“ในหลวง-ราชินี”พระราชทานดอกไม้”ไพบูลย”

“ในหลวง-ราชินี”พระราชทานดอกไม้”ไพบูลย”


(ข่าวจาก นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550 หน้า 14)

                ศ.นพ.วินิต พัวประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อม รศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ หัวหน้าหน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะแพทย์เจ้าของไข้นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แถลงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ว่า หลังทำบัลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน 1 เส้น ล่าสุดนายไพบูลย์อาการดีขึ้น ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่มีอาการแน่นหน้าอก หรือวิงเวียนศีรษะ ลุกนั่ง ยืน และเดิน รวมทั้งรับประทานอาหาร และพูดคุยได้ตามปกติ

                รศ.นพ.สรณกล่าวว่า ขณะนี้ได้ถอดสายออกซิเจนแล้ว แต่ยังไม่ควรเดินมากนัก เพราะอาการเพิ่งพ้นวิกฤตระยะแรก ยังจำเป็นต้องเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป จึงไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมไปจนถึงสัปดาห์หน้า และยังต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องบำบัดผู้ป่วยวิกฤต (ซีซียู) ต่อไป สำหรับหลอดเลือดที่มีอาการตีบอีก 2 เส้น คาดว่าจะทำบัลลูนภายในสัปดาห์หน้า จากนั้นจะย้ายนายไพบูลย์ไปพักที่ห้องพักผู้ป่วยธรรมดาต่อไป

                “คุณไพบูลย์ยังฝากขอบคุณนักข่าวที่เป็นห่วง และฝากถึงเพื่อนสนิทที่เป็นห่วงว่าไม่ต้องมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล เพราะอยากพักผ่อน และไม่ต้องส่งดอกไม้มาเยี่ยม ให้ส่งการ์ดหรืออี-เมลแทน หลังทำบัลลูนครั้งที่ 2 หากทุกอย่างเรียบร้อยเป็นไปตามแผนการรักษา คาดว่าคนไข้นอนพักรักษาตัวสักระยะจะสามารถกลับไปทำงานได้อย่างปกติในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้” รศ.นพ.สรณกล่าว และว่า ระหว่างนี้ หากนายไพบูลย์ต้องการทำงานก็ทำได้ แต่ต้องเป็นงานเอกสารเบาๆ แต่แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรมีงานเอกสารมากนัก

                วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังมีบุคคลสำคัญทยอยเข้าเยี่ยมนายไพบูลย์อย่างต่อเนื่อง

                อาทิ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้นำกระเช้าดอกไม้เข้าเยี่ยมราว 20 นาที จากนั้นให้สัมภาษณ์ว่า ไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนเรื่องงานช่วยแบ่งเบาภาระให้ในบางส่วน โดยงานของ พม.ได้มอบหมายให้ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงดูแลแทน และว่า ยอมรับว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดนี้อายุมากแล้ว โรคภัยต่างๆ ก็ต้องมี แต่ก็ได้กำชับให้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี

                เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ม.ร.ว.เทพกมล เทวกุล องคมนตรี อัญเชิญแจกันดอกไม้พระราชทานมอบให้นายไพบูลย์ที่ห้องซีซียูด้วย

                นพ.พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวว่า งานในกระทรวงคงไม่มีปัญหา เพราะงานส่วนใหญ่นายไพบูลย์ได้มอบหมายให้ตนดูแลอยู่แล้ว และควรให้นายไพบูลย์พักผ่อนอย่างน้อย 1 เดือน โดยไม่ไปรบกวนเลย เพราะยังต้องทำบัลลูนที่หัวใจอีก 2 เส้น จึงอยากให้พักผ่อนสบายๆ เพราะหัวใจเป็นจุดวิกฤตที่สุดของชีวิต

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/137483

<<< กลับ

งานสัปดาห์ที่อยู่อาศัย สร้างถิ่นฐานมั่นคง ด้วยวิถีชุมชนไทย

งานสัปดาห์ที่อยู่อาศัย สร้างถิ่นฐานมั่นคง ด้วยวิถีชุมชนไทย


(คำกล่าวเปิดงาน สัปดาห์ที่อยู่อาศัย สร้างถิ่นฐานมั่นคง ด้วยวิถีไทย” จัดโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ณ หอประชุมสหประชาชาติ )

     เนื่องในพิธีจัดงานสัปดาห์ที่อยู่อาศัย สร้างถิ่นฐานมั่นคง ด้วยวิถีชุมชนไทย

      ร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

                                    วันศุกร์ที่  ๕  ตุลาคม  ๒๕๕๐

                        ณ หอประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน

                                                                                            

นมัสการพระคุณเจ้า, Dr.Ravi Rathayake , Director of Poverty and Development Division, UNESCAP ท่านประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ท่านอธิบดีกรมธนารักษ์ ท่านรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้มีเกียรติทุกท่าน

                        ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเฉลิมฉลองวันที่อยู่อาศัยโลก ปี ๒๕๕๐ และเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศไทยในวันนี้

                ที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความมั่นคงของชีวิตและสังคม เกี่ยวพันกับสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่จะต้องมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่มีอิสระและมีศักดิ์ศรี เป็นปัจจัยที่เอื้อให้ครอบครัวมีความมั่นคง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกับสังคมภายนอกได้ จึงกล่าวได้ว่า ที่อยู่อาศัยถือเป็นพื้นฐานของการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และสร้างความสัมพันธ์ในสังคม ดังนั้นการพัฒนาที่อยู่อาศัย จึงมิใช่การทำโครงการเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่มีนัยสำคัญของการพัฒนาแบบองค์รวม ซึ่งครอบคลุมถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย

                รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าปัญหาที่อยู่อาศัยได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาอื่นๆ อันเป็นผลพวงจากปัญหาความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัยด้วย อาทิ การพัฒนาสภาพแวดล้อม ปัญหาสุขอนามัย ปัญหาความยากจน ปัญหาสังคม      

                ปัญหายาเสพติด เป็นต้น เพื่อให้บรรลุผลในการแก้ปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงให้การสนับสนุนด้านนโยบายและงบประมาณในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย ด้วยการให้ชุมชนบริหารจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ตามที่ชุมชนต้องการ โดยความร่วมมือกับภาคีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้การสนับสนุนโครงการบ้านเอื้ออาทร เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย 

                เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๕ บัญญัติว่า บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ หมายความว่ารัฐมีหน้าที่ที่จะต้องจัดสวัสดิการดังกล่าวให้ประชาชนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยและมีรายได้น้อย ทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาชุมชนบุกรุกที่ดิน และปัญหาคนเร่ร่อนอีกด้วย นับเป็นการเริ่มต้นของสังคมไทยที่บุคคลเหล่านั้นจะได้รับโอกาสให้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะเป็นหน่วยงานดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งเมืองและชนบททั่วประเทศ เพื่อให้คนไทยทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด สามารถมีโอกาสมีที่อยู่อาศัย เป็นรากฐานที่มั่นคง ของชีวิตและครอบครัว

                ในโอกาสที่หัวข้อหลักประจำปี ๒๕๕๐ ของวันที่อยู่อาศัยโลก คือ “A Safe City is a Just City” ซึ่งอาจแปลเป็นภาษาไทยว่า “เมืองที่ปลอดภัยคือเมืองที่เป็นธรรม” ซึ่งให้ความสำคัญกับนโยบายและยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคง ปลอดภัย และชีวิตที่เป็นธรรม ดังนั้น การสร้างให้เกิดระบบของรัฐและสังคมไทย ที่จะทำให้ประชาชนมีชีวิตอย่างมั่นคง ปลอดภัย และอยู่เย็นเป็นสุข จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง กว้างขวาง และต่อเนื่อง จึงเห็นได้ว่า การแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย โดยการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ร่วมกับภาคีอื่นๆ จะเป็นขบวนการพื้นฐานที่นำไปสู่การเสริมสร้างวิถีชีวิตที่มั่นคง ปลอดจากภัยคุกคามต่าง ๆ ตามที่สหประชาชาติได้ให้ความสำคัญไว้

                การจัดงาน “สัปดาห์ที่อยู่อาศัย สร้างถิ่นฐานมั่นคง ด้วยวิถีชุมชนไทย” ในครั้งนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐  พรรษา การสร้างมิติใหม่เพื่อให้คนจนมีสิทธิและมีความมั่นคงในการอยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงเป็นนักพัฒนาที่โดดเด่นในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ดังจะเห็นได้จากการที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัรติย์ ได้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดมาตั้งแต่เมื่อ ๒๐ ปีก่อน และมีแผนงานที่จะพัฒนาชุมชนแออัดในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้ดียิ่งขึ้นไปในอนาคต การจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดสัปดาห์    ซึ่งได้แก่ การเปิดชุมชน การลงเสาเอก การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ และอื่น ๆ โดยมีชุมชนทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ๘๐๐ ชุมชน ๘๐,๐๐๐ คน จึงถือเป็นวาระที่สำคัญ และเป็นมงคลยิ่งสำหรับพวกเราทุกคน

                สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมงานเฉลิมฉลองสัปดาห์ที่อยู่อาศัยในวันนี้ เพื่อทำให้การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในการร่วมกันสร้างหลักประกันอันเป็นพื้นฐานความมั่นคงที่สำคัญที่สุดของชีวิต ครอบครัว และสังคม ขอบคุณครับ

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/135337

<<< กลับ

คำกล่าวเปิดงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550”

คำกล่าวเปิดงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550”


คำกล่าวเปิดงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ ห้องประชุมคอนแวนชันเซ็นเตอร์ A (ชั้น 22) เซ็นทรัลเวิลด์

                                                                  คำกล่าวเปิด

                             ในพิธีเปิดงาน การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550”

                                            ( Thailand Research Expo 2007)

                                     ในวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2550 เวลา 09.30 น.

                                  ณ ห้องประชุมคอนเวนชันเซ็นเตอร์ A (ชั้น 22)

                ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี / ท่านประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ / กรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ / กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ / เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธาน / ในพิธีเปิดงาน “ การ นำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550” ( Thailand Research Expo 2007) ในวันนี้  ซึ่งเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 /โดยได้น้อมนำแนวพระราชดำริต่างๆ มานำเสนอในงานครั้งนี้ / ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักวิจัยที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ /โดยทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการศึกษาค้นคว้า / จนเกิดเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ มากมาย / เพื่อมุ่งแก้ปัญหาให้กับพสกนิกร / ซึ่งคนไทยควรได้เรียนรู้ที่จะดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทอย่างจริงจัง/ ด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์

“ การ นำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550” ( Thailand Research Expo 2007) ครั้งนี้/ถือได้ว่าเป็นความพยายามที่ดีมากในการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ / และการกระตุ้นความสนใจในการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัย / ให้แก่ประชาชนคนไทยให้ขยายผลต่อไป /  โดยเฉพาะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับทราบว่า/ ผลงานวิจัยของไทยมีคุณภาพอย่างไร/  ตรงกับความต้องการของประชาชนในทางเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่/ เพียงไร/  ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและความต้องการของตนเกี่ยวกับการวิจัย/ และสิ่งที่ควรมีการวิจัยต่อไปในอนาคต/ โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยโดยตรง

ท่านผู้ มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน/ การวิจัยนั้น ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ทรงคุณค่าสูงยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคม/ เป็นงานสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์/ โดยเฉพาะเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม/ เนื่องจากการวิจัยที่มีคุณภาพจะทำให้เกิดความรู้ใหม่/ หรือความคิดใหม่และแนวทางใหม่/  ซึ่งความรู้ใหม่นั้นจะนำมาสู่การแก้ไขปัญหาให้เกิดผลสำเร็จ/  ทำให้การพัฒนาสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด/ เพื่อไปสู่เป้าหมายที่สังคมมีความปราถนาร่วมกัน/   ในประเทศที่พัฒนาแล้ว/ ยามที่เกิดวิกฤตการณ์หรือมีปัญหาน้อยใหญ่ขึ้นมา/ ขณะที่ทางแก้ไขปัญหายังไม่กระจ่างชัดเจน/ ผู้คนในสังคมจะมองหาความรู้ทั้งเก่าและใหม่/ที่มีฐานมาจากกระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพ/  เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ความเป็นจริง/ และใช้ส่องหาแนวทางแก้ไขและหนทางออกจากปัญหาเหล่านั้น/  กล่าวได้ว่า  สังคมที่พัฒนาแล้วต่างเชื่อถือและรู้จักใช้งานวิจัยที่มีคุณภาพ/ มาเป็นแสงสว่างส่องนำให้เกิดปัญญา/  สังคมไทยของเราก็ควรจะมีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับรัฐบาลนี้/ ให้ความสำคัญอย่างสูงยิ่งกับการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ/ และการสร้างระบบการวิจัยของประเทศที่เข้มแข็ง หลายท่านในที่นี้ล้วนเป็นผู้ที่คว่ำหวอดในวงการวิจัยมายาวนาน/  ท่านย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า/ เรายังคงมีงานที่ต้องทำร่วมกันอีกมาก/ กว่าที่การวิจัยของไทยจะได้รับการพัฒนาจนถึงระดับที่น่าพอใจ/  ที่ผ่านมาได้มีการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า/ปัญหาหลักของระบบการวิจัยไทยอยู่ที่งบประมาณวิจัยน้อยเกินไป/  หรือการลงทุนจากภาครัฐต่ำเกินไป/ หลายๆท่านเห็นว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนนักวิจัยต่อประชากรรวมต่ำเกินไป/ บางท่านได้ชี้ว่า การวิจัยของไทยค่อนข้างเน้นความต้องการของผู้วิจัย/ มากกว่าประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้/บางท่านยังได้วิเคราะห์ว่า/ปัญหาหลักของระบบการวิจัยไทยอยู่ที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการงานวิจัย/ ยิ่งไปกว่านั้น/ การบูรณาการงานวิจัยข้ามสาขาวิชาความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเบ็ดเสร็จยังมีอยู่น้อยเกินไป

ท่านผู้เกียรติที่เคารพ/ ข้อสังเกตุของผู้รู้หลายท่านในวงการวิจัยที่กระผมได้กล่าวถึงมานี้/  อย่างน้อยที่สุดได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งสำคัญประการหนึ่งว่า/  ระบบการวิจัยของประเทศขณะนี้ยังคงมีปัญหาอยู่มากมาย/  จำต้องอาศัยความสามัคคีของทุกภาคส่วนในการร่วมกันคิดร่วมกันทำ/ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ระบบการวิจัยของประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นเรื่อยๆ/ ดังนั้น กระผมจึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกหน่วยงานภายในระบบการวิจัยของประเทศ จะก้าวเข้ามาร่วมมือร่วมใจกัน/ ทำให้เกิดพลังสูงสุดของระบบ/ ในฐานะหุ้นส่วนความสำเร็จของกันและกัน โดยร่วมกันทำงานแบบเครือข่ายและแบบกัลยาณมิตรที่ปราถนาดีต่อกัน มีการเรียนรู้บทเรียนความสำเร็จของกันและกัน  โดยอาศัยจุดแข็งที่แตกต่างกันของแต่ละหน่วยงาน/ มาเชื่อมประสานและเสริมหนุนกันและกัน/ เพื่อให้ทั้งระบบการวิจัยของประเทศก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน/  มีความสำเร็จร่วมกัน/ และมีความภูมิใจร่วมกัน

กระผมคิดว่าถึงเวลาแล้ว/ ที่เราควรจะได้เห็นระบบการวิจัยของประเทศที่มีลักษณะการทำงานระหว่างหน่วยงานแบบแนวราบ/ มากกว่าการทำงานแบบแนวตั้ง  ถึงเวลาที่เราจะมาร่วมกันคิดกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับ “การวิจัยระบบ” ของระบบการวิจัยของประเทศ/  ทำอย่างไรเราจะสามารถส่งเสริมให้มี “พลวัตร” ในการพัฒนาของระบบการวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง/ มากว่าการหยุดนิ่งอยู่กับวิธีการหนึ่งวิธีการเดียวที่อาจล้าสมัยไปได้ทุกวัน/  กระผมคิดว่าเราควรมาช่วยกัน “จัดลำดับความสำคัญของงานที่เร่งด่วน”และมีผลสะเทือนสูง/ ที่ทุกหน่วยงานในระบบการวิจัยของประเทศจะร่วมกันผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จ/  แม้ว่าระบบการวิจัยของประเทศไทยจะยังมีขนาดเล็กมาก/ เมื่อเทียบกับหลายๆประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้ว/ แต่หากเรารวมพลังกันทั้งหมดมาทำงานที่เราเห็นร่วมกันว่าสำคัญเร่งด่วน/  ก็น่าจะเกิดพละกำลังที่พียงพอให้งานนั้นสำเร็จได้โดยไม่ยากเกินไป

ท่านผู้เกียรติที่เคารพ/ ในขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้รับมอบหมายจากสภาวิจัยแห่งชาติ/ ให้เป็นเจ้าภาพในการระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน/ ปรึกษาหารือร่วมกันเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการวิจัยของประเทศ/  เพื่อให้การวิจัยและระบบการวิจัยของประเทศมีความสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและส่งเสริมการพัฒนาประเทศในอนาคต/  กระผมใคร่จะขอตั้งคำถามที่สำคัญว่า/ เป็นไปได้หรือไม่ ที่สภาวิจัยแห่งชาติจะไม่เป็นเพียง “สภาของนักวิจัย”เท่านั้น แต่ได้รับการยกระดับไปสู่การเป็น “สภาวิจัยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” กล่าวคือ เป็นการประชุมปรึกษาหารือที่ประกอบด้วยบุคคลจากทุกภาคส่วนที่ครอบคลุมผู้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของการวิจัยที่กว้างขวางมากกว่านักวิจัย/  และคงจะดีไม่น้อย/  หากสังคมไทยกับนักวิจัย/ จะมีความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกันมากขึ้นในอนาคต/   เมื่อนั้น สังคมก็จะสนับสนุนและส่งเสริมนักวิจัยและองค์กรวิจัยเป็นอย่างด

สุดท้ายนี้ / กระผมใคร่ขอฝากข้อคิดประการหนึ่งกับท่านผู้มีเกียรติทุกท่านว่า/ การวิจัยที่จะมีประโยชน์สูงต่อมนุษยชาติ ควรเป็นการวิจัยที่มีความใฝ่ฝัน มีจินตนาการ และมีอุดมคติเป็นเครื่องกำกับ เป็นดังคบไฟที่ส่องนำและหล่อเลี้ยงให้เกิดพลังที่สร้างสรรค์ ทำให้สามารถแก้ไขในสิ่งเคยดูเหมือนว่าเป็นไปไม่ได้ ให้กลายเป็นจริงขึ้นมา ด้วยความรู้ใหม่ แนวทางใหม่ หรือวิธีการใหม่อันเกิดจากการวิจัย

กระผมของอ้างถึงคำพูดผู้นำของโลกท่านหนึ่งได้เคยกล่าวว่า

“Others see things as they are and say why;  

I dream things that never were and say why not.”

กระผมขอเชิญชวนนักวิจัยไทยทุกท่านได้ลองฝันถึงสิ่งที่ดีงามแก่สังคมของเรา แม้ยังไม่อาจปรากฏเป็นจริงได้ในสังคมไทย  ลองตั้งคำถามว่าทำไมจะเป็นไปไม่ได้ แล้วช่วยกันวิจัยค้นหาทางที่ทำให้เป็นจริงในที่สุด กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้ร่วมมือร่วมใจกัน / พัฒนางานวิจัยและระบบการวิจัยของประเทศให้มี การพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป / และให้เข้าถึงได้ในทุกกลุ่มและทุกระดับมากยิ่งขึ้น / เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับสังคมและประเทศชาติต่อไป

บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว / ผมขอเปิดงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ2550” (Thailand Research Expo 2007) / และขออวยพรให้การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ / ขอขอบคุณ

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/127309

<<< กลับ

“การจัดการทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย”

“การจัดการทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย”


สรุปความจากการปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาเรื่อง “ป่า : กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมในสังคมไทย” จัดโดยศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในวันที่ 9 สิงหาคม 50 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียบเรียงโดย ศรินทร์ทิพย์ จานศิลา

                ในวาระที่ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รีคอฟ) ครบรอบสองทศวรรษซึ่งเป็นสองทศวรรษแห่งการเรียนรู้ร่วมกันกับองค์กรหน่วยงานต่างๆ ในจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม จึงได้จัดสัมมนาระดับชาติเรื่อง “ป่าชุมชน : กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมของสังคมไทย” ขึ้น เมื่อวันที่ 9-10 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 

                ฯพณฯ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน  มอบกองทุนป่าชุมชน และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การจัดการทรัพยากรร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย” ว่า

                ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนอย่างละเอียดลึกซึ้ง กว้างขวางต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นคนเมืองคนชนบท ทุกคนจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการให้เป็นคุณต่อมนุษยชาติ โดยไม่ก่อความขัดแย้งและนำไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขในสังคม

                “ที่ผ่านมา…ชุมชนพยายามมีส่วนร่วมในการรวบรวมคนเพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ป่าชุมชน แต่การรวมคนนั้นยังไม่พอ ทุกฝ่ายยังไม่ร่วมกันจริง ยังไม่เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ที่กล่าวเช่นนี้เพราะทรัพยากรเป็นสมบัติร่วมของชาติ สังคม มนุษย์และชุมชน จึงจำเป็นต้องจัดการร่วมกัน โดยคนหลายฝ่ายอย่างต่อเนื่อง

                “..แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มุ่งมั่นที่จะทำให้เกิด “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” โดยมียุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ความสำคัญกับการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ รวมทั้งการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยน้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้..

                ..รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังจะลงประชามติ มีเรื่องของการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายมาตรา เช่น ว่าด้วยสิทธิชุมชน ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนในทุกรูปแบบ..

                การจัดการทรัพยากรให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันต้องมีเป้าหมาย คือ เกิดประโยชน์ เหมาะสม เกิดความเป็นธรรม และเกิดความยั่งยืน ทุกฝ่ายต้องคุยกันว่าจะทำอย่างไร โดยมี 3 แนวทางใหญ่ ซึ่งประยุกต์มาจากเรื่องสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของศ.นพ.ประเวศ วะสี  ดังนี้

  1. การเรียนรู้และการจัดการความรู้ร่วมกัน ทั้งระหว่างคนทำงานทรัพยากร และกับผู้คนส่วนอื่นๆในสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อกัน จะเห็นว่าชุมชนมีการทำเรื่องนี้อยู่แล้ว และควรส่งเสริมให้ดีขึ้น เป็นระบบมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น
  2. การขับเคลื่อนเครือข่ายและขบวนการจัดการทรัพยากรโดยชักชวนเชื่อมโยงคนหลายส่วนหลายพื้นที่เข้ามาร่วมกันอย่างครอบคลุม เพียงพอ เพราะทรัพยากรเป็นสมบัติร่วมของคนในสังคม
  3. การมีนโยบาย มาตรการ กฎหมายที่ดี ทั้งรัฐส่วนกลาง รัฐภูมิภาค และรัฐท้องถิ่น ต้องมีทั้งนโยบาย วิธีการ งบประมาณ แผนงานโครงการที่ชัดเจน และสนับสนุนบทบาทภาคประชาชนตามที่เหมาะที่ควร เอื้อต่อการจัดการทรัพยากรร่วมกัน โดยต้องให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องมีการปรับกฎหมายเพื่อเป็นเกราะให้กับประชาชนด้วย การที่เราให้รัฐเป็นผู้ดูแลทรัพยากรฝ่ายเดียวนั้นไม่พอ  ต้องอาศัยชุมชนเข้าไปร่วมด้วย โดยอาจจะเข้าร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการร่วม หรือองค์การมหาชน เป็นต้น

                “..ในปัจจุบันสังคมมีความแตกต่างมาก ทำให้เกิดความแตกแยกในบางกรณี เพราะความต้องการไม่ได้ร่วมกัน  บวกกับแนวโน้มบริโภคนิยม  ต้องการได้มากได้เร็ว คำว่า “ร่วมกันจัดการ” จึงยากขึ้นๆ เป็นบทท้าทายที่ต้องหาทางออกให้ทันกับพัฒนาการสังคมที่แตกต่างหลากหลายซับซ้อนและแย่งชิงกันมากขึ้น เราต้องร่วมกันนำสิ่งที่ดีกว่าเข้ามาแทน เช่น เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาแบบยั่งยืน และความสมดุล..”

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/126078

<<< กลับ

คำกล่าวพิธีสืบชะตาแม่น้ำป่าสัก

คำกล่าวพิธีสืบชะตาแม่น้ำป่าสัก


(โดย นายพิเนตร น้อยพุทธา นายกเทศมนตรีตำบลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ทำพิธี ณ ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณวัดต้นตาล ตำบลบ้านยาง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 50)

เรื่อง       ส่งคำกล่าวพิธีสืบชะตาแม่น้ำป่าสัก

เรียน       อาจารย์พิเนตร น้อยพุทธา

ขอบคุณมากครับที่กรุณาส่งคำกล่าวพิธีสืบชะตาแม่น้ำป่าสักมาให้ เป็นคำประพันธ์ที่ดีเยี่ยม และอาจารย์ ร่ายคำกล่าวได้อย่างเป็นที่ประทับใจ ผมจะขอนำคำกล่าวนี้ลงใน Blog : paiboonwattana.gotoknow.org ด้วยนะครับ

ไพบูลย์

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/97622

<<< กลับ

“ไพบูลย์” สารภาพ ครม. เครื่องรวน

“ไพบูลย์” สารภาพ ครม. เครื่องรวน


(บทสัมภาษณ์โดย ธรรมสถิตย์ ผลแก้ว ลงในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ หน้าที่ A4 ฉบับวันที่ 17 เม.ย. 50)

หลากหลายปัจจัยทางการเมืองที่มะรุมมะตุ้มจนมองไม่เห็นอนาคตว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่ภาวะปกติสุขเมื่อใด ดังนั้น กระแสการปรับคณะรัฐมนตรีจึงเป็นหนึ่งในหนทางที่จะลดกระแสความร้อนแรงลงได้บ้าง  ยิ่งถ้านำบุคคลที่สังคมยอมรับได้เข้าไปเป็นรัฐมนตรี จะทำให้ขิงแก่เดินหน้าทำงานได้อย่างฉลุย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม”รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเคยเสนอนายกฯ ล้างไพ่ในช่วง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์พิเศษ “โพสต์ทูเดย์” ซึ่งมีสาระน่าสนใจดังนี้

ตอนนั้นหลายฝ่ายเสนอว่าน่าจะเป็นโอกาสปรับปรุงครั้งสำคัญ  ซึ่งผมไม่ได้เสนอว่าล้างไพ่นะ เพียงแต่เกิดเป็นโจทก์ขึ้นมาน่าจะทบทวนใหม่ ทั้งองค์ประกอบและวิธีทำงาน เพราะว่า ม.ร.ว.ปรีดียาธร ลาออก ต้องถือว่าชิ้นส่วนสำคัญหายไปก็อาจเป็นโอกาสให้ลองดูกันใหม่  แต่นายกฯพิจารณาแล้ว เห็นว่าปรับเท่าที่ท่านปรับ ก็ปรับเล็ก

·       แสดงว่า ท่านสัมผัสได้ ว่า ครม.มีปัญหาการทำงานขึ้นแล้ว

คิดว่ารัฐมนตรีทุกคนอยากทำงานให้ดีที่สุด แต่ถ้าเราวิเคราะห์ให้ละเอียดไม่ใช่เรื่องง่าย และอุปสรรคข้อขัดข้องมีอยู่ไม่ใช่น้อย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก บรรยากาศทางการเมือง ความขัดแย้ง  การกดดัน พยายามบั่นทอนยังมีอยู่ ซึ่งส่งผลมายังการทำงานไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

“เหมือนรถกำลังวิ่ง แต่สภาพถนน ดินฟ้าอากาศ ฝนตก พายุมา ถึงแม้เครื่องยนต์รถดีแต่ไปลำบาก นี่คือสภาพภายนอก คือว่า สภาพการเมืองไม่ลงตัว สร้างปัญหาจริงในการทำงานของรัฐบาล”

ส่วนสภาพภายใน คือระบบกลไกต่างๆของราชการ ก็ยังทำให้การทำงานไม่เคลื่อนตัวได้เท่าที่เราอยากเห็น ไม่ใช่ความผิดของใคร  เช่นตัวระบบ งบประมาณ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ราชการมีอยู่แล้วต้องเดินไปตามนั้น ก็เป็นอุปสรรคอยู่ในระดับหนึ่งและรัฐมนตรีส่วนใหญ่ไม่ถึงกับคุ้น  อย่างผมจะไม่คุ้น ไม่เคยอยู่ในราชการ แต่รัฐมนตรีที่เคยอยู่ในราชการ อาจคุ้นหน่อย แต่คุ้นโดยที่รู้ว่าเป็นอุปสรรคและไม่สามารถแก้ปัญหาได้

เพราะว่าเราไม่ใช่รัฐบาลเข้ามาปฏิรูป เราเป็นรัฐบาลชั่วคราว เราจะมาปฏิรูปราชการคงไม่ใช่ภารกิจของเรา ถ้ารัฐบาลที่มาในระบบ และอยู่ยาว เขาปฏิรูปราชการได้ แต่หน้าที่รัฐบาลนี้คงไม่ได้มาปฏิรูประบบ หรือการจะปรับเปลี่ยนข้อบังคับ เปลี่ยนวิธีงบประมาณ คงลำบาก ต้องยอมรับระบบที่เป็นอยู่ และพยายามทำภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ให้ดีที่สุด   ต้องยอมรับว่าระบบภายในเป็นปัญหาสะสมมา ไม่ใช่ความผิดของใคร บางส่วนได้ปรับปรุงไปแล้ว แต่มีบางส่วนเป็นปัญหาอยู่ทำให้เกิดความล่าช้า ขัดข้อง  อันนี้ผมประสบด้วยตัวเอง ว่าความจริงมันน่าจะเร็วกว่านี้ ทำไมไม่เร็วนะ น่าจะได้ ทำไมไม่ได้ ทั้งที่นโยบายมีแล้ว แต่ต้องผ่านขั้นตอนนั้นขั้นตอนนี้

·       ด้วยคำว่ารัฐบาลเฉพาะกาลหรือเปล่า ทำให้รัฐบาลขาดความกล้าหาญ

ไม่ใช่ โดยหน้าที่ ไม่คิดว่าเรามีหน้าที่มาผ่าตัดระบบราชการ ที่เราไม่ทำคือเราไม่บีบบังคับหรือรังแกข้าราชการ อย่างน้อยผมคิดว่า ผมไม่ได้ทำ ที่จะบอกว่าเราได้มอบหมายประชาชนจะเปลี่ยนระบบอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำ แต่ถ้าจะให้กำลังใจข้าราชการ พัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งผมทำ เช่น การมอบอำนาจ กระจายอำนาจ หรือว่าพัฒนาความโปร่งใสสุจริตมากขึ้น ผมก็ทำ  ปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นผมก็ทำ

·       เพราะระบบมีปัญหาใช่ไหม  ทำให้หลายฝ่ายให้คะแนนรัฐบาลสอบตก ผลงานไม่เข้าถึงความรู้สึกประชาชน

รัฐมนตรีแต่ละคนพยายาม ในทางหนึ่งทำงานกับระบบ เพราะจะเลี่ยงระบบก็ไม่ได้ รวมทั้งระบบในครม. ก็เป็นระบบราชการก็มี เราก็ต้องทำงานกับระบบ  ขณะเดียวกันเราก็พยายามทำอะไรใหม่ๆ  เช่น เมื่อผมมารับหน้าที่รองนายกฯก็มาดูว่า เรื่องอะไรเป็นเรื่องสำคัญ  ริเริ่มทำขึ้นมา โดยไม่ใช่รอให้หน่วยงานเสนอมา ผมเริ่มจากกรณีหมอกควัน สภาพเห็นชัด แล้วมาจับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพราะเห็นว่าเป็นปัญหาสะสมมา และโรคเอดส์ ก็เช่นเดียวกัน ประเทศไทยเคยดีแล้วมาล้าหลัง เพราะไม่ได้ป้องกันก็จะมาเพิ่มแนวทางป้องกัน อย่างนี้เราทำโดยไม่รอให้เสนอเรื่องขึ้นมา ตรงนี้ไม่ได้เลี่ยงระบบแต่เสริมเข้าไป   หรือแม้แต่เรื่องหนี้สินเกษตรกร    เมื่อมารับหน้าที่ดูแลมากขึ้น และมีคนมาช่วยมากขึ้น ลงไปปรึกษาคนในท้องถิ่นมากขึ้น ลงไปถึงปัญหาพบเจ้าของปัญหา ก็รีบแก้ไข เป็นเชิงรุก

“ผมว่ารัฐมนตรีแต่ละคนพยายามทำแบบนี้ คือ ทำกับระบบ และเสริมเข้าไป ก็ได้ผลออกมา  อันนี้ต้องถือว่าเป็นเรื่องถูกต้องแล้ว แม้จะทำดีที่สุดก็ต้องให้สังคมติดตามผล และใช้วิจารณญาณเองได้เห็นเองว่ารัฐบาลทำดีไม่ดี ทำมากทำน้อย    คือตัวเองเองจะบอกว่าทำดีและตัดสินว่าทำดีคงไม่ได้ การทำดี ไม่ดี ต้องให้คนอื่นเขาดู ในเมื่อทำงานเพื่อประชาชนและเพื่อสังคมก็ต้องให้เขาดู”

·       มีการมองว่าท่านเป็นผู้ประสานสิบทิศ

ทำไปตามธรรมชาติ ตามหน้าที่มากกว่า  อย่างกรณีที่ผมเดินทางไปพบอดีตนายกฯ ท่านอานันท์ ปันยารชุน  ท่านบรรหาร  ศิลปอาชา   ก็ด้วยความรู้สึกว่า ผมเข้ามาอยู่ในตำแหน่งถือว่าค่อนข้างสูงในการบริหารประเทศ  ในขณะที่อดีตนายกฯทุกท่าน  ผมเคยร่วมงานด้วย เพราะผมทำงานภาคสังคมเกือบ  20 ปี ให้ความร่วมมือกับทุกรัฐบาล แม้แต่ อดีตนายกฯพ.ต.ท.ทักษิณ   จึงเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอข้อแนะนำการทำงานมากกว่าเรื่องอื่นๆ

·       จะหาวิธีลดความแตกแยกทางการเมืองขณะนี้อย่างไร

ถ้าถามว่าคุณอยากเห็นสังคมเป็นอย่างไร ทุกคนบอกว่าอยากเห็นสังคมเป็นปึกแผ่น มีความเจริญก้าวหน้า ถ้าเห็นตรงกันอย่างนี้แล้ว ถามว่าแล้วเราทำอย่างไรจะไปถึงตรงนั้นได้ มีทางขยับคนละนิดคนละหน่อยไหม  อย่างตอนนี้ เราบอกว่า สิ่งที่เราต้องการร่วมกันคือ มีการเลือกตั้งใช่ไหม  เราคงไม่อยากอยู่ในสภาพนี้ไปเรื่อยๆ  ขณะเดียวกันความคาดหวังจากการเลือกตั้งเราก็อยากให้ดีพอสมควร เราจะได้กลับมาสู่ระบบประชาธิปไตยที่เราพอใจ

ระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง มีการจัดตั้งรัฐบาล  ส่วนจะบริหารงานดีไม่ดีอีกเรื่อง แต่อย่างน้อยเป็นกติกาที่เรารับร่วมกัน ก็น่าจะตั้งคำถามว่าแล้วเราจะทำอย่างไร ให้เราได้เลือกตั้งอันรวดเร็ว ซึ่งตอนนี้กำหนดแล้วเดือนธันวาคม พอรับได้ไหม ในเมื่อรับได้เพราะไม่ได้นานเกิน ไป  ทีนี้ทำไงให้เราเดินจากปัจจุบันไปสู่การเลือกตั้ง ตรงนี้ต้องมานั่งคิดกันสิ อาจจะเสนอกันคนละอย่างสองอย่าง  บางคนอาจเสนอว่า เอาหล่ะผมยินดีทำอย่างนี้นะ แต่คุณควรจะปรับอย่างนั้น ก็เป็นการเสนอและสนองในเวลาเดียวกัน ค่อยพูดจากันน่าจะได้

“ ผมคิดว่า ควรเชิญทุกฝ่ายที่มีปัญหาความขัดแย้งมาพูดคุยกัน  ถ้าจะให้ผมเป็นเจ้าภาพยุติความขัดแย้ง  ผมไม่ขัดข้อง  มีเงื่อนไขข้อเดียว ต้องเป็นที่ยอมรับร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง  ถ้าผู้เกี่ยวข้องบอกว่าเอาคนนี้เป็นคนกลาง ผมก็ยินดี ในสมัยรัฐบาลที่แล้วมีความขัดแย้งกัน  ได้พยายามประสานอยู่หน่อย  โดยมีคนขอให้ผมทำ ครั้งนั้นเชิญคู่ขัดแย้งมาคุย ซึ่งเป็นระดับเกือบสูงสุด ผลการพูดคุยเป็นไปด้วยดี   มีการเสนอเงื่อนไขว่าอย่างนี้พอรับได้ไหม  ส่วนที่รับได้ ก็ได้มาหน่อย ส่วนที่เป็นปัญหาก็คิดจะทำอย่างไร  แต่ว่าเหตุการณ์คราวนั้นผันผวนเร็วมาก คุยไปรอบหนึ่ง จะคุยอีกก็เกิดเหตุความวุ่นวายซะก่อน  กู่ไม่กลับแล้ว”

·    แต่สถานการณ์ขณะนี้ มีหลายกลุ่มด้วยกันโดยเฉพาะกลุ่มอำนาจเก่ามีเป้าหมายล้มกระดานการตรวจสอบ แล้วจะคุยกันรู้เรื่องหรือ

อย่างไรคุยกันดีกว่าไม่คุย ระหว่างคุยกันกับสู้กัน คุยกันต้องดีกว่าสู้กันเพราะสู้กันย่อมมีแพ้มีชนะ ถ้าชนะไป อีกฝ่ายแพ้ คงไม่เลิก  ต้องหาทางกลับมาชนะบ้าง แต่การพูดคุยกันจะหาทางให้ชนะหรือพอใจร่วมกันได้  เรื่องก็จบเราก็เดินหน้าไปด้วยกัน ช่วยให้สังคมดีขึ้นได้ แต่ถ้าทะเลาะกันฝ่ายหนึ่งชนะฝ่ายหนึ่งแพ้ สังคมไม่ดีขึ้น อาจเลวลงด้วยซ้ำ

·       คิดอย่างไรกับเสียงวิจารณ์รัฐบาลทำงานไม่เป็น รัฐบาลทำงานช้า

ผมพูดได้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ผมคิดว่า รัฐบาลมีความตั้งใจจริง มุ่งมั่น ดูแลการบริหารจัดการกิจการงานต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี  และคิดว่ารัฐมนตรีทุกท่านมีความรู้มีประสบการณ์ ก็เห็นว่ามีการประสานงาน มีการริเริ่มของใหม่ๆ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ๆ เสนอโครงการใหม่  กฎหมายใหม่ แต่ยอมรับว่า บางเรื่องอาจผ่านไปด้วยความราบรื่นไม่มีปัญหา แต่อาจไม่ได้รับรู้โดยกว้างขวาง

อย่างเรื่องที่ผมเกี่ยวข้อง เช่น เราได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์สังคม เราทำในสองสัปดาห์แรก ได้กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดทิศทางชัดเจน ซึ่งขับเคลื่อนไปด้วยดี แต่งานไปอยู่จังหวัดต่างๆ  ถ้ามองในแง่สังคมรับรู้แค่ไหนอาจรับรู้ไม่มาก เป็นข่าวหน่อยหนึ่ง แต่ขณะที่ไม่เป็นข่าว เขาทำงานกันทุกจังหวัด เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

กระทรวงอื่นๆก็คล้ายกัน แต่ยอมรับ ว่า บางเรื่อง เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความเห็นแตกต่าง เช่น การควบคุมการโฆษณาแอลกอฮอล์   ร่างกม.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ถือว่าเป็นความริเริ่มกล้าหาญของรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องนี้  ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ แต่มีคนบางกลุ่มรู้สึกถูกกระทบกระเทือน ซึ่งในสภาพที่เป็นอุดมคติ น่าจะมาพูดกันหาข้อสรุปได้

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

23 เม.ย.50

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/91912

<<< กลับ

โต้เกียร์ว่าง-รัฐมนตรีไม่ใช่พระเอก

โต้เกียร์ว่าง-รัฐมนตรีไม่ใช่พระเอก


(คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษลงในหนังสือพิมพ์ ข่าวสด หน้าที่ 9 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550)

เข้ารับตำแหน่งมากว่า 5 เดือน พบปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง

ผมไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา แต่การทำงาน คือ การเผชิญปัญหา เป็นเรื่องธรรมดา ผมมองการทำงานเป็นการทำภารกิจมากกว่า และมองชีวิตไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ เป็นการทำภารกิจ วิธีคิดของผมจะมองทุกอย่างเป็นทางบวก มองแบบสร้างสรรค์ เดินหน้า มองแบบคนทำงาน ไม่ได้มองว่าอะไรเป็นปัญหาขัดข้อง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา เพราะชีวิตต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ

โครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นเรื่องใหญ่ ปัญหามาก จะเร่งแก้ไขอย่างไร  

ปัญหาบ้านเอื้ออาทรเป็นปัญหาสะสมที่ต้องจัดการ ผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ คณะกรรมการการเคหะฯ และคณะกรรมการติดตามประเมินผลดูแลอยู่ ผมก็คอยกำกับดูแลอยู่ วิธีการทำงานของผมจะไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่จะเอาภารกิจเป็นศูนย์กลาง พยายามสร้างพลังของคนที่ทำงาน ให้ทำหน้าที่ได้ดี ผมจะให้กำลังใจให้ข้อคิดเห็น คอยติดตาม ร่วมคิดร่วมทำไปด้วย เป็นพาร์ตเนอร์ชิพรวมพลังกัน

ปัญหาการทุจริตซับซ้อน รัฐมนตรีน่าจะลงไปแก้ในระดับปฏิบัติมากกว่านี้

ทุกส่วนมีความสำคัญเป็นแนวหน้าหมด ทั้งผู้บริหาร คณะกรรมการการเคหะฯ ได้คิดวิเคราะห์ประเมินปัญหาจนตกผลึก ผมตั้งผู้ว่าการฯ ผู้บริหาร คณะกรรมการ ขึ้นมาทำงาน ก็ต้องให้เวลาเขาทำงาน คนทำงานก็เหมือนกองทัพ ผมเป็นผู้บัญชาการสูงสุดก็คอยดูสนับสนุน ไม่ใช่ลงไปลุยเอง ตอนนี้เขาก็มีแผนปฏิบัติการทำงานแล้ว คนที่ทำงานก็ไม่ได้มาเรียกร้อง หรือบ่นว่าผมไม่ไปช่วย เราพูดคุยกัน ผมช่วยเขาตลอด เขาก็พอใจวิธีทำงานของผม

เราทำงานแบบให้เกียรติ เกื้อกูลกัน เสริมสร้างพลังซึ่งกันและกัน ไม่ใช่รัฐมนตรีเป็นพระเอกเด่นอยู่คนเดียว คนอื่นเป็นพระรอง ไม่ใช่สไตล์การทำงานของผม ผมพยายามให้คนอื่นเป็นพระเอก ส่วนผมเป็นผู้ช่วย ผมอาจจะเป็นนายวง ไม่ต้องไปร้องรำ แต่ให้คนอื่นเป็นพระเอก เพราะผมเป็นผู้บริหาร ทำงานบริหารมาเยอะ ต้องทำงานแบบผู้บริหาร ไม่ใช่ทำงานแบบทหารเอก

ปัญหาบ้านเอื้ออาทรจะคลี่คลายอย่างไร  

บ้านเอื้ออาทรเราต้องรับมรดกมา คล้ายสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เร่งมากและคาดว่ามีทุจริตด้วย ก็เกิดปัญหา ต้องจัดการแต่ไม่ใช่ออกมาโวยวาย ปิดสนามบิน เกินเหตุ ที่ยังพอเปิดได้ก็เปิด เหมือนบ้านเอื้ออาทร อะไรที่ปรับแก้ ชะลอ หรือต้องเจรจาก็ว่ากันไป ต้องควบคุมความเสียหายให้ได้ ต้องยอมรับว่าสถานการณ์เกิดแล้ว การเคหะฯ ไม่ใช่มีแต่เรื่องบ้านเอื้ออาทร ต้องคิดไปข้างหน้า มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ผมช่วยได้และคิดไปด้วยกัน ระดับปฏิบัติเขาจัดการ มีคณะกรรมการลงไปช่วยจำนวนมาก รวมถึงนายขวัญสรวง อติโพธิ น้องชายนายแก้วสรร อติโพธิ

มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูบ้านเอื้ออาทรเป็นพิเศษ แบ่งเป็นกลุ่มดูแล เช่น กลุ่มมีปัญหามาก กลุ่มมีปัญหาน้อย กลุ่มไม่มีปัญหา และกำลังทาบทามผู้อาวุโสด้านกฎหมายเข้ามาช่วย ในฐานะผู้บริหารก็พยายามสร้างเครื่องมือในการทำงาน เหมือนกัปตันเรือ จะไปวิ่งโร่ดูเครื่อง ยกธงไม่ได้ ต้องบริหารอยู่ตรงกลาง ดูแลให้มีกลุ่มคนทำงาน หน้าที่หลักผู้บริหาร คือ คิดเชิงวิสัยทัศน์

ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าใส่เกียร์ว่าง ผลงานไม่โดดเด่น

ผมก็รับฟัง เท่าที่ทราบก็มีคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) จัดผมเป็นกลุ่มไม่สะดุดตา และนายแก้วสรร เท่านั้น ความจริงแล้วผมเป็นคนทำงานเชิงลึก คิดเชิงยุทธศาสตร์ พยามยามขับเคลื่อนกลไกให้เดินดีขึ้น

.gotoknow-responsive-middle { width: 300px; height: 250px; } @media(min-width: 260px) { .gotoknow-responsive-middle { width: 300px; height: 260px; } } @media(min-width: 350px) { .gotoknow-responsive-middle { width: 336px; height: 280px; } } @media(min-width: 740px) { .gotoknow-responsive-middle { width: 728px; height: 90px; } }

บางปัญหารัฐมนตรีต้องลงไปทำมากกว่าเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายจะเป็นปัญหาหรือไม่  

วันนี้เรากำลังขับเคลื่อนสู่ยุทธศาสตร์สังคมดีงามอยู่เย็นเป็นสุข มี 3 ยุทธศาสตร์ คือ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมคุณธรรม และสังคมเข้มแข็ง และทำงานใน 3 บริบท คือ เชิงพื้นที่ เป้าหมาย และเชิงประเด็น โดยเชิงพื้นที่จะเคลื่อนไปโดยใช้กลไกการจัดการร่วมกัน รวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ เน้นลงไปสู่ระดับตำบล เทศบาล จังหวัด ส่งเสริมให้มีการรวมตัวทุกฝ่ายทั้งราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน มีคณะทำงานที่จังหวัด การหนุนเครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายสวัสดิการชุมชน

ขณะนี้การทำงานเชิงพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จนน.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ใช้คำว่า เป็นการปฏิวัติเงียบ และเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ที่ผ่านมาเราเน้นการทำงานตามหน้าที่ เอาภารกิจหน่วยงานเป็นตัวตั้ง ลงเป็นสายดิน แต่ตอนนี้เน้นการทำงานเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งให้ประชาชน ให้เครื่องมือกับประชาชน

ช่วง 5 เดือนนี้ เรากำลังเห็นการเปลี่ยนแปลง มีดีกรีเข้มขึ้นขึ้น มีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ มีการประสานความร่วมมือในกระทรวงเดียวกัน และยังประสานกับกระทรวง หน่วยงานอื่นๆ มีการสร้างกลไกการทำงานที่ดีขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนประเทศไทยได้ การเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งจะไปได้กว้าง และให้ประชาชนมีบทบาทสำคัญ

มีการใช้ 3 พลัง คือ พลังความรู้ พลังสังคม และนโยบาย ร่วมกับ 2 เครื่องมือ คือ การสื่อสาร และการจัดการ ประสานกับ 3 ยุทธศาสตร์ และพลังประชาชน ยอมรับว่าที่เรายังทำได้ไม่เต็มที่นัก คือ การสื่อสาร เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้การมองจากสังคมยังเห็นไม่เต็มที่ การเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจ ทุกฝ่ายประสานความร่วมมือ

เราต้องทำเชิงพื้นที่ระดับต้น จากนั้นจึงทำงานในบริบทกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ สตรี ผู้ด้อยโอกาส เราต้องส่งเสริมเครือข่ายแต่ละกลุ่มเป้าหมาย สร้างพลังให้ทำงานได้ และเชิงประเด็น จะมีการหยิบประเด็นสำคัญๆ เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจนโดยขบวนชุมชน การพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะบ้านเอื้ออาทร จากนี้จะเน้นสร้างคน จากเดิมเน้นสร้างบ้าน ซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือ ต้องมาสร้างให้คนพร้อมมีที่อยู่อาศัย ให้คนมีบ้านมีชีวิตที่พอเพียง การป้องกันและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับภัยพิบัติ การสนับสนุนการป้องกันและลดความรุนแรง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ความขัดแย้งที่มาบตาพุด แม่เมาะ เป็นต้น และเร่งออกกฎหมาย

ถูกวิจารณ์ว่าใส่เกียร์ว่าง ทั้งที่ทำงานอย่างเต็มที่แล้ว  

การถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องธรรมดา เทียบกับคนอื่นแล้วเบาบางมาก คนยิ่งมีตำแหน่งสูงยิ่งต้องถูกวิจารณ์ มีทั้งคำชมเชยและคำวิพากษ์วิจารณ์ คำสรรเสริญ คำนินทา เป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่สามีภรรยา เพื่อนฝูงก็ยังมีการว่ากล่าวกัน ชมกันบ้าง ส่วนที่วิพากษ์วิจารณ์ผมเล็กน้อยมาก แต่ผมก็รับฟัง เพราะผมจะรู้ว่าผมทำอะไรอยู่ คนที่ทำงานด้วยก็รู้ อย่างน้อยก็คนที่ผมเกี่ยวข้องด้วยทั้งในและนอกกระทรวงก็ไม่ได้ว่าผม และร่วมงานกันด้วยดี

รู้สึกเสียใจกับคนที่ไม่เข้าใจ หรือจะปรับวิธีการทำงานเพื่อลบภาพเกียร์ว่างหรือไม่

ผมไม่รู้สึกอะไร เพราะผ่านชีวิตมาเยอะ ใครให้ความเห็นมาก็ขอบคุณ ในคน 100 คนต้องมีคนที่เข้าใจบ้าง เฉยๆ บ้าง ไม่เข้าใจบ้าง จะคาดหวังให้ทุกคนเข้าใจหมด ชื่นชมหมดไม่ได้ ไม่ว่าจะทำดีแค่ไหน ขนาดพระพุทธเจ้ายังถูกนินทา คนมีบารมีมากๆ ในสังคมไทยยังถูกนินทา อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อ.ปรีดี พนมยงค์ อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังถูกกล่าวหา ในฐานะผู้ใกล้ชิดเรารู้ว่าท่านเป็นคนดี ยังถูกกล่าวหาโจมตี เป็นเรื่องธรรมดา เป็นสัจธรรม เราต้องมองให้เห็นภาพรวม สำคัญเราต้องสำรวจตัวเอง พยายามพัฒนา ไม่หยุดที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ คำว่า “เกียร์ว่าง” คงเป็นคำพูดล้อเล่น ผมก็คุยกับนายแก้วสรรแล้ว คนที่อยู่ด้วยกันก็จะรู้ว่าผมทำงาน

ตอนนี้ใส่เกียร์ 4 เกียร์ 5 แล้ว หลังจากนี้งานจะหนักกว่าเดิม ต้องเคลื่อนหลายเรื่อง เน้นนโยบาย ยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างระบบฐานราก ส่วนการประชาสัมพันธ์ก็ทำพอสมควร เพราะงานที่ทำไม่ถึงกับเป็นประเด็นร้อน หวือหวา แต่ผมทำหวังผลระยะยาว ผมทำงานแบบปักเสาเข็ม ไม่ใช่มาก็ต่อหลังคาขึ้นไป แต่ต้องทำฐานให้ดี และโดยนิสัยผมไม่ชอบประชาสัมพันธ์ตัวเอง เป็นคนขี้อายด้วยซ้ำ โดยหน้าที่ขอให้ทำประโยชน์ได้ก็พอ จะประชาสัมพันธ์งานมากกว่าประชาสัมพันธ์ตัวเอง

การทำงานของผมคล้ายปิดทองหลังพระ แต่ผมก็ทำเต็มที่ จะทำต่อไปและแจ้งข่าวสารให้สังคมทราบด้วย ส่วนจะให้ปรับการทำงานให้หวือหวาคงไม่ทำ แต่จะพยายามทำเท่าที่จะทำได้ สร้างสรรค์สิ่งดีที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เชื่อว่าคนทั่วไปจะเข้าใจ

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

29 ก.พ. 50

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/81391

<<< กลับ

ปาฐกถาเปิดการประชุม COMMITTEE ON EMERGING SOCIAL ISSUES (ของ UNESCAP)

ปาฐกถาเปิดการประชุม COMMITTEE ON EMERGING SOCIAL ISSUES (ของ UNESCAP)


   COMMITTEE ON EMERGING SOCIAL ISSUES

                                      THIRD SESSION

                            Bangkok, 12-14 December 2006

                                INAUGURAL ADDRESS

                                                      by

                   His Excellency Mr. Paiboon Wattanasiritham

             Minister of Social Development and Human Security

                                  Royal Thai Government

                                                 DRAFT

Mr. Kim Hak-Su, Under-Secretary-General of the United Nations and Executive Secretary of UNESCAP,

Excellencies,

Distinguished delegates,

Ladies and Gentlemen,

            It gives me great pleasure to address this important session of the Committee on Emerging Social Issues of ESCAP.  On behalf of the Royal Thai Government, I wish to extend a very warm welcome to all the distinguished delegates to the Committee, especially those attending from abroad.  

            As a thematic functional body under ESCAP, the Committee is mandated with a formidable task of strengthening national commitments and actions to tackle emerging social challenges.  I am pleased that the Committee will be considering many issues that are timely and important to the countries in the region in our common endeavour to promote social development and achieve a society for all. 

The 1995 World Summit for Social Development and its ten-year review meeting held in 2005 reaffirm the vision of a “Society for All” which embraces all members of society and seeks equity for all, on the basis of non-discrimination, respect for diversity, security, and participation of all people, including disadvantaged and vulnerable people. This vision of a society for all provides the long-term framework for sustained effort for poverty reduction, social inclusion, gender equality, productive employment, and social justice.  Evidently, economic growth and social development are two sides of the same coin, both of which are mutually reinforcing. The Millennium Development Goals (MDGs) adopted by leaders around the world in 2000 have further enhanced the social development goals endorsed by global conferences on development in the 1990s.

              Thailand is committed to building and strengthening a society for all with the inclusion of groups which had been marginalized from the mainstream of our development process, rural and urban poor people, women, youth, older persons, persons with disabilities minority groups, and those affected by disasters and environmental degradation.  We believe that each and everyone can make a contribution to the society and has the right to share the fruits of national development.  His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand has made an extraordinary example in contributing to human development and thus enabling a society for all in our country. His Majesty has reached out to the poorest and the most vulnerable people of Thailand, regardless of their status, ethnicity or religion, listened to their problems, and empowered them to take their lives into their own hands.  His Majesty’s countless rural development projects have benefited millions of people across Thailand. The projects have promoted sustainable livelihoods, water resource management, and disaster mitigation.

              At present, Thailand has already achieved the MDG goal of halving extreme poverty between 1990 and 2015. The poverty incidence in Thailand has been reduced by two-thirds from 38.18 per cent of the total population in 1990 to 11.25 per cent in 2004. In spite of this achievement, challenges remain in many of the social development areas. We must ensure that our economic growth is inclusive, with no sector of the society marginalized, and that the quality of social services continues to be improved.

Distinguished delegates,

Ladies and Gentlemen,

                  Thailand, with a population of nearly 65 million, has been successful in its population programmes, focusing on capacity building, empowerment and improved provision of reproductive health services.  This approach has been effective in solving problems like HIV/AIDS, maternal and child health, and in responding to emerging challenges of adolescent health, and the multifaceted problems facing women, young people, older persons, and people with disabilities.  The total fertility rate of Thailand has dropped from 5.0 in 1970 to 1.9 in 2005.  Thailand has gone a long way in establishing the required primary health care infrastructure responsive to the priority health needs of the population.   To ensure the desirable progress and achievement in the implementation of the Programme of Action of the International Conference on Population and Development  (ICPD) within the context of Thailand’s dynamic socio-economic development, Thailand sees an inevitable need to undertake an integrated, more decentralized and more active participation of all sectors in society, in parallel with the health care reform.  We wish to learn from other countries’ experiences so that we would be able to map out the most effective and practical steps required.

Ladies and Gentlemen, 

            Young people account for 17 per cent of Thailand’s population, and are the future of our country.  With the recent swings in the Thai economic development scene in the past decades, young people have been seriously affected.  This has been further compounded by the impact of globalization, urbanization and advances in ICT.  Youth unemployment, and the lack of opportunities and support from families and communities may provide the breeding grounds for social problems such as drug abuse, crimes, violence and social instability.  It is a matter of priority for policy makers to scale up investment in youth and ensure that young people are provided with adequate support for their education, employment, health and other development needs.  We are very pleased that the United Nations General Assembly has again reaffirmed the goals of the World Programme of Action for Youth, and has added five more priority areas for action, including youth and globalization, youth and ICTs, youth and HIV/AIDS, the involvement of young people in armed conflicts and inter-generational issues.  The Government of Thailand strongly supports the convening of a regional consultation on the implementation of the Programme of Action for Youth as called for by the United Nations in its resolution 60/2 of 2005.

Ladies and Gentlemen, 

            Thailand is facing emerging challenges as its population is fast ageing.  The proportion of elderly people in the total population is expected to increase from 10.5 per cent in 2005 to 16 per cent in 2020.  The Government has taken measures to raise public awareness of the economic and social implications of ageing, including the rising needs for better social security provisions, health care and other social services.  We will continue to review our policy vis-à-vis older persons within the broader context of national socio-economic development to ensure that the concerns and needs of older persons are integrated in the national development agenda.  In this context, the Government of Thailand is currently reviewing its implementation of the Madrid International Plan of Action on Ageing, with the participation of various stakeholders.

Ladies and Gentlemen, 

            Thailand is committed to promoting and protecting the rights of persons with disabilities and has been making continuous efforts in this regard.  We enthusiastically support the adoption of the draft International Convention on the Protection and Promotion of the Rights and Dignity of Persons with Disabilities.

            As early as 2003, the Sub-Committee on the Promotion and Collaboration on the International Issues on Disability was established within the Ministry of Social Development and Human Security to develop Thailand’s proposal for the draft International Convention.  In collaboration with ESCAP and other organizations, the Government has organized technical meetings and reviewed its policies to ensure that the rights and needs of people with disabilities are met.

Ladies and Gentlemen,

                 With regards to health-related issues, Thailand has been giving primacy to social policy objectives as part of its overall development strategy. Towards this end, Thailand has implemented a policy of providing universal coverage of health care to the entire population since 2001. This has meant considerable commitment on the part of the Government towards increasing public investments in health and on strengthening primary health care services. This has resulted in significant reduction in the out of pocket expenditure on health and reduced the burden on the poor and vulnerable groups leading to better health outcomes.  In this regard, we believe that other countries in the region can follow Thailand’s progress, and we are ready to share our experiences and expertise with any member country of ESCAP.

                 Thailand is one of the few developing countries in the world where public policy has been effective in preventing the spread of HIV/AIDS on a national scale. A massive programme to control HIV has reduced visits to commercial sex workers by half, raised condom usage, decreased the prevalence of STIs (Sexually Transmitted Infections) dramatically, and achieved substantial reductions in new HIV infections.  However, there is no room for complacency.  The past efforts need to be sustained and factors such as an increase in risky sexual behaviour and a rising number of STI cases need to be addressed effectively for the epidemic to be contained.

In response to the outbreak of avian flu, a National Strategic Plan for Avian Influenza Control and a National Strategic Plan for Influenza Pandemic Preparedness in Thailand, which cover the 3-year period between 2005-2007, were endorsed by the Royal Thai Government since January 2005 with a view to tackling the problem in a unified and sustainable manner.  The Plans focus on the immediate needs and priorities to ensure that prompt and adequate measures will be carried out to protect both humans and poultry based on the best practices Thailand has learned from extensive experiences in dealing with emerging public health threats during the past few years.  These Plans are now being assiduously carried out.

Ladies and Gentlemen, 

            Despite all our efforts to promote gender equality, it is undeniable that inequality between women and men still remains.  Gender bias is a deep-rooted problem that required certain fundamental changes including the change in people’s values and perception.  Like other countries, we still have a long way to go to achieve gender equality  

           Regarding women and economic development, Thailand places great importance on ensuring economic betterment for women because we realize that when a woman is economically better off, her family will also benefit from the progress. The Royal Thai Government has made every effort to put in place income generation programmes for those at the grassroots level, many of whom are women.  Both women and men now enjoy equal access to credit and loans under various schemes such as the nation-wide village fund and small and medium enterprise incentive schemes.

            On the issue of violence against women and children, the Royal Thai Government has appointed the Sub-Committee on the Elimination of Violence against Women and Children tasked with formulating guidelines, measures and policies to alleviate such problems.  A Domestic Violence Act has been drafted which will provide a legal framework for dealing with this complex issue, once it enters into force.  In order to assist victims of violence, Thailand has set up One Stop Crisis Centres (OSCC) in hospitals in several parts of the country.  These centers are staffed with interdisciplinary personnel such as doctors, psychologists, counsellors and lawyers who are able to provide assistance to the victims.  In this regard, we are pleased that the Report of the United Nations Secretary General on the In-depth Study on All Forms of Violence Against women will be considered at this Committee session and we look forward to recommendations from the Committee.

Distinguished delegates,

Ladies and Gentlemen,

                 Many of the challenges that we are facing in our respective countries are similar.  Cooperation and sharing information and expertise within the region will bring about benefits, especially through creating synergies and coordinated action for policies and programmes in members and associate members. 

            We believe that ESCAP plays a vital role in facilitating and pushing forward the momentum for continued regional cooperation in achieving social development goals and the MDGs.  Let us continue to work hand in hand to build societies for all.

             Finally, may I wish you every success in your deliberations.

             Thank you for your kind attention.  

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/67013

<<< กลับ

“สุรยุทธ์”ยึด”คิดดี พูดดี ทำดี” สร้างสมานฉันท์”3จว.ใต้-การเมือง”

“สุรยุทธ์”ยึด”คิดดี พูดดี ทำดี” สร้างสมานฉันท์”3จว.ใต้-การเมือง”


หมายเหตุ-พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการปัจฉิมพิเศษเรื่อง “แนวทางการเสริมสร้างสมานฉันท์ในสังคมไทย” ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน

                (ข่าวลงใน นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 หน้าที่ 2)

               สวัสดีผู้ที่รักในความสมานฉันท์ทุกท่าน ตอนนี้ผมอาจเสียงไม่ดีนัก เพราะพูดตั้งแต่เช้าจรดเย็น ที่ผ่านมาไม่ได้พูด แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไป มีเวลาคิดน้อยลง เวลาในการปฏิบัติมากขึ้น ข้อสรุปที่เสนอในวันนี้นั้นเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ จะดูว่าอะไรที่เราสามารถนำไปดำเนินการได้ทันทีและอะไรที่ต้องใช้เวลา 

                แนวคิดในการทำงานของผมไม่มีอะไรซับซ้อน จะทำจากเรื่องง่าย-ยาก เล็ก-ใหญ่ เป็นวิธีที่ให้ดำเนินการมาตลอด เป็นอันว่ารับข้อเสนอไปดำเนินการ และเพื่อยึดตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ผมจำได้ชัดเจนคือ คิดดี พูดดี และทำดี เป็นคำง่ายๆ แต่ว่าทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ยาก 

                ดังนั้นเรื่องที่ท่านเสนอมาเป็นเรื่องที่ยาก เมื่อผมรับไปแล้วจะได้นำไปคิดก่อนว่าอะไรทำได้ก่อน-หลัง หัวข้อที่ท่านเสนอมาทั้งหลาย ไม่ว่าเรื่องการสร้างสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สมานฉันท์การเมือง สมานฉันท์สันติวิธี ซึ่งกลไกในการเสริมสร้างความสมานฉันท์นั้นเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น

                สิ่งหนึ่งที่ผมอ่านดูจากข้อเสนอคือ เราต้องการความเป็นธรรม ซึ่งตรงกับที่ได้บอกมาตั้งแต่มารับงานว่า ความเป็นธรรมต้องมีในสังคมทั่วไป ไม่เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนมาพูดก็มีผู้มายื่นหนังสือเรียกร้องเรื่องความไม่เป็นธรรม ซึ่งเรื่องความไม่เป็นธรรมนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดที่ไหนบ้าง แต่เรื่องความเป็นธรรมนั้นจะต้องเกิดขึ้นทั่วบ้านเมือง 

                ในข้อที่ 1.เรื่องสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้ว ในการชี้แจงนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมาก็พูดเรื่องนี้ เมื่อสักครู่ที่ผ่านมาได้บันทึกเทปเรื่องการทำงานของผมที่ผ่านมา และได้ยืนยันเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องช่วยกันแก้ เพราะเรื่องผลกระทบคงไม่ต้องพูดถึง ในด้านจิตใจนั้นได้รับผลกระทบมากมาย คนส่วนหนึ่งที่ได้รับทราบข้อมูลก็ได้รับผลกระทบ เพราะรู้สึกว่าเหตุใดเราถึงปล่อยให้เกิดขึ้น ทำไมไม่แก้กันตั้งแต่ต้น ผมคิดว่าเราต่างตกอยู่ในภาวะผลกระทบและมีความทุกข์ในเรื่องปัญหาภาคใต้

                เรื่องการแก้ไขนั้นผมจะรับข้อเสนอท่าน ทั้งเรื่องการทำความชัดเจนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ การสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยจะได้นำข้อเสนอต่างๆ เข้าพูดคุยกันในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษในวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ เพราะเรามีความตั้งใจในการบูรณาการการทำงานภาคราชการให้มีเอกภาพมากขึ้น เพราะเรื่องหลักที่เราจะแก้ไขคือเรื่องความเป็นเอกภาพในการทำงาน เรื่องที่ทำให้ช้าคือเรื่องงบประมาณ และเรื่องระเบียบราชการ

                ได้คุยใน ครม.เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่าต้องเร่งแก้ไขเรื่องระเบียบวิธีการงบประมาณ ระเบียบการปฏิบัติราชการ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบหลายอย่างช้า ดังนั้นถ้ามันมีเหตุที่ต้องพิจารณาที่มีความจำเป็นต้องใช้ระเบียบวิธีการงบประมาณและระเบียบบริหารราชการพิเศษ มันก็ต้องมี 

                เรามี พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 แต่เรายังไม่มีระเบียบว่าข้าราชการจะปฏิบัติอย่างไรในภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นต้องทำให้ระบบราชการตอบสนองต่อปัญหาได้เร็วขึ้นและมีเอกภาพ 

                ในเรื่องผู้นำท้องถิ่น เราได้จัดองค์กรใหม่มี ศอ.บต. มีกระทรวงยุติธรรมเข้าไป ใน ครม.นัดพิเศษพรุ่งนี้ จะคุยกันว่ามีส่วนราชการอื่นต้องการเข้ามาร่วมอีกหรือไม่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะเข้าไปร่วมในด้านไหนอีกได้หรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องของกระทรวงมหาดไทยเพียงอย่างเดียว เราจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น และพูดตั้งแต่ต้นว่าอยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ทั้งการแก้ปัญหาการเมือง และปัญหาภาคใต้ จะเน้นเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากขึ้นในโอกาสข้างหน้า

                ส่วนข้อเสนอด้านการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับที่เราได้ดำเนินการไว้ โดยเฉพาะเรื่องสันติวิธี คิดว่าเราสามารถให้ความรู้แก่เด็กได้ตั้งแต่เบื้องต้น เราเคยผ่านวัยเด็กกันมาแล้ว ผมก็เคยชกกับเพื่อน นั่นก็เพราะความหุนหันพลันแล่น อารมณ์ชั่วครู่ เรื่องไม่มีอะไรเลย แต่แย่งกันกินน้ำประปาโดยคิดว่าใครถึงก่อนถึงหลัง นั่นคือผม ทั้งที่เราควรจะคิดก่อนและไม่ใช้ความรุนแรง เรื่องนี้เราสอนเด็กได้ให้เกิดการปรับตั้งแต่ต้นด้วยการศึกษาทำให้เด็กเข้าใจว่า วิธีแก้มันมีหลายวิธี

                ส่วนเรื่องประเทศเพื่อนบ้านจะให้ท่านไปฟังสิ่งที่ผมพูดในการบันทึกเทป ว่ามีอะไรขาดตกบกพร่องในเรื่องความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเขามองเราว่าไม่ยืนอยู่บนหลักของความยุติธรรม และการแก้ปัญหาของเราไม่ได้อยู่ในวิถีทางประชาธิปไตย แต่ต้องเข้าใจว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมาเราไม่สามารถแก้ปัญหาโดยวิถีทางประชาธิปไตยได้แล้ว มันก็ต้องแก้กันแบบนี้ และช่วงสุดท้ายก็เกิดการปะทะกันระหว่างคน 2 กลุ่ม ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่ คมช.เสนอมาให้ ครม.พิจารณาวานนี้ (21 พฤศจิกายน)

                และเรื่องที่ยากเช่นเดียวกันคือ เรื่องสมานฉันท์การเมือง ยากมากที่จะสร้างความเข้าใจในส่วนนี้ให้กลุ่มพรรคการเมืองต่างๆ ได้เข้าใจว่า แนวทางสมานฉันท์ทางการเมืองนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ผมเพียงแต่มีความหวังเล็กๆ น้อยๆ ว่า อยากให้พรรคการเมืองมามีส่วนร่วมในการนำบ้านเมืองเราไปสู่บรรยากาศประชาธิปไตยที่ดีกว่านี้ บางคนบอกว่าไม่ควรให้พรรคการเมืองมามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ตรงนี้แก้ลำบาก เพราะยังไงพรรคการเมืองก็ต้องมามีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ดังนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะเขามีส่วนร่วมโดยตรง

                แต่ทำอย่างไรให้พรรคการเมืองมีขั้นตอน มีหลักในการสรรหาสมาชิก สรรหาผู้นำพรรคการเมืองที่จะมาบริหารประเทศ คือแต่ละพรรคควรแถลงขั้นตอนเหล่านี้ให้ประชาชนรับทราบ ว่ามันมีความสอดคล้องกันแค่ไหน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม จะทำให้นอกจากเราจะเห็นนโยบายที่ดีแล้ว เราจะได้ผู้นำประเทศที่เหมาะสมด้วย นี่คือความคิดส่วนตัวของผม 

                รัฐบาลไม่มีหน้าที่โดยตรงในการร่างรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่รัฐบาลอยากเข้าไปมีส่วนร่วมคือ ทำอย่างไรให้กระบวนการต่างๆ ขับเคลื่อนไปให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ผมได้พูดกับผู้นำประเทศเพื่อนบ้านว่า ทำยังไงจะสามารถขับเคลื่อนไปได้ให้เร็วที่สุด แล้วให้ประชาชนมีส่วนร่วม คือการทำประชามติ ว่าประชาชนพอใจในรัฐธรรมนูญมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้าย เมื่อกระบวนการเคลื่อนไปแล้ว งานก็จะเหลือไม่มาก ทำงานได้ง่ายขึ้น

              ผมเข้าใจดีว่า เป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง เรื่องการทำงานจึงยากกว่าเป็น 10 เท่า ดังนั้นการที่จะสื่อสารไปยังประชาชนทราบนั้นยาก เพราะผมเองก็ไม่มี ส.ส. ทราบดีว่าความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลนั้น อยากให้รัฐบาลทำงานเร็วๆ ตอนนี้กำลังหาวิธีการอยู่ที่จะทำให้การสื่อสารออกไปง่ายยิ่งขึ้น

                เรื่องที่ผ่านเสนอเรื่องการนำสถานีโทรทัศน์มาใช้ ก็อยู่ในใจผม คือ เราน่าจะมีสถานีที่สามารถสื่อข่าวของเราได้ อย่างในต่างประเทศเช่น NHK หรือ CNN จะทำให้เราได้รับทราบความชัดเจนจากมุมหลายมุม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่จะได้พิจารณาจากหลายทาง

                ส่วนเรื่องการสร้างเครือข่ายสมานฉันท์สันติวิธีในต่างจังหวัดที่เสนอนั้น ขอฝากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้วยเพื่อดำเนินการต่อ 

                ส่วนการสร้างกลไกสมานฉันท์แห่งชาติ จำเป็นต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งทั้งในเรื่องกฎหมายและอื่นๆ ซึ่งผมคงไปศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้มากขึ้นด้วย และถ้าเรามีบุคลากรที่พร้อมอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่น่ากังวลใจมากนัก และถ้าประชาชนต้องการให้บ้านเมืองเราอยู่อย่างสันติวิธี ผมคิดว่าเรามีโอกาสทำเรื่องนี้ในความจำเป็นที่จะให้อยู่ในนโยบายแห่งชาติต่อไป

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

24 พ.ย. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/62866

<<< กลับ

 ท่องคาถา”สันติวิธี-สมานฉันท์” ใช้เวลา 1 ปีเขียนแผนที่แห่งความสุข

  ท่องคาถา”สันติวิธี-สมานฉันท์” ใช้เวลา 1 ปีเขียนแผนที่แห่งความสุข


(บทสัมภาษณ์พิเศษ ลงใน นสพ.มติชน สุดสัปดาห์ คอลัมน์ในประเทศ ฉบับวันที่ 3-9 พฤศจิกายน 2549 หน้า 13)

                ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้รับการทาบทามจาก พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 24 โดยตรงให้มานั่งเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                ทั้งๆ ที่เดือนก่อน (25-29 สิงหาคม 2549) ไพบูลย์กับคณะรวม 14 ชีวิต จาก 10 องค์กร เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศภูฏาน เพื่อค้นหาตัว “GNH” (Gross National Happiness) หรือ ความสุขมวลรวมประชาชาติ

               แล้วจู่ๆ วันดีคืนดี จากที่เคยนั่งทำงานอยู่ห้องเล็กๆ ณ ศูนย์คุณธรรม อาคารเอสเอ็ม ย่านพหลโยธิน นักพัฒนาสังคมอาวุโส ก็ถูกพลเอกสุรยุทธ์เชิญให้มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีด้านสังคม โดยนั่งทำงานที่วังสะพานขาว หรือตำหนักกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร อันเป็นอาคารรูปทรงตึกฝรั่งสมัยรัชกาลที่ 5

                “ถ้าให้ทำงานกระทรวงอื่น ผมอาจไม่รับตำแหน่ง กระทรวงอื่นมีคนเก่งกว่าผมเยอะ แต่กระทรวงนี้เป็นงานที่ผมเคยทำ เป็นถิ่นที่คุ้นเคยมาก คนก็คุ้นเคย งานก็คุ้นเคย คุ้นเคยไปหมด” รัฐมนตรีไพบูลย์กล่าว

                “ตลอดชีวิตของผม ไม่มีความหนักใจใดๆ แต่การรับตำแหน่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าดีใจอะไรนักหนา เพราะชีวิตเป็นเรื่องสัจธรรม เราก็เดินไปตามวิถีของชีวิต คิดว่าควรทำอะไรก็ทำไป อะไรที่จะเกิดขึ้น เราก็เผชิญหน้ากับสิ่งนั้น” รัฐมนตรีด้านสังคมกล่าว

                นับแต่อาจารย์ไพบูลย์เดินทางเข้ากระทรวงย่านตลาดโบ๊เบ๊กล่าวกันว่า ห้องทำงานกลายเป็นที่ชุมนุมของเครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายองค์กรเอ็นจีโอ (สายกลาง) นักวิชาการ และคนที่ทำงานด้านสังคม แวะเวียนกันมาฝากการบ้านให้รัฐมนตรีใหม่ช่วยผลักดัน จนเลขานุการหน้าห้องรัฐมนตรี ให้การต้อนรับแทบไม่ทัน

                ยามรักษาการหน้าวังสะพานขาว อันเป็นที่ทำงานของรัฐมนตรีไพบูลย์ เล่าให้ฟังว่า กลุ่มคนที่เข้าพบรัฐมนตรีไพบูลย์ กับพวกที่เข้าพบรัฐมนตรีคนก่อน (นายวัฒนา เมืองสุข) แตกต่างกันอย่างมาก ยุคก่อนมีแต่บรรดานักการเมืองกับพ่อค้านักธุรกิจ ยุคนี้มีแต่ชาวบ้าน นักวิชาการ และพระที่เข้าพบไม่เว้นแต่ละวัน

                และเข้าจริง รัฐมนตรีไพบูลย์ อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และอดีตประธานศูนย์คุณธรรม เดินทางเข้ากระทรวงพร้อมท่องคาถา 2 บท คือ สันติวิธี กับ สมานฉันท์

                นอกจากนี้ ใครที่เข้ามาพบปะหารือ รัฐมนตรีเป็นต้องแจกหนังสือมนต์พิธีแปล ฉบับรวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังสี (เอี่ยม สิริวณโณ) ไปอ่านที่บ้าน นับเป็นของฝากที่แปลกกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา “ผมทำงานพัฒนาสังคมมาตลอด มานั่งเป็นรัฐมนตรีก็เหมือนได้ทำงานต่อ แต่เป็นบทบาทระดับนโยบาย เมื่อก่อน เคยอยู่ในภาครัฐก็อยู่ในระดับปฎิบัติ เคยทำงานภาคประชาชนก็อยู่ระดับปฎิบัติ ผมทำมาหลายอย่าง ถือเป็นความผสมผสานของชีวิต”

                ส่วนแก่นสาระจริงๆ ที่รัฐมนตรีไพบูลย์ตั้งใจจะผลักดันไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้มีแค่ 4 เรื่องเท่านั้น หนึ่ง ดูแลแก้ปัญหาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย 47 จังหวัด สอง เยียวยาวิกฤตของพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้แนวทางสมานฉันท์ สาม นำแนวทางสันติวิธีมาลบรอยร้าวในสังคมไทยที่แตกแยกอย่างหนักทั้งในเมืองและชนบท สี่ พัฒนาด้านคุณธรรมและความดี เปลี่ยนสังคมไทยจากการนับถือเงินตราไปสู่การนับถือคนดีที่มีอุดมการณ์ “งานของผมไม่ยาก และไม่ง่าย แต่ผมมีเวลาแค่ 1 ปีเท่านั้น ผมเชื่อว่า ถ้าเราแก้ไขถูกวิธี ความสำเร็จก็เริ่มนับหนึ่งแล้ว เหมือนกับคนป่วยไปหาหมอรักษาโรค เคยรักษากับหมอคนเดิม ไม่หาย เมื่อเปลี่ยนหมอคนใหม่ ใช้วิธีการบำบัดแบบใหม่ อาจทำให้คนไข้ฟื้นไข้ ก็เป็นได้ แต่ทุกอย่างต้องค่อยๆ เปลี่ยน ผมเชื่อว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกล ขอเพียงเริ่มต้นให้ถูกวิธี” กล่าวกันว่า วิธีการทำงานของรัฐมนตรีไพบูลย์ อาจจะแตกต่างจากรัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่ผ่านมา คือ ไม่ได้เอาโปรเจ็คต์ หรือเอาโครงการเป็นตัวตั้ง แล้วก็เอาโครงการไปแจกประชาชน เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร ที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในเวลาต่อมา เมื่อความจริงถูกเปิดโปงว่ามีการชักค่าหัวคิวหลังละหมื่นบาท และยังมีความไม่โปร่งใส ยุ่บยั่บไปหมดทุกเฟสทั่วประเทศ 

                “บ้านเอื้ออาทรที่เป็นปัญหาก็ต้องเป็นหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติ จะต้องไปสะสางให้เกิดความถูกต้อง ส่วนที่สร้างเกินความต้องการของชาวบ้านไปหลายแสนหลังก็ต้องยุติไว้ก่อน ผมอยากให้เริ่มต้นใหม่ ส่วนอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ต้องตรวจสอบ แก้ไขให้เกิดความถูกต้อง จริงๆ แล้ว ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ จะต้องมาจากความต้องการของชาวบ้านจริงๆ อย่างโครงการบ้านมั่นคงที่ภาคใต้ ประสบความสำเร็จอย่างดีมาก” รัฐมนตรีไพบูลย์กล่าว

                อย่างไรก็ตาม หลายคนอดเป็นห่วงว่า การวางรากฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา มิใช่เปลี่ยนแปลงกันได้เพียงชั่วเวลาแค่ 1 ปี รัฐมนตรีไพบูลย์ตอบว่า ตนมาในสถานการณ์พิเศษ ก็ทำเท่าที่ทำได้ สังคมต้องพัฒนาการไปเรื่อยๆ สิ่งที่ทำก็อาจจะดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่ก็หวังจะทำดีให้มากที่สุด เพื่อให้สิ่งดีๆ นั้น จะเป็นเชื้อให้กับความดีต่อๆ ไป

                “ไม่เป็นไรหรอกครับ สังคมไทยมีสิ่งที่ดีอยู่เยอะ เราช่วยหนุนสิ่งที่ดีให้ปรากฏตัวมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดผลต่อเนื่องไปได้มาก เมื่อเราไม่อยู่แล้ว คนใหม่มารับช่วงต่อไป เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นไป บางทีอาจจะดีกว่ารัฐบาลชุดนี้เสียอีก” อดีตประธานศูนย์คุณธรรมกล่าว

                อีกคำถามที่ทั้งนักลงทุนไทยและต่างประเทศ ถามกันมากก็คือ ระบบเศรษฐกิจพอเพียง จะไปเกาะเกี่ยวกับระบบทุนนิยมของโลก ได้อย่างไร? โจทย์ข้อนี้รัฐมนตรีไพบูลย์ตอบโจทย์อย่างมั่นใจว่า จริงๆ แล้ว เศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ ความพอประมาณ และความพอดี 

                ทุนนิยมที่ดีก็ต้องมีความพอประมาณ ทุนนิยมไม่ได้แปลว่า จะต้องสุดโต่ง ความสุดโต่งเป็นเรื่องของคนที่ไปทำกันเอง ทุนนิยมที่ดีก็คือ การใช้ทุนที่มีความพอดี เช่น การลงทุนที่มีการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ไม่ใช่ยิ่งมากยิ่งดี (สักหน่อย)

                นอกจากนี้ ทุนนิยมจะต้องมีการจัดการที่ดี และมีการป้องกันความเสี่ยง นี่คือ ทุนนิยมที่ดี สุดท้าย ระบบเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ การตอกย้ำในเรื่องการบริหารธุรกิจที่ดีนั่นเอง

                จากนี้ไป แผนที่แห่งความสุขตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อาจค่อยๆ ปรากฏตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ณ วังสะพานขาว ชั้น 2 โปรดติดตาม

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

8 พ.ย. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/57916

<<< กลับ