มูลนิธิหัวใจอาสา(ประวัติ)

มูลนิธิหัวใจอาสา(ประวัติ)


มูลนิธิหัวใจอาสา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 28 เมษายน 2551 ประธานคณะก่อตั้งคือนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม  พร้อมกับผู้ร่วมอุดมการณ์ รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการชุดแรก 7 คน  ปัจจุบันได้เพิ่มจำนวนกรรมการเป็น 9 คน  พร้อมกับมีที่ปรึกษา 6 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภูมิหลัง และหลากหลายวงการ อ่านเพิ่มเติม “มูลนิธิหัวใจอาสา(ประวัติ)”

ทำบุญประจำปีให้อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

ทำบุญประจำปีให้อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม


งานพิธีทางศาสนาในวันศุกร์ที่ 23 มี.ค. 2561  เวลา 07.30 น. ทำบุญประจำปีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดให้อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม โดยสถานที่จัดงานในครั้งนี้ ณ อาคารวชิรญาณ  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย

  อ่านเพิ่มเติม “ทำบุญประจำปีให้อาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม”

คำนิยมในหนังสือแปล “นายธนาคารเพื่อคนจน” โดย Muhammad Yunus แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล (เกี่ยวกับ “กรามีนแบงก์” ธนาคารเพื่อคนจนแห่งแรกของโลก)

คำนิยมในหนังสือแปล “นายธนาคารเพื่อคนจน” โดย Muhammad Yunus แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล (เกี่ยวกับ “กรามีนแบงก์” ธนาคารเพื่อคนจนแห่งแรกของโลก)


คำนิยม

ศาสตราจารย์ ดร. มูฮัมหมัด ยูนุส ได้รับรางวัลเกียรติยศระดับนานาชาติหลายรางวัล ที่โดดเด่นที่สุดคือ รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ซึ่งเขาได้รับในปี ค.ศ. 2006 หรือ พ.ศ. 2549 อ่านเพิ่มเติม “คำนิยมในหนังสือแปล “นายธนาคารเพื่อคนจน” โดย Muhammad Yunus แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล (เกี่ยวกับ “กรามีนแบงก์” ธนาคารเพื่อคนจนแห่งแรกของโลก)”

ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรี

ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรี


หนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งได้โทรศัพท์มาถามความคิดเห็นของผม เกี่ยวกับเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรีที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2549 ผมได้ให้ความเห็นไป ซึ่งปรากฏรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 16 – 18 มกราคม 2549 ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม “ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเรียลลิตี้โชว์แก้จนของนายกรัฐมนตรี”

สิ่งที่ควรทำต่อจาก “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี

สิ่งที่ควรทำต่อจาก “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี


เกี่ยวกับ “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี ที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่าง 16 – 20 ม.ค. 49 นั้น ผมได้รับการสัมภาษณ์และรับเชิญให้แสดงความคิดเห็นหลายครั้ง ได้แก่ (1) นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ซึ่งลงเป็นข่าวในฉบับ 16 – 18 ม.ค. 49 (2) สัมภาษณ์สดทางวิทยุคลื่น FM 94.0 เมื่อ 15 ม.ค. 49 (3) สำนักข่าว Thai News สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อ 17 ม.ค. 49 (4) นสพ.ผู้จัดการ สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อ 18 ม.ค. 49 (5) ออกรายการสดทางโทรทัศน์ ทีแอลซี (TLC) เมื่อ 20 ม.ค. 49 (ร่วมกับ นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ) และ(6) สัมภาษณ์สดทางวิทยุ FM 94.0 เมื่อ 21 ม.ค. 49 อ่านเพิ่มเติม “สิ่งที่ควรทำต่อจาก “เรียลลิตี้โชว์แก้จน” ของนายกรัฐมนตรี”

คนญี่ปุ่นมีดีที่ความขยัน มุ่งมั่น ประหยัด สะอาด มีระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้

คนญี่ปุ่นมีดีที่ความขยัน มุ่งมั่น ประหยัด สะอาด มีระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้


(7-12 ก.พ. 49) ร่วมไปกับคณะทัศนาจร 36 คน สู่เมืองโตเกียวและซับโปโร (Sapporo) ประเทศญี่ปุ่น จุดเด่นที่ไปชมคือ “เทศกาลหิมะ” (Snow Festival) ที่ซับโปโร ซึ่งเขาจัดติดต่อกันมานานแล้วโดยใช้ช่วงเวลา 2 สัปดาห์ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี อ่านเพิ่มเติม “คนญี่ปุ่นมีดีที่ความขยัน มุ่งมั่น ประหยัด สะอาด มีระเบียบ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้”

ผมฝันไปว่า……ชื่อทักษิณ ชินวัตร

ผมฝันไปว่า……ชื่อทักษิณ ชินวัตร


(27 ก.พ. 49) เมื่อวานนี้ หลังจากที่ผมได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (ขณะอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี) กับ นสพ.มติชนรายวัน ในเรื่องทางออกจากภาวะวิกฤตทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร แล้ว (ซึ่งนสพ.มติชนรายวันได้ลงเป็นข่าวพร้อมบทสัมภาษณ์แล้ววันนี้) พอดีผมมีเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ที่ต้องนั่งรอที่ห้องทำงานก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินกลับกรุงเทพฯ จึงใช้เวลานั้นเขียนบทความชื่อว่า “ผมฝันไปว่า……ชื่อทักษิณ ชินวัตร” และมีสาระของบทความดังนี้ อ่านเพิ่มเติม “ผมฝันไปว่า……ชื่อทักษิณ ชินวัตร”

โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย

โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย


(26 มี.ค. 49) ไปร่วมอภิปรายหัวข้อ “โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย” ในโอกาศวันสถาปนา “วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” จ.อุบลราชธานี (ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ เป็นอธิการบดี ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ และดร.พจน์ ยงสกุลโรจน์ เป็นผู้ติดต่อให้ไปร่วมอภิปราย)
ได้เสนอความเห็นที่มีสาระสำคัญดังนี้
· “โลกทัศน์” คือ “มุมมอง” หรือ “ระบบคิด” หรือ “วิธีคิด” หรือ “วิถีคิด” หรือ “กระบวนทัศน์”
· ควรมองเรื่อง “เศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย” จากฐานประชาชน คือมี “ประชาชน” เป็นตัวตั้ง หรือมองว่าเป็น เศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย ของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน อ่านเพิ่มเติม “โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย”

การสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง” สู่ “สังคมที่ปรารถนา”

การสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง” สู่ “สังคมที่ปรารถนา”


(2 มี.ค. 49) ไปบรรยายให้กลุ่ม “คณะทำงานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม” (พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธาน “คลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม” พลเอกรณจักร สวัสดิเกียรติ เป็นประธาน “กลุ่มประสานงาน” พลอ.อ.อรุณ พร้อมเทพ เป็นผู้ติดต่อให้ไปบรรยาย) ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง” เพื่อประกอบการศึกษาของ “กลุ่มประสานงาน” เรื่อง “เมืองไทยที่ปรารถนา” ซึ่งในการศึกษานี้ ได้ให้ความสำคัญกับ “ชุมชนเข้มแข็ง” ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของ “เมืองไทยที่ปรารถนา” อ่านเพิ่มเติม “การสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง” สู่ “สังคมที่ปรารถนา””

การพัฒนาชีวิตครู (แก้ปัญหาหนี้สินครู) ที่จังหวัดสมุทรปราการ

การพัฒนาชีวิตครู (แก้ปัญหาหนี้สินครู) ที่จังหวัดสมุทรปราการ


   (4 มี.ค. 49) ไปบรรยายหัวข้อ “เจตนารมณ์อันแน่วแน่ต่อการพัฒนาที่ยังยืน” ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2548 ของ “สมาคมเครือข่ายพัฒนาชีวิตครู (ประเทศไทย) จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอาจารย์พงศักดิ์ ธีระวรรณสาร เป็นนายก (จังหวัด) (0-9153-3172)
ได้บรรยายโดยมีสาระสำคัญดังนี้
แนวทางสำคัญในการพัฒนาชีวิตครู (แก้ปัญหาหนี้สินครู) ระดับจังหวัด
1. การมีทัศนคติพึ่งตนเองและร่วมมือกัน บนฐานของ “ความดี” และ “ความสามารถ”
2. การเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันผ่านการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
3. การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสานความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
4. การมีกลไก กระบวนการ และปัจจัยเอื้ออำนวยที่เหมาะสมและมีคุณภาพพร้อมประสิทธิภาพ
5. การมีนโยบายในด้านต่างๆทุกระดับที่เกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิตครู (แก้ปัญหาหนี้สินครู) ทั้งทางตรงและทางอ้อม

อ่านเพิ่มเติม “การพัฒนาชีวิตครู (แก้ปัญหาหนี้สินครู) ที่จังหวัดสมุทรปราการ”