โอกาสทองที่จะแก้วิกฤตไทย ด้วยรัฐบาลพิเศษเฉพาะกาลเพื่อความปรองดองแห่งชาติ

โอกาสทองที่จะแก้วิกฤตไทย ด้วยรัฐบาลพิเศษเฉพาะกาลเพื่อความปรองดองแห่งชาติ


คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ  2 ธ.ค. 51  ยุบ 3  พรรคการเมือง  นายกฯ ต้องพ้นตำแหน่ง

วิกฤตประเทศไทยคลี่คลายชั่วคราว แม้ยังไม่หมดไป

เปิดโอกาสทองที่จะแก้วิกฤตของประเทศไทยให้ได้อย่างแท้จริง  โดยอยู่ที่การจัดรัฐบาลใหม่   ให้เป็นรัฐบาลพิเศษ

เฉพาะกาลเพื่อความปรองดองแห่งชาติ

หลักการสำคัญ

                เป็นรัฐบาลพิเศษเฉพาะกาล   มีภารกิจหลัก 3 ข้อ

  1. สร้างความปรองดองแห่งชาติ
  2. แก้วิกฤตเศรษฐกิจพร้อมกับดูแลการบริหารราชการแผ่นดินให้ดำเนินไปได้เป็นปกติเรียบร้อย
  3. จัดให้มีการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมและเห็นพ้อง  ซึ่งรวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

                      แล้วนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่   ( = สิ้นสุดภารกิจรัฐบาลพิเศษเฉพาะกาล)

สูตรการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจได้รับการพิจารณา

  1. พรรคใหญ่ลำดับ 1  กับพรรคเล็ก ๆ โดย นายกฯอาจมาจากพรรคเล็ก
  2. พรรคใหญ่ลำดับ 2  กับพรรคเล็ก ๆ ซึ่งรวมกันแล้วมีคะแนนเสียงเพียงพอ  และนายกฯ อาจมาจาก

                     พรรคเล็ก 

  1. พรรคใหญ่ลำดับ  1 และ 2 รวมกัน   อาจรวมพรรคเล็กบางพรรคด้วย  และอาจมีพรรคเล็กบาง

                     พรรคเป็นฝ่ายค้าน     หรืออาจรวมทุกพรรคโดยไม่ต้องมีฝ่ายค้าน    (เนื่องจากเป็นรัฐบาลพิเศษ เฉพาะกาล)

ข้อสำคัญ : ควรมีกระบวนการหารือร่วมกันหรือ “สานเสวนา” ระหว่างพรรคการเมืองทั้งหมดที่มีสมาชิกใน

                สภาผู้แทนราษฎร   เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกัน   เกี่ยวกับหลักการสำคัญ  สูตรการจัดตั้ง

                รัฐบาล  และเงื่อนไขต่าง ๆ โดยควรรับฟังความเห็นและเสียงสะท้อนจากภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม

                มาประกอบการพิจารณาด้วย

                                                                                                                ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม

                                                                                                                    5  ธันวาคม   2551

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/227651

<<< กลับ

ความพอเพียง…ความขัดแย้ง…และวิกฤตเศรษฐกิจ

ความพอเพียง…ความขัดแย้ง…และวิกฤตเศรษฐกิจ


(สาระสำคัญของปาฐกถาพิเศษ  ในการสัมมนาทางวิชาการว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางเลือก  ครั้งที่  2  ประจำปี  2552  วันที่  23  เมษายน  2552  ณ  สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม  จัดโดยสำนักระงับข้อพิพาท  สำนักงานศาลยุติธรรม)

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/260768

<<< กลับ

การพัฒนาโครงการและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง

การพัฒนาโครงการและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง


 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/261249

<<< กลับ

วิกฤตเศรษฐกิจกับสังคมไทย

วิกฤตเศรษฐกิจกับสังคมไทย


 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/264100

<<< กลับ

บทบาทงาน CSR ในการสนับสนุนงานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ

บทบาทงาน CSR ในการสนับสนุนงานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ


(เอกสารประกอบการปาฐกถา เรื่อง “ บทบาทงาน CSR ในการสนับสนุนงานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการณ์  การนำเสนอผลงานวิจัย “แนวทาง รูปแบบการสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนในประเทศไทย” ณ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 19 สิงหาคม 2552 )

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/290218

<<< กลับ

องค์กรชุมชน จะร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยได้อย่างไร

องค์กรชุมชน จะร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยได้อย่างไร


(เอกสารประกอบการอภิปรายใน “การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนสมัยวิสามัญ  ครั้งที่ 1″ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553  ณ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน)

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/370727

<<< กลับ

“สามเหลี่ยเขยื้อนภูเขา” “3 เสาหลัก/กงล้อหลัก ที่จะนำชีวิต/ชุมชน/องค์กร/สังคม/มนุษยชาติ ไปสู่ความเจริญสันติสุข อย่างมั่งคงและยั่งยืน” “3 องค์ประกอบสำคัญ ในการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี/ในการปรองดองสมานฉันท์”

“สามเหลี่ยเขยื้อนภูเขา” “3 เสาหลัก/กงล้อหลัก ที่จะนำชีวิต/ชุมชน/องค์กร/สังคม/มนุษยชาติ ไปสู่ความเจริญสันติสุข อย่างมั่งคงและยั่งยืน” “3 องค์ประกอบสำคัญ ในการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี/ในการปรองดองสมานฉันท์”


 

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/372549

<<< กลับ

ไพบูลย์..ชี้ปฏิรูปต้องทำร่วมหลายส่วน

ไพบูลย์..ชี้ปฏิรูปต้องทำร่วมหลายส่วน


(สรุปปาฐกถาพิเศษลงใน  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  ฉบับวันที่  8  กรกฎาคม  2553  จากการสัมมนา “ธุรกิจเพื่อสังคม : พลังขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย”  จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ณ  โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์พาร์ค  เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2553)

 

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  ประธานมูลนิธิหัวใจอาสา  กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ธุรกิจเพื่อสังคม”  ประเทศชาติไม่ติดหล่ม สังคมไม่ติดลบ  ว่า  การปฏิรูปประเทศจำเป็นและควรทำแต่ต้องทำหลายส่วนและหลายมิติของประเทศ  โดยประชาชนถือว่าเป็นส่วนใหญ่ที่สุด  ภาคธุรกิจทุกกิจการที่เป็นธุรกิจถือว่ามหาศาลทั่วประเทศ ทุกประเภท  ทุกขนาดทุกพื้นที่  และภาครัฐที่ได้รับอำนาจมาจากประชาชนและมีหน้าที่บริหารจัดการสังคม  ทั้งสามฝ่ายจะปฏิรูปประเทศต้องร่วมมือกันและช่วยกันคิด  และการจะปฏิรูปอะไรควรเริ่มจากตัวเองก่อน

                วันนี้โฟกัสการปฏิรูปไปอยู่ที่ภาคธุรกิจและภาคอื่นๆ  คือธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งต้องปฏิรูปทั้งวิธีคิดและวิธีทำ การมองต้องแบบมองกว้าง  คิดไกล  ใฝ่สูงส่ง  มองทุกอย่างให้เป็นระบบ  คิดในเชิงบวกเชิงรุก  และคิดในทางสร้างสรรค์  เป็นการปฏิรูปวิธีคิด  ไม่ง่ายแต่ทำได้  คิดโดยเห็นความเป็นระบบและความเป็นพลวัตของสรรพสิ่ง  ในสังคมและในโลก

การปฏิรูปประเทศไทย  ภาคสังคม เศรษฐกิจ  และการเมือง  ทั้ง  3  ฝ่ายจะต้องร่วมกันคิดจากตัวเองว่าจะช่วยกันปฏิรูปได้อย่างไร  และควรแสวงหาแนวร่วมกับภาคอื่นๆ  ด้วยการรวบรวมพลังสร้างสรรค์เข้ามาร่วมมือ  เป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะภาคธุรกิจต้องปฏิรูปทั้งวิธีคิดและวิธีทำ  จากมองแคบ  คิดใกล้  ใฝ่ต่ำเตี้ย  เป็นมองกว้าง คิดไกล  ใฝ่สูงส่ง  จากมองแบบแยกส่วนเฉพาะจุด  เฉพาะเรื่องมา  เป็นมองสังคมทั้งหมดแบบองค์รวมหรือบูรณาการ  จากการคิดธุรกิจเพื่อธุรกิจ  เป็นการคิดธุรกิจเพื่อสังคม

การปฏิรูปวิธีทำ ต้องเปลี่ยนความคิดจากที่ว่าการทำธุรกิจเป็นของธุรกิจ โดยธุรกิจ  เพื่อธุรกิจ แต่ให้เปลี่ยนเป็นการทำธุรกิจเพื่อสังคม ทำธุรกิจที่มีคุณภาพคือ

1. เป็นการทำธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล  มีความถูกต้อง เหมาะสม  มีคุณธรรมความดี

2. เป็นการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ  ซึ่งหมายถึง  มีความถูกต้องชอบธรรมดีงามในทุกกระบวนการของธุรกิจ  ตั้งแต่เริ่มการตั้งโรงงาน  การเลือกคน  การผลิตสินค้า  การบริการทุกขั้นตอนและอื่น ๆ

3. เป็นการทำธุรกิจที่มีหรือเป็น  “กิจการเพื่อสังคม”  (Social  enterprise)  ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่  รัฐบาลตั้ง  “คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม”  ขึ้นมาโดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเอง  ทั้งนี้บางธุรกิจได้มีการดำเนินการไปแล้วเกี่ยวกับมีหรือเป็น  “กิจการเพื่อสังคม”  เป็นการเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำ

 

การปฏิรูปความคิดจากเดิมศูนย์รวมอยู่ กทม.  เป็นการกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ  ทั่วประเทศ  ให้สร้างความร่วมมือและเอาพื้นที่จังหวัดเป็นตัวตั้ง  เริ่มจาก  ภาคประชาชน  และมีแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องมาเป็นตัวแทน  เป็น  “เครือข่ายพหุภาคีเพื่อขับเคลื่อนจังหวัด”  โดยให้ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานรากที่แท้จริงของสังคม  เป็นเจ้าของเรื่องหลัก  และมีบทบาทสำคัญ  ทั้งนี้ในปัจจุบัน  ชุมชนท้องถิ่นได้พัฒนาก้าวหน้าไปมากพอสมควร  มีเครือข่ายทั่วประเทศ

การปฏิรูปจากฐานรากขึ้นมาเป็นไปได้โดยกลไกที่จังหวัดทุกจังหวัด  นอกจากนี้ต้องปฏิรูปการทำงานและวิธีคิดคือ

1.  ให้เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง  โดยชุมชนและประชาชนในพื้นที่เป็นแกนหลักและมีบทบาทสำคัญ

2.  ให้ประชาชนในพื้นที่เป็นเจ้าของเรื่องและเจ้าของประเด็นเป็นสำคัญ  เพราะเรื่องและประเด็นในจังหวัดเป็นเรื่องของประชาชน  ประชาชนจะรู้ดีว่าสภาพเป็นอย่างไร  ปัญหาเป็นอย่างไร  ความต้องการเป็นอย่างไร  ฯลฯ

3.  ทุกฝ่ายทั้งที่อยู่ในพื้นที่และมาจากนอกพื้นที่ต้องประสานความร่วมมือ  เป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ  ทุกคนทุกฝ่ายร่วมมืออย่างเสมอกัน

 

                “การปฏิรูปฐานรากที่ท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีกลไกที่เอื้ออำนวยไปในทุกจังหวัด  ต้องเปลี่ยนวิธีคิดจากเอาหน่วยงานเป็นตัวตั้งเป็นเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง  ให้ชุมชน ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ  โดยมีหน่วยงานต่างๆ  ไปส่งเสริมสนับสนุน  ขณะเดียวกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม  ต้องประสานความร่วมมือให้เป็นความสัมพันธ์แนวราบ  ไม่คิดว่าใครเหนือกว่าใคร”

นั่นคือเอาทั้งสามส่วนมาประสานความร่วมมือกัน ให้ประชาชนเป็นเจ้าของเรื่องและส่วนอื่น ๆ เป็นส่วนสนับสนุน และถือว่าภาคธุรกิจมีความสำคัญและเชื่อว่า เป็นหนึ่งในภาคที่มีความสำคัญและมีพลังสูง  ซึ่งสามารถจะมีบทบาทมากในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมที่น่าอยู่และเจริญสันติสุขอย่างแท้จริงและอย่างยั่งยืน

(ปรับปรุง  1  มี.ค.  54)

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/380881

<<< กลับ

กก. ปฏิรูปชี้ปรองดองสำเร็จ ‘อภิสิทธัตถะ’

กก. ปฏิรูปชี้ปรองดองสำเร็จ ‘อภิสิทธัตถะ’


‘สุเทพ’  ให้  ‘ปชป.’  พร้อมใน  12  ด.  ‘เฉลิม’  ปูดบีบพยานพลิกคดี  ‘ยุบ’

(ข้อความข่าว  ลงใน  หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน  ฉบับวันอาทิตย์ที่  1  สิงหาคม  2553)

                กก.ปฏิรูปแนะดึงประชาชนร่วมแก้ขัดแย้ง  ยกเทียบ  ‘อภิสิทธัตถะ’  หากทำปรองดองสำเร็จ  ‘สุเทพ’  ให้เวลา  ‘ปชป.’  12  เดือน  เร่งสร้างความเข้มแข็ง – สั่งลุยระดับจังหวัด – แจกซีดีสู้  ‘แดง’  ชุดสมัชชาฯเปิดหนัง  ‘เเมนเดลา’  ให้ดู  กล่อมเลิกมอง  นปช.  เป็นศัตรู  ‘เฉลิม’  ปูดบีบพยาน  ‘ยุบ’  พลิกลิ้น  คุยมีสำเนาเช็ค  27  ฉบับมัด

 

ทหาร-ตร.  คุ้มกันเข้มสัมมนา  ปชป.

พรรคประชาธิปปัตย์จัดสัมมนาประจำปีขึ้นที่  โรงแรมเมอร์ลิน  บีช  รีสอร์ท  หาดป่าตอง  จ.ภูเก็ต  ระหว่างวันที่  31  กรกฎาคม – 1  สิงหาคม  ทั้งนี้การสัมมนาวันแรกเมื่อวันที่  31  กรกฎาคม  หัวข้อ  “รวมพลัง  แก้ไขวิกฤตชาติ”  มีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ผสมระหว่างตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต  ตำรวจตะเวนชายแดน  200  นาย  และทหารจำนวนหนึ่ง  ทั้งในและนอกเครื่องแบบกระจายกำลังอารักขา  และรักษาความปลอดภัยโดยรอบโรงแรม  นอกจากนี้  ยังมีการตั้งด่านตรวจ  24  ชั่วโมง  2  แห่งบริเวณทางขึ้นโรงแรมที่อยู่บนภูเขาหาดไตรตรัง  และตรวจวัตถุระเบิดบริเวณโรงแรมและห้องประชุมด้วย

การสัมมนาประจำปีครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา  09.30  น.  มีกรรมการบริหาร  ส.ส.  และรัฐมนตรีของพรรคเข้าร่วม  โดยพร้อมใจกันใส่เสื้อโปโลสีชมพูทับด้วยเสื้อเจ็คเก็ตมีโลโก้พรรค  รอบห้องประชุมประดับด้วยธงสีฟ้า  พร้อมข้อความ  “ประชาชน  ประชาธิปไตย  ประชาธิปัตย์”

 

ไพบูลย์แนะดึง  ปชช.  ร่วมแก้ปัญหา

จากนั้น  นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  อดีตรองนายกรัฐมนตรี  และกรรมการสมัชชาปฏิรูปกล่าวบรรยายหัวข้อ  “อนาคตประเทศไทยบนพื้นฐานความปรองดอง”  ว่า  ตามหลักทั่วไป  ใครเป็นผู้สร้างปัญหา  ย่อมแก้ปัญหาได้ดีที่สุด  ปัญหาความปรองดองของประเทศไทยขณะนี้เกิดขึ้นจากนักการเมืองเป็นฝ่ายนำ  ประชาชนเข้ามาสมทบ  จนกลายเป็นความแตกแยกทั่วประเทศ  ฉะนั้น  คนที่จะต้องแก้ไขคือนักการเมืองกับประชาชน  นักวิชาการแก้ไม่ได้  นายอานันท์  ปันยารชุน  ประธานคณะกรรมการปฏิรูป  นพ.ประเวศ  วะสี  ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป  นายคณิต  ณ  นคร  ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติก็แก้ไม่ได้  ทำได้แค่เข้าไปกระตุ้น  เสริมหนุน  ให้ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประชาชนเข้ามาแก้ให้ได้

นายไพบูลย์กล่าวว่า  หลักง่ายๆ  ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  คือต้องมีกระบวนการที่ดี  มีการจัดขั้นตอน  และสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาร่วมในแต่ละขั้นตอน  เริ่มจากเล็กๆง่ายๆแล้วค่อยทำมากขึ้น  สูงขึ้น  ยากขึ้น  ไม่ใช่เริ่มต้นเหมือนที่นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี  ไปเจรจากับแกนนำคนเสื้อแดงออกโทรทัศน์  เป็นการกระทำที่ไม่มีกระบวนการ  ไปคุยเนื้อหาสาระเลย  ผลที่ออกจึงไม่สามารถบรรลุความสำเร็จที่ดีได้  แถมยังมีการด่าว่าออกสาธารณะ  แผนปรองดองทั้งห้าข้อของนายกฯ  ยังเป็นแผนคิดข้างเดียว  ยังไม่ใช่ข้อตกลง  ก็ย่อมมีการต่อต้านเป็นธรรมดา  อะไรที่คิดข้างเดียวย่อมมีปัญหา  จึงต้องหาทางให้ทุกฝ่ายร่วมกัน  โดยเฉพาะฝ่ายประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง

 

ปฏิรูปได้จะกลายเป็นอภิสิทธัตถะ

นายไพบูลย์กล่าวว่า  “การแก้ปัญหาความแตกแยกจะต้องเริ่มที่ตัวเรา  ไม่ใช่เสนอให้คนอื่นทำอะไร  แต่ตัวเองไม่ทำอะไร  เหมือนพ่อบอกให้แม่กับลูกทำอย่างนั้น  แต่ตัวเองบอกไม่บอกว่าจะทำอะไร  ปัญหาที่ซับซ้อนจะต้องให้พลังสังคมเป็นตัวนำ  เหมือนในทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของ  นพ.ประเวศ  วะสี  ผมขอพูดต่อหน้านายกฯและสมาชิกพรรคประชาธิปปัตย์ว่า  เป็นคนหนึ่งที่ชื่นชมนายกฯอภิสิทธิ์  เพราะเป็นคนดี  ฉลาด  และซื่อตรง  ภาษาบาลีเรียกว่าเป็นสัตบุรุษ  หรืออภิสิทธิ์สัตตะ  สิ่งที่ท่านทำ  ทั้งสร้างความปรองดองหรือปฏิรูปประเทศให้ดีกว่าเดิม  อาจมีคนไม่ชอบบ้างเป็นธรรมดา  แต่คนส่วนใหญ่พอใจอยากให้ท่านทำสำเร็จ  ถ้าท่านทำได้  ไม่เป็นเพียงนายอภิสิทธิ์สัตตะ  แต่จะเป็นนายอภิสิทธัตถะ  เพราะคำว่าสิทธัตถะในภาษาบาลีแปลว่า  ผู้สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว”

 

(มีข้อความข่าวต่อ) ……………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………….

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/381266

<<< กลับ

ว่าด้วย “อภิสิทธัตถะ” จากคำบรรยาย “อนาคตประเทศไทยบนพื้นฐานความปรองดอง”

ว่าด้วย “อภิสิทธัตถะ” จากคำบรรยาย “อนาคตประเทศไทยบนพื้นฐานความปรองดอง”


(ถอดเทปคำบรรยายของอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ในงานสัมมนาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหาร และรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ ณ โรงแรมเมอร์ลิน บีช รีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต วันที่ 31 กรกฎาคม 2553)

 

(ช่วง 10 นาทีสุดท้าย)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ผมถือโอกาสเรียนว่า  คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาตินี้  จะมาเสริมท่านนะครับ  ไม่ใช่มาแทนท่าน มาเสริมความพยายามที่จะสร้างความปรองดอง  แต่เสริมในลักษณะพื้นฐาน  อาจจะเติมช่องว่าง  อาจจะปูพื้นฐาน เพื่อให้ในที่สุดประเทศไทยมีวัฒนธรรมสันติ  หรือสันติวัฒนธรรม  คือ  Culture  of  Peace  ในภาษาขององค์การ  USESCO  สังคมเราจะเปลี่ยนไปครับ  จากสังคมที่ชอบความขัดแย้ง  ชอบความเหลื่อมล้ำ  ชอบอุปถัมป์  ชอบขอชอบให้  มาเป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูล  ช่วยเหลือ  สมานฉันท์ซึ่งกันและกัน  จะกลายเป็นพลังทางสังคม  กลายเป็นทุนทางสังคม  หรือ  Social  Capital  ที่ยิ่งใหญ่  และนั่นแหละจะเป็นฐานที่เข้มแข็งของสังคมไทย  และจะเป็นฐานที่สร้างความดีที่ผมว่าขาดไปในสังคมไทย  หรือพร่องไป  เรามีความสามารถ  เรามีความสุขพอประมาณ  แต่ความดีเราพร่องไป  ต้องเติมเรื่องของความดี และจะเติมได้ด้วยการกระทำทั้งหลายที่เป็นไปในทางสร้างสรรค์  เป็นไปในทางที่จะรวมพลังกัน โดยเฉพาะรวมพลังด้านภาคประชาชน

 

ผมคิดว่า  ถ้าคณะคุณหมอประเวศ  คณะคุณอานันท์  ได้ทำหน้าที่  ระหว่างที่ทำหน้าที่  ท่านไม่ต้องรอจนเขาเสนอผลงาน เพราะว่ามีข้อเสนอมาเยอะแล้ว แล้วผมเชื่อว่าทั้ง 2 คณะนี้จะรีบเสนอโดยเร็ววัน มีอะไรบ้างที่เสนอได้คงจะรีบเสนอมา เพราะฝ่ายประชาชนเขามีข้อเสนอมาแล้วนะครับ  ผมได้มาหลายปึกเลยครับจากทางด้านชุมชน  ซึ่งเขากลั่นกรองมาหลายรอบแล้ว  พร้อมเสนอได้เลย  ท่านก็ไปเลือกเอาและลงมือทำได้  ท่านก็จะได้ทั้งการปฏิรูป  พร้อมกับการสมานฉันท์ทางอ้อม  เป็นการสมานฉันท์ขั้นพื้นฐาน  แม้คุณหมอประเวศและคุณอานันท์จะบอกว่าไม่ใช่เรื่องปรองดอง  แต่ผมคิดว่า ถ้าปฏิรูปได้ดี  กระบวนการปฏิรูปที่ดีคือกระบวนการปรองดอง เพราะคนทุกฝ่ายเข้ามาทำงานด้วยกัน

เปรียบเสมือนบ้านเรากำลังพังกำลังทรุด  แล้วคนที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันซ่อมบ้านสร้างบ้าน นั่นแหละเขาสมานฉันท์โดยไม่รู้ตัว คนที่ไปช่วยกันกวาดขยะและซ่อมสิ่งสลักหักพังที่ราชประสงค์ เขาสมานฉันท์โดยไม่รู้ตัว แล้วถ้าปฏิรูปดี ผลดีเกิดขึ้น คนเกิดความสุขความชื่นชม ความสมานฉันท์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ  แต่สำหรับประเทศไทยอาจจะไม่พอ ต้องมีความสมานฉันท์ทางตรงด้วย  คือต้องมีความสมานฉันท์อันเนื่องมาจากการเผชิญหน้า ปะทะรุนแรง เพราะยังมีเรื่องความเป็นธรรม เรื่องการเยียวยา เรื่องการที่จะสร้างความโปร่งใส การค้นหาความเป็นจริง การให้กระบวนการยุติธรรมได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา การเกิดสำนึกที่จะขอโทษและให้อภัย  แล้วก็มาปรองดอง  คำว่าปรองดองนี้จะรวมถึงการขอโทษและการให้อภัยด้วย  แล้วก็มาร่วมกันสร้างประเทศไทย  สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่น่าอยู่ เป็นสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เป็นสังคมที่จะเป็นตัวอย่างของประเทศอื่นๆ ได้ เพราะเรามีศักยภาพครับที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศอื่นๆ ในการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์สันติสุขได้ ผมก็หวังว่าความพยายามของรัฐบาล ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะทำให้เกิดอนาคตของประเทศไทยที่ดีกว่า บนพื้นฐานของความปรองดอง น่าจะเป็นไปได้

สุดท้ายครับ ผมขออนุญาตพูดต่อหน้าท่านนายกฯ และท่านสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์  ว่าผมเป็นคนหนึ่งที่มีความชื่นชม เคารพนับถือท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะที่ท่านเป็นคนดี มีความฉลาด มีความซื่อตรง คนที่เป็นคนดี คนฉลาด คนซื่อตรง ภาษาบาลีเรียกว่าเป็น “สัตบุรุษ” สัตตะ แปลว่าเป็นคนดี คนฉลาด คนซื่อตรง ฉะนั้นเราอาจจะเรียกท่านว่า คุณอภิสิทธิ์สัตตะ (ปรบมือ) หรือสัตตอภิสิทธิ์  แต่  แต่ครับ  แม้ท่านเป็นคนดี เป็นคนฉลาด เป็นคนซื่อตรงก็จริง  แต่ท่านยังมีปณิธาน มีจุดมุ่งหมาย 2 เรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับสังคมไทยในปัจจุบัน คือ 1 สร้างความปรองดอง  และ2 ปฏิรูปประเทศไทยให้ดีกว่าเดิม ต้องมีสร้อยต่อครับว่าต้องปฏิรูปให้ดีกว่าเดิม ไม่ใช่ปฏิรูปแล้วเละเทะเลยนะครับ  (หัวเราะ)  ปฏิรูปแล้วแย่กว่าเดิมก็ไม่ดีนะครับ  ฉะนั้นท่านต้องสร้างความปรองดองความสมานฉันท์ที่แท้จริงให้เกิดขึ้น  และต้องปฏิรูปประเทศไทยให้ดีกว่าเดิม ไหนๆ จะลงทุนลงแรงปฏิรูปต้องทำให้ดีกว่าเดิมใช่ไหมครับ

อย่างประเทศญี่ปุ่น ประเทศเยอรมัน รวมถึงอิตาลี เขาแพ้สงคราม เขาปฏิรูปจนดีกว่าเดิมไม่รู้กี่เท่า อัฟริกาใต้ก็ปฏิรูปแล้วดีกว่าเดิม หลายประเทศที่ประสบปัญหาภายในเขาปฏิรูปแล้วดีกว่าเดิม เราก็ต้องทำได้ ต้องปฏิรูปแล้วดีกว่าเดิม ถ้าท่านนายกฯ ทำ 2 เรื่องแล้วสำเร็จนะครับ  จะเลื่อนฐานะจากสัตบุรุษ คือ  “คนดี คนฉลาด คนซื่อตรง” เป็น  “ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว”

ท่านมีความมุ่งหมาย 2 ข้อ คือ 1 ปรองดอง 2 ปฏิรูป ปรองดองก็คือให้เกิดความสมานฉันท์ เลิกแบ่งข้างเลิกทะเลาะแต่มาร่วมมือกันสร้างสรรค์ประเทศ แล้วก็ร่วมมือกันปฏิรูป ปฏิรูปแล้วประเทศไทยดีกว่าเดิม ถ้าท่านทำเช่นนั้นได้ ภาษาบาลีเขาเรียกว่า “สิทธัตถะ” สิทธัตถะ ไม่ใช่ชื่อพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียวนะครับ  เป็นคำภาษาบาลีที่มีความหมายว่า  “ผู้สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว”  ฉะนั้นท่านจะเลื่อนฐานะจาก  “สัตตอภิสิทธิ์”  หรือ  “อภิสิทธิ์สัตตะ”  เป็น  “อภิสิทธัตถะ”  ครับ  (ปรบมือ)  ผมขอเอาใจช่วยนะครับ  ด้วยความจริงใจ  และผมเชื่อว่าคนในประเทศไทยจำนวนมากเลยเอาใจช่วยท่าน  ทั้งชื่นชมและเอาใจช่วย แต่แน่นอนครับ ในประเทศไทยคนที่ไม่ชอบท่านก็มี (หัวเราะ) เป็นธรรมชาติครับ เป็นสัจธรรม  แม้แต่พระพุทธเจ้ายังมีคนไม่ชอบได้  เราเป็นคนธรรมดามีคนไม่ชอบเป็นเรื่องธรรมดามากนะครับ  แต่ผมคิดว่าคนจำนวนมากชอบท่าน ชื่นชมท่าน และอยากให้ท่านขยับฐานะจาก  “สัตตอภิสิทธิ์”  หรือ  “อภิสิทธิ์สัตตะ”  เป็น  “อภิสิทธัตถะ”  คือทำภารกิจใหญ่เรื่องความปรองดองและการปฏิรูปให้สำเร็จได้อย่างน่าพอใจ  ขอบคุณและสวัสดีครับ

(เรียบเรียงขัดเกลา  4/8/53)

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/381530

<<< กลับ