หลักการ กระบวนการ ขั้นตอนการสร้างเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (2)
สรุปเป้าหมาย ตัวชี้วัด การพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
(ฉบับปรับปรุงจากเวที วันที่ 29 ก.ค. 52 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง) ดังนี้
เป้าหมาย | ตัวชี้วัด | วิธีได้ตัวชี้วัด | วิธีบรรลุเป้าหมาย
(ที่สำคัญ) |
1. คนในตำบลมีสุขภาพแข็งแรง
|
1. จำนวนผู้ป่วยในตำบลลดลง (โรคเบาหวาน ความความดันโลหิตสูง ไข้เลือดออก) | สถิติผู้ป่วยรายเดือนจากสถานีอนามัยและโรงพยาบาลโพธาราม | 1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพโดยกลุ่ม อสม.ร่วมกับสถานีอนามัย
2. อสม.ร่วมกับสถานีอนามัยออกหน่วยเคลื่อนที่ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ครอบครัว และคนในชุมชน มีการตรวจสุขภาพพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง |
2. คนในตำบลมีความสามัคคี
|
2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมของชุมชนที่สำคัญที่สำเร็จด้วยความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ(เช่น จัดขบวนสงกรานต์ (ฟื้นเวียง) กิจกรรมวันแม่ ฯลฯ) | จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสำคัญของชุมชน (เช่น จัดขบวนสงกรานต์ (ฟื้นเวียง) กิจกรรมวันแม่ ฯลฯ) | 1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์คนในตำบลเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน
วิธีการ – เดินเคาะประตูบ้าน – ให้ตรงต่อเวลานัดหมาย – เน้นจิตสำนึกการมีส่วนร่วม |
3. คนในตำบลมีรายได้และชีวิตที่มั่นคง
|
3. การออมในชุมชนเพิ่มขึ้น
4. หนี้ที่เป็นปัญหาลดลง 5. จำนวนครอบครัวที่ตกเกณฑ์ จ.ป.ฐ. ไม่มี/หรือลดลง/ที่เกินเกณฑ์มีเพิ่มมากขึ้น |
1. สถิติการเงินจากทุกกลุ่มกองทุนในชุมชนทั้งข้อมูลสมาชิกที่มีการออมเงินในกองทุนชุมชนและจำนวนเงินออมต่อครัวเรือนในกองทุนชุมชน
2. ข้อมูล จปฐ.ของชุมชน |
1. สร้างอาชีพเสริมขึ้นในชุมชนโดยกลุ่มกิจกรรมในชุมชน
2. รณรงค์ในเรื่องของการออมโดยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นในทุกหมู่บ้านรวมทั้งพัฒนาให้เข้มแข็งมีความน่าเชื่อถือเชื่อมโยงเป็นสถาบันการเงินระดับตำบล |
4. คนในตำบลมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและตำบล
|
6. การมีส่วนร่วมในการประชุมที่สำคัญของขบวนชุมชน | จำนวนผู้มีส่วนร่วมในการประชุมที่สำคัญของขบวนชุมชน ประกอบด้วย
1. กลุ่ม อสม. 2. กลุ่มผู้สูงอายุ 3. กองทุนหมู่บ้าน 4. กลุ่มสตรี 5. กลุ่มเยาวชน 6. ประชาคม (ข้อมูลจากกลุ่มทั้งตำบลอย่างน้อย 10 กลุ่ม) ประมวลสรุปทุก 6 เดือน |
1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนในตำบลเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มและแก้ไขปัญหา
2. เชิญภาคีที่รับผิดชอบเข้าร่วมการประชุม |
5. ตำบลปลอดยาเสพติด
|
7. จำนวนคดียาเสพติดลดลง
8. จำนวนผู้ติดยาเสพติดลดลงและหรือไม่มีผู้เสพใหม่ |
1. สถิติจาก สถานีตำรวจภูธรโพธาราม
2. ข้อมูลจากการสอบถามกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุก 3 เดือน |
1. สร้างเครือข่ายเยาวชนในตำบล
2. จัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น กีฬา อาชีพ วาดภาพ ดนตรี ฯลฯ 3. การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว พ่อ แม่ เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มผู้ติดยาเสพติด 4. ประสานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก 5. ตรวจติดตามกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด |
6. เป็นตำบลที่อนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ฟื้นเวียง)
|
9. ประเพณีลาวเวียงมีความคงอยู่ มีความดีและมีการปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม | จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีฟื้นเวียงประจำปีของชุมชน | 1. ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกในชุมชนพาเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญในชุมชน
2. รณรงค์เรื่องการแต่งกาย / ภาษา ในการเข้าร่วมกิจกรรม 3. ใช้ภาษาท้องถิ่นจัดเสียงตามสายในชุมชน 4. ตั้งกลุ่มดนตรีพื้นบ้าน และวัฒนธรรมแต่งกายท้องถิ่น (ลาวเวียง) |
7. ผู้นำมีความซื่อสัตย์ โปร่งใส มีคุณธรรม มีความคิดสร้างสรรค์และเสียสละ
|
10. มีผู้นำคนรุ่นใหม่มาร่วมกิจกรรมงานพัฒนาของชุมชนร่วมกับสภาองค์กรชุมชนเพิ่มมากขึ้น
11. ผู้นำมีคุณภาพสูงขึ้นทั้งในมิติความดี ความสามารถ และความสุข
|
1. การประเมินตนเองของผู้นำตามแบบประเมินภาวะผู้นำที่สภาองค์กรชุมชนจัดทำขึ้นโดยจัดประเมินตามกลุ่มผู้นำใน4ส่วน (คือ ผู้บริหารท้องถิ่น/ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน/ องค์กรชุมชนและสภาฯ/ คนรุ่นใหม่) ทุก 6 เดือน
2. การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในบทบาทของผู้นำชุมชนท้องถิ่น ของกลุ่มต่างๆ (คือ ผู้บริหารท้องถิ่น/ ท้องที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน/ องค์กรชุมชนและสภาฯ/ คนรุ่นใหม่) ตามแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นทุก 6 เดือน |
1. จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนระดับหมู่บ้าน (สภาผู้นำ) และมีเวทีปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาผู้นำทั้งภายในและนอกชุมชนต่อเนื่อง
2. จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อติดตามงานสม่ำเสมอ 3. สร้างรูปธรรมความสำเร็จในกิจกรรมงานพัฒนาร่วมกันของผู้นำในชุมชน/ ตำบล |
8. คนในตำบลมีสวัสดิการชุมชนที่ดี
|
12. คนในตำบลเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม สวัสดิการชุมชนเพิ่มขึ้น
13. กองทุนสวัสดิการชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้น 14. คนในตำบลทุกเพศทุกวัยได้รับสวัสดิการที่ชุมชนจัดขึ้น |
สถิติการดำเนินงานด้านสวัสดิการจากทุกกองทุน กลุ่ม/ องค์กร ในชุมชน จัดประมวลดูความก้าวหน้าทุก 3 เดือน | 1. จัดตั้งสถาบันการเงินฯ ระดับตำบลและรณรงค์ขยายจำนวนสมาชิกกองทุนให้ครบทุกครอบครัวในชุมชน
2. รณรงค์ให้มีการจัดสวัสดิการให้ครบทุกประเภทของกลุ่มองค์กรการเงินและกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในตำบล 3. เชื่อมโยงสวัสดิการชุมชนกับกองทุนอื่นๆ ในชุมชน |
9. กลุ่ม องค์กรชุมชน ในตำบลบ้านเลือกมีความเข้มแข็ง
|
15. มีกลุ่ม องค์กรชุมชนที่เข้มแข็งเพิ่มขึ้น
16. มีกลุ่ม องค์กรชุมชนที่ต้องฟื้นฟูความเข้มแข็งลดลง |
ข้อมูลจากจากเวทีการวิเคราะห์ความเข้มแข็งกลุ่ม องค์กร ต่างๆ ในชุมชนของสภาองค์กรชุมชนตามกรอบเครื่องมือที่สภาองค์กรชุมชนจัดทำขึ้น (จัดเวทีปีละ 2 ครั้ง) | 1. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความเข้มแข็งของแต่ละประเภทกลุ่ม กลุ่ม องค์กรชุมชน
2. ประเมินความเข้มแข็งของแต่ละกลุ่ม 3. การประสานหน่วยงานต่างๆมาสนับสนุนการพัฒนาหนุนเสริมกิจกรรมกลุ่ม 4. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชนในระดับตำบล |
อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/293233