มาตรฐานบริการสาธารณสุข : ควรใช้ความพยายาม “5 ย.”

มาตรฐานบริการสาธารณสุข : ควรใช้ความพยายาม “5 ย.”


(บันทึกความคิดสำหรับการอภิปราย หัวข้อ “มุมมองต่อมาตรฐานบริการสาธารณสุข” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาวิชาการ “การพัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐานบริการสาธารณสุข” 20-21 กรกฎาคม 2549 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร จัดโดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (โดยสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ) กระทรวงสาธารณสุข ผู้ร่วมอภิปรายอื่น คือ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ (ประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสาธารณสุข สปสช.) ร้อยตรีสนธยา มโหทาน (ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขภาคกลาง) และนายคำเดื่อง ภาษี (ปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน) โดยมี นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ) เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย)

พัฒนาการเกี่ยวกับมาตรฐานบริการสาธารณสุข

  • การรักษา ป้องกัน ส่งเสริม/สร้างเสริม
  • การส่งเสริมคุณภาพ / มาตรฐาน ด้วยระบบต่างๆ

–          TQM (Total Quality Management)

–          ISO 9000: 2000

–          HA (Hospital Accreditation)

–          PHSS (Public Health Service Standard)

–          HNQA (Hospital Network Quality Andit)

–          HCQA (Hospital Care Quuality Award)

มาตรฐานบริการสาธารณสุข

  • การได้ตามมาตรฐาน = ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้รับบริการ =  มิติเชิงเทคนิค
  • ความพยายามให้ได้ตามมาตรฐาน =มิติเชิงการจัดการ
  • การร่วมกันกำหนดมาตรฐานและดูแลให้ได้ตามมาตรฐาน =มิติเชิงสังคม

ความพยายาม “5 ย.” (5 มิติ) (ข้อเสนอแนะ)

  1. ยลให้ทั่ว :  ปรับปรุงเอกสารคู่มือ จัดหมวดหมู่ให้ดี คำนึงถึงมุมมองของประชาชนผู้รับบริการด้วย การใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย รูปแบบให้น่าอ่านน่าสนใจ อาจมีแบบเป็นการ์ตูนด้วย
  2. หยั่งให้ลึก :  เข้าถึงมิติจิตใจ/จิตสำนึก/จิตวิญญาณ ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
  3. โยงให้กว้าง :  ครอบคลุมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชนและฝ่ายต่างๆ การประสานพลังพหุภาคี การใช้หลักการพื้นที่เป็นตัวตั้งและประชาชนเป็นศูนย์กลาง การใช้ยุทธศาสตร์ “โรงพยาบาลชุมชนเข้มแข็ง” ผนวกกับ “ชุมชนเข้มแข็ง”
  4. ยกให้สูง :  สามารถอาศัย TQM, ISO 9000: 2000, HA, HNQA, ต่อด้วย PDCA (Plan, Do, Check, Action) และ KM (Knowledge Management) ฯลฯ
  5. ย่างเยื้องให้ไกล :  ดำเนินการอย่างมีพหุปฏิสัมพันธ์ อย่างมีพลวัต อย่างจริงจัง อย่างต่อเนื่อง (ย่างเยื้อง = เดินอย่างมีลีลา)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

8 ส.ค. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ  https://www.gotoknow.org/posts/43776

<<< กลับ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *