หลักการ กระบวนการ ขั้นตอนการสร้างเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (3)

หลักการ กระบวนการ ขั้นตอนการสร้างเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (3)


 

สรุปเป้าหมาย ตัวชี้วัดการพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น  ต.หนองพันจันทร์  อ.บ้านคา  จ.ราชบุรี

(ฉบับปรับปรุงจากเวที วันที่ 29 ก.ค. 52 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง) ดังนี้

       เป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีได้ตัวชี้วัด วิธีบรรลุเป้าหมาย

(ที่สำคัญ)

1.  คนในตำบลมีฐานะมั่นคง มีความสุข 1. การออมเงินของครัวเรือนในกองทุนต่างๆของหมู่บ้านและตำบลมีเพิ่มมากขึ้น

2. ครัวเรือนที่เป็นหนี้ก่อทุกข์ (หนี้สินที่เป็นปัญหา)  มีจำนวนลดลง   จนมั่นใจว่าสามารถปลดหนี้ (ที่เป็นปัญหา) ได้

3. มีจำนวนคนตกเกณฑ์ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) ลดลง

 

1. สำรวจสถิติเงินออมรายเดือนของครัวเรือน ในกองทุนต่างๆ ของครัวเรือน  และสถิติครัวเรือนที่มีการออมสม่ำเสมอ

2. สำรวจสถิติหนี้สินของครัวเรือนในกองทุนต่างๆ

3. ข้อมูลจากการสำรวจสถิติข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.)

1. จัดกิจกรรมรณรงค์ครอบครัวตัวอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยการจัดทำบัญชีครัวเรือน การลดรายจ่าย  การเพิ่มรายได้ และการดำรงชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีการจัดกิจกรรมการออมเงินมากขึ้น รณรงค์ ให้ใช้หลักการจัดสรรรายได้ 70 : 30  คือ รายได้  100  บาท  ใช้จ่ายในครัวเรือน  70  บาท  อีก  30  บาท  เป็นเงินออม

2. ใช้สถิติข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) จากข้อมูลรายได้  เพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์หาแนวทางการวางแผนการดำเนินกิจกรรม

 

2.  ตำบลสีขาว  ปลอดอบายมุขและ
ยาเสพติด
4. คดีที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข หรือยาเสพติด น้อยลง

 

สำรวจสถิติจากสถานีตำรวจ  คดีที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข  และยาเสพติดทุก 3 เดือน 1. รณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุข และยาเสพติด

2. ส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมายให้กับประชาชน

3. ผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลและผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นเป็นคนคุณภาพมีความเข้มแข็ง 5. คุณภาพผู้นำ ที่มีทั้งความดี (มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความ ซื่อสัตย์ เสียสละ โปร่งใส ยึดหลักธรรมาภิบาล) มีความสามารถ และมีความสุข เพิ่มขึ้น 1. ประมาณการนับจำนวนผู้นำที่เข้าร่วมกิจกรรมงานพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง ทั้งในการกำหนดวิธีการ ร่วมรับผิดชอบการดำเนินงาน และติดตามแก้ไขปัญหาในแต่ละประเด็นงานของชุมชน

2. การสำรวจประเมินภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่น ตามแบบประเมินที่สภาองค์กรชุมชนจัดทำขึ้น

1. มีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องราวของชุมชนเป็นประจำ

2. นำผลการสำรวจประเมินภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นมาสะท้อนกลับปรับปรุงและพัฒนาภาวะผู้นำ

4. อนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม 6. กิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมของตำบลหนองพันจันทร์เกิดเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น คนมีความภาคภูมิใจ ประมาณการนับจำนวนผู้มีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนในตำบล ในแต่ละครั้ง 1. จัดประเพณีวัฒนธรรมไทยทรงดำ ให้เป็นประเพณีท้องถิ่นประจำปี

2. การประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประเพณีวัฒนธรรม

5. มีการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีการจัดภูมิทัศน์ที่สวยงาม  ดูแล้วเกิดความรักในธรรมชาติและมีความรักความผูกพันในชุมชนท้องถิ่น 7. พื้นที่ ป่าไม้ในตำบลที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้นมีจำนวนพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น

8. จำนวนครัวเรือนที่มีส่วนร่วมในการจัดภูมิทัศน์ให้ชุมชนหนองพันจันทร์ มีความร่มรื่น มีความสวยงามเช่นการปลูกต้นไม้ดอกไม้ประดับ ริมถนน บริเวณหน้าบ้าน บริเวณสถานที่สาธารณสมบัติของชุมชนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

1. สำรวจสถิติจำนวนพื้นที่ป่ารวมทั้งตำบล ทั้งพื้นทีป่าธรรมชาติและพื้นที่ป่าที่มีการปลูกต้นไม้ที่รวมกันเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นพื้นที่ที่ชุมชนสามารถดูแลรักษาไว้ไม่ให้ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และดูแลไม่ให้คนล่าสัตว์ป่า

2. ประมาณการนับจำนวนสถิติของสมาชิกในชุมชนที่มีการให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมปรับภูมิทัศน์ของชุมชนทั้งการปลูกต้นไม้ดอกไม้ประดับ ริมถนน บริเวณบ้าน บริเวณสถานที่สาธารณสมบัติของชุมชน

1. ส่งเสริมการปลูกป่า ในวันสำคัญต่าง ๆ

2. สนับสนุนให้กลุ่มองค์กรชุมชนจัดกิจกรรมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ ในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสมาชิกในชุมชน

3. จัดกิจกรรมให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงผลกระทบจากการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

4. รณรงค์ให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดภูมิทัศน์ชุมชนหนองพันจันทร์ให้มีความร่มรื่น มีความสวยงาม เช่นปลูกต้นไม้ดอกไม้ประดับริมถนน บริเวณหน้าบ้าน บริเวณสถานที่สาธารณสมบัติของชุมชน

6. กลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย องค์กรชุมชนในตำบลเข้มแข็ง 9. มีกลุ่ม องค์กรชุมชนที่เข้มแข็งเพิ่มขึ้น

10. มีกลุ่ม องค์กรชุมชนที่ต้องฟื้นฟูความเข้มแข็งลดลง

ประมวลข้อมูลกลุ่ม องค์กรชุมชนจากจากเวทีการวิเคราะห์ความเข้มแข็งกลุ่ม องค์กร ต่างๆ ในชุมชนของสภาองค์กรชุมชนตามกรอบเครื่องมือที่สภาองค์กรชุมชนจัดทำขึ้น (จัดเวทีวิเคราะห์ปีละ 2 ครั้ง) 1. ทำแผนพัฒนากลุ่มองค์กรในตำบล

2. ประสานแผนงานความร่วมมือกับท้องถิ่น และองค์กรภายนอก

3. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้มีความสามารถจัดการเรียนรู้ ถ่ายทอด วิธีการพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มแต่ละประเภท และให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่/ ชุมชน

7. คนในตำบลมีสุขภาพอนามัยที่ดี 11. คนในชุมชนที่มีความเจ็บป่วย ด้วยโรคร้ายแรงมีจำนวนลดลง

12. จำนวนคนเข้าร่วมกิจกรรมดูแลสุขภาพมากขึ้น

 

1. สำรวจสถิติ คนในชุมชนที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงจากสถานีอนามัยตำบล และโรงพยาบาลบ้านคา

2. ประมาณการนับจำนวนผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพชุมชน เช่นเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม อสม.

1. มีการจัดกิจกรรมการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

2. ส่งเสริมให้คนในชุมชนออกกำลังกายเ

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/293250

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *