สันติวิธีกับงานวัฒนธรรม

สันติวิธีกับงานวัฒนธรรม


“สันติวิธี” เป็นการมุ่งอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นการมุ่งประโยชน์ร่วมกัน เป็นการเห็นคุณค่าของ “สันติภาพ” หรือ “สันติภาวะ”

“วัฒนธรรม” เป็นแบบแผนการ คิด พูด ทำ ที่สั่งสมจนเป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติเป็นปกติในกลุ่มชนหนึ่งๆ

“สันติวิธี” ควรพัฒนาเป็น “วัฒนธรรม” และ “วัฒนธรรมที่ดี” ควรมี “สันติวิธี” อยู่ด้วย หรือ “วัฒนธรรมที่ดี” ควรนำสู่ “สันติภาวะ”

                    “วัฒนธรรม” เชื่อมโยงแบบ “พหุปฏิสัมพันธ์” กับ “จิตสำนึก” “ระบบคิด” และ “การปฏิบัติ”

“จิตสำนึก” / “ระบบคิด” 2 แบบ ได้แก่

1. “จิตสำนึก/ระบบคิด” แบบ “สมานฉันท์” เช่น

1.1 ตามธรรมะพระพุทธเจ้า

• กัลยาณมิตตตา

• พรหมวิหาร 4

• อปริหานิยธรรม 7

• บุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นต้น

1.2 ตามพระราชดำริในหลวง

• รู้ รัก สามัคคี

• ไมตรี (พระราชดำรัส 5 ธ.ค. 42)

• เศรษฐกิจพอเพียง

• เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

• คุณธรรม 4 ประการอันเป็นที่ตั้งของความรักความสามัคคี (พระราชดำรัส 9 มิ.ย. 49) เป็นต้น

1.3 ตามหลักการพัฒนา/การบริหาร/การทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่ดี

• The 7 Habits of Highly Effective People

• Appreciative Inquiry (AI)

• Appreciation, Influence, Control (AIC)

• Knowledge Management (KM)

• Participatory Learning

• Learning Organization

• Conflict Management/Resolution

• Dialogue

• Restorative Justice   เป็นต้น

2. “จิตสำนึก/ระบบคิด” แบบ “ปฏิปักษ์” ได้แก่

• ต่อสู้แย่งชิง

• แก่งแย่งแข่งขัน

• พวกเราพวกเขา

• เราดีเขาเลว

• คณะนิยม (ปฏิปักษ์กับคนอื่น)

• โลภมากอยากได้ (เงิน อำนาจ อิทธิพล ฯลฯ)   เป็นต้น

“วัฒนธรรมที่ดี” สามารถช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง แต่ “สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรม” อาจกลายเป็นสาเหตุหรือปัจจัยให้เกิดการขัดแย้งได้ เช่น การมองว่า “วัฒนธรรมของเรา” ดีกว่า “วัฒนธรรมของคนอื่น” หรือการพยายามนำ “วัฒนธรรมของเรา” ไปครอบงำคนอื่น หรือ การมองว่า “วัฒนธรรมของคนอื่น” ยังไม่ดีพอ หรือการติดยึดกับ “วัฒนธรรมของเรา” จนเกินความพอดี    เป็นต้น

ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารงานวัฒนธรรม

1. การค้นหา “จุดดีเด่น” หรือ “ความสำเร็จ” หรือ “ความน่าพึงพอใจ” ที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม” หรือ “สันติวิธี”

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ “จุดดีเด่น” หรือ “ความสำเร็จ” หรือ “ความน่าพึงพอใจ” เหล่านั้น รวมถึงประเด็นต่อเนื่อง

3. การรวมตัวเป็น “กลุ่ม” และ “เครือข่าย” ของ “บุคคล” หรือ “องค์กร” หรือ “พื้นที่” เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน

4. การจัดกิจกรรม “ค้นหาจุดดีเด่น” และ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้” หรือ “จัดการความรู้” (Knowledge Management) (ตามข้อ 1. และ 2.) ภายใน “กลุ่ม” และ “เครือข่าย” (ตามข้อ 3.)

5. “การเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันผ่านการปฏิบัติ” (Interactive Learning through Action) อย่างต่อเนื่อง

(บันทึกความคิดสำหรับการร่วมอภิปราย หัวข้อ “สันติวิธีกับงานวัฒนธรรม” เมื่อ 13 ก.ค.49 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “การฝึกอบรมผู้บริหารเครือข่ายวัฒนธรรม” ประจำปี 2549 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

21 ก.ค. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/40140

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *