกับการนำร่าง พรบ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (หรือเรื่อง “หวย 2 ตัว 3 ตัว”) เข้าสภาฯและผมต้องเข้าประชุมพร้อมกับท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล) ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่อง ส่วนผมเป็น “กองหนุน” เนื่องจากได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลเรื่อง “การส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข” (หรือ “การส่งเสริมให้ลดละเลิกอบายมุข”) อันถือได้ว่ารวมอยู่ในหน้าที่ของกระทรวง พม.ที่ควรทำอยู่แล้ว

สำหรับที่พลาดการไป “เยี่ยมเยียนเรียนรู้” ที่จังหวัดพิษณุโลก และสกลนครนั้น ผมตั้งใจและวางแผนจะไปที่จังหวัดทั้งสองนี้ หลักจากเวลาประมาณ 1 เดือนได้ล่วงไปแล้ว โดยจะเป็นการไป “ติดตามศึกษา” การดำเนินการที่ได้ทำไปแล้วเกี่ยวกับ “การขับเคลื่อนสังคมไม่ทอดทิ้งกัน” ในจังหวัดทั้งสอง แถมด้วยในจังหวัดรอบๆอีกประมาณ 12 จังหวัด ต่อการไปเยี่ยม 1 ครั้ง ซึ่งจังหวัดเหล่านั้นอยู่ในเขตรับผิดชอบของ “สสว.” (สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ) จำนวน 2 เขต ไปเยี่ยม 2 ครั้งก็คลุมพื้นที่ สสว. รวม 4 เขต หรือประมาณ 24 จังหวัด

“เบญจภาคี” สู่ “พหุพลังบูรณาการ” เพื่อการพัฒนาสังคม

การขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน” คงจะดำเนินการในพื้นที่หรือท้องถิ่น “ปฐมภูมิ” เป็นเบื้องต้น

พื้นที่หรือท้องถิ่น “ปฐมภูมิ” คือ “ตำบล” และ “เขตเทศบาล” (หรือ “เมือง”) ซึ่งมี “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (อปท.) ระดับพื้นฐานรับผิดชอบดูแลจัดการ อันได้แก่ “องค์การบริหารส่วนตำบล” (อบต.) (สำหรับพื้นที่ตำบล) และ “เทศบาล” (สำหรับพื้นที่ “เขตเทศบาล” หรือ “เมือง”)

พร้อมกันนั้น การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ก็สามารถและควรจะทำในระดับพื้นที่ “ทุติยภูมิ” นั่นคือในระดับ “จังหวัด” ด้วย

สำหรับการดูแลจัดการในพื้นที่จังหวัดนี้จะซับซ้อนกว่าพื้นที่ปฐมภูมิ กล่าวนั่นคือ มีผู้รับผิดชอบดูแล 2 ระบบอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด ระบบที่หนึ่งได้แก่ “ราชการส่วนภูมิภาค” ซึ่งประกอบด้วย “ผู้ว่าราชการจังหวัด” และข้าราชการที่เป็นตัวแทนของกระทรวงและกรมต่างๆ และมาสังกัดที่จังหวัดตลอดไปถึงที่อำเภอ และระบบที่สอง คือ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ในรูปของ “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” (อบจ.)

แต่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ “ปฐมภูมิ” หรือพื้นที่ “ทุติยภูมิ” พลังสำคัญในการขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน” (หรือ “ภารกิจสังคมไม่ทอดทิ้งกัน”) น่าจะประกอบด้วย

  1. ชุมชนท้องถิ่น (รวมถึง “องค์กรชุมชน” และกลไกต่างๆของชุมชน)
  2. องค์กรประครองส่วนท้องถิ่น (อบต. หรือเทศบาล หรืออบจ.)
  3. หน่วยงานของรัฐ (ที่มีบทบาทในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงราชการส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง)
  4. ประชาสังคม (ที่มีบทบาทในพื้นที่ รวมถึงหน่วยศาสนา มูลนิธิ สมาคม กลุ่มคน เครือข่าย ฯลฯ ซึ่งดำเนินกิจกรรมเพื่อส่วนรวม)
  5. ธุรกิจ (ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับพื้นที่)

ถ้ามีครบทั้ง 5 ส่วนดังกล่าวข้างต้น ผมจะเรียกว่าเป็น “เบญจภาคี” ซึ่งควรจะมีพลังมาก และเป็นพลังที่บูรณาการกันหลายฝ่าย

ผมจึงขอใช้อีกคำว่าเป็น “พหุพลังบูรณาการ” รวมแล้วเป็น “เบญจภาคี” ซึ่งนำสู่ “พหุพลังบูรณาการ” เพื่อการพัฒนาสังคม (และเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์)

สวัสดีครับ

ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/65203

<<< กลับ

7 ปี..โครงการพัฒนาครูฯ “ให้ชีวิตใหม่..แม่พิมพ์”

7 ปี..โครงการพัฒนาครูฯ “ให้ชีวิตใหม่..แม่พิมพ์”


(บทสัมภาษณ์ของหลายคน เกี่ยวกับโครงการพัฒนาชีวิตครู โดย จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ ลงในนสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 3 ธันวาคม 2549 หน้า 7)

“โครงการพัฒนาชีวิตครูฯ เริ่มต้นเมื่อปี 2541 ในสมัยที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เนื่องจากขณะนั้นครูมีปัญหาหนี้สินมาก กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงเสนอโครงการไปที่รัฐบาลเพื่อหาช่องทางให้ครูที่มีหนี้สินมากมีแหล่งเงินกู้เพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน ทั้งหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และหนี้นอกระบบ ซึ่งเดิมสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) เป็นผู้ดูแล ในฐานะที่ดูแลสวัสดิการครู ก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) มารับช่วงต่อ”

นายบุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ รองปลัด ศธ. ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ปัญหาหนี้สินครู บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการพัฒนาชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ศธ. หลังจากธนาคารออมสิน ได้ควักเงินก้อนหนึ่ง เป็นรางวัลสำหรับพาคณะกรรมการโครงการพัฒนาชีวิตครูฯ, ประธานเครือข่ายภาคต่างๆ, คณะครู, ผู้บริหาร สกสค., และผู้บริหาร ศธ.กว่า 60 ชีวิต ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็วๆ นี้

นายบุญรัตน์แจกแจงว่า เดิมรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาหนี้สินครู โดยส่วนหนึ่งจัดสรรงบประมาณผ่าน ก.ค. ประมาณ 500 ล้านบาทปล่อยกู้ให้ครู แต่ ศธ.มองว่าคงช่วยแก้ปัญหาหนี้สินครูไม่ได้ เพราะมีหนี้สินเป็นแสนล้านบาท จึงเจรจากับธนาคารออมสิน เนื่องจากนายไพบูลย์เป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่เพื่อให้มั่นคงและยั่งยืน จึงให้เป็นโครงการระยะยาว แต่ก็มองว่าถ้าปล่อยให้ครูกู้เดี่ยว ครูบางส่วนจะไม่มีวินัยทางการเงิน และไม่มั่นใจว่าจะติดตามหนี้ได้ เพราะออมสินต้องได้ดอกเบี้ยและเงินคืนโดยมีหนี้สูญน้อยที่สุด”

ในที่สุด โครงการพัฒนาชีวิตครูฯจึงเกิดขึ้น โดยให้ครู “กู้ร่วม” และมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1.ครูต้องดูแลกันเองได้ในระดับหนึ่ง 2.ครูต้องรับผิดชอบร่วมกันอย่างน้อย 5 คนขึ้นไปถึงจะเข้าโครงการได้ เดิมให้ครูกู้ได้ 3 แสนบาท ดอกเบี้ย MLR-1 แต่ถ้ารวมกลุ่มครูที่มี 5 คนขึ้นไป จะกู้ได้คนละ 7 แสนบาท โดยครูในกลุ่มจะค้ำประกันกันเอง เหมือนเป็นการประกันว่าครูที่รวมกลุ่มกันเป็นคนดี รู้แหล่งที่อยู่ รู้ความเป็นมาของครูที่รวมกลุ่ม ไม่มีพฤติกรรมการเล่นการพนัน แต่หากกลุ่มครูเอาหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะกู้ได้คนละ 2 ล้านบาท

“2 ปีที่ผ่านมา ออมสินเห็นว่าครูมีวินัยทางการเงิน หนี้เสียน้อยมาก จึงเห็นว่าน่าจะให้รางวัลกับกลุ่มครู โดยคืนเงินให้ 1% จากยอดหนี้ที่ส่ง ปีที่ผ่านมายอดหนี้ที่ครูส่งคืนถึง 4 หมื่นล้าน ออมสินจึงคืนกลับมา 400 ล้านบาท เพื่อให้รางวัล และเป็นกำลังใจ โดยให้ครูบริหารเงินนี้ แต่ขณะนี้ข้อบังคับยังไม่เรียบร้อย แต่แนวทางที่วางไว้เบื้องต้นคือ จะแบ่ง 70 : 30 โดย 70% จะให้กลุ่มครูไปเลยโดยเอาจำนวนกลุ่มหาร ใครส่งหนี้มากได้สัดส่วนมาก ส่งน้อยได้น้อย โดยเอาเงินไปพัฒนากลุ่ม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กลุ่มร่วมกันคิด อีก 30% จะจัดสรรให้แต่ละจังหวัดซึ่งมีการรวมกลุ่มอำเภอและกลุ่มจังหวัด โดยกลุ่มอำเภอจะจัดสรรให้ 20% ส่วนกลุ่มจังหวัด 5% และให้กับส่วนกลางคือกรุงเทพฯ เพื่อใช้บริหารโครงการอีก 5% แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน”

ปัจจุบันมีครูที่เข้าโครงการพัฒนาชีวิตครูฯ 8.5 หมื่นคน จากครูที่มีหนี้สินทั้งหมด 1.2 แสนคน มีหนี้รวม 2 แสนล้านบาท เฉลี่ยคนละ 2 ล้านบาท ขณะนี้จะเปิดรับรอบ 2 โดยตั้งแต่เริ่มโครงการมา 7 ปี หนี้สินครูในภาพรวมลดลงประมาณ 30% สภาพครอบครัวครูดีขึ้น จากเดิมที่ครูแต่ละคนถูกหักหนี้ และมีเงินเดือนเหลือ 2-5 พันบาท ขณะนี้หักหนี้แล้วยังมีมากกว่า 1 หมื่นบาทขึ้นไป ส่วนหนี้นอกระบบไม่มีแล้ว เหลือแค่หนี้หลักๆ เฉพาะหนี้ธนาคารออมสิน และสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยเงินกู้จากโครงการพัฒนาชีวิตครูฯ จะถูกนำไปใช้ 2 ประเภท คือ ปรับโครงสร้างหนี้ และลงทุน

ทั้งนี้ทั้งนั้น จากการสำรวจพบว่า ชีวิตครูมี 3 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงตั้งเนื้อตั้งตัว อายุประมาณ 25-40 ปี จะมีหนี้สินค่อนข้างมาก เพราะครูมักมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน เป็นลูกชาวนา หรือมาจากชนบท ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่มีปัจจัยพื้นฐาน จะซื้อรถจักรยานยนต์ วิทยุ โทรทัศน์ และโทรศัพท์มือถือ ไม่มีวินัยในตัวเอง วุฒิภาวะยังไม่ดีเท่าที่ควร และยังมีภาษีสังคม 2.ช่วงอายุ 40-50 ปี เริ่มมีวุฒิภาวะ รู้จักแก้ปัญหาชีวิต ดูแลตัวเองดีขึ้น คือเริ่มเข้าที่เข้าทาง กลุ่มนี้ปัญหาหนี้สินจะดีกว่ากลุ่มแรก และ 3.ช่วงอายุ 50-60 ปี กลุ่มนี้จะดีที่สุด เงินเดือนสูงขึ้น ส่วนหนึ่งลูกเรียนจบ ปัญหาหนี้สินก็ผ่อนคลาย การบริหารจัดการดี จะวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ

“ที่ผ่านมา กลุ่ม 2 และ 3 จะเข้าโครงการพัฒนาชีวิตครูฯมากที่สุด แต่เมื่อขยายโครงการรอบ 2 คาดว่าจะมีครูที่มีปัญหาหนี้สินเข้าโครงการอีกมากเพราะเห็นความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ที่ครูบางส่วนไม่เข้าระบบเพราะหนี้เยอะ และไม่มีใครเอาเข้ากลุ่ม เพราะพฤติกรรมไม่ดี ไม่มีวินัยในตัวเอง เล่นการพนัน หรือดื่มเหล้าเป็นประจำ หรืออย่างครูบางคนมีบัตรเครดิต 9-10 ใบ แล้วกดวนคล้ายๆ แชร์แม่ชม้อย กลุ่มครูเหล่านี้จะไม่ได้เข้าโครงการ” ประธานคณะทำงานแก้ปัญหาหนี้สินครูกล่าว

สำหรับปัญหาอุปสรรคในช่วง 7 ปีที่ทำโครงการนั้น นายบุญรัตน์เล่าว่า “มีปัญหาการส่งเงินบ้าง แต่เพื่อนครูในกลุ่มต้องช่วยกันรับผิดชอบ เพราะครูบางคนย้ายที่อยู่ ติดต่อไม่ได้ หรือเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (เออร์ลี่รีไทร์) บางครั้งไม่ส่งเงินตามเวลา ส่งเงินไม่ครบ แต่รวมๆ แล้วก็เป็นเพียงส่วนน้อย ประมาณ 10% เท่านั้น และในปี 2550 ออมสินได้เตรียมเงินให้ครูกู้ในโครงการนี้อีก 4 หมื่นล้านบาท สำหรับครู 1.2 แสนคน”

ส่วนหลักการของโครงการพัฒนาชีวิตครูฯ เป็นอย่างไรนั้น ลองมาฟัง นางบุษบา ฤทธิ์เรืองนาม ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สายกิจกรรมชุมชน ธนาคารออมสิน บอกว่า หลักการคือให้ครูรวมกลุ่มช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยออมสินมีเงื่อนไขว่าครูต้องมีเงินออม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะตกลงกันเอง เพื่อฝึกนิสัยการออม และต้องออมอย่างสม่ำเสมอ เช่น ถ้าตกลงกันว่าจะออมคนละ 100 บาทต่อเดือน ก็จะต้องออมไม่ต่ำกว่า 100 บาท นอกจากนี้ ต้องปรับพฤติกรรม ลด ละ เลิก อบายมุขทั้งหลาย ก็จะมีเงินออมเหลือ โดยออมสินจะติดตามดูว่าในช่วง 6 เดือนหลัง สามารถทำตามเงื่อนไขได้หรือไม่ ถ้าทำได้ ก็ยื่นเงื่อนไขขอกู้เงิน โดยเพื่อนครูจะรับเข้ากลุ่ม แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ไม่มีใครรับเข้ากลุ่ม โดยออมสินและ สกสค.จะเข้าไปดูด้วยว่ากลุ่มเข้มแข็ง แข็งแรง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันหรือไม่

“ครูที่จะกู้เงินในโครงการนี้ ต้องผ่านการรับรองจากผู้บังคับบัญชาว่าเป็นหนี้จริง โดยธนาคารจะให้กู้ตามจริง เงื่อนไขการกู้คือ กู้ได้ 50 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 7 แสนบาท ผ่อนชำระเป็นเวลา 10 ปี แต่ถ้ามีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ให้กู้คนละ 2 ล้านบาท ผ่อนไม่เกิน 30 ปี แต่อายุต้องไม่เกิน 65 ปี”

สำหรับเงินที่หมุนเวียนอยู่ในโครงการพัฒนาชีวิตครูฯนั้น ผู้แทนธนาคารออมสินบอกว่า “ปัจจุบันมีถึง 5 หมื่นล้านบาท ได้รับชำระหนี้ประมาณ 8 พันล้านบาทต่อปี ช่วง 7 ปีที่ผ่านมา มีหนี้สงสัยจะสูญ 0.5% ซึ่งน้อยมาก ส่วนใหญ่เกิดจากครูย้ายที่อยู่ เออร์ลี่รีไทร์ เป็นต้น ซึ่งเพื่อนครูในกลุ่มก็จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าชดเชยแทน และถ้าปีไหนมีเงินออม ไม่มีหนี้ค้าง ออมสินจะลดให้ 1% สำหรับกลุ่มที่ไม่มีหนี้ค้างและไม่มีปัญหา เพื่อนำเงินไปพัฒนา”

หลังจากฟังที่มาที่ไปของโครงการ รวมทั้งหลักการและเงื่อนไขที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้แล้ว คราวนี้ลองมาฟังฝ่ายปฏิบัติกันดูบ้าง เริ่มจาก นายมานพ ดีมี ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 แจกแจงว่า

“จ.แพร่ นำร่องโครงการพัฒนาชีวิตครูฯมาหลายปี ประสบความสำเร็จอย่างดี ครูบางกลุ่มนำเงินไปทำอาชีพเสริมจึงไม่มีปัญหา โดยเขตพื้นที่ฯมีหน้าที่หักเงิน และแก้ปัญหาให้กับกลุ่มต่างๆ ปัญหาที่ผ่านมาคือ ครูบางคนมีเงินไม่พอหักค่าหนี้ จะขอจ่ายที่หลัง ทางเขตพื้นที่ฯก็ประสานกับออมสินให้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการบริหารจัดการกันในกลุ่ม เนื่องจากสมาชิกไม่ถูกกัน เช่น การบริหารจัดการเงิน 1% ที่ธนาคารส่งคืน และการจัดสรรปันส่วน ซึ่งครูจะเอาเงินไปกองไว้ และใช้แก้ปัญหากรณีที่ครูบางคนไม่ยอมจ่ายหนี้ ก็เลยเป็นปัญหาต่อ”

ส่วน นายมานิจ สุวรรณจันทร์ ประธานกลุ่มเครือข่ายจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ใน จ.เชียงใหม่ มีทั้งหมด 27 กลุ่ม กลุ่มละ 1 อำเภอ มีครูเข้าโครงการกว่า 3,500 คน ยอดกู้ประมาณ 1.5 พันล้านบาท โดยเครือข่ายฯจะดูแลระบบการกู้ และดูแลด้านนโยบาย ขณะนี้ทั้งจังหวัดมีเงินออมประมาณ 20 ล้านบาท จะออมเดือนละ 100 บาทต่อคน และอีกส่วนเป็นเงินที่ธนาคารคืนให้ถ้าไม่มีเงินค้างชำระ ส่วนหนึ่งจะบริหารในระดับอำเภอ จังหวัด และภาค ซึ่งให้แต่ละกลุ่มดูแลกันเอง โดยมีคณะกรรมการดูแลเงินออม เมื่อใครใช้หนี้หมด ก็จะได้เงินก้อนใหญ่คืน สิ้นปีจะมีเงินปันผลคืนให้ อีกส่วนกันไว้สำหรับข้าราชการที่เออร์ลี่รีไทร์ เพราะ 3 เดือนแรกหลังเออร์ลี่รีไทร์ จะเอาเงินส่วนนี้จ่ายหนี้ให้ก่อน นอกจากนี้ ยังซื้อสลากออมสินเป็นเงิน 8 ล้านบาท เมื่อครบ 3 ปี จะได้ปันผล 8 แสนบาท

“ปัญหาที่เจอคือครูลาออก จึงต้องควบคุมกลไกการลาออก โดยประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพราะมีข้าราชการส่วนหนึ่งเออร์ลี่ฯ จากเงินเดือน 3 หมื่นบาท จะเหลือ 1.5-1.8 หมื่นบาท ซึ่งไม่พอส่งหนี้ ถ้าไม่ปรับโครงสร้างก่อนจะไม่พอจ่าย ก็ให้เอาเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มาจ่ายเพื่อปรับโครงสร้างก่อน แต่ครูบางคนไม่ยอม จึงเกิดปัญหากับสมาชิกในกลุ่ม”

ขณะที่ นายพงษ์ศักดิ์ ธีระวรรณสาร ประธานกลุ่มเครือข่ายจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า เป็นโชคดีที่สมุทรปราการเป็นจังหวัดเดียวในประเทศที่ทำเรื่องการจัดการความรู้ในโครงการพัฒนาชีวิตครูฯ ทำให้ได้แนวทางในการปฏิบัติในโครงการที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ 1.ปรับวิถีชีวิตตัวเอง 2.มีวินัยทางการเงิน 3.ขยัน 4.เอื้ออาทรในกลุ่ม และ 5.ใช้พลังกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ โดยนำแนวปฏิบัติใน 5 เรื่องมาจัดการความรู้อีกครั้ง โดยเชิญ 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน มาจัดการความรู้ ได้ 3 แนวทาง คือ 1.ลดรายจ่าย 2.เพิ่มรายได้ และ 3.ขยายโอกาส จากนั้น นำความรู้เผยแพร่ให้คณะครู จัดตลาดนัดโครงการพัฒนาชีวิตครู ซึ่งครูใน จ.สมุทรปราการ ได้รับทราบแนวทางและนำไปพัฒนาในแต่ละกลุ่ม โดยทบทวนกับประธานกลุ่มทุกกลุ่ม

“อุปสรรคที่พบคือ บางคนที่เข้าโครงการไม่ยึดแนวทางปฏิบัติ ขอแต่ให้ได้เงิน จึงพยายามสร้างความเข้าใจให้ครูทุกคน อย่างไรก็ตาม หลังทำโครงการนี้ ครูหลายคนจากที่มีปัญหาหนี้สินอย่างมาก หลังใช้ 5 แนวปฏิบัติ 3 แนวทาง ทุกอย่างพัฒนาขึ้น บางคนจากที่เข้าโรงเรียนไม่ได้เพราะมีเจ้าหนี้มารออยู่ ก็เข้าโรงเรียนได้ กระบวนการเรียนการสอนที่เคยมีปัญหาก็ดีขึ้น และจากสมาชิกครูที่เข้าโครงการ 1,500 กว่าคน ขณะนี้เป็นจังหวัดแรกที่ขยายให้ครูเอกชนเข้าโครงการ โดยมีครูเอกชนประมาณ 200 คนเข้าร่วม เพราะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนเห็นว่าโครงการนี้แก้ปัญหาหนี้ครูได้จริง

“ส่วนปัญหาที่พบ อาทิ ครูเออร์ลี่รีไทร์ ก็จะดึงลูกของครูคนนั้นมาร่วมกู้ แจ้งให้ทราบถึงปัญหา และเข้าร่วมแก้ปัญหา หรือครูบางคนหนีไปเลยเพราะมีหนี้สินมาก และเป็นครูเด็กๆ เพิ่งเข้ามาได้ปีกว่าๆ สมาชิกในกลุ่มก็ต้องช่วยกันรับผิดชอบ”

ทั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ฝากทิ้งท้ายไปยังผู้บริหาร ศธ.ว่า อยากให้ “การจัดการความรู้” ทำกันอย่างจริงจัง ถ้า ศธ.เห็นว่าสามารถพัฒนาชีวิตครูได้ ก็ควรถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคลากร

ก็ได้แต่หวังว่าโครงการดีๆ อย่างโครงการพัฒนาชีวิตครูฯ จะช่วยปลดเปลื้องปัญหา “หนี้สินครู” ทำให้แม่พิมพ์ของชาตินับแสนคน มีชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ซึ่งประโยชน์ก็จะตกแก่เยาวชนตาดำๆ นั่นเอง!!

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

7 ธ.ค. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/65735

<<< กลับ

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 3 (12 ธ.ค.2549)

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 3 (12 ธ.ค.2549)


หนึ่งสัปดาห์ควรพักหนึ่งวัน

                ผมได้คิดไว้ในใจว่า ร่ายกายของคนเรา รวมถึงสมองและจิตใจ ควรได้รับการพักผ่อนเป็นระยะๆ ประมาณว่าในหนึ่งสัปดาห์น่าจะได้พักผ่อนสักหนึ่งวัน ซึ่งคงจะเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์

                กระทรวง พม. เองก็ได้ส่งเสริมให้วันอาทิตย์เป็น “วันครอบครัว” ซึ่งน่าจะหมายถึงเป็นการพักผ่อนจากภารกิจการงานไปด้วยในตัว

                ผมเองได้พยายามจะมี “วันพักผ่อน” และหรือ “วันครอบครัว” ในวันอาทิตย์หรือวันเสาร์มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าทำได้บ้างไม่ได้บ้าง 

                ก็ยังดีนะครับที่ได้พยายาม และทำได้บ้าง ไม่ถึงกับว่าไม่ได้ทำเลย

                (ที่พูดเช่นนี้คงเป็นการปลอบใจตัวเองกระมัง !)

                ยิ่งเมื่อมารับหน้าที่เป็นรัฐมนตรี ซึ่งย่อมมีภารกิจมากกว่าเมื่อยังไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ผมก็ยิ่งตั้งใจพยายามจะมีวันพักผ่อนสักสัปดาห์ละหนึ่งวัน

                จะได้ผ่อนคลาย ทำอะไรสบายๆ อยู่กับครอบครัว (ถ้าครอบครัวอยู่ !) อ่านหนังสือแบบไม่เคร่งเครียด และเขียน “จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม”

                แต่ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว เป็นรัฐมนตรีมาถึงสองเดือน ยังไม่สามารถมี “วันพักผ่อน” ได้ครบทุกสัปดาห์

                เช่นเมื่อวันเสาร์ที่ 25 พ.ย. ตื่นแต่เช้ามืดตีห้ากว่า เดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บินไปหาดใหญ่ เยี่ยมศึกษาชุมชน 2 แห่ง ร่วมประชุมสัมมนาขับเคลื่อน “สังคมไม่ทอดทิ้งกัน” สำหรับจังหวัดในภาคใต้ ต่อด้วยการประชุมกับ พมจ. ของจังหวัดในภาคใต้และเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมหลายสิบคน ทานอาหารค่ำ แล้วมาสนามบินหาดใหญ่ บินกลับมากรุงเทพฯ ถึงบ้านเอาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง

                รุ่งขึ้นวันอาทิตย์ที่ 26 พ.ย. ตื่นแต่เช้ามืดอีก นั่งรถไปจังหวัดจันทบุรี ร่วมประชุมสัมมนาขับเคลื่อน “สังคมไม่ทอดทิ้งกัน” สำหรับจังหวัดในภาคกลาง รวมถึงการชมนิทรรศการที่เขาจัดแสดงไว้มากและดี แล้วประชุมร่วมกับ พมจ. และเจ้าหน้าที่อื่นๆจากจังหวัดในภาคกลาง นั่งรถกลับ กทม. ทานอาหารค่ำระหว่างทาง กลับถึงบ้านประมาณ 4 ทุ่ม

                สองวันหลังจากนั้น ในวันจันทร์ที่ 27 และวันอังคารที่ 28 พ.ย. ภารกิจค่อนข้างมากและเร่งรีบ ทานอาหารเร็วเกินไปและมากเกินไป โดยเฉพาะในวันอังคารที่ 28 ทำให้รู้สึกแน่นอืดไม่สบายเป็นไข้น้อยๆ ตกกลางคืนนอนหลับๆตื่นๆ ต้องลุกขึ้นเดินไปมาและไปนั่งหลับบนโซฟาสองครั้งเพื่อบรรเทาอาการท้องแน่นอืด

                (ญาติมิตรที่รู้จักผมอย่างใกล้ชิดหน่อย คงพอจำได้ว่าผมได้รับการ “ผ่าตัดใหญ่” เมื่อปี 2547 (วันที่ 9 กันยายน ใช้เวลาผ่าตัดเกือบ 9 ชั่วโมง) อวัยวะภายในท้องผมถูกตัดไป 4 อย่าง คือ ตับอ่อนถูกตัดไป 30% กระเพาะถูกตัดไป 30% ท่อน้ำดีพร้อมถุงน้ำดีถูกตัดไป และ Duodenum หรือส่วนของลำไส้เล็กที่ออกจากกระเพาะถูกตัดไปประมาณ 1 ฟุต ดังนั้น สมรรถภาพของผมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและย่อยอาหารจึงไม่เหมือนปกติทีเดียว)

                วันพุธที่ 29 จึงเป็นวันที่ผมยังรู้สึกเหนื่อยเพลียไม่ค่อยสบาย ซึ่งตรงกับวันที่ผมต้องไปนั่งประชุมในสภานิติบัญญัติแห่งชาติคู่กับท่านรองนายาฯ มรว. ปรีดิยาธร เพื่อเตรียมเผื่อจะต้องชี้แจงเกี่ยวกับ “แผนการรณรงค์ให้ลดละเลิก อบายมุข” อันเกี่ยวเนื่องกับการเสนอร่าง “พรบ. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล”

                วันนั้น ผมรู้สึกเหนื่อยและง่วงนอนเป็นกำลัง ผมคงพยายามแก้ง่วงด้วยการเอานิ้วกดในตาและเอามือคลุมหน้าเป็นบางช่วง

                วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงรูป มรว.ปรีดิยาธร และผมในหน้า 1 เห็นผมกำลังเอามือคลุมหน้าพอดี และมีคำบรรยายทำนองว่าฝ่ายรัฐบาลคงจะเคร่งเครียดมากจากการอภิปรายของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ !

                เป็นความจริงที่วันนั้นสมาชิก สนช. จำนวนมาก อภิปรายให้เห็นด้วยกับข้อเสนอของรัฐบาลเกี่ยวกับการออกหวย 2 ตัว 3 ตัว

                แต่ผมไม่ได้เคร่งเครียดอันเนื่องจากคำอภิปรายของสมาชิก สนช. ดอก

                ผมเหนื่อยเพลียไม่ค่อยสบายและง่วงนอนจากการไม่ได้พักผ่อนให้เพียงพอและไม่ได้ดูแลสุขภาพให้ดีพอต่างหาก !

                ดังนั้น ผมจึงตั้งใจกับตัวเองอีกครั้งหนึ่งว่า จะต้องพยายามมี “วันพักผ่อน” ประมาณสัปดาห์ละ 1 วันให้ได้

                                                                                                สวัสดีครับ

                                                                                                          ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/67011

<<< กลับ