มรรค 8 / บัญญัติ 8 ประการ ในการปฏิรูป (ประเทศไทย)
การปฏิรูป(ประเทศไทย) จะ ไม่ สำเร็จด้วยดี ถ้า …..
- ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนฐานราก ไม่มีบทบาทสำคัญ และไม่เป็นแกนหลักในการปฏิรูป
- ทุกภาคส่วน รวมถึง ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ไม่ร่วมมือรวมพลังสร้างสรรค์ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมติดตามประเมินผล ร่วมเรียนรู้และปรับปรุงพัฒนาหรืออภิวัฒน์อย่างต่อเนื่อง
- ไม่ มี “เสาหลัก” หรือ หลักการสำคัญ หรือเป้าหมายสำคัญ 3 ประการในการปฏิรูป ได้แก่ (1) ความดี (คุณธรรม) (2) ความสามารถ (3) ความสุข (สุขภาวะ) ที่ดีพอ มากพอ และได้สมดุลกัน
- ไม่ มีการใช้ข้อมูล ความรู้ วิจารณญาณ ปัญญา ที่ดีพอ ในการดำเนินการ และหรือเสนอแนะ การปฎิรูป
- ไม่ มีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ที่ดีพอ เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ แรงจูงใจ แรง บันดาลใจ ฯลฯ ในหมู่ประชาชนและสังคมโดยรวม จนสามารถนำประชาชนเข้ามามีบทบาทในการปฏิรูปอย่างสมัครใจและเต็มใจ
- ไม่ มีการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ในพื้นที่ต่าง ๆ ตามประเด็นต่าง ๆ อย่างเป็นขบวนการ และเป็นเครือข่ายเพื่อการปฏิรูป ที่ดำเนินงานอย่างจริงจัง มุ่งมั่น พากเพียร อดทน เสียสละ ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง
- ไม่ มีการจัดการที่มีคุณภาพ มีศิลปะ และมีประสิทธิภาพ ที่ดีพอ ในทุกพื้นที่ ทุกองค์กร ทุกเรื่อง และทุกระดับ รวมถึงระดับชาติ
- ไม่ มีการสนับสนุนร่วมมือเชิงนโยบายและงบประมาณ รวมถึงการมี นโยบาย แผนงาน โครงการ กฏหมาย กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อบัญญัติ (ท้องถิ่น) ฯลฯ ที่เหมาะสม โดยสถาบันหรือองค์กรในภาครัฐ รวมถึง สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันตุลาการ ฝ่ายบริหาร / รัฐบาล/คณะรัฐมนตรี กระทรวง/กรม/กอง หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน ฯลฯ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ
ดังนั้น….. ถ้าจะปฏิรูป (ประเทศไทย) ให้สำเร็จด้วยดี จึงต้องใช้…..
“มรรค 8 / บัญญัติ 8 ประการในการปฏิรูป(ประเทศไทย)”
ซึ่งได้แก่การ ตัดคำว่า “ไม่” ออกจากทุกข้อ ที่กล่าวข้างต้น
อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/433172