การพัฒนา “แผนงานจิตตปัญญาศึกษา” (Contemplative Education) มหาวิทยาลัยมหิดล

การพัฒนา “แผนงานจิตตปัญญาศึกษา” (Contemplative Education) มหาวิทยาลัยมหิดล


(20 มี.ค. 49) ร่วมประชุมหารือเพื่อพัฒนา “แผนงานจิตตปัญญาศึกษา” (Contemplative Education) ซึ่งมหาวิทยลัยมหิดล และสถาบันอาศรมศิลป์/โรงเรียนรุ่งอรุณ ร่วมกับเครือข่ายด้านการเรียนรู้และการปฏิบัติหลายองค์กร ได้ริเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นเบื้องต้น และนำมาให้ที่ประชุมวันนี้ร่วมกันพิจารณาให้ข้อคิดเห็น
            ที่มาของแผนงานนี้ คือ การเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพมนุษย์โดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาจากกระบวนการเรียนรู้จริงและให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านในอย่างแท้จริง
            แผนงานนี้ประกอบด้วย แผนการดำเนินงานทางด้านการวิจัย การจัดหลักสูตรฝึกอบรม/ปฏิบัติ และการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
            วิจักขณ์ พานิช (กำลังศึกษาปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ (Naropa) ประเทศสหหรัฐอเมริกา) ให้ความหมายของ Contemplative Education ว่า “หมายถึงการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ นัยของคำคำนี้ มิใช่แสดงถึงรูปแบบของการศึกษา หรือระบบการศึกษา แต่เน้นไปที่ “กระบวนการ” คำคำนี้เหมือนเป็นการจุดประกายความหมายใหม่ให้เราย้อนกลับไปหาราก คุณค่า และความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ ที่มีผลระยะยาวต่อชีวิตของคนคนหนึ่งทั้งชีวิต”
            ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เสนอ กระบวนการเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษา ไว้ดังนี้
1.   การเข้าถึงโลกทัศน์และชีวิต เรามองโลก มองธรรมชาติอย่างไร หากเราเข้าถึงความจริงจะพบความงามในนั้นเสมอ เมื่อเราเข้าถึงธรรมชาติก็จะถึงความเป็นอิสระ
2.   กิจกรรมต่างๆ เช่นกิจกรรมที่เกี่ยวกับชุมชน ดนตรี ศิลปะ กิจกรรมอาสาสมัคร (Volunteer) สุนทรียสนทนา (Dialogue) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง พัฒนาจิตใจ
3.   การปลีกวิเวกไปอยู่ในธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ (Retreat) ได้รู้ใจตนเอง เมื่อจิตสงบเชื่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ จะเกิดปรากฎการณ์ต่างๆขึ้น
4.      การทำสมาธิ (Maditaion)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
22 มี.ค. 49

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/20325

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *