ตั้งสภาผู้นำท้องถิ่น ดันการเมืองรากแก้วเข้มแข็ง

ตั้งสภาผู้นำท้องถิ่น ดันการเมืองรากแก้วเข้มแข็ง


     (สัมภาษณ์พิเศษลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2549 หน้าที่ 2)

                นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ผมจะเสนอเรื่องชุมชน ซึ่งเหมือนมองจากพื้นดินขึ้นสู่ฟ้า คำถามคือชุมชนท้องถิ่นเรียนรู้อะไรในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแยกแยะออกมาได้ 7 ประการ คือหนึ่ง การเรียนรู้ทุกข์สุขอย่างเฉียบพลัน ซึ่งไม่ได้ลบทั้งหมด มีบวกในเรื่องราคาเกษตรบางตัวดีขึ้น แต่ทางลบการจ้างงานหยุด ต้องกลับไปชนบท เพื่อทำมาหากินเท่าที่จะทำได้ 

                ประการที่ 2 เรียนรู้ว่าบางชุมชน การป้องกันที่มีศักยภาพดีมีภูมิคุ้มกันดีมีการเรียนรู้ค้นความจริง เตรียมการสร้างความคุ้มกันเช่น ตำบลแม่เรียง นครศรีธรรม  ผู้นำได้รางวัลแมกไซไซ

                ประการที่ 3 เกิดวิกฤติคำพูดใหม่ทีเรียกว่า “ตาข่ายคุ้มครองทางสังคม” สร้างวิสาหกิจชุมชนรองรับลูกหลาน และเกิดจากภาครัฐ ตั้งกองทุนทางสังคม กองทุนต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ชุมชนดูแลกันเอง

                ประการที่ 4 เรียนรู้ยานขนานใหญ่ประชานิยม  เกิดโครงการต่าง ๆ มากมาย  กองทุนหมู่บ้าน  30  บาท  พักหนี้เกษตรกร  หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  เน้นการเจริญทางเศรษฐกิจและทำให้เกิดอำนาจนิยมและคะแนนเสียงนิยมในท้องถิ่น

                “ช่วงนี้ชุมชนเรียนรู้มากมาย  ถูกถาโถมจากมาตรการทางประชานิยมทั้งบวกและลม  ชุมชนที่มีศักยภาพดีก็นำเงินไปสร้างประโยชน์ที่ไม่มีความพร้อมก็ไปทำลายด้อยศักยภาพจากกระแสประชานิยมที่เกิดขึ้นไม่ได้แปลว่าประชานิยมไม่ได้เรียนรู้เรื่องอื่น  กิจกรรมของรัฐมากมาย  โลกาภิวัตน์  ชุมชนมีวิวัฒนาการ  การพึ่งตัวเองมากขึ้น”

                ประการที่  5  ชุมชนเข้าสู่ยุคของการทำแผนชุมชนระดมความคิดออกมาเป็นแผนปฏิบัติ  เป็นแผนทางสังคมวัฒนธรรม  การจัดชุมชนที่เน้นการพึ่งพาตัวเองขยายวงออกไปจำนวนมาก   จากจุดเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจ  ขยายวงการจัดการชุมชนในรูปแบบต่างๆ  รำทำแผนชุมชน  การพัฒนาเกษตรธรรมชาติ และมีการเรียนรู้กันว่าการจัดการในเชิงการเมืองที่เรียกว่างการเมืองแบบสมานฉันท์  ในเชิงการเมืองที่เรียกว่าการเมืองแบบสมานฉันท์มากขึ้น  เรียนรู้ว่า  การเลือกตั้งแบบเดิมก่อให้เกิดความแตกแยก  กลับไปสู่การพูดจาก  หารือ  อาศัยผู้อาวุโสผู้ตำตามธรรมชาติแม้แข่งขันถือเป็นมิตร

                ประการที่ 6 การเรียนรู้ควบคู่การจัดการชุมชน  คือการเรียนรู้เรื่องจิต  หรือมนุษย์นิยมการพัฒนาที่มีคนเป็นหลัก  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  8  แม้ว่ารัฐบาลไม่ได้นำเอาแผนฯ  8  มาปฏิบัติเจาะจงเข้มข้น  แต่ปรัชญาซึมซับไปสู่ชุมชนไม่น้อย  ทำให้เกิดคำว่าพอเพียงได้รับความนิยม  ซึ่งได้รับจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                ประการที่ 7 การเรียนรู้ที่สำคัญสู่อนาคต  มีจิตนาการ  ซึ่งการเรียนรู้ที่สำคัญมาก  การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณการทุกฝ่ายประสานความร่วมมือกัน  หลักการที่ปฏิบัติเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งไม่ใช่มองทั้งประเทศ

                นายไพบูลย์  กล่าวว่า  หลักการข้อที่  1  ต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง  และหลักการข้อที่  2  คือการประสานร่วมมือกันทุกฝ่าย  จั้งแต่ประชาชนองค์กรชุมชน  อบต.  และเทศบาล  ข้าราชการส่วนภูมิภาค  มีกลไกประสานความร่วมมือทุกฝ่าย  น่าจะเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนา  มีเป้าหมายที่สำคัญ  สังคมอยู่เย็นเป็นสุขเป็นเป้าหมายร่วมกันที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  นำออกมาเป็นเป้าหมายร่วมที่เรียกว่า  สังคมท้องถิ่นดีงานอยู่เย็นเป็นสุข  และยุทธศาสตร์ในการจัดการท้องถิ่น  มี  3  ส่วน  คือ  1.  สังคมไม่ทอดทิ้งกัน  2.  สังคมเข้มแข็ง  และ  3.  สังคมคุณธรรม

                นอกจากนี้จิตนาการสู่อนาคต  คือการจัดให้มีสภาที่ปรึกษาของท้องถิ่นที่ไม่มีอำนาจ  แต่มีบทบาทในการคิดพิจารณาศึกษาติดตามให้ความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ต่อท้องถิ่น  ซึ่งมีคณะทำงาน  ยกร่าง พ.ร.บ.ที่จะเสนอให้มีสภาที่ปรึกษาชุมชนท้องถิ่น  แต่ชื่อยังไม่ชัดเจน  เพราะว่าเป็นจินตนาการที่สำคัญช่วยสร้างความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น  ถือเป็นฐานรากที่สำคัญช่วยสังคมโดยรวมมีความเข้มแข็ง

                “สิ่งที่ผมคิดว่าจะต้องเร่งดำเนินการ  คือการยกร่างกฎหมายในการจัดตั้งสภาผู้นำท้องถิ่นแม้จะไม่มีอำนาจ  แต่เพื่อให้คำปรึกษากับการเมืองในระดับพื้นที่ในการสร้างการเมืองท้องถิ่นให้เข้มแข็ง”  นายไพบูลย์  กล่าว

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

22 ธ.ค. 49

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/68735

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *