ทำอย่างไรจึงจะได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง

ทำอย่างไรจึงจะได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง


ผู้ปกครองบ้านเมือง” น่าจะหมายถึง “นักการเมือง” ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น

การจะได้ “นักการเมือง” ดีแค่ไหน น่าจะขึ้นอยู่กับ “ปัจจัยหลัก 3 เส้า” ได้แก่ (1) คุณภาพของประชาชนและสังคม (2) คุณภาพของระบบเกี่ยวกับการเมือง และ (3) คุณภาพของนักการเมือง ซึ่งแสดงเป็นภาพได้ดังนี้

แต่ละปัจจัยหลักจาก “ปัจจัยหลัก 3 เส้า” จะมีผลต่ออีก 2 ปัจจัยหลัก ดังนั้นจึงควรใช้ความพยายามอย่างจริงจังและอย่างต่อเนื่อง ในวันที่จะทำให้แต่ละปัจจัยหลัก คือ (1) คุณภาพของประชาชนและสังคม (2) คุณภาพของระบบเกี่ยวกับการเมือง และ (3) คุณภาพของนักการเมือง ดีขึ้นและดีขึ้นอยู่เสมอเท่าที่สามารถทำได้

ทั้งนี้ควรเป็นการดำเนินการในทุกระดับของการเมืองการปกครอง ตั้งแต่ระดับฐานรากคือระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ โดยเฉพาะท้องถิ่นมักถูกละเลย จึงควรให้ความสำคัญกับระดับท้องถิ่นให้มากพอ ถ้ามีการพัฒนาที่ดีในระดับท้องถิ่น จะเกิดผลดีต่อประชาชนฐานรากโดยตรงและในทันที พร้อมกับจะส่งผลดีและเป็นรากฐานมั่นคงให้กับการพัฒนาในระดับชาติด้วย

ในแผนการและมาตรการพัฒนาประชาชนและสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รวมถึงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ควรเน้นการพัฒนา “คุณธรรมความดี” ให้มากเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนและสังคมมีคุณภาพดี ช่วยนำสู่การมีระบบเกี่ยวกับการเมืองที่มีคุณภาพดี และช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีนักการเมืองคุณภาพดี หรือเพิ่มโอกาสที่จะได้คนดีมาปกครองบ้านเมืองนั่นเอง

              ในกรณีที่มีปัญหา “คนไม่ดี” มาปกครองบ้านเมือง และเป็นกรณีที่มีความชัดเจนพอ ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ วิธีแก้ปัญหานี้ทางหนึ่งที่อาจนำมาปฏิบัติได้ คือ “ไม่สมาคมด้วย” เช่น ไม่รับตำแหน่งที่นักการไม่ดีเป็นผู้แต่งตั้งไม่ทำงานให้กับนักการเมืองที่ไม่ดี หรือถ้าดำรงตำแหน่งซึ่งนักการเมืองที่ไม่เป็นผู้แต่งตั้งก็ลาออกเสีย เป็นต้น

(บันทึกความคิดสำหรับการอภิปรายหัวข้อ “ทำอย่างไรจึงจะได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง” ซึ่งมีผู้ร่วมอภิปรายอีก 2 ท่าน คือ คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ และผศ.ปิยะ กิจถาวร โดยมีดร.พิมล หรือตระกูล เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย การอภิปรายนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการบรรยายพิเศษ ครั้งที่ 3/2549 เรื่อง “ตามแนวพระบรมราโชวาทส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง” จัดโดย สถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 ณ โรงแรมเจบี หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

26 ก.ค. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ : https://www.gotoknow.org/posts/40977

<<< กลับ

งานพระราชทานเพลิงศพ

งานพระราชทานเพลิงศพ


ผู้ร่วมงานสามารถจอดรถห้างสรรพสินค้าฝั่งตรงข้ามวัดธาตุทองได้ทั้ง2วัน

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/494491

<<< กลับ

ข่าวการเสียชีวิตของ อ.ไพบูลย์

ข่าวการเสียชีวิตของ อ.ไพบูลย์


ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกฯ เสียชีวิตแล้ว วันนี้ (9 เมษายน) ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ในวัย 71 ปี

วันนี้ (9 เมษายน) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลชั่วคราวของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ด้วยวัย 71 ปี เมื่อเวลา 13.43 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังป่วยมาเป็นระยะเวลานาน และเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนานประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนจะสิ้นใจอย่างสงบ ซึ่งจะมีการตั้งศพที่วัดธาตุทอง และอยู่ระหว่างการประสานงานขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

ทั้งนี้ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2484 ที่บ้านนาคู ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้สมรสกับ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีบุตร-ธิดา ด้วยกัน 2 คน คือ นายพิชา วัฒนศิริธรรม และ นางชมพรรณ กุลนิเทศ

สำหรับประวัติการทำงานด้านการเมืองของ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลชั่วคราวของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพิ่มอีกตำแหน่ง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 ต่อมา นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/484703

<<< กลับ

ประวัติไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (ภาษาไทยฉบับเติม)

ประวัติไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (ภาษาไทยฉบับเติม)


คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นนักกิจกรรมพัฒนาสังคมอิสระ ซึ่งเน้นการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการและเป็นองค์รวม (Integrative and Holistic Societal Development) และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างเสริมพลังชุมชนท้องถิ่น (Local Community Empowerment) เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีความดีงามเข้มแข็งเป็นสุข, การพัฒนาองค์กรรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ให้มีความดี ความสามารถ และความสุข อย่างเพียงพอและได้สมดุล, การกระจายอำนาจการปกครองให้ชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ (ระดับ อบต. ระดับเทศบาล และระดับจังหวัด) สามารถจัดการตนเองได้อย่างมากที่สุด, การพัฒนาประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำอย่างจริงจังและกว้างขวาง (Deliberative Democracy), การพัฒนาสันติวัฒนธรรม(Culture of Peace) และกระบวนการสันติวิธี (Peacebuilding Processes), การสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม (Holistic Health Promotion) และการส่งเสริมคุณธรรมความดี (Goodness, Virtues, Morality and Ethics) ในทุกส่วนและทุกระดับของสังคม

ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2551 คุณไพบูลย์ได้ร่วมในรัฐบาลที่มี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และต่อมา (ตั้งแต่มีนาคม 2550) ได้ดำรงตำแหน่งรองนายก-รัฐมนตรีดูแลด้านสังคมเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่ง

ประสบการณ์ชีวิตการทำงานของคุณไพบูลย์ มีความผันแปรและหลากหลายค่อนข้างมาก เริ่มจากการเป็นเจ้าหน้าที่และผู้บริหารในธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2510-2523) ได้รับการยืมตัวไปเป็นกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.2523-2525) ออกไปเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทั่วไปธนาคารไทยทนุ จำกัด (พ.ศ.2526-2531) จากนั้นผันตนเองออกจากวงการธุรกิจเข้าสู่ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน โดยเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ.2531-2540) เป็นกรรมการผู้จัดการสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง (พชม.) ซึ่งทำงานพัฒนาชุมชนแออัดทั่วประเทศโดยมีกองทุนเริ่มต้น 1,250 ล้านบาท ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (พ.ศ.2540-2543) โดยมีพันธกิจที่จะทำให้ธนาคารออมสินเป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” ท้ายสุดก่อนถึงวัยเกษียณอายุเล็กน้อยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) (พ.ศ. 2543-2547) และในช่วงหลังวัยเกษียณอายุนี้ คุณไพบูลย์ได้เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาสังคมในหลากหลายประเด็น และกับหลากหลายสถาบัน โดยมีการแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เป็นระยะ ๆ จวบจนปัจจุบัน

ในทางการเมืองหรือกึ่งการเมือง คุณไพบูลย์เป็นสมาชิกวุฒิสภา (พ.ศ.2539-2543) เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2548) และเป็นประธานสภาผู้ชมผู้ฟังรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) (พ.ศ. 2551-2552)

คุณไพบูลย์เป็นนักเรียนทุนรุ่นที่ 1 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ ( B.Sc. (Econ.)) จากมหาวิทยาลัยฮัลล์ (University of Hull) ประเทศอังกฤษ และได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณไพบูลย์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2484 ที่ ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมรสกับคุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม (อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)) มีบุตร 1 คน ธิดา 1 คน และมีหลานปู่ 1 คน หลานตา 2 คน
กรกฏาคม 2554

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/450613

<<< กลับ

หนทางสู่ความสุข

หนทางสู่ความสุข


( PowerPoint และเอกสารประกอบการเสวนา หัวข้อ “หนทางสู่ความสุข” เมื่อ 3 ธ.ค. 53 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมวิชาการประจำปีจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 3 ภายใต้แนวเรื่อง “ความสุขกับการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของมนุษย์” วันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2553 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร จัดโดย ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล)

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/413903

<<< กลับ

ประวัติย่อของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เดือน กรกฎาคม 2553

ประวัติย่อของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เดือน กรกฎาคม 2553


ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

ประธานกรรมการ มูลนิธิหัวใจอาสา

อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ตำแหน่งงานที่สำคัญในอดีต

: เจ้าหน้าที่และผู้บริหารในธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2510 – 2523)

: กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.2523 – 2525)

: ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) (พ.ศ.2526 – 2531)

: ผู้อำนวยการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ.2531 – 2540)

: กรรมการผู้จัดการ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ (พ.ศ.2535 – 2540)

: สมาชิกวุฒิสภา (มีนาคม 2539 – มีนาคม 2543)

: ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ธันวาคม 2540 – ตุลาคม 2543)

: ประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พ.ศ.2543 – 2547)

: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (8 ตุลาคม 2549 – 5 กุมภาพันธ์ 2551)

: รองนายกรัฐมนตรี (7 มีนาคม 2550 – 5 กุมภาพันธ์ 2551)

ตำแหน่งภารกิจปัจจุบัน

: ประธานกรรมการ มูลนิธิหัวใจอาสา (ตั้งแต่ 28 เมษายน 2551)

: ประธานคณะที่ปรึกษา สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ มกราคม 2550)

: กรรมการ หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน สถาบันพระปกเกล้า (ตั้งแต่ ปี 2550)

: กรรมการอำนวยการศึกษา วิทยาลัยสมานฉันท์สันติสุข สถาบันพระปกเกล้า (ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2550)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่ปี 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ตั้งแต่ปี 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ตั้งแต่ปี 2551)

: กรรมการ สภาสถาบันอาศรมศิลป์ (ตั้งแต่ปี 2551)

: กรรมการ กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง (ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2551)

: ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) (ตั้งแต่ ตุลาคม 2551)

: กรรมการ คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม (ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน 2552)

: กรรมการ คณะกรรมการส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (ตั้งแต่ พฤษภาคม 2553)

: กรรมการ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (ตั้งแต่ กรกฎาคม 2553)

มูลนิธิหัวใจอาสา

มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ให้คำปรึกษา จัดกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมหรือดำเนินการ เกี่ยวกับการจัดการเชิงระบบและอย่างเป็นขบวนการ ในงานพัฒนาสังคม ที่รวมถึงการพัฒนางานอาสาสมัคร การส่งเสริมการทำความดี การสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาประชาสังคม และอื่นๆ

ปัจจุบัน มูลนิธิฯ มีแผนงานสำคัญที่ดำเนินงานอยู่ 3 แผนงาน โดยมี “กองทุน” สนับสนุนแผนงานด้วย ได้แก่ (1) แผนงาน/กองทุนส่งเสริมสันติวิธีเพื่อสังคม (2) แผนงาน/กองทุนส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งเป็นสุข (3) แผนงาน/กองทุนส่งเสริมการแบ่งปันในสังคม

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/377675

<<< กลับ

ประวัติของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เดือน กรกฎาคม 2553

ประวัติของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เดือน กรกฎาคม 2553


เกิด : 24 มีนาคม พ.ศ. 2484

สถานที่เกิด : บ้านนาคู ต.นาคู อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

การศึกษา : B.Sc. (Econ), มหาวิทยาลัย Hull ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2510)

: ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาเศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (พ.ศ. 2545)

: ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2548)

: พัฒนาชุมชนดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2552)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2541)

: ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (พ.ศ. 2546)

: มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. 2550)

การฝึกอบรมที่สำคัญ :SEANZA Central Banking Course(พ.ศ. 2517)

: Australian Management College Mount Eliza : Advanced Management Course (พ.ศ. 2521)

: Wharton School of Finance – Philadelphia National Bank : Advanced Management Program for Overseas Bankers (พ.ศ. 2528)

: Institute of Development Research : Asian NGO Leadership Fellows Program
(พ.ศ. 2534)

: สถาบันพระปกเกล้า : การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับ
นักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2539)

ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งงานที่สำคัญในอดีต

: เจ้าหน้าที่และผู้บริหารในธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2510-2523)

: กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2523-2525)

: ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2526-2531)

: ผู้อำนวยการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
(พ.ศ. 2531 – 2540)

: กรรมการผู้จัดการ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ
(พ.ศ. 2535-2540)

: สมาชิกวุฒิสภา (มีนาคม 2539-มีนาคม 2543)

: ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ธันวาคม 2540-ตุลาคม 2543)

: ประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2543-2547)

: สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สิงหาคม 2544- สิงหาคม 2548)

: ประธานกรรมการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)(กรกฎาคม 2548-2549) (เป็นกรรมการ กรกฎาคม 2547 – 2548)

: ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 (แผนสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่และชุมชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (มีนาคม 2548 – 2549) (เป็นกรรมการ 2543 – 2547)

: ประธานที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (กันยายน 2548 – 2549) (เป็นประธาน 2543 – 2547)

: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (8 ตุลาคม 2549 – 5 กุมภาพันธ์ 2551)

: รองนายกรัฐมนตรี(7 มีนาคม 2550 – 5 กุมภาพันธ์ 2551)

กิจกรรมอื่นๆในอดีต

ด้านองค์กรภาครัฐ : ประธาน คณะกรรมการโครงการพัฒนาชีวิตครู กระทรวงศึกษาธิการ (2544 – 2545)(เป็นที่ปรึกษา 2546 – 2549)

: กรรมการ คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย (2547-2548)

: กรรมการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2541-2549)

: กรรมการนโยบาย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) (2547-2549)

: ที่ปรึกษา คณะกรรมการวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) (2548) (เป็นประธาน 2546-2547)

: อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง (2546-2549)

: ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2546-2549)

: กรรมการ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) (2544-2549)

: กรรมการ คณะกรรมการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) (2546-2549)

: ที่ปรึกษา ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชน (ศตจ.ปชช.) (2549 – 2549)

: กรรมการ คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (2545-2549, 2551-2553)

: ประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สสท.) (2551-2552)

ด้านองค์กรพัฒนาเอกชน

: ประธานกรรมการ มูลนิธิกองทุนไทย (2543-2549)

: ประธานกรรมการ มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น (2548) (เป็นกรรมการ 2546-2549)

: กรรมการ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) (2539 – 2549)

: กรรมการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิอาจารณ์ป๋วย (2543-2549)

:ประธานคณะกรรมการอำนวยการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2545 – 2547) (เป็นที่ปรึกษา 2548 – 2549) (เป็นกรรมการ 2528 – 2545)

ด้านสถาบันการศึกษา : กรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (2541-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2545-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยมหิดล (2545-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (2547-2549)

ตำแหน่งภารกิจปัจจุบัน

: ประธานกรรมการ มูลนิธิหัวใจอาสา (ตั้งแต่ 28 เมษายน 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ตั้งแต่ 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ตั้งแต่ 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่ 2551)

: กรรมการ สภาสถาบันอาศรมศิลป์ (ตั้งแต่ 2551)

: ประธานคณะที่ปรึกษา สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ มกราคม 2550)

: กรรมการ หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน สถาบันพระปกเกล้า (ตั้งแต่ ปี 2550)

: กรรมการอำนวยการศึกษา วิทยาลัยสมานฉันท์สันติสุข สถาบันพระปกเกล้า (ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2550)

: กรรมการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิอาจารณ์ป๋วย (ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2551)

: ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ตั้งแต่ เมษายน 2551)

: ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2551)

: กรรมการ กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง (ตั้งแต่ 6 พฤศจิกายน 2551)

: กรรมการ คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม (ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน 2552)

: ประธาน คณะอนุกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) (ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2552)

: กรรมการ คณะกรรมการส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (ตั้งแต่ พฤษภาคม 2553)

: กรรมการ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (ตั้งแต่ กรกฎาคม 2553)

รางวัลที่ได้รับ

: ศิษย์เก่าดีเด่น มอบโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537

: ครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง มอบโดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2542

: นักบริหารดีเด่น สาขานักบริหาร-นักพัฒนาสังคม มอบโดย นสพ. เส้นทางเศรษฐกิจ สนับสนุนโดยมูลนิธิเพื่อสังคมไทย พ.ศ. 2545

: โล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาความมั่นคงในการดำรงชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา มอบโดยสำนักคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548

: พ่อดีเด่นแห่งปีของกรุงเทพมหานคร มอบโดยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/377673

<<< กลับ

ประวัติ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ณ เมษายน 2553

ประวัติ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ณ เมษายน 2553


เกิด : 24 มีนาคม พ.ศ. 2484

สถานที่เกิด :บ้านนาคู ต.นาคู อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

การศึกษา : B.Sc. (Econ), มหาวิทยาลัย Hull ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2510)

: ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาเศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (พ.ศ. 2545)

: ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2548)

: พัฒนาชุมชนดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2552)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2541)

: ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (พ.ศ. 2546)

: มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. 2550)

การฝึกอบรมที่สำคัญ :SEANZA Central Banking Course(พ.ศ. 2517)

: Australian Management College Mount Eliza : Advanced Management Course (พ.ศ. 2521)

: Wharton School of Finance – Philadelphia National Bank : Advanced Management Program for Overseas Bankers (พ.ศ. 2528)

: Institute of Development Research : Asian NGO Leadership Fellows Program (พ.ศ. 2534)

: สถาบันพระปกเกล้า : การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2539)

ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งงานที่สำคัญในอดีต

: เจ้าหน้าที่และผู้บริหารในธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2510-2523)

: กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2523-2525)

: ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2526-2531)

: ผู้อำนวยการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2531 – 2540)

: กรรมการผู้จัดการ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ (พ.ศ. 2535-2540)

: สมาชิกวุฒิสภา (มีนาคม 2539-มีนาคม 2543)

: ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ธันวาคม 2540-ตุลาคม 2543)

: ประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2543-2547)

: สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สิงหาคม 2544- สิงหาคม 2548)

: ประธานกรรมการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)(กรกฎาคม 2548-2549) (เป็นกรรมการ กรกฎาคม 2547 – 2548)

: ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 (แผนสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่และชุมชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (มีนาคม 2548 – 2549) (เป็นกรรมการ 2543 – 2547)

: ประธานที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (กันยายน 2548 – 2549) (เป็นประธาน 2543 – 2547)

: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (8 ตุลาคม 2549 – 5 กุมภาพันธ์ 2551)

: รองนายกรัฐมนตรี(7 มีนาคม 2550 – 5 กุมภาพันธ์ 2551)

กิจกรรมอื่นๆในอดีต

ด้านองค์กรภาครัฐ : ประธาน คณะกรรมการโครงการพัฒนาชีวิตครู กระทรวงศึกษาธิการ (2544 – 2545)(เป็นที่ปรึกษา 2546 – 2549)

: กรรมการ คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย (2547-2548)

: กรรมการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2541-2549)

: กรรมการนโยบาย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) (2547-2549)

: ที่ปรึกษา คณะกรรมการวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) (2548) (เป็นประธาน 2546-2547)

: อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง (2546-2549)

: ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2546-2549)

: กรรมการ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) (2544-2549)

: กรรมการ คณะกรรมการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) (2546-2549)

: ที่ปรึกษา ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชน (ศตจ.ปชช.) (2549 – 2549)

: กรรมการ คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (2545-2549, 2551-2553)

: ประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สสท.) (2551-2552)

ด้านองค์กรพัฒนาเอกชน

: ประธานกรรมการ มูลนิธิกองทุนไทย (2543-2549)

: ประธานกรรมการ มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น (2548) (เป็นกรรมการ 2546-2549)

: กรรมการ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) (2539 – 2549)

: กรรมการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิอาจารณ์ป๋วย (2543-2549)

:ประธานคณะกรรมการอำนวยการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2545 – 2547) (เป็นที่ปรึกษา 2548 – 2549) (เป็นกรรมการ 2528 – 2545)

ด้านสถาบันการศึกษา : กรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (2541-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2545-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยมหิดล (2545-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (2547-2549)

ตำแหน่งภารกิจปัจจุบัน

: ประธานกรรมการ มูลนิธิหัวใจอาสา (ตั้งแต่ 28 เมษายน 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ตั้งแต่ 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ตั้งแต่ 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่ 2551)

: กรรมการ สภาสถาบันอาศรมศิลป์ (ตั้งแต่ 2551)

: ประธานคณะที่ปรึกษา สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ มกราคม 2550)

: กรรมการอำนวยการศึกษา วิทยาลัยสมานฉันท์สันติสุข สถาบันพระปกเกล้า
(ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2550)

: กรรมการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิอาจารณ์ป๋วย (ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2551)

: ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ตั้งแต่ เมษายน 2551)

: ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2551)

: กรรมการ กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง (ตั้งแต่ 6 พฤศจิกายน 2551)

: กรรมการ คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม (ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน 2552)

: ประธาน คณะอนุกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) (ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2552)

รางวัลที่ได้รับ

: ศิษย์เก่าดีเด่น มอบโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537

: ครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง มอบโดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2542

: นักบริหารดีเด่น สาขานักบริหาร-นักพัฒนาสังคม มอบโดย นสพ. เส้นทางเศรษฐกิจ สนับสนุนโดยมูลนิธิเพื่อสังคมไทย พ.ศ. 2545

: โล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาความมั่นคงในการดำรงชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา มอบโดยสำนักคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548

: พ่อดีเด่นแห่งปีของกรุงเทพมหานคร มอบโดยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/350357

<<< กลับ

ภาพถ่ายครอบครัว ไพบูลย์ – คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ณ 28 มิ.ย. 52

ภาพถ่ายครอบครัว ไพบูลย์ – คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ณ 28 มิ.ย. 52


(แถวหน้า จากซ้าย) ณัฏฐพร วัฒนศิริธรรม ดช.พาวิชช์ วัฒนศิริธรรม ชมพรรณ กุลนิเทศ ดญ.นัทธมน กุลนิเทศ

(แถวหลัง จากซ้าย) พิชา วัฒนศิริธรรม ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ณัฐวุฒิ กุลนิเทศ

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/273078

<<< กลับ

ประวัติ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ณ สิงหาคม 2552

ประวัติ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ณ สิงหาคม 2552


เกิด :24 มีนาคม พ.ศ. 2484

สถานที่เกิด :บ้านนาคู ต.นาคู อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

การศึกษา : B.Sc. (Econ), มหาวิทยาลัย Hull ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2510)

: ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาเศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
(พ.ศ. 2545)

: ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการพัฒนาชุมชน)
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2548)

: พัฒนาชุมชนดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2552)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2541)

: ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (พ.ศ. 2546)

: มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. 2550)

การฝึกอบรมที่สำคัญ :SEANZA Central Banking Course(พ.ศ. 2517)

: Australian Management College Mount Eliza : Advanced Management Course
(พ.ศ. 2521)

: Wharton School of Finance – Philadelphia National Bank : Advanced Management
Program for Overseas Bankers (พ.ศ. 2528)

: Institute of Development Research : Asian NGO Leadership Fellows Program
(พ.ศ. 2534)

: สถาบันพระปกเกล้า : การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง
(ปปร.) รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2539)

ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งงานที่สำคัญในอดีต

: เจ้าหน้าที่และผู้บริหารในธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2510-2523)

: กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2523-2525)

: ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2526-2531)

: ผู้อำนวยการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
(พ.ศ. 2531 – 2540)

: กรรมการผู้จัดการ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ
(พ.ศ. 2535-2540)

: สมาชิกวุฒิสภา (มีนาคม 2539-มีนาคม 2543)

: ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน (ธันวาคม 2540-ตุลาคม 2543)

: ประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
(พ.ศ. 2543-2547)

: สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สิงหาคม 2544- สิงหาคม 2548)

: ประธานกรรมการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม
(ศูนย์คุณธรรม) (กรกฎาคม 2548-2549) (เป็นกรรมการ ตั้งแต่ กรกฎาคม 2547)

: ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 (แผนสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่และชุมชน)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (มีนาคม 2548 – 2549)
(เป็นกรรมการ 2543 – 2547)

: ประธานที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
(กันยายน 2548-2549) (เป็นประธาน 2543 -2547)

: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(8 ตุลาคม 2549-5 กุมภาพันธ์ 2551)

: รองนายกรัฐมนตรี(7 มีนาคม 2550-5 กุมภาพันธ์ 2551)

กิจกรรมอื่นๆในอดีต

ด้านองค์กรภาครัฐ : ที่ปรึกษา คณะกรรมการโครงการพัฒนาชีวิตครู กระทรวงศึกษาธิการ
(2546)(เป็นประธาน 2544-2545)

: กรรมการ คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย (2547-2548)

: กรรมการ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2541-2549)

: กรรมการนโยบาย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) (2547-2549)

: ที่ปรึกษา คณะกรรมการวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) (2548)
(เป็นประธาน 2546-2547)

: อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง (2546-2549)

: ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2546-2549)

: กรรมการ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.)
(2544-2549)

: กรรมการ คณะกรรมการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ
(ศตจ.) (2546-2549)

: ที่ปรึกษา ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชน
(ศตจ.ปชช.) (2549 -2549)

: กรรมการ คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (2545-2549)

ด้านองค์กรพัฒนาเอกชน

: ประธานกรรมการ มูลนิธิกองทุนไทย (2543-2549)

: ประธานกรรมการ มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น (2548) (เป็นกรรมการ 2546-2549)

: กรรมการ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) (2539 – 2549)

: กรรมการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิอาจารย์ป๋วย (2543-2549)

:ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2548- 2549) (เป็นประธาน 2545-47) (เป็นกรรมการ 2528-45)

ด้านสถาบันการศึกษา : กรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (2541-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2545-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยมหิดล (2545-2549)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (2547-2549)

ตำแหน่งภารกิจปัจจุบัน

: ประธานกรรมการ มูลนิธิหัวใจอาสา (ตั้งแต่ 28 เมษายน 2551)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ตั้งแต่ 2541)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ตั้งแต่ 2545)

: กรรมการ สภามหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่ 2545)

: ประธานคณะที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตั้งแต่ มกราคม 2550)

: กรรมการอำนวยการศึกษาวิทยาลัยสมานฉันท์สันติสุข สถาบันพระปกเกล้า
(ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2550)

: กรรมการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ มูลนิธิอาจารย์ป๋วย (ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2551)

: กรรมการ คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (ตั้งแต่ เมษายน 2551)

: ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)
(ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2551 )

: ประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ องค์การกระจายเสียง
และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สสท.) (ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน 2551)

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/260470

<<< กลับ