DEVELOPMENT AND GLOBAL WELL-BEING : THE 21st CENTURY CHALLENGES

DEVELOPMENT AND GLOBAL WELL-BEING : THE 21st CENTURY CHALLENGES


(PowerPoint และเอกสารประกอบการอภิปราย ( Panel) หัวข้อ “DEVELOPMENT AND GLOBAL WELL-BEING : THE 21 st CENTURY CHALLENGES” เมื่อ 8 ธ.ค. 53 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “10th ISQOLS Conference ภายใต้แนวเรื่อง (Theme) “Understanding Quality of Life and Building a Happier Tomorrow” วันที่ 8-11 ธันวาคม 2553 ณ โรงแรม Imperial Queens Park กรุงเทพมหานคร จัดโดย The International Society for Quality of Life Studies (ISQOLS) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และ The International Research Associates for Happy Societies (IRAH)

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/414035

<<< กลับ

Public Policies through the Lens of Social Cohesion in Southeast Asia

Public Policies through the Lens of Social Cohesion in Southeast Asia


(เอกสารประกอบการอภิปรายในการสัมนาระหว่างประเทศ เรื่อง Social Cohesion in Southeast Asia ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ สถาบันพระปกเกล้า และ OCED ร่วมกันจัดขึ้นในวันที่ 21 กรกฏาคม 2554 ณ โรงแรม Four Seasons กรุงเทพมหานคร)

Desirable public policies should bring about total, holistic societal development together with sustainable quality of life, health, equity, justice, peace, happiness, etc. for all of society’s population. Social cohesion is one factor that can contribute to such holistic societal development. At the same time, holistic societal development implies that there is social cohesion as one of the components of the desirable society.

Public policies are undoubtedly the major factors leading to all the desirable components that will interact, interrelate, and interlink with one another so that the end results (ultimate outcome or final impact) will be what can be called “holistic societal development”. This may be measured by such indices as the “Gross National Happiness Index”, the “Genuine Progress Index”, the National Progress Index”, the “Green and Happiness Index”. (Thailand has been using this last index and is working on a program called the “National Progress Index (NPI) Program” supported by the Thai Health Promotion Foundation and other Government Agencies).

It is difficult and actually not necessary to single out what public policies lead to “social cohesion”. This is due to the highly complex and very dynamic nature of all the major policies, both in themselves as well as the interrelation- ships among them, not to mention the many factors that are involved in one way or another that come from both within the society(country) and from other societies(countries). Suffice it to conclude here that among the major public policies that should be undertaken in order to bring about social cohesion should be as follows:

First of all, the formulation of all major policies at all levels (i.e., local, provincial, national, and international) should be carried out through an appropriate multi-stakeholder participatory (or publicly deliberative) process. This should be accompanied by such tools as independent, objective and credible economic, social, health and environmental impact studies. Such processes will help prevent social conflicts and enhance social cohesion.

Secondly, the system of national administration should be adequately and appropriately decentralized, in such a way that all local communities are sufficiently empowered to decide and manage their own affairs in matters such as livelihood, education, health, culture, religion and faith, natural resources and the environment , economic and social projects that affect their members’ lives, etc. In such a system, social cohesion culture and efforts can be localized, thus making it easier to manage and maintain.

Thirdly, there should be policies that promote social cohesion at organizational or institutional levels (business corporations, public bodies, educational institutes, etc.) through the development of better legal and regulatory frameworks, mode of operation systems, and development programs such as the “Happy Workplace Program” and the “Social Enterprise Promotion Program” in Thailand. All these public policy interventions should indeed aim at a higher set of goals and objectives that are internal (happiness, cohesion, etc.) organizational (efficiency, competitiveness, profitability, stability, etc.) as well as external (social and environmental responsibilities, good governance, etc.)

When social cohesion is achieved at both the local community and organizational/ institutional levels, it means that social cohesion becomes widespread throughout the society and thus becomes a very strong base for national social cohesion as well as social cohesion with respect to all major issues confronting or involving the society.

Fourthly, the legal, judicial, political, administrative, economic, social and cultural systems should be developed in such a way that bring about justice, equity, fairness, respect for human rights and human dignity, inclusiveness in all development programs , culture of peace and peace-building processes, multi-party participatory or publicly deliberative processes, and other components that promote social cohesion while preventing social conflicts.

Fifthly, the nature and culture of greed, selfishness, power-seeking, consumerism and materialism all have the tendency or potential for leading (in many cases through elaborate chains of causes and effects) to social conflicts, social disintegration, depletion and degradation of natural resources and the environment, and many other undesirable consequences, which in turn bring about further social conflicts and social disintegration that run against social cohesion. What should be promoted, therefore are the nature and culture of love, compassion, peace, sacrifice, contentment, and the “sufficiency (economy) philosophy” (suggested by King Bhumibol of Thailand and now widely practiced or attempted by a large number of local communities as well as business corporations). In this way, a stable integrative, peaceful and happy society is more likely to be attained, with social cohesion being an important component in such a society.

Last but not least, there is one most fundamental factor putting great and increasingly serious pressure on all communities, social institutions, societies, countries, continents, as well as humanity as a whole . That is the 3.5 times people-overcrowdedness of Planet Earth. This has led to a multitude of economic, social, political and environmental problems including wars and conflicts of various nature, different types of natural as well as man-made disasters, serious shortages of food and natural resources, and very grave environmental impact on Earth as well as its inhabitants worldwide. In such a situation social cohesion becomes difficult to inculcate and maintain. So a nation-wide, as well as world-wide, set of policies need to be worked out and agreed upon among nations, and among all the people in each nation, in order to seriously, continuously and consistently address this set of problems arising from people-overcrowdedness of Planet Earth. It will not be easy, indeed it will be most difficult. But mankind and all the people of the world have no choice but to try to seek solutions as soon and as effectively as possible, if mankind and the world’s population are to survive, live together peacefully and happily, with “sufficient standard of living” and “reasonable constructive progress”. Naturally and automatically, social cohesion is interactively included there, both as a cause and as an effect.

Paiboon Wattanasiritham
July 21, 2011.

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/450612

<<< กลับ

ประวัติไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (ภาษาอังกฤษฉบับเติม)

ประวัติไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (ภาษาอังกฤษฉบับเติม)


PAIBOON  WATTANASIRITHAM

 

Paiboon Wattanasiritham is an independent social development worker with emphasis on holistic societal development while paying special attention to local  community empowerment, decentralisation in national administration, deliberative democracy  promotion, promotion of the culture of peace and peacebuilding processes,  holistic health promotion, promotion of goodness, virtues,morality  and ethics. Between October 2006 and February 2008 he was part of a transitional government holding  the position of Minister of Social Development and Human Security and subsequently  also the position of Deputy Prime Minister for Social Affairs.

 

Paiboon’s  working  life has been diverse. Starting with  being an officer and then an executive in the Bank of Thailand (Central Bank)  (1967-1980) , he became President of the Stock Exchange of Thailand(1980-1982), Executive Vice President of the Thai Danu Bank
(a commercial bank) (1983-1988), President of the Foundation  for Thailand Rural Reconstruction Movement (a civil society organization)  (1988-1997),  Managing Director of the Urban Community Development Office ( a semi-autonomous government unit) (1992-1997), Senator (1996-2000), Director General of the Government Savings Bank  (a government bank)(1997-2000) , Chairperson of the Community  Organizations Development Institute (Public Organization) (a semi-autonomous public body) (2000-2004), and Member of the National Economic  and Social Advisory Council (2001-2005).

 

Paiboon was born in 1941 . He graduated with B.Sc. (Economics) at University of Hull in England. He has also been awarded with Honorary Ph.D. from 3 Universities  in Thailand. He is married  with 1 son, 1 daughter ,and 3 grandchildren.

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/450614

<<< กลับ

อภิมหาอันตรายของประเทศไทยและของโลกกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อภิมหาอันตรายของประเทศไทยและของโลกกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้โลกพ้นจากวิกฤตได้”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

        อภิมหาอันตรายของประเทศไทยและของโลก

กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                    (เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากข้อคิดเห็นของนายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  ในการประชุมของคณะกรรมการ  

        เตรียมงานประชุมประจำปี 2554  ของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของศรษฐกิจพอเพียง(มพพ.)  

                   เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฏาคม 2554 ณ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)  

 

ในขณะนี้โลกและประเทศไทยกำลังประสบสิ่งที่เรียกว่า “อภิมหาอันตรายของประเทศไทยและของโลก”  ซึ่งอภิมหาอันตรายดังกล่าวสามารถสรุปได้ 3 ประเด็นดังนี้

1 การมีประชากรหนาแน่นเกินไป เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ประเทศไทยมีประชากรไม่ถึง 20 ล้านคน แต่ปัจจุบันมีถึง 67 ล้านคน ในขณะที่ทรัพยากรมีจำนวนเท่าเดิม คือ ที่ดินมีเท่าเดิม แต่ ป่าและน้ำจืด กลับมีจำนวนน้อยลงหรือสร้างปัญหามากขึ้น ในขณะที่ทั้งดิน น้ำ ป่า ทะเล  อากาศ  สิ่งแวดล้อม  ถูกทำลายและทำให้เสื่อมโทรมไปเยอะมากและสั่งสมมากขึ้น ๆ มาตลอด  แต่จำนวนคนกลับเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จึงเป็นเหตุขั้นพื้นฐานให้เกิด กรณีวังน้ำเขียว กรณีการขุดแร่ตะกั่ว  แร่ลิกไนต์  ที่ทำร้ายประชาชนให้ล้มตายและเป็นโรคกันมาก   ตลอดจนกรณี มาบตาพุด เป็นต้น  สาเหตุทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะความหนาแน่นของประชากร ทำให้ต้องแก่งแย่งแข่งขัน ช่วงชิงทรัพยากร นำทรัพยากรมาใช้มากขึ้น ๆ เป็นผลให้ทรัพยากรหมดไปเหลือน้อยลง ๆ เกิดเป็นความขาดแคลนซึ่งบางกรณีถึงขั้นวิกฤติ หรือทรัพยากรถูกทำให้เสื่อมโทรมจนเป็นอันตราย หรือเป็นผลเสียต่อประชากรจำนวนมากขึ้น ๆ  และมีความรุนแรงมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ  รวมถึงการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ที่ปรากฏมากขึ้น ๆ ทั้งโดยธรรมชาติและอันเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์  เรื่องประชากรหนาแน่นเกินไปกับผลที่ตามมานั้นไม่ได้เป็นสถานการณ์เฉพาะในประเทศไทย  แต่

เป็นสถานการณ์และเป็นแนวโน้มร่วมกันทั้งโลก  ทำให้ทั้งโลกกำลังเผชิญภาวะวิกฤตซึ่งนับวันจะรุนแรงมากขึ้น  ๆ  หากไม่ได้รับการแก้ไขร่วมกันโดยประชากรของโลก ซึ่งย่อมจะต้องใช้เวลากว่าจะแก้ไขได้สำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

2  วัตถุนิยมบริโภคนิยมมากเกินไป  วัตถุนิยมเป็นกระแสโลกที่ทำให้เรามุ่งสะสมความร่ำรวย สะสมวัตถุต่าง ๆ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นอะไร แต่ในขณะเดียวกัน เรายังมีความยากจน ความอดอยาก การขาดอาหารอยู่ในประเทศไทยและในโลก โดยประชากรของโลกประมาณ 1,000 ล้านคน ยังมีอาหารไม่พอรับประทาน  ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะประชากรที่รวยที่สุด 20 %  บริโภคถึง 55 % ของการบริโภคทั้งหมด  และคนที่จนที่สุด 20% บริโภคประมาณ 4 % นี่เป็นปัญหาที่ไปซ้ำเติมเพิ่มพูนปัญหาอันเกิดจากการที่เรามีประชากรหนาแน่นเกินไป ทำให้คนที่เก่งมีความสามารถที่จะครอบครอง ช่วงชิงเพื่อให้บริโภคได้มากกว่า  ทั้งโดยวิธีการที่ถูกกฏหมายและโดยวิธีการที่ผิดกฏหมายหรือไม่ชอบธรรม ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  ระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ มากขึ้น ๆ บางกรณีนำไปสู่ความรุนแรง รวมถึงการใช้อาวุธประหัตประหารทำร้ายกัน ทำให้สังคมทั้งในประเทศและในโลกเกิดความแตกแยกและขาดความสันติสุขอย่างกว้างขวาง

คุณธรรมความดีน้อยเกินไป ด้วยสาเหตุมาจาก 2 ข้อแรก ถ้าของมีมากพอสำหรับทุกคน ก็จะไม่เกิดการแย่งชิงกันเท่าไร  สมัยก่อนการแย่งชิงทรัพยากรมีน้อย เพราะมีทรัพยากรมากพอ  มาปัจจุบันทรัพยากรเหลือน้อย แถมถูกทำให้เสื่อมโทรม บวกกับวัตถุนิยมบริโภคนิยมมากเกินขอบเขต ทำให้ต้องแก่งแย่งแข่งขันต่อสู้แย่งชิงกันมากขึ้น ผู้คนนำลักษณะนิสัยส่วนที่ไม่ดีในจิตใจออกใช้ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความเกลียด  ความเห็นผิดเป็นชอบ ความยึดถือตัวตน ความเห็นแก่ตัว ความมีทิฏฐิมานะ และความไม่ดีอื่น ๆ  แต่ส่วนที่เป็นคุณธรรมความดี  ซึ่งเป็นพื้นฐานอยู่ในทุกคน ได้แก่  ความรัก ความเป็นมิตร  ความมีเมตตาไมตรี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรักความยุติธรรม การมุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว  ความมีกตัญญูรู้คุณ ความรู้จักพอดีพอประมาณ  เป็นต้น  กลับถูกลดทอนความสำคัญ ไม่ถูกนำออกมาใช้ ไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนมากพอ คุณธรรมความดีในตัวคนและในสังคมจึงเสียดุลมากขึ้น ๆ เมื่อเทียบกับความไม่ดี

จาก “อภิมหาอันตราย”  ของสังคมไทยและสังคมโลกนี้ ยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะช่วยได้คือ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสกับท่านองคมนตรี น.พ.เกษม วัฒนชัย และผู้เข้าเฝ้าฯอื่น ๆ จำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ว่า  “เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้โลกพ้นจากวิกฤตได้  ถ้าเราคิดในภาพใหญ่แบบนี้เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องเล็ก เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องสำคัญมากทุกระดับตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร สังคม โลก และมนุษยชาติ การที่โลก

กำลังประสบปัญหาวิกฤตใหญ่ ในรูปมหันตภัยมากมายทั้งทางธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์  ก็เป็นผลมาจากกิจกรรมทำร้ายตัวเองของมนุษย์นั่นเอง  มีบทความในวารสาร The  Economist เรียกยุคปัจจุบันว่าเป็น  Anthropocene – The age of man กล่าวว่าโลกในหมื่นปีที่ผ่านมา เป็นยุคของความมีเสถียรภาพพอสมควร แต่จากนี้ไปจะเป็นยุคที่มนุษย์ครองโลก และมนุษย์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดความเสียสมดุลอย่างแรงในโลก ถ้ามนุษย์ไม่แก้ไขมนุษย์จะต้องรับกรรม โดยมีการทำนายกันว่าภายใน 10 ถึง 20 ปี  หรืออย่างน้อยภายในศตวรรษนี้  จะมีอันตรายร้ายแรงประเภทน้ำทะเลเอ่อท่วมพื้นที่ต่าง ๆ ในโลกอย่างกว้างขวาง เป็นต้น

ฉะนั้น “เศรษฐกิจพอเพียง” หรือ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  ถ้าคิดให้กว้าง คิดให้ไกล ไม่ไปเข้มงวดกับความหมาย แต่เอาหัวใจของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การใช้คุณธรรมความดี และการใช้ความรู้ความสามารถอย่างรอบคอบระมัดระวังและเหมาะสม  ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในความหมายเช่นนี้ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นยุทธศาสตร์และแผนงานในระดับประเทศและระดับโลก รวมทั้งทำให้เป็นขบวนการทางสังคม (Social Movement)  ที่ทุกฝ่ายในสังคมรวมถึงฝ่ายการเมือง ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนและชุมชน ตลอดจนนักการศาสนา นักวิชาการ นักวิชาชีพ ศิลปิน ฯลฯ  มาร่วมกันขับเคลื่อน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”โดยอาจดัดแปลง รูปแบบ การบวนการ วิธีการ ฯลฯ ให้เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ในแต่ละกรณีด้วยก็ได้ เชื่อได้ว่าจะสามารถช่วยบรรเทาและแก้ปัญหา “อภิมหาอันตรายของประเทศไทยและของโลก”  ได้แม้จะต้องใช้เวลาและความมานะพยายามอย่างยิ่งยวด เนื่องจากเป็นปัญหาที่มนุษย์ ประเทศ และโลก ได้ปล่อยปละละเลยให้ปัญหาสั่งสมมาเป็นเวลานานนับศตวรรษแล้ว

ในการดำเนินการส่งเสริมขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหน่วยจัดการที่สำคัญ 2 ระดับที่ควรพิจารณา คือ :-

  1. ระดับฐานราก ซึ่งประกอบด้วย ท้องถิ่นและองค์กร คนในชนบทที่อยู่ในท้องถิ่น มีปฏิสัมพันธ์ มีการจัดการ เช่น มีการจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการท้องถิ่น องค์กรชุมชน อบต. เทศบาล อบจ. ซึ่งเป็นหน่วยจัดการที่เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง คลุมทั่วประเทศ แต่ยังมีประชาชนอีกประมาณ 50% ที่อาจจะไม่ผูกพันกับท้องถิ่นมากนัก  แต่ผูกพันกับองค์กรที่เขาทำงานด้วย คือ คนที่ทำงานในโรงงาน ในสถานประกอบการ  ในหน่วยงานของรัฐ ในหน่วยงานภาคประชาสังคม  องค์การมหาชน มูลนิธิ สมาคมต่าง  ๆ เป็นต้น เหล่านี้เป็นหน่วยจัดการระดับฐานราก  ซึ่งจำนวนมากได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจไปประยุกต์ใช้และเกิดผลดีอย่างน่าพอใจ
  2. ระดับประเทศทั้งประเทศ เป็นหน่วยจัดการที่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าหน่วยจัดการในระดับฐานรากอย่างมาก เพราะต้องรวมถึงสถาบันระดับชาติ องค์กรระดับชาติ เช่น สถาบันฝ่ายนิติบัญญัติ สถาบันฝ่ายบริหาร สถาบันฝ่ายตุลาการ หน่วยงานของรัฐระดับชาติ  หน่วยงานพิเศษต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานระดับชาติ สถาบันภาคธุรกิจและภาคประชาชน ที่รวมตัวกันเป็นระดับชาติ  สำหรับหน่วยจัดการระดับประเทศทั้งประเทศนี้ การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่ชัดเจน ยังไม่หนักแน่น ดังนั้น จะดีที่สุดหากรัฐบาลประกาศว่าจะเป็น “รัฐบาลเศรษฐกิจพอเพียง” หรือมีการประกาศนโยบายสำคัญว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะเป็นการปฏิรูปทั้งด้านวิธีคิดหรือกระบวนทัศน์ วิธีทำ วัฒนธรรม ระบบ โครงสร้าง กลไก กระบวนการ ฯลฯ  ครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย  ก่อนที่จะพิจารณาไปนำเสนอต่อสหประชาชาติ  ให้พิจารณาประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับโลก เพราะ องค์การสหประชาชาติได้เริ่มเห็นแล้วว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเป็นทางออกของโลกที่กำลังวิกฤต ได้

ดังได้กล่าวแล้วว่าเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องทำให้เป็น  Social Movement   ได้แก่การเป็น “ขบวนการทางสังคม”  ดังนั้นต้องมีอุดมการณ์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และต้องมีตัวชี้วัดเพื่อช่วย  ให้สามารถจัดการขบวนการได้อย่างมีคุณภาพมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย

องค์ประกอบสำคัญในการสร้างขบวนการทางสังคม ประกอบด้วย

  1.  ความรู้ ถ้ามีตัวชี้วัดจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
  2. การสร้างเครือข่าย จะเป็นกลไกช่วยให้เกิดขบวนการที่ขยายและมีพลังเพิ่มขึ้นทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
  3. การสื่อสาร  ควรมีการใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย มีคุณภาพและเหมาะสมทั้งภายในขบวนการเองและระหว่างขบวนการกับสังคม
  4. นโยบายสาธารณะ ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมถึงการมีนโยบาย กฏหมาย ข้อบังคับ การจัดสรรงบประมาณ ที่ดีและเหมาะสมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
  5. การจัดการ คือ การจัดการขบวนการ ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการ ฝ่ายเลขานุการ คณะทำงานและผู้ทรงคุณวุฒิ  ต้องจัดการให้สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ และยังหมายความรวมถึงการจัดการของทุกหน่วยที่ทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
  6. การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการวัดผล ประเมินผล พิจารณาทบทวน หาทางปรับปรุงพัฒนาสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ นำมาวางแผนและดำเนินการใหม่ ฯลฯ ทำเช่นนี้ให้เป็นวงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ  เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ และควรมีการใช้กระบวนการนี้เป็นระยะ ๆ อย่างน้อยปีละครั้ง

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

16  สิงหาคม 2554

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/453867

<<< กลับ

การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์”

การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์”


ในยุค “ปฏิรูปการศึกษา” คงต้องมีการ “ปฏิรูป” การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยด้วย  การจัดการเรียนการสอนที่ดี ควรมุ่งพัฒนานักศึกษาให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์” นั่นคือไม่ใช่มีแต่ความชำนาญเฉพาะด้าน แต่ว่ามีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เท่าที่จะพึงเป็นไปได้ มนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ :-

  1.  ต้องมีความดี  เป็นพื้นฐาน  ข้อนี้สำคัญที่สุด ความดี  หมายถึง คุณธรรม จริยธรรม  การทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม สิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม ไม่ทำในสิ่งที่เป็นโทษทั้งต่อผู้อื่นและส่วนรวม
  2.  ต้องมีความสามารถ ในการคิด การพูด การทำ การจัดการ ตลอดจนความสามารถในการทำงานหรืออยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างสร้างสรรค์
  3. ต้องมีความสุข  ความสุข หมายถึง ความสุขทางกาย  ทางใจ ทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ   และทางสังคมหรือในการอยู่ร่วมกัน นี่คือความหมายของความสุข เป็นความหมายเดียวกับคำว่า “สุขภาพ” หรือ “สุขภาวะ” เป็นความหมายทั้งในประเทศไทยและในระดับสากล  เรื่องของความงามเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความสุขทางจิตใจ ที่อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พูดถึง  ความจริง ความงาม และความดี  ฉะนั้นการผลิตนักศึกษาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ก็ต้องทำให้การศึกษาเป็นแบบองค์รวม ไม่ใช่การศึกษาแบบแยกส่วน แต่รวมหลาย ๆมิติของความเป็นมนุษย์ เช่นบรรจุหลักสูตรในเรื่องกีฬา ดนตรี  ความงามต่าง ๆ ด้วย เป็นต้น

ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยที่ผลิตแพทย์ให้เป็นแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ คือที่ประเทศไต้หวัน มีองค์กรพุทธศาสนาองค์กรหนึ่งใหญ่มากเป็นเจ้าของและผู้บริหาร นักศึกษาแพทย์ปีหนึ่งเรียนวิชาจัดดอกไม้ วิธีชงชา วิธีเขียนพู่กันแบบจีน เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้มีสมาธิและความละเอียดอ่อน  ผมก็หวังว่า มหาวิทยาลัยทั้งหลายซึ่งได้เจริญก้าวหน้ามาและกำลังปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัย  ไม่ใช่ทางศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งเท่านั้น แต่ให้ทันยุคสมัยที่โลกกำลังต้องการความสันติสุขอย่างถ้วนทั่วและในทุกระดับของสังคม มีความดี ความงาม พร้อม ๆ กับความสามารถที่สร้างสรรค์นำสู่ความเจริญที่แท้จริง มั่นคงและยั่งยืน

ปัจจุบันโลกมีปัญหามากเพราะว่ามีคุณธรรมความดีน้อยเกินไป  เมื่อเทียบกับความสามารถ ในขณะที่  ความสามารถกลายเป็นตัวทำลายเพราะตั้งอยู่บนฐานของความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความอยากมีอำนาจ บริโภคนิยมและวัตถุนิยม ผสมกับเรื่องประชากรที่ล้นโลกไปประมาณ 3.5 เท่า ของประชากรที่ควรจะมีประมาณ 2,000 ล้านคน ซึ่งจะสมดุลกับทรัพยากรที่โลกมีอยู่  แต่เรามีประชากรทั้งโลกประมาณ 7,000 ล้านคน  ประเทศไทยก็เหมือนกัน เราควรมีประชากรประมาณ 20 ล้านคนดังเช่นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว   แต่ปัจจุบันเรามี 67 ล้านคน  ต้องแก่งแย่งแข่งขัน แย่งชิงทรัพยากร และใช้ทรัพยากรมาก บริโภคมาก ผสมกับความโลภ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น  เห็นแก่ตัว  อยากมีอำนาจ ก็ไปทับถมการใช้ทรัพยากรที่มีน้อยอยู่แล้วให้หมดไปหรือเกิดความเสื่อมโทรมมากขึ้น ๆ  ซึ่งเรื่องนี้  E.F.Schumacher  ที่เขียนเรื่อง Small is Beautiful พูดและเขียนไว้เมื่อ 40 ปีมาแล้ว พูดเรื่องปัญหาประชากรล้นโลก ทรัพยากรจะไม่เพียงพอ  จะเกิดการแย่งชิงทรัพยากร และจะมีปัญหาเรื่องน้ำมัน พูดไว้ตั้งแต่ปี 1970 แม้กระทั่งปัญหานิวเคลียร์ที่เอามาทำไฟฟ้า Schumacher  ก็พูดไว้แล้วว่าพลังงานนิวเคลียร์จะมีปัญหา

ฉะนั้น  ทางออกของโลกในระยะยาว ส่วนที่คิดว่าไม่ยากนักคือการเพิ่มคุณธรรมความดี เพราะคุณธรรมความดีมีอยู่แล้วในทุกคนและในทุกหนทุกแห่ง แต่มักถูกละเลยหรือมองข้ามไป ที่ยากกว่าคือการลดความโลภ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความเห็นแก่ตัว  การลดวัตถุนิยม บริโภคนิยม  ข้อนี้ยากกว่าเพราะกลายเป็นวัฒนธรรมของสังคมโลก และของสังคมไทยมาเป็นเวลานาน  ส่วนที่ยากที่สุดคือการชะลอและลดจำนวนประชากรเพื่อให้สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่  อย่างไรก็ตามผมเองคิดว่าการแก้ปัญหาพื้นฐานทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นไปได้

เรื่องแรก     การเพิ่มคุณธรรมความดี อาจจะทำได้เร็วหน่อย

เรื่องที่สอง  การลดความโลภ ความเห็นแก่ตัว บริโภคนิยม วัตถุนิยม  คงทำได้ช้าหน่อย

                เรื่องที่สาม  การชะลอและลดจำนวนประชากรต้องช้าที่สุด เพราะเป็นเรื่องยาก เหมือนกับเราถลำมามากแล้ว และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีเรื่องวัฒนธรรมและศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง  รวมทั้งเรื่องชาตินิยม เรื่องอำนาจนิยม เข้ามาเกี่ยวข้อง และต้องเป็นความร่วมมือกัน ภายในประเทศ ในระดับกลุ่มประเทศ แล้วขยายเป็นทั้งโลก

 

ประเทศไทยและโลกจะประสบปัญหาแน่ ๆ เพราะปัญหาเหล่านี้ เรากำลังเผชิญอยู่แล้วเพียงแต่ยังไม่วิกฤตสุด ๆ  ทุกวันนี้ถ้าเราทดสอบกลับไปว่าปัญหาความขัดแย้งรุนแรง ปัญหาความยากจนยากลำบาก ปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นอันตราย และปัญหาภัยพิบัติที่มากขึ้นเหล่านี้มีสาเหตุพื้นฐานมาจากไหน จะได้มาจากปัญหาพื้นฐานที่ผมกล่าวไป คือ (1)ประชากรหนาแน่นมากไป  (2) ความโลภ ความเห็นแก่ตัว  บริโภคนิยม วัตถุนิยม  มากเกินไป และ (3) คุณธรรมความดีน้อยเกินไป

ถ้ามหาวิทยาลัยทั้งหลายจะมีส่วนแม้เพียงน้อยนิดในการช่วยให้ทั้งสามปัญหาพื้นฐานที่กล่าวมานั้นดีขึ้น  อย่างน้อยการผลิตนักศึกษาให้เป็นมนุษย์ที่ดีที่สมบูรณ์  แล้วออกไปช่วยกันสร้างครอบครัวที่ดีที่สมบูรณ์ สร้างชุมชนที่ดีที่สมบูรณ์ สร้างองค์กรที่ดีที่สมบูรณ์ สร้างสังคมที่ดีที่สมบูรณ์ นั่นก็คือครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ที่มีทั้งความดี ความสามารถ และความสุข  ที่มากพอและสมดุลกัน ถ้ามหาวิทยาลัยจะร่วมมือประสานงานกันทั้งหมดก็ยิ่งดี ซึ่งขณะนี้เรามีกระบวนการในการปฏิรูปประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยทั้งหลายมีบทบาทอยู่ด้วย เช่น โครงการ “หนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด”  จึงควรที่มหาวิทยาลัยทั้งหลายจะได้พิจารณาดำเนินการทั้งในเรื่อง “การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน” ของมหาวิทยาลัยตนเอง  และในเรื่อง “การปฏิรูปการศึกษา”  ในภาพรวม ให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/453870

<<< กลับ

สดุดี เอนก นาคะบุตร

สดุดี เอนก นาคะบุตร


เอนก นาคะบุตร เป็นเพื่อนร่วมงานพัฒนาที่ผมรัก นับถือ เชื่อมั่น และไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง

          ผมมีโอกาสรู้จักกับเอนกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ขณะที่เอนกเป็นผู้อำนวยการ LDAP (Local Development Assistance Program) ซึ่งสถานฑูตแคนาดาสนับสนุนอยู่ และผมเป็นผู้บริหารธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง โดยได้ใช้เวลาไม่น้อยช่วยงานของสมาคมธนาคารไทย ซึ่งมีส่วนเข้ามามีความร่วมมือกับสถานฑูตแคนาดา ในงานพัฒนาสังคมทางด้านธุรกิจ พร้อมกันนั้นผมก็มีกิจกรรมเสริมเป็นประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วย  และได้ตัดสินใจไว้แล้วว่าจะลาออกจากธนาคารพาณิชย์ไปรับหน้าที่บริหารงานของมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ แบบเต็มเวลาในตำแหน่งผู้อำนวยการมูลนิธิฯ ในปี 2531 ด้วยเหตุนี้ผมจึงสนใจเรื่องของการพัฒนาชนบท การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาชุมชน และการพัฒนาสังคม เมื่อมีโอกาสได้รู้จักกับเอนกผู้มีความรู้และประสบการณ์มากในเรื่องการพัฒนาท้องถิ่น และมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ผมจึงใช้โอกาสนั้นเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากเอนก  ซึ่งให้ประโยชน์ต่อผมเป็นอันมาก

ประจวบกับเป็นช่วงเวลาที่ LDAP  กำลังจะแปรรูปเป็น LDI (Local Development Institute หรือ “สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา”)  ซึ่งผมได้เข้าร่วมในกระบวนการนี้ด้วย ในปี 2531 โดยมีส่วนช่วยศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเงินและความยั่งยืน (Sustainability) ของ LDI เมื่อ LDI  ถือกำเนิดเป็นรูปธรรมแล้ว  โดยมีเอนกเป็นผู้อำนวยการ  ผมได้เข้าไปมีส่วนในการดำเนินงานของ LDI อยู่พอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง  ซึ่งช่วยให้ผมได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนและสังคม โดยเฉพาะจากปฏิสัมพันธ์กับเอนก  ซึ่งบัดนี้มีความสนิทสนมกันมากขึ้นเป็นลำดับ

ปี 2540  เกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไทยครั้งใหญ่ ที่เรียกกันว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง”  รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เข้าบริหารประเทศต่อจากรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ  มีคุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็น รมว.กระทรวงการคลัง ได้ติดต่อหารือกับธนาคารโลกเกี่ยวกับการมี “กองทุนฟื้นฟูสังคม”  ขึ้น โดยธนาคารโลกจะให้เงินกู้เพื่อจัดตั้งและดำเนินการกองทุนนี้ประมาณ 4,300 ล้านบาท คุณธารินทร์ ได้ขอให้ผม และคุณโสภณ สุภาพงษ์ เป็นผู้ทำหน้าที่หารือจัดทำข้อตกลงกับธนาคารโลก โดยมีเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังให้การสนับสนุนอยู่ด้วย  ผมได้ขอให้เอนก นาคะบุตร เข้ามาช่วยอีกแรงหนึ่งด้วยความ “เชื่อมือ” และเชื่อถือในตัวเอนก คณะเจรจาหลักฝ่ายไทยจึงมี 3 คน ส่วนฝ่ายธนาคารโลกมีประมาณ 2-3 คน  เราเจรจากันอย่างจริงจังเข้มข้น และเป็นเวลานาน ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากว่าความคิดพื้นฐานหรือ “กระบวนทัศน์” (Paradigm) ของฝ่ายเรานั้นถือ “ประชาชน” เป็นตัวตั้ง หรือเป็น “แกนหลัก” ในการพัฒนา ส่วนฝ่ายธนาคารโลกยังคงถือ “หน่วยงาน” เป็นตัวตั้ง ที่จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์  เงื่อนไข วิธีการ ฯลฯ ให้ประชาชนปฏิบัติ ซึ่งเขาได้ทำเช่นนี้ในหลายประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตมาแล้ว  มีอยู่ระยะหนึ่งที่ฝ่ายเราบอกว่า ถ้าไม่สามารถทำอย่างที่เราเสนอได้ก็ขอไม่กู้เงินดีกว่า  ทำเอาฝ่ายธนาคารโลกสะดุ้ง  เพราะเขาก็อยากให้เรากู้เพื่อเขาจะมีผลงาน  ในที่สุดจึงพบกันครึ่งทางแล้วทำข้อตกลงได้  พร้อมคู่มือปฏิบัติงาน (Manual) และอื่น ๆ  ซึ่งกว่าจะตกลงกันได้ก็ต้องใช้เวลานานทีเดียว และสามารถเริ่มดำเนินงานได้ในปี 2541  ในรูป “กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม” หรือ “Social Investment Fund” หรือ “SIF” (ซิฟ) ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อการฟื้นฟูสังคม (ข้อนี้เป็นความคิดหลักของธนาคารโลก) พร้อมกับเป็นการเสริมสร้าง “ทุนทางสังคม” (Social capital)  ให้เกิดมีมากขึ้นด้วย (ข้อนี้เป็นส่วนเสริมที่ฝ่ายไทยเน้นและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และถือเป็น “นวัตกรรม” ที่กองทุนเช่นนี้ของธนาคารโลกยังไม่เคยทำมาก่อน)

“กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม” หรือ “SIF” (ซิฟ) ดำเนินงานโดยตั้งเป็น “หน่วยงานพิเศษ”  ในธนาคารออมสิน  ซึ่งขณะนั้นผมเป็นผู้อำนวยการอยู่  มีข้อบังคับของธนาคารจัดตั้งขึ้น  ให้ต่างจากหน่วยงานปกติของธนาคารออมสิน  มีคณะกรรมการซึ่งธนาคารออมสินแต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยประธานที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา)  และกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก รวมถึงผู้นำชุมชนหลายคน ส่วนฝ่ายธนาคารออมสินมีผู้อำนวยการเป็นรองประธาน และมีผู้แทนธนาคารออมสินอีกเพียง 1 คน เป็นกรรมการ  คณะกรรมการกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมได้จัดให้มีกระบวนการสรรหา “ผู้อำนวยการ”  ซึ่งมีบุคคลให้เลือกหลายคน รวมถึงเอนก นาคะบุตร แต่ในที่สุด กรรมการสรรหาได้เลือก เอนก นาคะบุตร  ให้เป็นผู้อำนวยการ “SIF” เพราะเห็นว่าเหมาะสมที่สุด

ผมกับเอนกจึงได้ร่วมงานกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 3 ปี  ช่วงเวลานี้เองที่ศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ศิลปะ และวิธีการทำงานพัฒนา ตลอดจนวิธีการแก้ปัญหาข้อขัดข้องที่จะได้ผลดี ได้ออกมาจากตัวตนของเอนกอย่างเต็มที่ เป็นที่ประจักษ์ในหมู่คณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพราะเป็นโครงการที่ใหญ่มาก ใช้เงินจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับประชาชนฐานราก  รวมถึงผู้ยากลำบากจำนวนมากทั่วประเทศ ผมประทับใจและชื่นชมในตัวเอนกมาก  ถือเป็นโชคดีที่ได้เอนกมาเป็นผู้อำนวยการกองทุน “SIF”   ซึ่งอยู่ในความดูแลของธนาคารออมสินผู้ต้องรับผิดชอบต่อผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นโดยรับผิดชอบต่อกระทรวงการคลังอีกทอดหนึ่ง เพราะกระทรวงการคลังได้มอบหมายภารกิจการบริหารกองทุนนี้ให้กับธนาคารออมสิน

เมื่อโครงการกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF) ถึงวาระสิ้นสุดลงในปี  2545  (ขณะนั้นผมไม่ได้เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสินแล้ว เพราะได้ลาออกในปลายปี 2543 เพื่อไปดำรงตำแหน่งประธานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  หรือ พอช.)  ทางธนาคารโลกได้แสดงความชื่นชมว่า “SIF” เป็นโครงการกองทุนฟื้นฟูสังคมที่ดีที่สุดเท่าที่ธนาคารโลกได้เคยทำมา   ซึ่งความดีส่วนใหญ่ต้องยกให้เป็นของเอนก   เพราะเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดแบบเต็มเวลาโดยต้องจัดการดูแล รวมทั้งแก้ไขสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดี  ซึ่งผมเห็นว่า เอนก ทำได้ในเกณฑ์ A+  ทีเดียว

เอนกกับผมได้เข้ามาร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผมได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)  ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549   โดยเอนกได้เข้ามาเป็น “ที่ปรึกษารัฐมนตรี”  ซึ่งเป็นตำแหน่งการเมือง  เอนกได้ใช้ความรู้ความสามารถศิลปะและประสบการณ์อันยาวนาน มาประยุกต์ใช้ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีอย่างเต็มที่ รวมถึงการลงปฏิบัติงานในภาคสนามเพื่อแปลงนโยบายเป็นปฏิบัติให้เป็นจริงได้ดีที่สุด  ซึ่งช่วยงานผมได้มากทีเดียว  คู่กับหมอพลเดช ปิ่นประทีป ซึ่งทำหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรี   เรา 3 คน (เอนก หมอพลเดช และผม) ร่วมงานกันอย่างเต็มที่และอย่างพี่น้อง  อย่างไรก็ดี  ในเดือนมีนาคม 2550  ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็น “รองนายกรัฐมนตรี  ดูแลด้านสังคม” อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยผมได้ขอให้มีการแต่งตั้งหมอพลเดช  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ และผมพยายามมอบอำนาจให้หมอพลเดชในฐานะ รมช. เป็นผู้ดำเนินการแทนให้มากที่สุดเพื่อผมจะได้มีเวลาทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านสังคมได้อย่างเต็มที่ จากจุดนี้เองทำให้บทบาทของเอนกเริ่มไม่ชัดเจน  เอนกจึงขอลาออกเพื่อไปทำงานที่ถนัดตามแนวของตนเอง ผมรู้สึกเสียดายมากที่เอนกจะจากไป แต่สถานการณ์นำพาให้ต้องเป็นเช่นนั้น  เราจึงทำใจยอมรับกันได้

จากนั้นเอนกกับผมก็ได้ติดต่อพบปะกันเป็นครั้งคราวเรื่อยมาตามที่โอกาสอำนวย  โดยยังคงมีความรู้สึกเป็นเพื่อนและเป็นพี่เป็นน้องร่วมงานพัฒนาชุมชนและสังคม ที่อาจจะทำคนละสถานที่ คนละสถานการณ์    แต่อุดมการณ์  ความเชื่อ แนวความคิด รูปแบบ วิธีการทำงาน  และอื่น ๆ ของเราสองคนมี  จุดร่วมกันอยู่มาก ทั้งเราเป็นชาวอยุธยาด้วยกัน มีพื้นเพชีวิตคล้าย ๆ กัน ทำให้ความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้อง  ความเป็นเพื่อนร่วมงานพัฒนา ตลอดจนความรู้สึกผูกพันต่อกันยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลายจนกระทั่งทุกวันนี้

เอนกเป็นนักพัฒนาด้วยหัวใจและปัญญา  เป็นผู้ทุ่มเทชีวิตการทำงานให้กับงานพัฒนาท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ยอมว่างเว้น จวบจนปัจจุบัน  โดยทำในหลายต่อหลายโครงการ ในหลายต่อหลายสถานการณ์   ทั้งต้องเผชิญกับโจทย์และการท้าทายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเอนกได้จัดการให้ผ่านไปได้ด้วยดีเสมอ พร้อมกับได้เรียนรู้และพัฒนาเทคนิควิธีการเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ทำให้ ณ วันนี้ถือได้ว่า  เอนก นาคะบุตร  คือบุคลากร ผู้มีคุณค่ายิ่งต่อสังคมและประเทศ  ผู้ควรได้รับยกย่องสรรเสริญและถือเป็นตัวอย่างในการศึกษาเรียนรู้ของนักพัฒนารุ่นหลัง ๆ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป

ในโอกาสที่ เอนก  นาคะบุตร  มีอายุครบ 5 รอบ หรือ 60 ปี  ผมขออวยพรให้เอนกมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางใจ ทางปัญญา และทางสังคม  มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง  มีชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุขพร้อมกับการสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นและส่วนรวมในรูปแบบของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะควรไปอีกนานเท่านาน

ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

กันยายน  2554

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/463800

<<< กลับ

อภิมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 กับ คุณธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อภิมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 กับ คุณธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


“อภิมหาอุทกภัย  พ.ศ. 2554”  ถือเป็นสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้ง “ร้ายแรง” ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย  ย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์อาจมีน้ำท่วมใหญ่ที่มีมวลน้ำมากกว่าปี 2554  เช่น น้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ.2485  แต่ในปี 2485 ประชากรไทยมีไม่ถึง 20 ล้านคน (อาจจะประมาณ 15-16 ล้านคน)  มีป่าไม้ที่สมบูรณ์ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ทรัพยากรดิน  ทรัพยากรน้ำ ระบบทางเดินน้ำ (แม่น้ำ ลำคลอง ฯลฯ)  และอื่น  ๆ อยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเผชิญและจัดการกับสภาวะน้ำท่วมโดยมีความเดือดร้อนน้อยกว่าในปี 2554 หลายต่อหลายเท่า  ในขณะที่ปี 2554 ประเทศไทยมีประชากร 67 ล้านคน   มีระบบถนน มีสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารใหญ่โตมากมาย มีหมู่บ้านและบ้านเรือนใหญ่ กลาง เล็ก  ซึ่งสร้างขึ้นใหม่นับแสนนับล้านหน่วย มีนิคมอุตสาหกรรมกว่าสิบแห่งเฉพาะในบริเวณกรุงเทพฯ และใกล้เคียง  มีศูนย์การค้าใหญ่เล็กนับไม่ถ้วน  และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นเหตุผลสำคัญที่แสดงว่าเหตุใดสภาวะน้ำท่วมใหญ่ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “อภิมหาอุทกภัย พ.ศ.2554”  จึงจัดการได้ยากมากและมีความ “ร้ายแรง”  มากกว่าน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2485 มากมายหลายเท่านัก

หากจะถอดบทเรียนจากกรณี “อภิมหาอุทกภัย พ.ศ.2554” โดยอิงกับ “คุณธรรม” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติปฏิบัติด้วยพระองค์เองพร้อมทั้งทรงสาธิตและให้คำแนะนำ    แก่ประชาชนชาวไทยผ่านโครงการตามแนวพระราชดำริ พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส ฯลฯ จะเห็นได้  ว่า สถานการณ์ในปี 2554 เป็นผลมาจากการที่ประชาชนชาวไทยโดยรวม และโดยเฉพาะรัฐบาลไทย ไม่ได้นำ “คุณธรรม” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้อย่างดีพอและมากพอ ต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี

“คุณธรรม” หรือ “การปฏิบัติที่เป็นคุณ“ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติและทรงแนะนำมีอยู่มากมาย  ที่สำคัญและควรกล่าวถืง คือ “การพัฒนาต้องระเบิดจากข้างใน”   “การพัฒนาต้องเริ่มที่ฐานราก”   “เกษตรทฤษฏีใหม่ ที่เน้นการพึ่งตนเอง การร่วมมือกัน และความสัมพันธ์กับภายนอก เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ“   ”การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมซึ่งรวมถึงป่าไม้ สภาพดิน สภาพน้ำ การจัดการน้ำ ฯลฯ ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค”   “ การรู้รักสามัคคี” “การมีไมตรีธรรม” และที่สำคัญมากซึ่งพระองค์ท่านทรงมีพระราชดำรัสครั้งแรกในปี 2540 คือเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  และทรงมีพระราชดำรัสซ้ำในปี  2541 และ 2542 เป็นผลให้มีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้แพร่ขยายมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังไม่ดีพอและมากพอโดยเฉพาะในระดับประเทศ จนท้ายสุดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2554 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส    กับคณะผู้เข้าเฝ้าจำนวนหนึ่งว่า “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้โลกพ้นจากวิกฤตได้” ซึ่งสามารถขยายความได้ว่ารวมถึงวิกฤตของประเทศไทยด้วย  ซึ่งวิกฤตของประเทศไทย ประกอบด้วย วิกฤตการ เมือง วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตสังคม และวิกฤตภัยธรรมชาติรวมอยู่ด้วยกัน ทำให้มีความยากเป็นทวีคูณ

“คุณธรรม” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนเป็น “ธรรมะ อันเป็นคุณ” “ธรรมะ” คือความเป็นจริงตามธรรมชาติ  ความเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ และการที่มนุษย์พึงปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏของธรรมชาติ คือ ไม่ไปทำลาย ทำร้าย ต่อต้าน ขัดขืนธรรมชาติ อย่างไม่เหมาะสม เพราะจะไม่บังเกิดผลดี หรือเกิดผลเสียหายร้ายแรงต่อมนุษย์เช่น กรณี “อภิมหาอุทกภัย พ.ศ.2554”

แต่สิ่งที่คนไทยโดยรวม และรัฐบาลไทยโดยทั่วไป ได้ทำมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี คือการดำเนินชีวิตและพัฒนาประเทศตามแนวคิดวัตถุนิยม บริโภคนิยม เน้นการเจริญเติบโตทางวัตถุ  ละเลย  การให้ความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข การพัฒนาทางจิตใจ ทางศิลปะ วัฒนธรรม คุณธรรม ความดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ได้เน้นความพอเหมาะพอควรพอประมาณและความสมดุล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทำให้ประเทศไทย มีจำนวนประชากรมากเกินไป (เกินความสมดุลกับทรัพยากรดิน น้ำ ป่า อากาศ ไปไม่น้อยกว่า 3 เท่าหรือมากกว่า) มีการใช้ชีวิตแบบบริโภคนิยม วัตถุนิยมมากเกิน “ความพอประมาณ” ไปหลายเท่า มีความเห็นแก่ตัว ยึดตนเองและพวกพ้องเป็นสำคัญมากกว่าการยึดประโยชน์ต่อผู้อื่นและต่อส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก  คุณธรรมความดีที่มีอยู่โดยธรรมชาติในคนทุกคนถูกกดทับลิดรอน ทำให้เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ ความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในหมู่คนไทยด้วยกันขยายตัวมากขึ้น ๆ   สำทับด้วยระบบการเมืองการปกครองของไทยที่ยังไม่พัฒนาดีพอและยังเป็นระบบรวมศูนย์อำนาจการบริหารจัดการไว้ที่ภาครัฐส่วนกลางเป็นหลัก ซึ่งทำให้เกิดความอ่อนด้อยและผลเสียนานาประการทั้งในด้านการพัฒนาประชาธิปไตยที่ดี การพัฒนาเศรษฐกิจที่เหมาะสม การพัฒนาสังคม ฯลฯ  นอกจากนั้นคนไทยยังมีความขัดแย้งแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายในหลายส่วนหลายระดับของสังคม

สรุปได้ว่าประเทศไทยปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) ประสบภาวะวิกฤตทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านภัยพิบัติไปพร้อมๆ กัน

หากคนไทย สังคมไทย จะร่วมกันฟันฝ่าวิกฤตทั้ง 4 ด้านไปด้วยกัน ก็น่าจะยังเป็นไปได้  ด้วยการน้อมนำ “คุณธรรม” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ให้ได้อย่างเหมาะสม จริงจัง ต่อเนื่อง และด้วยการมี “วิสัยทัศน์” ที่ดีร่วมกัน มี “ยุทธศาสตร์” ที่ดีร่วมกัน และมี”แผนปฏิบัติการ” ที่มีความเหมาะสมทั้งด้าน วิธีการ บุคลากรผู้ดำเนินการ  งบประมาณ และระบบการจัดการที่มีธรรมาภิบาล มีคุณภาพพร้อมประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้  และที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือ ต้องมี “กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน” ที่ดีพอและมากพอตลอดทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้น  คือตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนด “วิสัยทัศน์” การกำหนด  “ยุทธศาสตร์”  การกำหนด “แผนปฏิบัติการ”  “การตรวจสอบและติดตามประเมินผล”  “การเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติจริง” และ “การปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก” เป็นวงจรไม่รู้จบ  ซึ่งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องก็เป็น “คุณธรรม” สำคัญประการหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติและทรงแนะนำอยู่เสมอ

ขอให้คนไทยทั้งหลายรวมถึงผู้เขียนเองด้วย ตั้งปณิธานร่วมกันที่จะใช้ความพยายามอย่างเข้มแข็งเอาจริงเอาจังและอย่างต่อเนื่อง  ร่วมกันฟันฝ่าวิกฤตประเทศไทย ที่รวมถึง “อภิมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554“  ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างน่าพอใจร่วมกันได้ ด้วยการประยุกต์ใช้ “คุณธรรม” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าคนไทยจะสามารถ “พลิกวิกฤติเป็นโอกาส” ให้สำเร็จได้  นำพาให้สังคมไทยมี “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”  ในระดับที่น่าพอใจได้ในเวลาที่ไม่นานเกินไป

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/470026

<<< กลับ

“วิธีคิด” ของในหลวง กับการฟื้นฟูประเทศอันเนื่องจาก “มหาพิบัติภัย”

“วิธีคิด” ของในหลวง กับการฟื้นฟูประเทศอันเนื่องจาก “มหาพิบัติภัย”


“มหาพิบัติภัย” ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2554  กำลังเคลื่อนเข้าสู่ขั้นตอนของการ “ฟื้นฟู” และ “พัฒนา” หรือ “อภิวัฒน์”

รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 2 คณะ  ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อกำหนดแนวทางในการฟื้นฟูประเทศและจัดการภัยพิบัติ คณะที่หนึ่งมีหน้าที่ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในประเทศไทย พร้อมกับกำหนดอนาคตของประเทศไทยที่จะพัฒนาก้าวหน้าได้ดีกว่าเดิม  คณะที่สองมีหน้าที่ศึกษาทบทวนและกำหนดวิธีการจัดการน้ำใหม่ทั้งระบบ

ทั้ง 2 คณะต้องพิจารณาและกำหนดยุทธศาสตร์ที่ประสานสอดรับกัน ซึ่งในกรณีคณะที่สองอาจจะพิจารณาเรื่อง “การจัดการน้ำ” ให้เชื่อมโยงกว้างขึ้นไปถึง “การจัดการภัยพิบัติ” ก็น่าจะมีเหตุผลที่สมควร เพราะวิธี “จัดการน้ำ” กับวิธี “จัดการภัยพิบัติ” มีความทับซ้อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอยู่มาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ใช้เวลากว่า 60 ปี ศึกษาคิดค้นทดลอง ลงมือปฏิบัติ  จัดพื้นที่สาธิต ให้คำปรึกษาแนะนำ ขยายผล สรุปเป็น “หลักการ” หรือ “ปรัชญา” หรือ “ยุทธศาสตร์” และเผยแพร่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงกระทำหรือสรุปเป็นหลักการ ฯลฯ ผ่านพระราชดำรัสในโอกาสต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์จวบจนปัจจุบัน

“หลักการ” หรือ “ปรัชญา” หรือ “ยุทธศาสตร์” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สมควรนำมาประยุกต์ใช้กับการพิจารณาฟื้นฟูประเทศอันเนื่องจากมหาพิบัติภัย ที่สำคัญ ๆ และเข้าประเด็นได้ดี น่าจะรวมถึง

0  พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

ข้อนี้ควรเป็นกรอบความคิดใหญ่สำหรับการกำหนดวิธีคิด และวิธีทำของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ทั้ง 2 คณะ ได้เป็นอย่างดี  เพราะการฟื้นฟูประเทศควรต้องเป็นไป “โดยธรรม” หรืออย่างมีธรรมาภิบาล และ “เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” หรือเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของปวงชนชาวไทย

 

0 การพัฒนาต้องให้ระเบิดจากภายใน

            การฟื้นฟูประเทศก็คือ “ การพัฒนาใหม่” ของ “หน่วยจัดการ” ที่ประกอบด้วยคนไทย ครอบครัวไทย ชุมชนไทย องค์กรไทย  (รวมถึง องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจ และองค์กรภาคประชาชน/ประชาสังคม) สถาบันไทย (ซึ่งรวมถึง สถาบันนิติบัญญัติ  สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา  สถาบันศิลปะวัฒนธรรม)  ตลอดจนสังคมโดยรวม ซึ่ง “หน่วยจัดการ” เหล่านี้  ควรมีส่วนร่วมอย่างสำคัญและอย่างมีความหมาย กับทั้ง  “กระบวนการ” (Process)  และ “สาระ (Content) ของมาตรการฟื้นฟูประเทศภายหลังมหาพิบัติภัย รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการริเริ่ม พิจารณา ตัดสินใจ ดำเนินการ ติดตามประเมินผล และคิดค้นหาทางปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือมีผลดีผลเสียต่อ “หน่วยจัดการ” เหล่านั้นโดยตรงหรือโดยอ้อม

0 การพัฒนาต้องคำนึงถึง “ภูมิสังคม” ของแหล่งที่จะพัฒนาด้วยเสมอ

            นั่นคือ ไม่ควรมี “สูตรสำเร็จ” หรือ “ยามาตรฐาน” สำหรับทุกพื้นที่หรือทุกกลุ่มคนหรือทุกภาคส่วน โดยบุคคลภายนอก (แม้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิสูง) เป็นผู้กำหนด แต่ควรให้แต่ละพื้นที่ แต่ละกลุ่มคน แต่ละภาคส่วน เป็นผู้กำหนดวิธีการเอง หรือมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการพิจารณาและตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ ที่เขาเกี่ยวข้อง เพราะเขาจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภูมิสังคม” ของเขาเองได้ดีกว่าบุคคลภายนอก โดยเขาสามารถขอให้บุคคลภายนอกมาร่วมเสริมเติมความรู้ความเข้าใจ เหล่านั้นให้ดีขึ้นสมบูรณ์ขึ้นได้ด้วย เช่น จากการช่วยทำข้อมูลให้เป็นระบบ จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางสังคม จากการมองให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบที่ใหญ่กว่า เป็นต้น

0  “ทฤษฏีใหม่” 3 ขั้นตอน ได้แก่ การพึ่งตนเอง การร่วมมือกัน และการมีความสัมพันธ์แบบสร้างสรรค์กับภายนอก

การฟื้นฟูชุมชน ธุรกิจและประเทศภายหลังมหาพิบัติภัย เป็นงานใหญ่ งานยาก งานสลับซับซ้อน เป็นการยากอย่างยิ่งและไม่สมควรอย่างยิ่งที่รัฐบาล แม้จะมีผู้ทรงคุณวุฒิสูง 2 คณะ หรือผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายมาช่วยกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงาน ซึ่งอาจดูดีตามที่ปรากฏในเอกสาร แต่เมื่อปฏิบัติจริงจะมีปัญหานานัปการ ซึ่งในที่สุดแล้วไม่ทำให้ประเทศไทยและสังคมไทยดีขึ้นหรืออาจกลับเสื่อมลง ด้วยเหตุนี้  “วิธีคิด” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง “การพึ่งตนเอง การร่วมมือกัน และการมีความสัมพันธ์แบบสร้างสรรค์กับภายนอก” จึงควรได้รับการประยุกต์ใช้ให้มากพอ  ควบคู่ผสมผสานไปกับการศึกษาพิจารณาและการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน มาตรการ ฯลฯ ของรัฐบาลจากคำแนะนำของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 2 คณะ และจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือกลไกอื่น ๆ ที่รัฐบาลมีอยู่

เราอาจขยายความ “วิธีคิด” ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวข้างต้นได้ว่า รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐตลอดจนองค์กรปกครองท้องถิ่น  ควรส่งเสริมสนับสนุนประชาชนที่เข้าลักษณะเป็น     “หน่วยจัดการ”  (บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ฯลฯ)  ให้ใช้หลัก “การพึ่งตนเอง” (หรือการจัดการตนเอง) “การร่วมมือกัน”  (เช่นการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฯลฯ) และ “การมีความสัมพันธ์แบบสร้างสรรค์กับภายนอก”   (เช่น การร่วมมือประสานกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันศิลปะวัฒนธรรม ฯลฯ  ในรูปแบบและวิธีการที่เห็นพ้องต้องกันว่าเหมาะสมและสร้างสรรค์ดีที่สุด)

0 “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

              เป็น “วิธีคิด” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในรูปแบบพระราชดำรัส ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยยังไม่ได้ใช้คำว่า  “เศรษฐกิจพอเพียง” มาตั้งแต่พ.ศ.2517  และได้เริ่มใช้คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างชัด ๆ ในปี พ.ศ.2540  (ภายหลัง “วิกฤตเศรษฐกิจไทย” ที่ส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกและชาวต่างชาติเรียกว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ) ซึ่งต่อมาได้มีการทำคำอธิบายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและใช้คำว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพิจารณาและแก้ไขขัดเกลาจนถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงให้ความเห็นชอบแล้วในปี พ.ศ.2542

“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มีสาระสำคัญคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี การมีความรอบรู้  รอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมความดีที่รวมถึง ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันอดทน การใช้สติปัญญา การแบ่งปัน ฯลฯ ซึ่งในการฟื้นฟูประเทศภายหลังมหาพิบัติภัย สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องยังคงใช้ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  เป็นปรัชญานำทาง ดังที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9,10,และ11  แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติได้จริงหรือดีพอและมากพอ

การประสบ “มหาภัยพิบัติ”  ในปี 2554 ควรจะเป็นแรงกระตุ้นครั้งสำคัญ และอย่างแรงให้คนไทย ชุมชนไทย องค์กรไทย สถาบันไทย โดยเฉพาะรัฐบาลและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 2 คณะ ได้ตระหนักถึงความหมายอันลึกซึ้งและทรงคุณค่าของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และน้อมนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งในการกำหนด ยุทธศาสตร์ แผนงาน มาตรการ งบประมาณ และในการดำเนินการ การติดตามประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนา  ที่ควรทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบันสู่รัฐบาลชุดต่อ ๆ ไป  โดยอาจใช้เวลา 5 ปี 10 ปี 20 ปี หรือมากกว่า  แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะเกิดเป็น “ประโยชน์สุข” หรือ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ของปวงชนชาวไทย ดียิ่ง ๆ ขึ้นและมากยิ่ง ๆ ขึ้น  ด้วยนโยบายและการดำเนินการทุกขั้นตอนที่เป็นไป “โดยธรรม” หรือ “อย่างมีธรรมาภิบาล” ซึ่งทั้งเรื่อง “ประโยชน์สุข” และเรื่อง “โดยธรรม”  หรือ “อย่างมีธรรมาภิบาล” นั้น เป็นส่วนหนึ่งของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยปริยายอยู่แล้ว

ในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา หรือครบ 7 รอบ  ประกอบกับประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการฟื้นฟู พัฒนา และอภิวัฒน์ ระบบการจัดการน้ำ ระบบการจัดการภัยพิบัติ ระบบการบริหารจัดการประเทศ (ซึ่งรวมถึงองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ตั้งแต่ รัฐสภา คณะรัฐบาล  ระบบศาลยุติธรรม หน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรภาคประชาชน สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันศิลปะวัฒนธรรม และอื่น ๆ)  จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ปวงชนชาวไทยรวมถึง สถาบัน หน่วยงาน องค์กร ต่าง ๆ จะได้ร่วมกันตั้งปณิธานและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  เพื่อฟื้นฟู พัฒนา และอภิวัฒน์ ประเทศไทยของเรา  โดยเราโชคดีที่สามารถน้อมนำ    “วิธีคิด” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวข้างต้น มาเป็นเครื่องช่วย วิธีคิด วิธีทำ และวิธีพัฒนา ของพวกเราทั้งหลายได้โดยไม่ยากนัก

ขอให้พวกเราชาวไทยรวมพลังอย่างมุ่งมั่นและ “รู้รักสามัคคี”  พลิก “วิกฤต” เป็น “โอกาส” ให้จงได้ เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อประโยชน์อันสมควรต่อประเทศไทยของเรา เพื่อสังคม ชุมชน และองค์กร ของเรา และเพื่อตัวของเราเองพร้อมครอบครัวกับลูกหลานเหลนโหลนของเราในอนาคต ไปพร้อม ๆ กัน

 

(ลงใน น.ส.พ.เดลินิวส์ ฉบับ 5 ธันวาคม 2554 หน้าพิเศษ)

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/470845

<<< กลับ

จดหมายเปิดผนึกถึงประธานคณะกรรมการ กยน. (คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ) เรื่อง ส่งผลการสานเสวนา “การปฏิรูปการจัดการน้ำในประเทศไทย”

จดหมายเปิดผนึกถึงประธานคณะกรรมการ กยน. (คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ) เรื่อง ส่งผลการสานเสวนา “การปฏิรูปการจัดการน้ำในประเทศไทย”


วันที่  8  ธันวาคม  2554

ด้วยมูลนิธิหัวใจอาสาได้ตระหนักว่า เรื่องการจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติ เป็นเรื่องใหญ่ กว้างขวาง ยาก สลับซับซ้อน  มีทั้งประเด็นเชิงวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ และประเด็นเชิงรายละเอียดและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมากมาย   หากได้มีการรับฟัง หารือ และประมวลข้อคิดเห็นจากหลายๆ แหล่ง หลายๆ กลุ่มคน หลายๆ พื้นที่ หลายๆ ภาคส่วนน่าจะเป็นประโยชน์   จึงได้จัดให้มีการ “สานเสวนา” (Dialogue) ในเรื่องดังกล่าว  ภายใต้หัวข้อ “การปฏิรูปการจัดการน้ำในประเทศไทย”  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องการจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติ และผู้บริหารองค์กรที่มีขีดความสามารถ       ในการนำหลักการ แนวทาง ข้อคิด ฯลฯ ไปสู่การปฏิบัติ รวม 15 คน  เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554

สรุปผลการสานเสวนาจำนวน  5 หน้า กับเอกสารประกอบการเสวนาที่ผู้เข้าร่วมการสานเสวนาได้มอบให้ไว้ในรูป บทความ เอกสารนำเสนอในการบรรยาย และเอกสารการวิจัย อีกจำนวนมากพอสมควร ปรากฏตามที่แนบ  ซึ่งมูลนิธิฯ เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยต่อคณะกรรมการ กยน. และต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง  จึงขอส่งเอกสารทั้งหมด เสนอต่อคณะกรรมการ กยน. ผ่านท่านเลขาธิการ สศช. (ในฐานะที่เป็นกรรมการและเลขานุการร่วมของ กยน.) มาพร้อมนี้

อนึ่ง มูลนิธิฯ ใคร่ขอถือโอกาสนี้เสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า  ข้อที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษโดยคณะกรรมการ กยน. และรัฐบาล (รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง) ในเรื่องการจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติ น่าจะประกอบด้วย :-

1.  การคิดเชิงระบบ (Systems thinking )  นั่นคือพิจารณาเรื่องการจัดการน้ำให้เห็นความเป็นระบบ ตั้งแต่ระบบย่อยๆ ในระดับท้องถิ่น  ไปจนถึงระบบขนาดกลางหรือระดับลุ่มน้ำ  ระบบขนาดใหญ่คือทั้งประเทศ  และระบบใหญ่มากคือการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในระดับข้ามชาติหรือนานาชาติ   และเพื่อให้การคิดเชิงระบบนี้เป็นจริง และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างดีที่สุด จึงน่าจะมีกลไกระดับชาติ เช่น คณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีหน่วยเลขานุการที่มีความสามารถสนับสนุน  เป็นผู้มีหน้าที่พิจารณา วางแผน กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงาน โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปปฏิบัติ กำกับดูแลและประเมินผลการปฏิบัติ  จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการความรู้ นำไปสู่การพิจารณาทบทวนและวางแผนใหม่  ทำดังนี้ให้เป็นวงจรต่อเนื่องข้ามรัฐบาล เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและการสั่งสมภูมิปัญญาและความรู้ความชำนาญให้สูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป  โดยวิธีนี้เชื่อว่าประเทศไทยและสังคมไทยจะสามารถจัดการน้ำและจัดการภัยพิบัติได้ดีขึ้นเรื่อยๆ  นำมาซึ่งความมั่นคงปลอดภัยและความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของปวงชนชาวไทย ตามปณิธานที่กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9, 10 และ 11 ได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปด้วย

2.  การมีส่วนร่วม “ตัดสินใจ” ของประชาชน (Participatory decision making)   สืบเนื่องจากหลักการและวิธีคิดในข้อ 1.  และเพื่อให้สอดรับกับเจตนารมณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่เรียกว่า “Deliberative Democracy”  หรือ “ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ”  จึงเป็นการสมควรที่คณะกรรมการ กยน. (ควรรวมถึงคณะกรรมการ กยอ.ด้วย) ที่จะจัดการให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกพื้นที่และทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณา “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ฯลฯ  เกี่ยวกับการจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติ  โดยเฉพาะในส่วนที่ กลุ่ม พื้นที่ หรือภาคส่วน นั้นๆ มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ ไม่ว่าจะในเชิงบวกหรือในเชิงลบ   โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและทั่วถึงเช่นนี้ จะช่วยให้รัฐบาล คณะกรรมการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปข้อพิจารณาและกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ฯลฯ ได้อย่างบูรณาการและอย่างสมบูรณ์มากที่สุด โดยได้รับความเห็นชอบหรือเห็นด้วยและความพึงพอใจร่วมกันของประชาชนมากที่สุด  ทั้งยังเป็นการป้องกันความขัดแย้งในสังคมไม่ให้เกิดขึ้น และหากเกิดความขัดแย้งขึ้นก็จะสามารถคลี่คลายแก้ไขความขัดแย้งนั้นๆ ได้โดยไม่ยากอีกด้วย

3.  การจัดการน้ำให้ครบทุกมิติและให้เชื่อมโยงกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำให้ครบถ้วน ไปพร้อมๆ กัน  นั่นคือการกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ฯลฯ ในเรื่องการจัดการน้ำ  ควรให้ครบถ้วนสมบูรณ์และบูรณาการ ตั้งแต่การจัดการน้ำท่วม การจัดการน้ำแล้ง การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การจัดการน้ำเพื่อครัวเรือน การจัดการน้ำเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม การจัดการน้ำให้มีคุณภาพ การจัดการน้ำให้ถูกจังหวะเวลาและสถานที่  ขณะเดียวกัน ก็ต้องจัดการน้ำโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการภัยพิบัติ  ที่ควรประกอบด้วย   (1) การป้องกันระยะไกลมาก   (2) การป้องกันระยะไกล   (3) การป้องกันระยะปานกลาง   (4) การป้องกันระยะใกล้   (5) การเตรียมความพร้อม (Preparedness)   (6) การเผชิญเหตุ (เมื่อภัยพิบัติมาถึง)   (7) การจัดการโดยพึ่งตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในท้องถิ่นที่ประสบภัย   (8) การจัดการการรับความช่วยเหลือจากบุคคลและหน่วยงานภายนอกทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม (องค์กรสาธารณประโยชน์ มูลนิธิ สมาคม เอ็นจีโอ ฯลฯ) ภาคประชาชน (ชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ ประชาชนทั่วไป  ฯลฯ ) ตลอดจนจากองค์กรหรือรัฐบาลต่างประเทศ  ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย มีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง  เป็นธรรม และเหมาะสมตามความเห็นร่วมกันของประชาคมในท้องถิ่นนั้นๆ   (9) การจัดการการรับการเยียวยาจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กรนอกภาครัฐ  ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย มีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม   (10) การบูรณะฟื้นฟูภายหลังภัยพิบัติ   (11) การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ  “จัดการความรู้” (Knowledge management)  เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นและกว้างขวางยิ่งขึ้นในหมู่ประชาชน  รวมถึงการที่จะสามารถคิดค้นสร้างสรรค์ “นวัตกรรม” เกี่ยวกับการจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติ  เพื่อให้ท้องถิ่นและสังคมสั่งสมความรู้ความเข้าใจและความสามารถที่ดียิ่งๆ ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

4.  มาตรการจัดการน้ำให้ได้ครบทุกวัตถุประสงค์และที่สำคัญมากเป็นลำดับต้นๆ น่าจะประกอบด้วย

4.1  การดูแลรักษา ปรับปรุง  หรือจัดสร้าง “แหล่งกักเก็บน้ำ” ที่มีความเหมาะสมทั้งด้าน ขนาด แหล่งที่อยู่ การใช้ประโยชน์ คุณลักษณะ วิธีบริหารจัดการดูแลรักษา ฯลฯ  ซึ่งแหล่งกักเก็บน้ำดังกล่าวควรมีตั้งแต่ ขนาด “จิ๋ว” (บ่อน้ำในไร่นา ฯลฯ)  ขนาด “เล็ก” (สระน้ำของหมู่บ้านหรือตำบล ฯลฯ)  “ขนาดกลาง” (หนองน้ำหรือบึงหรืออ่างเก็บน้ำสำหรับเมืองใหญ่หรือจังหวัดหรือเขตอุตสาหกรรม ฯลฯ)  “ขนาดใหญ่” (บึงธรรมชาติ บึงสร้างใหม่หรือ “แก้มลิง” ขนาดใหญ่ เขื่อนขนาดเล็กที่ใช้ประโยชน์ข้ามจังหวัดได้ ฯลฯ)  และ “ขนาดใหญ่มาก” (เขื่อนขนาดใหญ่ “แก้มลิง” ขนาดใหญ่มาก ฯลฯ)

4.2  การดูแลรักษา ปรับปรุง หรือจัดสร้าง ทางเดินของน้ำผ่านช่องทางต่างๆ  รวมถึงห้วยบนภูเขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำ แม่น้ำขนาดต่างๆ ลำคลองขนาดต่างๆ เส้นทางผันน้ำ (รวมถึง Floodway อุโมงค์ยักษ์ คลองประดิษฐ์ ฯลฯ) ตลอดจนคูคลองในเรือกสวนไร่นา  ซึ่งในส่วนที่อยู่ใกล้และมีผลได้ผลเสียต่อประชาชนในท้องถิ่น ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการดูแล รักษา ปรับปรุง และหรือพัฒนาสร้างใหม่ให้ดีขึ้น  โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งมาตรการทั้งสองนี้ ควรทำให้กว้างขวางกระจายไปทั่วประเทศ และใช้ “วิกฤต” มหาอุทกภัยครั้งนี้ เป็น “โอกาส” กระตุ้นและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ และทุกภาคส่วน ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการ”จัดการน้ำ” และ “จัดภัยพิบัติ”  ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ต่อสังคมไทยและประชาชนไทย  ไม่เฉพาะในเรื่องการจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติ แต่จะเป็นประโยชน์ขยายรวมไปถึงการจัดการด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านการเป็นสังคมเรียนรู้ (Learning society) และอื่นๆ

มูลนิธิฯ ตระหนักดีกว่า ความเห็นข้างต้นอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายคงมีความคิดทำนองนี้อยู่แล้ว  แต่ก็ใคร่ขอเสนอมาเป็นการตอกย้ำลำดับความสำคัญ  และเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการตามแต่จะเห็นสมควร

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/476257

<<< กลับ

สรุปผลการสานเสวนา “การปฏิรูปการจัดการน้ำในประเทศไทย”

สรุปผลการสานเสวนา “การปฏิรูปการจัดการน้ำในประเทศไทย”


เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา มูลนิธิหัวใจอาสา ได้จัดเวทีสานเสวนาเรื่อง “การปฏิรูปการจัดการน้ำในประเทศไทย” ซี่งเป็นการประชุมกลุ่มเล็กระหว่างกัลยาณมิตร โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องระบบการบริหารจัดการน้ำ 15 คนเข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปการการจัดการน้ำในประเทศไทย  เพื่อป้องกันมิให้เกิดอุทกภัยร้ายแรงขึ้นอีกในอนาคต  รวมถึงเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลและองค์ความรู้สำหรับการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยรวม

 

การจัดการน้ำ” คือ “การจัดความสัมพันธ์กับธรรมชาติ”  

การสานเสวนาในครั้งนี้ เริ่มจากการเกริ่นนำ โดย นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานมูลนิธิหัวใจอาสา  ซึ่งได้เคยใช้ชีวิตอยู่กับน้ำ เป็นการอยู่กับธรรมชาติ  และพบว่าเป็นชีวิตที่มีความสุข  ดังนั้น คนกับน้ำจึงเป็นเรื่องที่เอื้ออำนวยกัน  แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องมี การจัดการน้ำ  ซึ่งก็คือ การจัดความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ทั้งน้ำ ดิน ป่า อากาศ พฤติกรรมของธรรมชาติ เชื่อมโยงกับความเชื่อ วัฒนธรรม กระบวนทัศน์ ทัศนคติ ความคิด พฤติกรรม การปฏิบัติ ฯลฯ  ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น องค์กร สถาบัน กลุ่ม เครือข่าย ฯลฯ นั่นเอง

การจะปฏิรูประบบการจัดการน้ำ จึงไม่ใช่เพียงการจัดการน้ำ  แต่เป็นการจัดการความสัมพันธ์กับธรรมชาติ เชื่อมโยงกับมนุษย์ ซึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เพราะคนมีจำนวนมากขึ้น ใช้ชีวิตอยู่แบบไม่สมดุล อีกทั้งยังต้องเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วม ทั้งการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ โดย “ประชาชน” มีบทบาทสำคัญ  เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายของการจัดการ นั่นก็คือ ความอยู่เย็นป็นสุขร่วมกันเรื่องทั้งหมดเกี่ยวข้องทั้งระดับ Micro และ Macro  เชื่อมโยงถึงระดับนานาชาติ เช่น ลุ่มแม่น้ำโขงที่เชื่อมโยงประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ฯลฯ  เนื่องจากธรรมชาติเชื่อมโยงกันทั้งโลก

 

เหตุปัจจัยแห่งการเกิดอุทกภัยครั้งที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์

                หากจะวิเคราะห์ถึงเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดอุทกภัยครั้งที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และมีผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนมาก ผู้เข้าร่วมการเสวนา ได้ร่วมกันวิเคราะห์ว่าปริมาณน้ำในปีนี้ มากเกินกว่าปริมาณน้ำในปี 2538 หรือไม่  สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จึงอาจเกิดจากปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงเกิดจาก

  • Ø นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในประเทศไทย  ยังไม่มีการกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนเหมือนนโยบายอื่น เช่น นโยบายการจัดการป่า ฯลฯ  ไม่มีกติกาในการจัดสรรน้ำ  รวมถึงไม่มีการกำหนดนโยบายเรื่องการจัดการน้ำท่วม  ที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงการสงเคราะห์  เมื่อเกิดสถานการณ์น้ำท่วม หน่วยงานก็ให้ความช่วยเหลือ  ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำประมาณ 30 ฉบับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำกว่า 40 แห่ง  แต่ยังไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Ø ปริมาณน้ำจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง  อันเนื่องมาจากพายุที่เกิดขึ้นจำนวน 5 ลูก ซึ่งมากกว่าปี 2538 ที่มีเพียง 3 ลูก  ส่งผลให้ปริมาณน้ำมากกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาประมาณถึง 40%  ประกอบกับน้ำและฝนมาเร็วกว่าช่วงเวลาปกติ  เกิดเป็น “ภูเขาน้ำ” ซึ่งมีระดับมวลน้ำสูงกว่าปี 2538
  • Ø ระบบการผันน้ำให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมมากกว่าภาคอุตสาหกรรม  และเมื่อไม่ได้มีการโรยน้ำ ทำให้กระแสน้ำที่กักเก็บไว้มีความแรงมาก ไม่สามารถควบคุมทิศทางการไหลของน้ำได้  เกิดการพังทลายของคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำหลายแห่งต่อเนื่องกัน จุดวิกฤติเกิดตั้งแต่การพังทลายของประตูระบายน้ำบางโฉมศรี
  • Ø โครงสร้างพื้นฐานของระบบการจัดเก็บและการระบายน้ำ  เป็นการออกแบบเพื่อการเกษตร ไม่ได้ออกแบบสำหรับการป้องกันและจัดการกับปัญหาน้ำท่วม

กุญแจสำคัญสู่การปฏิรูประบบการจัดการน้ำ

เมื่อถามถึงกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิรูประบบการจัดการน้ำ  ได้มีการเสนอแนวทางปฏิรูประบบการจัดการน้ำที่หลากหลาย อาทิเช่น การปฏิรูประบบการพยากรณ์อากาศให้มีความแม่นยำ และทันสมัย เพื่อช่วยในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม  กำหนดมาตรการ/ผังการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยการวิเคราะห์ระดับความสูง ต่ำของพื้นที่  การใช้วิกฤตเรื่องน้ำท่วมควบคู่ไปกับการจัดการที่ดิน  เพื่อให้เกิดระบบการจัดการอย่างสมดุล  จัดระบบการจัดการที่ดิน Land Use Management ก่อนที่จะออกแบบระบบจัดการน้ำที่เหมาะสม  กำหนดมาตรฐานการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำท่วม  สร้างระบบการจูงใจ การชดเชยที่เป็นธรรมกับคนที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำท่วม โดยการจัดเก็บภาษีในการบริหารจัดการน้ำ หรือเก็บภาษีน้ำท่วม จากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากระบบป้องกันน้ำท่วม เพื่อนำไปจ่ายชดเชยให้กับผู้ที่เสียหายจากการอยู่ในพื้นที่ที่รับน้ำท่วม  การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  โดยนักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องการสร้างทางเลือก รูปแบบในการบริหารจัดการน้ำ ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สร้างความยินยอมพร้อมใจ  การจัดระบบองค์กรใหม่ โดยการยุบรวมหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องน้ำเข้าด้วยกัน เป็นหน่วยงานที่จะรับผิดชอบบริหารระบบน้ำในภาพรวม  นอกจากนี้ยังได้มีการเสนอแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนท้องถิ่น ด้วยการวางผังการจัดการน้ำในพื้นที่ โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์พื้นที่ วิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อนำมาวางแผนการบริหารจัดการน้ำ ทั้งในระดับชุมชน ตำบล เชื่อมโยงเป็นภูมินิเวศน์

 

แก้มลิงทางเลือกในการบริหารจัดการน้ำ

แนวทางรูปธรรมหนึ่ง ซึ่งผู้เข้าร่วมการสานเสวนาได้มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง คือ การสร้างแก้มลิงเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามน้ำแล้ง และรองรับน้ำในช่วงน้ำมาก  หลักการสำคัญของการทำแก้มลิง คือ ทำแล้วทุกฝ่ายต้องพอใจ  ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนของผู้เข้าร่วมการสานเสวนา ทำให้ทราบถึงรายละเอียดวิธีการสร้างแก้มลิง  โดยการเลือกพื้นที่ ต้องศึกษาลักษณะของพื้นที่ การไหลของน้ำ ปริมาณฝนที่จะตกในพื้นที่  จำนวนผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่และได้รับผลกระทบ  เพื่อนำมาออกแบบขนาดของแก้มลิงที่มีความเหมาะสม   ขนาดของแก้มลิงสามารถทำได้ทั้งในขนาดใหญ่และขนาดเล็ก  การทำแก้มลิงอาจจะเริ่มจากพื้นที่ของส่วนราชการที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคนที่อยู่อาศัยในพื้นที่  โครงสร้างของแก้มลิง อาจทำได้ทั้งการขุด และการยกคันดิน  นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการสานเสวนายังได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการสร้างแก้มลิงว่า ควรสัมพันธ์กับระบบน้ำและนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร  ทั้งนี้ หากจะเสนอทางเลือกในการบริหารจัดการน้ำโดยการสร้างแก้มลิง  มีข้อเสนอว่าควรดำเนินการในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เนื่องจากมีพื้นที่ว่างอยู่มาก  รวมถึงเป็นที่ที่จะช่วยกักเก็บน้ำเพื่อนำมาใช้ในการผลิตอาหาร สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ นำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริม “แก้มลิงชุมชน” ว่าน่าจะเป็นสิ่งที่สามารถขับเคลื่อนได้  โดยไม่จำเป็นต้องรอการศึกษาหาพื้นที่ที่เหมาะสม  โดยอาจสร้างเป็นลักษณะรังผึ้งกระจายเต็มพื้นที่   ซึ่งในการส่งเสริมแก้มลิงชุมชน รัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการและดูแลรักษาแก้มลิงชุมชนดังกล่าว  อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งประเด็นคำถามว่า “ชุมชนจะสามารถดูแลแก้มลิงได้อย่างไรซึ่งผู้เข้าร่วมการสานเสวนาเสนอว่า ควรสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม โดยนักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องช่วยในการสร้างทางเลือก เสนอรูปแบบในการบริหารจัดการน้ำในระบบแก้มลิง  จากนั้นเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สร้างความยินยอมพร้อมใจ รวมถึงมีระบบการชดเชยที่เป็นธรรม โดยอาจเก็บภาษีจากพื้นที่ที่ได้รับการป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วม เพื่อจ่ายให้พื้นที่ที่ต้องดูแลรับผิดชอบแก้มลิง

 

ยุทธศาสตร์เพื่อการเดินหน้าสู่การปฏิรูประบบการบริหารจัดการน้ำ  

เพื่อให้ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูประบบการจัดการน้ำสามารถขับเคลื่อนได้อย่างแท้จริง  ผู้เข้าร่วมการสานสนทนา ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน โดยการทำคู่ขนานใน 2 ระดับ คือ

  • Ø การแก้ไขปัญหาระดับโครงสร้างในภาพรวมของประเทศ  ด้วยการกำหนดกฎหมาย นโยบายเกี่ยวกับน้ำอย่างชัดเจน  ปฏิรูประบบการบริหารจัดการน้ำโดยสร้างการมีส่วนร่วม  การวางผังเมืองและออกแบบการก่อสร้างที่สัมพันธ์กับระบบการจัดการน้ำ  จัดระบบข้อมูลวิชาการที่มีความแม่นยำ ทันสมัย  ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะเป็นแกนในการประสานหารือกับองค์กรพันธมิตร และภาคีวิชาการที่เกี่ยวข้อง
  • Ø การแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่โดยชุมชนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการจัดการ  โดยการจัดขบวนภาคประชาชน ชุมชนท้องถิ่น ภาคสังคม เข้าร่วมปฏิบัติการเรื่องการบริหารจัดการน้ำ  สร้างพื้นที่รูปธรรมและพัฒนาองค์ความรู้จากการปฏิบัติการ  พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายจากพื้นที่รูปธรรม โดยมีภาควิชาการเข้าร่วมหนุนเสริม  ให้ความรู้กับสังคมผ่านช่องทางสื่อสารควบคู่กับการขับเคลื่อนระดับนโยบายจากระดับชุมชนถึงระดับประเทศ  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จะเป็นแกนร่วมกับขบวนองค์กรชุมชน ในการประสานภาควิชาการ และภาคี เข้าร่วมสนับสนุน

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/476260

<<< กลับ