สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 2)

สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 2)


๓.๒ โครงการส่งเสริมการทำความดี

( ๑ ) โครงการแผนที่คนดีเรื่องดี – แกะรอยแผนที่ตามหาคนดี ๑๐๐ ตัวอย่าง  เผยแพร่ทางโทรทัศน์  หนังสือและ วีซีดี

( ๒ )  สานฝัน ๘๐ ความดีถวายในหลวง – ๘๐ คน ๘๐ เรื่องราวของตัวอย่างผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

( ๓ )  ประกาศเชิดชูเกียรติเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน  ประจำปี ๒๕๕๐ ๑๑ สาขากิจกรรม  จำนวน ๑๕๖ ราย

( ๔ )  ประกาศเกียรติคุณบุคคล  องค์กร  และสถานประกอบการดีเด่นด้านสนับสนุนผู้พิการ  ประจำปี ๒๕๕๐ จำนวน ๓๓ ราย

( ๕ )  ประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่นของชาติประจำปี ๒๕๕๐ จำนวน ๑๗๙ ราย  และองค์กรที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ๑๕ องค์กร

๓.๓   สนับสนุนแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข    ร่วมมือกับศูนย์คุณธรรม  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. )   ดำเนินโครงการใน ๕ จังหวัดนำร่อง (น่าน,ตราด,พัทลุง,นครราชสีมา และ กรุงเทพมหานคร)  เพื่อสร้างความรู้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๒

๔. ขับเคลื่อนทางด้านกฎหมาย

                 เพื่อให้ยุทธศาสตร์สังคม สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในระยะยาว จึงได้ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

๔.๑ พระราชบัญญัติที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติแห่งชาติ   จำนวน ๘ ฉบับ

( ๑ )   พระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒ )  พ.ศ. ๒๕๕๐

( ๒ ) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่   ) พ.ศ. ๒๕๕๐

(๓)    พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๔) พระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๕) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ ๒ )  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๖)  พระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๗)  พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๘)  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  พ.ศ. ๒๕๕๐

๔.๒ พระราชกฤษฎีกาที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา   จำนวน  ๑ ฉบับ

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๐

๔.๓ ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๕ ฉบับ

(๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๒) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสถาบันครอบครัว  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมกิจการสตรี  พ.ศ. ๒๕๕๐

(๕) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

๔.๔ (ร่าง) พระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างขั้นตอน/กระบวนการ   จำนวน ๘ ฉบับ

( ๑ ) ร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. …(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

( ๒ ) ร่าง พ ระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ  พ.ศ. … (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

 

( ๓ ) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา พ.ศ. … (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

( ๔ ) ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูชุมชนและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชายแดนภาคใต้  พ.ศ. …  (สำนักงานเลขาธิการ   คณะรัฐมนตรี)

(๕) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต  พ.ศ. …  (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

( ๖ ) ร่า งพระราชบัญญัติปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย  พ.ศ. … (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

(๗) ร่างพระราชบัญญัติคนขอทาน พ.ศ…(สำนักงานคณะกรรมกา รก ฤษฎีกา)

(๘) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสถาบันครอบครัว  พ.ศ. ….  (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

ฉายแนวคิด “ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม”

                                              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                                                                               ผ่านบทเรียนแห่งการทำงาน

นับจากการเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สิ่งแรกที่คิดคือ งานพัฒนาสังคมควรมียุทธศาสตร์อย่างไร เพราะการทำงานของรัฐบาลควรเน้นนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยรัฐมนตรีควรบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ จึงได้หารือกับผู้ทรงคุณวุฒิ จนสรุปเป็นยุทธศาสตร์ ๓ ด้าน คือ ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง และยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม โดยทั้ง ๓ ด้าน ต้องเกี่ยวข้อง สนับสนุน และปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

จากยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ จึงสามารถแปรเป็นนโยบาย แนวทาง รวมถึงมาตรการได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผลให้ผมและทีมงานร่วมกันพัฒนาแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์สังคม ๓ ด้านในเวลาต่อๆมา

ตลอดระยะเวลา ๑ ปีเศษของการทำงาน ผลงานที่ประทับใจมากที่สุดคือ การที่เราได้คิดและทำเชิงยุทธศาสตร์ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบคิดและระบบทำของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงการจัดให้มีกลไกในระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาสังคมเป็นรายจังหวัด ซึ่งกระจายกลไกนี้ไปถึงระดับท้องถิ่น และเน้นการทำงานที่ท้องถิ่นและชุมชน เป็นตัวตั้ง โดยทุกฝ่ายได้ประสานความร่วมมือกัน

การทำงานของกระทรวงตามแนวยุทธศาสตร์ และมีกลไกการกระจายพลังออกไปถึงจังหวัดและท้องถิ่น และมีการรวมพลังในแต่ละจังหวัดและท้องถิ่น จนเกิดการขับเคลื่อนร่วมกันนั้น  ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคม รวมถึงสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมและบูรณาการในทุกๆเรื่อง รวมถึงสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนต่างๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ อันได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบคลุมการพัฒนาครอบครัว การพัฒนาสตรี ตลอดจนการพัฒนาชุมชน และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฯลฯ

ถือว่าการทำให้การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงระบบสวัสดิการต่างๆเกิดพัฒนาการแบบ “กระจายกว้างลงสู่ฐานราก” และบูรณาการทั้งเชิงกลุ่มคนและเชิงประเด็น ซึ่งถือเป็นผลงานที่น่าพึงพอใจ แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะดีไปหมดหรือเสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยจะเป็นการปูพื้นฐานเรื่องการวางโครงการ จัดกลไก ดำเนินมาตรการต่างๆไปในทิศทางที่มีพลังมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น สร้างสรรค์มากขึ้น และควรจะมีความมั่นคงยั่งยืนมากขึ้น ทั้งหมดนี้รวมถึงการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต โดยเฉพาะการเพิ่มงบประมาณการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม จากเดิมที่ได้เพียงปีละ ๖๐ ล้านบาท มาเป็น ๔๗๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๐ และยังคงได้รับในจำนวนใกล้เคียงกัน คือ ๔๕๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๑

นอกจากการจัดสวัสดิการสังคมแล้ว การพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมขบวนการชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง โดยทำให้ฐานที่มีอยู่แล้ว เกิดการขยายฐานและเสริมสร้างสิ่งใหม่ เช่น การส่งเสริมและขยายผลเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน การมีระบบสวัสดิการชุมชนให้เดินหน้าไปได้ดียิ่งขึ้น ขณะที่การพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้คลี่คลายปัญหาวิกฤตที่สะสมมาจากอดีต โดยการสร้างสรรค์ทิศทางใหม่ รวมถึงการมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย

และสิ่งที่ได้ปูพื้นฐาน วางแนวทาง ตลอดจนงบประมาณต่างๆ ถือเป็นแนวทางที่ควรจะสานต่อ โดยเฉพาะการกระจายพลังไปที่จังหวัดและท้องถิ่น ตลอดจนการสนับสนุนให้รวมพลัง ณ จังหวัดและท้องถิ่น เป็นการรวมพลังหลายฝ่ายและหลายด้าน น่าจะเป็นหนทางที่นำสู่การสร้างความเข้มแข็ง รวมถึงการสร้างความสามารถในการจัดการร่วมกันของชุมชน ประชาชน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ให้เป็นไปในทางของการรวมพลังสร้างสรรค์ให้ดียิ่งขึ้น เพราะจะเป็นการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่ง และความสามารถที่ฐานราก โดยเฉพาะความสามารถในการจัดการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างสังคมที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง

“ชุมชน” จึงถือเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม ฉะนั้นการมีชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองในเรื่องต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สุขภาพ สวัสดิการ คุณธรรมและจริยธรรม จะถือเป็นฐานรากที่แข็งแรง และกระจายอยู่ทั่วทั้งสังคม เป็นฐานรากเล็กๆ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะสามารถค้ำยันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง จึงถือว่างานพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน เป็นงานที่สำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง และเกี่ยวข้องกับชีวิตคน ชุมชนจึงเป็นที่บูรณาการของทุกอย่างในสังคมได้อย่างดี

 

ฉายแนวคิด “พลเดช ปิ่นประทีป”

                                       รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                                                                                   ผ่านบทเรียนแห่งการทำงาน

ในฐานะเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วง ๕ เดือนแรก  และฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วง ๑๐ เดือนหลัง  ผมมีโอกาสได้ช่วยในการบริหารนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เพื่อรองรับยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างเต็มตัว  แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาการทำงานที่มีเพียงแค่ 15 เดือน  จึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษใน ๖ ภารกิจหลัก  ซึ่งขอสะท้อนมุมมองส่วนตัวดังต่อไปนี้

๑. การพัฒนากฎหมายสำคัญให้เป็นเครื่องมือการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เนื่องจากการแก้ปัญหาสังคมและการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงของมนุษย์นั้นมีมิติที่ซับซ้อน  มีความเป็นพลวัตรสูง  ต้องอาศัยระยะเวลาและการประสานร่วมมือระหว่างกระทรวงและหน่วยงานที่หลากหลายมาก  การมีกฎหมายเชิงส่งเสริมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

แต่ด้วยเหตุที่กฎหมายไทยที่มีอยู่ส่วนใหญ่ยังคงให้น้ำหนักกับบทลงโทษ  สำนักคิดและสถาบันทางกฎหมายในปัจจุบันจึงคุ้นชินต่อกฎหมายที่ออกมาเพื่อบังคับลงโทษมากกว่ากฎหมายในเชิงส่งเสริมสนับสนุนสังคมให้มีกระบวนการเรียนรู้และจัดการปัญหาด้วยตนเอง  อันเป็นกระบวนทัศน์ใหม่

อย่างไรก็ตามในภาพรวมการทำงาน ๑๕ เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีผลงานการพัฒนากฎหมายอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ  กล่าวคือ สามารถผ่านพระราชบัญญัติรวม ๘ ฉบับ,  พระราชกฤษฎีกา ๑ ฉบับ  และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๕ ฉบับ

โดยแม้ว่า (ร่าง) พระราชบัญญัติที่ถือเป็นกฎหมายเชิงยุทธศาสตร์ ๔ ฉบับ  อันได้แก่  (ร่าง) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน,  (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ,  (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา  และ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมครอบครัว  จะไม่สามารถออกเป็นกฎหมายได้  แต่คณะรัฐมนตรีก็ยังคงเห็นความสำคัญให้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  สำหรับเป็นเครื่องมือในการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นการทดแทน  ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ดี   แนวคิดและความพยายามในการยกร่างและผลักดันเสนอกฎหมายทุกฉบับ  โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคม  โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและภาคีที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้น  ได้สร้างความตื่นตัว  ความสนใจจากสาธารณะและสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง  ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างโจทย์ต่อหน่วยงานด้านกฎหมาย  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนว่า  ถึงเวลาหรือยังในการปรับกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมการออกกฎหมาย  โดยให้ความสำคัญต่อกฎหมายเชิงส่งเสริมให้มากขึ้น  อย่างเท่าเทียมกับกฎหมายเชิงควบคุม  บังคับและลงโทษที่มีอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/162480

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *