ธรรมาภิบาลของราชการไทย (ต่อ)

ธรรมาภิบาลของราชการไทย (ต่อ)


  • แนวทางการขับเคลื่อน
  1. สร้างกลุ่มผู้นำและผลักดันให้เกิดองค์กรแห่งสุจริตธรรมที่มีประสิทธิภาพ และมีศักดิ์ศรีในทุกระดับ เพื่อเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้และขยายผล
  2. การพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลที่เป็นระบบย่อยให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงสอดคล้องกัน
  3. วางระบบสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาล เช่น การออกกฎหมาย การพัฒนาระบบ และการจัดกลไกรับผิดชอบ
  • กระบวนการทำงานในระดับกระทรวง/กรม มี 7 ยุทธศาสตร์
  1. การสร้างกลุ่มผู้นำ และผลักดันให้เกิดองค์กรแห่งสุจริตธรรม
  2. การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และการพัฒนาข้าราชการ
  3. การให้คำปรึกษาแนะนำ และการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
  4. การปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลให้เอื้อต่อการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
  5. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
  6. การวัดผลและตรวจสอบด้านจริยธรรม
  7. การวางระบบสนับสนุนและปัจจัยพื้นฐานด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล
  8. เงื่อนไขความสำเร็จของการสร้างธรรมาภิบาล
  • คุณภาพของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในสังคม
  • ต้องใช้ เวลาและอาศัยความร่วมมือจากทุกสถาบันในสังคม ไม่ใช่มีกฎหมายอย่างเดียว
  • ต้องมีการบริหารจัดการและการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดทำตัวชี้วัด  และการติดตามผลด้วย
  1. กองทัพกับธรรมาภิบาล
  • กองทัพเป็นสถาบันสำคัญในการรักษาความมั่นคง และการพัฒนาประเทศทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต
  • กองทัพจำเป็นต้องมีธรรมาภิบาลเพราะมีกำลังพล กำลังอาวุธ  และมีวินัยที่เข้มแข็ง

·     การน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการรู้รักสามัคคีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาเป็นธงนำในการสร้างธรรมาภิบาลของกองทัพ  

 

อ้างอิง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ใน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
เว็บไซต์ ต้นฉบับ https://www.gotoknow.org/posts/154178

<<< กลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *