งานพัฒนาชุมชน ภายใต้โลกยุคใหม่ ขับเคลื่อนเพื่อโลกอนาคต
ประเด็นประกอบการปาฐกถาพิเศษ
โดย
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วันที่ 17 ธันวาคม 2550 เวลา 9.20-10.20 น.
ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการพัฒนาชุมชน ครั้งที่ 1
ณ อุทยานการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
- โลกยุคใหม่ ไร้พรหมแดน
- มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
- การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ภูมิภาค ประเทศ และชุมชนท้องถิ่นจะเชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อกันทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี ผลกระทบจะมีทั้งด้านการพัฒนาและการสร้างปัญหา
- กระแสโลกาภิวัตน์ มีลักษณะอยู่ในบริบทของความโลภ ความหลง และความรุนแรง
- งานพัฒนาชุมชนภายใต้โลกยุคใหม่จะได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงต้องการการปรับตัวในการขับเคลื่อน
- สาระสำคัญของงานพัฒนาชุมชน
- ความหมาย : การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นทุกรูปแบบ ทุกด้าน ทั้งกายภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ อนามัย จิตใจโดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนเอง และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนและการจัดการสู่สภาพที่พึงปรารถนา
- ปรัชญา : เป็นการคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์บนพื้นฐานของศรัทธา โดยเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถ มีพลัง และมีความพ้อมที่จะพัฒนาถ้ามีโอกาส
- อุดมการณ์ คือ สร้างพลังชุมชนเละใช้พลังชุมชนในการพัฒนา ซึ่งพลังชุมชนในการพัฒนาเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาให้ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาชุมชน มีความเป็นกระบวนการคือ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีแบบแผนขั้นตอนของการวิเคราะห์ การวางแผน การดำเนินการ การประเมินผล
- งานพัฒนาชุมชนยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศได้
- บริบทของการขับเคลื่อน
- เป้าหมายการพัฒนาชุมชน
Ø ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
Ø สังคมคุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง การเมืองสมานฉันท์
- หลักการพัฒนาที่ฐานการขับเคลื่อนอยู่ที่ชุมชน ( Community – Driven Development)
Ø พื้นที่เป็นตัวตั้ง
Ø ชุมชนเป็นแกนหลัก
Ø ประชาชนมีบทบาทสำคัญ
Ø รวมพลังความร่วมมือทุกภาคส่วน
Ø บูรณาการทุกเรื่อง
- บริบทของการขับเคลื่อน
ขับเคลื่อนทั้งระบบ : กฎหมาย – นโยบาย – โครงสร้าง – ยุทธศาสตร์- แผนงาน – การดำเนินงาน – งบประมาณ
ขับเคลื่อนทุกระดับ : ชุมชน – ท้องถิ่น – ภูมิภาค – ประเทศ – โลก
ขับเคลื่อนเป็นกระบวนการ : เชื่อมโยงทุกกลไก ทุกภาคส่วน ร่วมกันอย่างมีพลัง
- การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
- นโยบายรัฐบาล
รัฐมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ทุกชุมชนท้องถิ่น และประชาสังคม ให้สามารถบริหารจัดการตนเองเกี่ยวกับความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
- แนวทาง
- สร้างความเป็นธรรมทั้งด้านกฎหมายและสังคม
- ความเป็นเจ้าของตามวิถีชีวิต
- การมีส่วนร่วมที่แท้จริงตลอดกระบวนการ
- ปัจจัยของการสร้างชุมชนเข้มแข็ง
Ø ทัศนคติการพึ่งตนเองและร่วมมือกันของชุมชน
Ø การเรียนรู้และการพัฒนาผ่านปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
Ø การเชื่อมโยง รวมตัวกันเป็นเครือข่าย
Ø มีกลไกสนับสนุนที่เหมาะสม
Ø การมีนโยบายที่เอื้ออำนวย
- การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นโดยมีแนวทางให้ประชาชนเป็นเจ้าของการพัฒนาอย่างแท้จริง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเป็นจุดๆในบางพื้นที่ตามโครงการพัฒนา แต่มีการทำงานที่ใช้พื้นที่เป็นหลัก และทำงานครอบคลุมเต็มพื้นที่ คือเชื่อมโยงชุมชนในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานและภาคีอื่นๆ ให้เห็นภาพรวมและการทำงานร่วมกัน โดยประชาชนเป็นแกนหลัก เพื่อนำไปถูกทาง จัดระบบการทำงานและจัดความสัมพันธ์ใหม่ในท้องถิ่น ตั้งแต่ระบบข้อมูล แผนงาน งบประมาณ การบริหารจัดการ การแก้ไขปัญหา ให้เป็นระบบและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากเราสามารถทำได้จริงจัง กว้างขวาง เราจะเปลี่ยนแปลงชุมชนท้องถิ่น ประเทศและประชาธิปไตยระบบใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง
ตัวอย่างที่ดำเนินการแนวนี้ เช่น แผนชุมชน บ้านมั่นคง สวัสดิการชุมชน องค์กรการเงินชุมชน
- การบริหารจัดการชุมชน
- ข้อมูล 2. ความรู้
- คน 4. องค์กร
- การจัดความสัมพันธ์ 6. กิจการ
- เงิน 8. กองทุน
- ชุมชน
- การสร้างการเมืองสมานฉันท์ในท้องถิ่น
- ภาคประชาชนต้องสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ร่วมคิด ร่วมทำให้พึ่งตนเองได้
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องหนุนเสริมภาคประชาชน
- ราชการส่วนภูมิภาค กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องเดินเข้าหาประชาชนใช้อำนาจหนุนเสริมมากกว่าสั่งการ
- ภาคประชาสังคมและผู้รู้ต้องมีบทบาทหนุนเสริมประชาชน
- รัฐบาลต้องกำหนดเป็นนโยบายจัดสรรงบประมาณสนับสนุนภาคประชาชน
- การขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนระดับโครงสร้างและนโยบาย
การพัฒนาชุมชนจะประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย ตามปรัชญาและอุดมการณ์ได้ ไม่เพียงแต่การดำเนินงานที่ดีระดับชุมชนท้องถิ่น การสนับสนุนระดับมหภาคจะมีบทบาทสำคัญมาก
5.1 รัฐธรรมนูญกับชุมชน
รัฐธรรมนูญปัจจุบันให้ความสำคัญกับชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่นและรับรองสิทธิชุมชนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่เกื้อหนุนต่องานพัฒนาชุมชน
5.2 กระบวนการทางกฎหมาย
การมีกฎหมายที่รองรับ เอื้ออำนวยต่องานและขบวนการพัฒนาชุมชน เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งความสำคัญไม่ได้อยู่ที่สาระของกฎหมายอย่างเดียว แต่สำคัญที่ใช้กระบวนการเสนอกฎมายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของชุมชน ขบวนการชุมชน ขบวนการทางสังคมของทุกฝ่ายร่วมกันซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของสังคม การพัฒนาประชาธิปไตย และการสร้างธรรมาภิบาล
ตัวอย่าง พรบ. สภาองค์กรชุมชน พรบ. สุขภาพแห่งชาติ
5.3 การปฏิรูปสังคมและการเมือง
- งานพัฒนาชุมชนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนและชุมชน แต่ชุมชนอยู่ภายใต้ระบบใหญ่ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ดังนั้นจึงต้องพิจารณาการปฏิรูปสังคมและการเมืองไปสู่สิ่งพึงปรารถนาควบคู่ไปด้วย
- ประชาธิปไตยคือประชาชนมีบทบาทสำคัญ ประชาชนคือองค์ประกอบสำคัญของสังคม รากฐานของสังคมคือชุมชน ประชาชนจะมีบทบาทได้ดีและสังคมจะพัฒนาได้อย่างมั่นคงยั่งยืนก็เมื่อมีชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนที่เข้มแข้งจะเป็นชุมชนที่พอเพียงพร้อมกับเป็นประชาธิปไตย ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนพอเพียง และชุมชนประชาธิปไตย เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และควรเป็นเรื่องเดียวกัน
5.4 การสร้างนโยบายเพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน
- นโยบายรัฐที่มีความสำคัญต่องานพัฒนาชุมชนในระดับโครงสร้างและส่งผลต่อปฏิบัติการในพื้นที่
- การสร้างนโยบายเพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนต้องพิจารณาถึง
- องค์ประกอบสำคัญของนโยบายที่ครบถ้วน
- ปรัชญา แนวคิด ทิศทาง ยุทธศาสตร์ ที่เชื่อมโยงกัน
- ระดับของนโยบายที่เชื่อมต่อทุกระดับตั่งแต่ท้องถิ่น จังหวัด ภาค ประเทศ และสังคมโลก
- กระบวนการสร้างนโยบายที่มีเวทีการเรียนรู้ร่วมกัน
- การบริหารนโยบายที่ดี ทั้งการดำเนินงาน การวัดผล และการพัฒนา
5.5 การเรียนรู้และการจัดการความรู้
- ต้องมีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการ
- สร้างการเรียนรู้ร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- มีการจัดการความรู้ ยกระดับจากประสบการณ์ บทเรียนไปสู่องค์ความรู้ที่มีสาระและคุณค่า ตั้งแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้สังคมไทย ความรู้สังคมโลก
- บทสรุป
งานพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการและขบวนการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศ เพราะปรัชญา อุดมการณ์ ที่ถูกต้องและใช้ได้ตลอดกาล แต่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ผู้เกี่ยวข้องต้องรู้เท่าทัน สามารถรับมือและบริหารจัดการการพัฒนาชุมชนให้เหมาะสมกับบริบทการเปลี่ยนแปลง ทั้งการพัฒนาในชุมชนท้องถิ่นและประเทศ ต้องทำอย่างเป็นระบบเป็นขบวนการในทุกระดับ โดยยังคงยึดมั่นในหลักการสำคัญที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และหัวใจสำคัญคือ การยึดมั่นความดี การเรียนรู้ต่อเนื่องและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/154757