เอกสารฉบับย่อ : การปรับทิศทางการพัฒนาประเทศด้วยชุดตัวชี้วัดการพัฒนาแบบบูรณาการ

เอกสารฉบับย่อ : การปรับทิศทางการพัฒนาประเทศด้วยชุดตัวชี้วัดการพัฒนาแบบบูรณาการ


(เอกสารประกอบการอภิปราย  หัวข้อ  “Reshaping Economic Development with Gross National Progress Index”  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ  An International Conference  “Asia : Road to New Economy”  จัดโดย  The Nation  และ  Asia News Network  ที่โรงแรม  Plaza Athenee  เมื่อ  21  สิงหาคม  2552)

การนำเสนอการสัมมนาจะประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ :

ประการแรก จะกล่าวถึงหลักการและกระบวนการในการพัฒนาชุด ตัวชี้วัดที่สามารถนำไปใช้ได้ในระดับปฏิบัติ และนำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมอย่างยั่งยืน

หลักการพื้นฐานของชุดตัวชี้วัดการพัฒนาแบบบูรณาการแบบใหม่ ประกอบไปด้วย:

–         มีความครอบคลุมและมีการบูรณาการในเนื้อหาสาระ กระบวนการ และวิธีการ

–         ยึดหลักแนวคิด 3 ฐานหลักของการพัฒนา ได้แก่  1. ความดี 2. ความสามารถ และ 3. ความสุข หรือสุขภาวะ

–         ร่วมมือกันอย่างเชื่อมโยงและมีพลวัตทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น  

–         ในระดับท้องถิ่น ชุดตัวชี้วัดจะนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาของชุมชนโดยมุ่งตรงสู่ผลลัพธ์ ดังนั้น ควรให้เกิดความเข้าใจเรื่องตัวชี้วัด  การดำเนินการพัฒนาตัวชี้วัด  และการนำตัวชี้วัดไปใช้ร่วมกัน  โดยแต่ละชุมชนและเพื่อแต่ละชุมชน

–         การพัฒนาชุดตัวชี้วัดระดับท้องถิ่นควรเน้นหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. มีเป้าประสงค์ในการพัฒนาที่ชัดเจน 2.  มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม สามารถวัดได้ และนำไปใช้ได้ในระดับปฏิบัติเพื่อดำเนินการชี้วัดความก้าวหน้าตามเป้าประสงค์ในการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง 3. ระบุได้ว่าจะได้ตัวชี้วัดจากแหล่งใด  ด้วยวิธีใด  4. ปรับปรุงพัฒนาชุดตัวชี้วัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

–         ในระดับชาติ ชุดตัวชี้วัดควรได้รับความเห็นพ้องร่วมกันในสังคมอย่างเป็นองค์รวม มิใช่ถูกกำหนดโดยฝ่ายรัฐบาล นักวิชาการ หรือ นักวิจัย แต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ผู้แทนจากทุกภาคส่วนในสังคมควรมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและกำหนดเนื้อหาสาระ ตลอดจนการนำชุดตัวชี้วัดไปใช้อย่างต่อเนื่อง

ประการสุดท้าย ในการพัฒนาตัวชี้วัดระดับท้องถิ่น  มีกรณีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในระดับตำบล   ซึ่งจะยืนยันว่า หลักการพื้นฐานดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้จริงและเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย โดยกรณีตัวอย่างดังกล่าวยังคงมีการดำเนินการอยู่  และได้ใช้ชุดตัวชี้วัดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นเครื่องมือหลักในการเรียนรู้และพัฒนา พร้อมด้วยการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจากทุกภาคส่วนในพื้นที่

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/291500

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *