โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย

โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย


(26 มี.ค. 49) ไปร่วมอภิปรายหัวข้อ “โลกทัศน์ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย” ในโอกาศวันสถาปนา “วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” จ.อุบลราชธานี (ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ เป็นอธิการบดี ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ และดร.พจน์ ยงสกุลโรจน์ เป็นผู้ติดต่อให้ไปร่วมอภิปราย)
ได้เสนอความเห็นที่มีสาระสำคัญดังนี้
· “โลกทัศน์” คือ “มุมมอง” หรือ “ระบบคิด” หรือ “วิธีคิด” หรือ “วิถีคิด” หรือ “กระบวนทัศน์”
· ควรมองเรื่อง “เศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย” จากฐานประชาชน คือมี “ประชาชน” เป็นตัวตั้ง หรือมองว่าเป็น เศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย ของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน
· ควรเริ่มจาก “สถานะที่เป็นอยู่” แล้วดูว่าจะพัฒนาต่อไปอย่างไร
· ขบวนการ “แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง” (หรือ “แผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง”) และขบวนการ “เศรษฐกิจพอเพียง” คือ ของดีมีคุณค่าที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย สามารถสานต่อได้อย่างเป็นรูปธรรม
· อาจศึกษาเปรียบเทียบกับจังหวัดโออิตะ (Oita) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบุกเบิกแนวคิดและแนวปฏิบัติ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์” (One Village One Product) โดยสามารถผสมผสานเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ได้อย่างประสบความสำเร็จ
· ข้อเสนอแนะต่อสถาบันการศึกษา ในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการสังคม ควรนำประเด็น “เศรษฐกิจและเทคโนโลยีบนวิถีวัฒนธรรมไทย” มาดำเนินการบนฐานของ “ระบบคิด” (โลกทัศน์) ดังกล่าวข้างต้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและประชาชน ในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเน้นการสร้างนักศึกษาที่ “มีความดี มีความสุข และมีความสามารถ” (ซึ่งมีลำดับความสำคัญตามลำดับของการใช้ถ้อยคำข้างต้น)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
3 มี.ค. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/17537

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *