จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 21 (18 ก.ค. 50)

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 21 (18 ก.ค. 50)


ผลงาน 9 เดือนกับเสียงสะท้อนจากสังคม

                กว่า 9 เดือนแล้วที่รัฐบาลนี้บริหารงานมา

                ผมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ดูแลงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 4 เดือนกว่าที่ผ่านมา ได้รับผิดชอบในฐานะรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านสังคมอีกตำแหน่งหนึ่ง

                ผมคิดว่าตัวเองได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถในการทำหน้าที่ และเชื่อว่ารัฐมนตรีทั้งคณะล้วนใช้ความพยายามกันเต็มที่ทั้งนั้น

                ดูผลงานของกระทรวงต่างๆก็เห็นว่ามีความก้าวหน้ากันทั้งสิ้น

                แต่ไม่ว่าจะมีผลงานจริงอย่างไร ข้อสำคัญยังอยู่ที่ว่าประชาชนเขาคิดว่ารัฐบาลหรือรัฐมนตรีทำได้ดีหรือไม่ดีแค่ไหน

                ดังนั้น การฟังความเห็นหรือเสียงสะท้อนจากประชาชนหรือจากสังคมจึงสำคัญ ซึ่งความเห็นส่วนหนึ่ง คือความเห็นของสื่อมวลชน

                ในช่วงเวลา 2 – 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลงานของรัฐบาล และของรัฐมนตรีหรือของกระทรวงต่างๆ

                ผลงานของรัฐบาลในสายตาของประชาชนจากผลการสำรวจดังกล่าว นับว่ายังไม่โดดเด่นนัก หรืออยู่ในระดับพอใช้ และผลงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อเทียบกับกระทรวงอื่นๆ ปรากฏว่าอยู่ระดับปานกลาง

                เสียงสะท้อนเช่นนี้ คงไม่ใช่การวินิจฉัยที่ถือว่าถูกต้องสมบูรณ์ เพราะเป็นการประเมินจากความรู้สึกมากกว่าข้อเท็จจริง

                แต่ผมคิดว่าคณะรัฐมนตรี ซึ่งรวมถึงผมด้วย ควรรับฟังเสียงสะท้อนและนำมาประกอบการพิจารณาเพื่อจะหาทางทำงานให้ดียิ่งขึ้น

                อย่างไรก็ดี ได้มีเสียงสะท้อนบางส่วนที่เป็นผลจากการวิเคราะห์เจาะลึกมากกว่าการสำรวจความเห็นของกลุ่มตัวอย่างในลักษณะ “โพล” ต่างๆ

                เช่น ความเห็นของคอลัมนิสต์คนหนึ่ง ลงใน นสพ. Bangkok Post วันที่ 12 July 2007 หน้า 14 ดังนี้ครับ

“Spotlight

ABOUT POLITICS

Two achievers salvage cabinet

Two government ministers have emerged as key to salvaging the sagging popularity of the cabinet.

Social Development and Human Security Minister Paiboon Wattanasiritham and his deputy Poldej Pinprateep have been credited with accomplishing far more than their immediate predecessors.

They have rolled out a number of bills, including measures to crack down on domestic violence, human trafficking, and promote and develop the rights and opportunities for the disabled and the young, as well as attempts to organise assistance for the homeless and unemployed.

They have even pitted themselves against the mighty Interior Ministry by pushing for the Community Organisation Council bill which sets the stage for the establishment of village councils that would give local residents a much larger voice in managing their own community affairs.

Though they have recently bowed to pressure from the Interior Ministry and local bodies who feared the work of the new councils would overlap with existing authorities, a group of National Legislative Assembly members led by Wallop Tungkananurak has agreed to support the bill and table it for deliberation by the assembly.

Mr Paiboon and Mr Poldej have also demonstrated their mettle to grapple with other politically awkward issues, notably the controversy surrounding the proposed demolition of the Din Daeng flats supervised by the National Housing Authority.

Past governments were hard-pressed to decide whether to keep or knock down the ageing flats, a highly-politicised issue which has gone unresolved for many years.

But Mr Paiboon and Mr Poldej approached the problem differently. By bringing the tenants into the decision-making process it seems they may have opened the door to a resolution of this thorny issue.

With the input from the tenants, it now looks likely that a blueprint on relocation and reconstruction may begin to take shape.

It is unfortunate therefore that their stint in government might run out before they can complete their tasks, as the two have shown they are willing to venture into areas where other politicians have feared to tread.

With the general elections poised for the end of the year, parties and politicians have not been seen to be making any real commitment to long-term social development.

This might be because quick-fix, populist projects that often amount to no less than a cash handout have stolen the public’s attention.

Social development, by contrast, is a policy that will not deliver results until many years down the road. The previous government built a strong support base with a number of populist programmes, including the debt moratorium for farmers, the village fund, and the million cows project to name but a few.

But long-term social development, which is the foundation of any society, seems as if it will once again be pushed to the back of the shelf of government policy .”

                อ่านแล้วย้อมชวนให้รู้สึกมีกำลังใจเป็นธรรมดา แต่ผมจะพยายามระวังให้มีสติอยู่เสมอ ไม่ให้เคลิบเคลิ้มไปกับเสียงยกย่อง เช่นเดียวกับที่ไม่ให้รู้สึกผิดหวังท้อแท้ต่อเสียงตำหนิกล่าวหา

                ผมจะพยามวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและตัวเองไปด้วย พร้อมกับรับฟังเสียงสะท้อนจากแหล่งต่างๆ นำมาประกอบกัน แล้วกลั่นเป็นความคิดว่าผมควรจะทำอะไรอย่างไร จากนั้นก็พยายามทำให้ดีที่สุดต่อไป

                                                                              สวัสดีครับ

               ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/112515

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *