จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 22 (24 ก.ค. 50)

จดหมายถึงญาติมิตรพัฒนาสังคม ฉบับที่ 22 (24 ก.ค. 50)


เสียงจากสื่อมวลชนสนับสนุนนโยบายของกระทรวง พม. ที่ส่งเสริมขบวนการสวัสดิการชุมชน

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 255 ผมเดินทางไปจังหวัดมุกดาหาร ร่วมกิจกรรม “สมัชชาสวัสดิการชุมชนสังคมคนเมืองมุก ‘รวมพลคนมีสวัสดิการ’” ณ วัดศรีมงคลเหนือ อ.เมือง (ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง) รวมทั้งร่วมบันทึกเทปรายการ “เวทีชาวบ้าน” หัวข้อ “การขับเคลื่อนสมัชชาสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัด” หรือ “สวัสดิการชุมชนคนมีความสุข” ร่วมกับ

– นายบุญสม ภิรินทร์ยวง                    ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

– นายสุรพร ชัยชาญ                            ผู้นำการขับเคลื่อนขบวนการสวัสดิการชุมชน จ.มุกดาหาร

– นางดวงจันทร์ อุทธาพงษ์               ปลัด อบต. กกแดง อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาการ

– นายบัญชร แก้วส่อง                         นักวิชาการ

– นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา         ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

– และคนอื่นๆอีกหลายคน

โดยมี คุณประพจน์ ภู่ทองคำ เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้มาร่วม “สมัชชา” กับร่วมรายการ “เวทีชาวบ้าน” จากจังหวัดต่างๆในภาคอีสานทุกจังหวัด แถมด้วยผู้นำการขับเคลื่อนขบวนการสวัสดิการชุมชนจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ อีกจำนวนหนึ่ง

ขบวนการ “สวัสดิการชุมชน” ในจังหวัดมุกดาหาร ก้าวหน้าได้เร็ว และก้าวหน้าได้ดี เช่นเดียวกับที่หลายจังหวัดในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และโดยเฉพาะภาคใต้ ก็ก้าวหน้าได้เร็วและก้าวหน้าได้ดีด้วย

การขับเคลื่อนขบวนการ “สวัสดิการชุมชน” เป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)ให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างชัดเจน ดังปรากฏในข้อความซึ่งลงใน นสพ. มติชน วันที่ 13 กรกฎาคม 2550 หน้า 5 ดังนี้

“พม. ตั้งเป้าให้ประชาชน 50 ล้านคน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจัดสวัสดิการชุมชนให้ครบ 76 จังหวัดใน 3 ปี พร้อมจัดสวัสดิการท้องถิ่น ดูแลคนถูกทอดทิ้งให้ทั่วถึง

ปัจจุบันชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ทั้งภาคเกษตรกร ชุมชนแออัดทั้งในเมืองและชนบท  หลายคนยังเข้าไม่ถึงระบบการประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้ขาดโอกาสในการได้รับสวัสดิการด้านต่างๆ จากภาพรวมของประชากรทั่วประเทศมีประมาณ 65 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเพียง 15 ล้านคน เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐและลูกจ้างห้างร้านบริษัทต่างๆ ซึ่งได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเป็นระบบครบวงจร แต่ยังมีประชากรทั่วไปอีกกว่า 50 ล้านคน ทั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มคนจน คนด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ในชุมชนต่างๆ ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมของภาครัฐได้อย่างครบวงจร ทั้งเรื่องการรักษาสุขภาพ การช่วยเหลือสงเคราะห์ต่างๆ ทั้งการบาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ จนกระทั่งเสียชีวิต

จากสภาพปัญหาดังกล่าว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ภายใต้การนำของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จึงได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนพัฒนาสังคม ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก คือ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็ง และสังคมคุณธรรม ซึ่งภารกิจและเป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกันและสังคมเข้มแข็ง คือสนับสนุนการดำเนินการกองทุนสวัสดิการชุมชน ให้ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศ ควบคู่กับการดำเนินโครงการจัดระบบสวัสดิการท้องถิ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) และคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมในแต่ละจังหวัด กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเริ่มด้วยการสำรวจผู้ถูกทอดทิ้งในแต่ละตำบล จากนั้นร่วมกันออกแบบระบบการดูแลผู้ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งกำหนดยุทธวิธีการระดมพลัง “ผู้มีศักยภาพในการให้” เพื่อร่วมกันดูแลผู้ถูกทอดทิ้ง โดยมุ่งให้ “ผู้อ่อนแอหรือถูกทอดทิ้ง” สามารถพึ่งตนเองได้ อันเป็นการใช้กลไกสวัสดิการของภาครัฐ ผนวกกับพลังทางคุณธรรมในชุมชนเพื่อสร้างความเข็มแข็งและความมั่นคงในชีวิตให้ชุมชนในทุกตำบลทั่วประเทศ

เป้าหมายการดำเนินการ 

ภายใน 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2552 คาดว่า ระบบสวัสดิการชุมชนและระบบสวัสดิการท้องถิ่นจะครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดในพื้นที่ 7,000 ตำบลทั่วประเทศ โดยการเชื่อมโยงแผนพัฒนาสวัสดิการชุมชนเข้ากับระบบสวัสดิการท้องถิ่นให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัดอย่างบูรณาการ จนนำไปสู่ระบบสวัสดิการสังคมของชาติ สร้างคน พัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินการให้เกิดรูปแบบการจัดสวัสดิการในชุมชนและท้องถิ่น ที่มีสมาชิกชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญ

ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดสรรงบประมาณในปี 2551 เพื่อกระจายเงินกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 ไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นอีกด้วย

ประตูสู่ความสำเร็จ

หนทางที่จะทำให้ระบบสวัสดิการชุมชนและระบบสวัสดิการท้องถิ่นสำเร็จจึงไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อกระทรวงการพัฒนาสังคมฯได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนผ่านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จำนวน 200 ล้านบาท และจัดสรรงบประมาณจำนวน 86 ล้านบาท ผ่านพมจ. เพื่อจัดสวัสดิการท้องถิ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า ความสำเร็จของระบบสวัสดิการสังคมนี้ ต้องมีปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ

  1. ปัจจัยนำเข้า คือ ต้องมีงบประมาณมาสนับสนุนอย่างเหมาะสม
  2. ปัจจัยผลผลิต ต้องมีเครื่องมือชี้วัดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เช่น การสำรวจวัดได้ว่า เงินกองทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  3. ปัจจัยผลลัพธ์ คือการทำให้คนได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง มีความมั่นคงในชีวิต เห็นคุณค่าของการเกื้อกูลกันในชีวิตชุมชน

“ทั้งหมดทั้งปวงนี้ต้องได้รับการร่วมมือจากทุกคนในชุมชน ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะประสานงานหน่วยงานในท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล รวมทั้งพมจ. และคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมระดับจังหวัดให้ร่วมกันกำหนดทิศทางและแนวทางเพื่อให้เกิดสวัสดิการชุมชนและสวัสดิการท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ”

                นายสมพร ใช้บางยาง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดเผยว่า กรมฯจะรับนโยบายจากภาครัฐมาปฏิบัติ โดยผ่านการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอบต. และเทศบาล ในการขับเคลื่อนทั้ง สวัสดิการชุมชน และสวัสดิการท้องถิ่น ซึ่งงบประมาณในการดำเนินการจะมาจาก รัฐบาลและงบประมาณของชุมชน ผ่านการดูแลรับผิดชอบของผู้บริหารท้องถิ่น อย่างนายก อบต. ซึ่งจะทำงานร่วมกับภาคชุมชนในการวางรากฐานให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลในสังคม เพื่อพัฒนาให้เกิดการจัดสวัสดิการสังคมอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

รูปธรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น

นายสุรจิตต์ ชิรเวทย์ คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า “ระบบสวัสดิการในชุมชนและท้องถิ่น เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ในชุมชนท้องถิ่นได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง โดยมีหลักสำคัญในการทำงาน คือ การเชื่อมโยงกองทุนที่มีอยู่แล้วในชุมชนเข้ากับทุนทางสังคมในท้องถิ่น จนเป็นระบบสวัสดิการที่หลากหลาย โดยภาครัฐทำหน้าที่เข้าไปหนุนเสริม ที่สำคัญจะช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และจะเป็นรากฐานของการเกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

จากการทำงานในรูปแบบ “บูรณาการ” นี้เอง ส่งผลให้หลายท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น อย่างเช่น อบต.แพรกหนามแดง จ.สมุทรสงคราม ที่เมื่อก่อนประสบปัญหาคนหนุ่มสาวจำนวนมากทิ้งถิ่นไปทำงานตามหัวเมืองใหญ่ แต่หลังจากมีกองทุนด้านสวัสดิการเข้ามา ทำให้คนเหล่านี้กลับมาทำงานในบ้านเกิดของตนเองมากขึ้น

ความรู้สึกว่าชีวิตมีหลักประกันที่มั่นคงนี้ เกิดขึ้นที่ อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ด้วย ณ ที่นั้น ชาวบ้านมีกลุ่มออมทรัพย์อยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดสวัสดิการในบางด้าน แต่หลังจากมีระบบสวัสดิการชุมชนเข้ามา นอกจากชาวบ้านจะมีเงินออมแล้ว ยังมีสวัสดิการในเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมไปถึงสวัสดิการด้านโอกาสในการศึกษา และการทำงานอีกด้วย

“ในด้านสวัสดิการท้องถิ่นนั้น ช่วยชาวบ้านได้จริงๆ โดยเฉพาะคนด้อยโอกาสที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐานของรัฐ ทั้งไม่มีกำลังเพียงพอที่จะเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ในระบบสวัสดิการชุมชน การมีสวัสดิการท้องถิ่น ทำให้เราสำรวจพบผู้ด้อยโอกาสที่ต้องการความช่วยเหลืออีกมาก จนสามารถเชื่อมโยงให้เห็นว่าสังคมไม่ทอดทิ้งกัน ในเรื่องนี้ถ้าทำอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้สังคมดีขึ้นแน่นอน” นายสินธพ อินทรัตน์ นายก อบต. ท่าข้าม กล่าว

สวัสดิการชุมชนไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ยังส่งเสริมให้แต่ละบุคคลสร้างโอกาสที่ดีในชีวิตได้ด้วยตนเอง

ปัจจัยสำคัญของความยั่งยืน

ด้าน นพ.พลเดช  ปิ่นประทีป  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวเสริมว่า ปัจจัยสำคัญสำคัญสู่ความยั่งยืนของการวางระบบสวัสดิการท้องถิ่นต้องประกอบด้วย

(1) ระบบการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลผู้ยากลำบาก ผู้ถูกทอดทิ้ง และมีผู้มีศักยภาพการให้ โดย พมจ. และคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด สนับสนุนบทบาทของ อบต.

(2) การจัดการเชื่อมร้อยให้เกิดความช่วยเหลือผู้ยากลำบากอย่างเป็นระบบของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ให้ทั้งหลายในท้องถิ่น ตั้งแต่การร่วมกันรับรู้ข้อมูลและสภาพของความยากลำบาก การกำหนดวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสมสอดคล้องกับความยากลำบากนั้น รวมถึงการจัดกิจกรรมสร้างโอกาสให้ผู้คนและภาคส่วนอื่นๆ ในจังหวัดนั้นๆ ได้เข้ามาร่วมช่วยเหลือได้ทุกเพศทุกวัย และด้วยความรู้สึกคึกคักอยากออกมาช่วยเหลือ

(3) การสร้างวัฒนธรรมการไม่ทอดทิ้งกันในสังคม ด้วยการรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ ในท้องถิ่น และการเผยแพร่กระจายประสบการณ์จริงของผู้ที่มีโอกาสรับรู้ความยากลำบากของคนในท้องถิ่น และให้ความช่วยเหลือ โดยการให้กำลังทุน กำลังกาย โอกาส หรือเวลา กับเขาเหล่านั้น

“ที่สำคัญ…ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างที่เพื่อนจะให้เพื่อน ไม่ทำให้เขารู้สึกด้อยค่าหรือหมดศักดิ์ศรี และมุ่งหวังให้เขามีความแข็งแรงขึ้นมาดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน” นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวทิ้งท้าย”

คงจะเป็นข้อความที่ลง นสพ.มติชน ดังกล่าวข้างต้น ที่ทำให้มี “บทบรรณาธิการ” ( Editorial ) ใน นสพ. The Nation ในวันที่ 14 July 2007 หน้า 10 A ดังนี้ครับ

Editorial :

Social welfare measure laudable

Government objective to build communities’ capability to care for the destitute among them is long overdue

The Social Development and Human Security Ministry has set itself the ambitious goal of taking better care of the poor and destitute by widening the social safety net and improving access to public welfare in all parts of the country with an emphasis on the local community level. The idea is long overdue.

Thailand ‘s rapid economic and social development in recent decades has put an enormous strain on the family. If the family unit is considered the most basic building block of a healthy society, this fundamental social institution has been in very poor shape for some time.

Extended families, which were once the norm and which used to provide social and financial security for their members, are increasingly being replaced by single families that are either less able or less willing to help relatives outside of the immediate family unit. Successive governments have neglected to develop a proper national network of social welfare units capable of filling the role that extended families played so effectively in the past.

A plethora of social problems has cropped up and multiplied over the years, including a rise in the number of cases of children, the elderly and helpless disabled people being abandoned and left to fend for themselves with little or no help from other members of their communities.

One of the saddest, most heartbreaking social phenomena of recent times, which is repeatedly reported in the mass media, is that of society’s most helpless and marginalised people, such as orphans and bed-ridden elderly, being discarded by the communities they grew up in and where they have lived their entire lives as if they were no more than useless items.

In most cases, these people, who are unable to support themselves and have no one to turn to for assistance, are transferred from their communities to relevant government social welfare institutions at the provincial level or even to another province or part of the country if the provinces in which they live do not have the facilities to care for them.

If the Social Development and Human Security Ministry has its way, all this will change – for the better. The ministry will be creating a network of agencies to provide social welfare services for those who cannot help themselves in 7,000 communities run by a tambon administrative organisation in all of the country’s 76 provinces within the next three years.

By bettering the ability of local communities to care for the destitute among them, the government hopes to foster a sense of civic responsibility among local people, encouraging them to take care of their own problems and work towards creating a caring society.

This is part of the decentralisation of government power. Almost Bt300 million of the government’s budget has been distributed to tambon administrative organisations or local governments as seed money.

Each community will be required to set up a social welfare fund that must be efficiently run and a social welfare programme, the performance of which is to be judged against measurable and clearly spelled out objectives, such as the number of destitute people it serves and the quality of the care it provides.

However, budgetary allocations and good intentions on the part of government policy makers alone will not translate into better and more humane treatment of the helpless and destitute.

In order for such a good social welfare programme to work the way it should, members of local communities must be enlisted to actively participate, by making donations or volunteering their time for example, so that those on the receiving end of the assistance feel well taken care of and are able to live in dignity.

Members of all relevant government agencies, such as public health workers, social welfare officials, community development workers and non-governmental organisations, must join hands to make this worthy programme a success.

It’s time that Thai society relearns the positive social values of old and makes sure compassion for fellow human beings, which is the hallmark of Buddhism, the religion of the great majority of this country, is practised the way it is preached.”

สวัสดีครับ

ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/114087

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *